จิตอาสาเพื่อน้อง : ประสบการณ์ในการก้าวเดิน (พัชรี ดีเขาพอด)


การลงไปแต่ละครั้ง พวกหนูได้เห็นความเป็นจริงหรือสถานการณ์จริงขึ้นเรื่อยๆ จนต้องปรับกิจกรรมให้เหมาะสม ถึงขั้นเอางานบางอย่างมาทำที่มหาวิทยาลัย เช่น การจัดทำอ่างล้างมือ เพราะคิดว่าถ้ารอทำครั้งเดียวที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีหวังเสร็จไม่ทันแน่ๆ เลย




โครงการ ‘จิตอาสาพัฒนาเพื่อน้อง’ คือกิจกรรมที่พวกหนูจัดขึ้น ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านมะกอก ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเรียนรู้ชุมชนพร้อมกับการทำประโยชน์ต่อชุมชนตามกระบวนการเรียนรู้ในรายวิชาภาวะผู้นำที่เน้นเรียนรู้คู่บริการ



พัชรี ดีเขาพอด : หนึ่งในแกนหลักของการขับเคลื่อน






หลงทาง... จนได้งาน



เดิมกลุ่มของพวกหนูไม่ได้ตั้งใจว่าจะมาทำกิจกรรมกันที่นี่หรอกนะคะ เป็นความบังเอิญที่เกิดจากการหลงทางของหนูและเพื่อนอีก 3 คนค่ะ ตอนนั้นอยากทำโครงการ ‘ปันรักเพื่อสัตว์เพื่อนรัก 4 ขา’ ที่บ้านน้องหมาเอเอฟ 4 ขา แต่เกิดปัญหาตรงที่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลน้องหมาบอกว่าจะย้ายสถานที่ พี่เจ้าหน้าที่เลยไม่อยากจะให้สร้างและปรับปรุงอะไร แต่ขอเป็นเงินบริจาคค่าอาหารและยาให้น้องหมาก็พอ

ถัดจากนั้นพวกหนูก็มาหารือกันใหม่และเห็นตรงกันว่าอยากจัดกิจกรรมในลักษณะช่วยชาวบ้านหรือชุมชน แบบว่าทำแล้วใช้ได้จริงทั้งต่อชุมชนและตัวพวกหนูเอง จึงพากันไปปรึกษาพี่เจี๊ยบ (เยาวภา ปรีวาสนา) ซึ่งพี่เจี๊ยบก็เห็นด้วย แต่พวกหนูก็ยังไม่รู้ว่าจะทำโครงการอะไรอยู่ดีนั่นแหละ สุดท้ายก็กลับมาประชุมกันอีกรอบ คราวนี้ถึงขั้นระบุการแบ่งกันไปสำรวจลงพื้นที่ด้วยเลย ซึ่งหนูและเพื่อนอีก 2 คนที่เรียนคณะเดียวกันว่างพอดี (ไม่มีเรียน) เลยรับอาสาไปทำหน้าที่นี้แทนเพื่อนๆ




หนูรู้ดีว่าการสำรวจพื้นที่ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แน่ เพราะหนูกับเพื่อนๆ ไม่ใช่คนแถวนี้ ได้แต่ขับรถไปตามถนนที่มี - ขับเข้าออกตามซอยที่เห็น หรือเรียกง่ายๆ คือไปตามใจที่เลือกเดินคะ 555 ไปแบบมั่วๆ ขับมาตามท้องไร่ท้องนา บรรยากาศก็ดี ข้าวก็สีเหลืองอร่ามสวยงาม ยิ่งขับไปก็ยิ่งเพลิน ขับไปขับมาเริ่มมองไม่เห็นบ้านคน มองไปทางไหนเริ่มเห็นแต่ป่าเต็มไปหมด เกิดอาการกลัวหลงทางขึ้นมาในทันที จึงต้องหาทางกลับมหาวิทยาลัยฯ พอขับไปขับมาก็บังเอิญมองไปเห็นศูนย์เด็กพอดี ตอนนั้นเป็นช่วงที่คุณครูกำลังจะปล่อยเด็กกลับบ้าน ผู้ปกครองมารอรับเด็ก เลยถือโอกาสแวะเข้าไปสอบถามเส้นทางกลับมหาวิทยาลัยฯ 55555





ในช่วงเวลาที่ตัดสินใจจะเข้าไปสอบถามเส้นทาง บังเอิญพวกเรามองไปเห็นสภาพโรงอาหารที่เก่าและดูไม่มีชีวิตชีวา เลยคิดออกว่า ‘งั้นเราทำที่นี่ไหม’ พร้อมไม่ลังเลที่จะเข้าไปหาคุณครู สอบถามถึงปัญหาของศูนย์เด็ก ซึ่งครูก็บอกปัญหาต่างๆ นาๆๆ คะ... พวกหนูเลยนำกลับมาเสนอเพื่อนๆ ในกลุ่ม ซึ่งเพื่อนในกลุ่มก็เห็นด้วยกับการที่จะไปจัดกิจกรรมกันที่นั่น 55




นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องทั้งหมด ถัดจากนั้นจึงนัดหมายลงพื้นที่กันอีกรอบ เป็นการมาพบปะกับคณะครูและชาวบ้านเพื่อปรึกษาถึงกิจกรรมที่จะจัดขึ้น แต่พอคุยกันจริงๆ ส่วนใหญ่อยากให้ทำศาลาหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมากกว่า เพื่อใช้ในการมารอรับน้องๆ เนื่องจากชุมชนมีวัสดุอุปกรณ์อยู่แล้ว รวมถึงมีงบประมาณที่จะจัดทำ ซึ่งพวกเราก็ตกลงตามนั้น เพราะถือว่าเป็นความต้องการของชุมชน แต่สุดท้ายก็ทำไม่ได้อยู่ดี เพราะหาซื้อดินมาถมที่ไม่ได้ รวมถึงรถที่จะขนดินมาปรับพื้นก็ไม่ว่าง จึงทำไม่ได้ พอทำไม่ได้ก็หารือกันใหม่ จนมาลงเอยที่กิจกรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเหมือนที่พวกเราสะดุดตาและอยากจะทำตั้งแต่แรก







ไม่ใช่ทำตูมเดียว ... ทำงานกันมาเป็นระยะๆ



ถ้าไม่นับวันที่จัดกิจกรรมกันจริงๆ กลุ่มพวกหนูลงไปพูดคุยเตรียมงานกับชุมชน 5 ครั้งเลยก็ว่าได้ บางครั้งไปกันเฉพาะแกนนำไม่กี่คน บางครั้งไปกันเป็นทีมหลายๆ คน พอเสนอบริบทชุมชนผ่านแล้วก็ยิ่งลงไปบ่อยสลับกับการโทร.ประสานงานเป็นระยะๆ

การลงไปแต่ละครั้ง พวกหนูได้เห็นความเป็นจริงหรือสถานการณ์จริงขึ้นเรื่อยๆ จนต้องปรับกิจกรรมให้เหมาะสม ถึงขั้นเอางานบางอย่างมาทำที่มหาวิทยาลัย เช่น การจัดทำอ่างล้างมือ เพราะคิดว่าถ้ารอทำครั้งเดียวที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีหวังเสร็จไม่ทันแน่ๆ เลย พอดีในกลุ่มมีพี่ที่ ‘เรียนวิศวะ’ อยู่แล้ว พี่จึงอาสาที่จะรับไปทำและให้เพื่อนๆ ในคณะได้ช่วยทำ





ในด้านการทำงานพวกเราลงปฏิบัติการจริงตั้งแต่วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2559 โดยขนย้ายอุปกรณ์ เช่น ถังสี อ่างน้ำสำเร็จรูปที่ทำขึ้นไปไว้ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พร้อมกับประสานงานชุมชน ซักซ้อมความเข้าใจ ประเมินการมีส่วนร่วม พอวันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2559 ก็ไปอีกครั้ง คราวนี้น้องๆ ไม่ได้มาโรงเรียนแล้ว จึงเป็นการเตรียมสถานที่เคลียร์สิ่งของที่พอจะทำได้ล่วงหน้าไว้ก่อน

และวันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2559 พวกหนูก็ลุยงานกันเต็มๆ ทั้งทาสีโรงอาหาร ซ่อมโต๊ะเก้าอี้ในโรงอาหาร ทาสีห้องน้ำ ซ่อมก๊อกน้ำ ติดตั้งอ้างล้างมือ จัดชั้นวางแก้วน้ำ ปัดกวาดขยะบริเวณรอบๆ สนามเด็กเล่น







การมีส่วนร่วมของชุมชน...



ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านมะกอก มีน้องนักเรียนจำนวน 60 คน มีครูดูแล 4 คน น้องๆ มาจากหมู่บ้านต่างๆ ในชุมชนขามเรียง ซึ่งคำว่า ‘โรงอาหารเก่า’ ที่หนูพูดถึงในตอนแรกนั้นหมายความว่าโต๊ะนั่งกินข้าวของเด็กๆไม่มีผ้าคลุมโต๊ะ โต๊ะเก้าอี้สีซีดจาง เริ่มผุเริ่มพัง โรงอาหารออกสีหม่นๆ ไม่มีชีวิตชีวา ก๊อกน้ำและอ่างล้างมือเก่าและชำรุด รวมถึงสภาพโดยรวมของสนามเด็กเล่นก็ดูจะรกไปหน่อย





กรณีการมีส่วนร่วมของชุมชนนั้นถือเป็นช่วงที่ยากลำบากมาก เพราะชาวบ้านกำลังเร่งเกี่ยวข้าว จึงมีชาวบ้านมาร่วมไม่มากนัก ซึ่งคิดว่าหมู่บ้านไหนๆ ก็คงไม่ต่างกันเนื่องจากเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยว แต่วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2559 ชาวบ้านก็มาช่วย 7-8 คน โดยเอาอุปกรณ์มาให้ รวมถึงสาธิตการซ่อมโต๊ะเก้าอี้ แนะนำการทาสีและพาพวกเราทำสักครู่ใหญ่ๆ จากนั้นจึงขอตัวไปเกี่ยวข้าว มีทั้งที่เกี่ยวของตนเองและการไปรับจ้างเกี่ยว




ส่วนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก็ให้เสื่อน้ำมันจำนวนหนึ่งมาใช้เป็นวัสดุปูโต๊ะสำหรับนั่งรับประทานอาหาร และเพื่อให้ง่ายต่อการทำความสะอาดโต๊ะ นอกจากนั้นเป็นเจ้าภาพร่วมกับชาวบ้านในเรื่องอาหารเที่ยงและสวัสดิการทั่วไป เช่น น้ำดื่ม น้ำแข็ง และเพื่อมิให้เป็นภาระชาวบ้านมากนักพวกหนูก็เตรียมอาหารมาเองด้วยเหมือนกัน ดังนั้นโดยรวมแล้วก็ถือว่าชุมชนมีน้ำใจและให้ความร่วมมือที่ดีต่อการทำงานของพวกหนู







ปัญหาและการแก้ไข ...



กลุ่มพวกเรามีมาจากหลากหลายคณะ เช่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเทคโนโลยี วิทยาลัยการเมืองการปกครอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะการบัญชีและการจัดการ รวมทั้งสิ้น 20 คน เฉลี่ยลงขันทำกิจกรรมคนละ 220 บาท

ด้วยความที่หลายคณะ เวลานัดหมายมาคุยงานจึงไม่ราบรื่นเป็นธรรมดา แต่พวกหนูก็จัดประชุมกันได้ตามที่นัดกันไว้ ส่วนหนึ่งก็สร้างเฟชบุ๊คขึ้นมาเพื่อใช้สื่อสารเรื่องงานกันภายในกลุ่ม ส่วนกรณีของงานที่จะทำเรารู้ดีว่ามีจำนวนมาก จะรอทำวันเดียวก็ไม่มีทางเสร็จ จึงต้องลงมือทำกันล่วงหน้า โดยเน้นการมอบงานกันตามประสบการณ์ตรงและความสะดวกใจของแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น

  • อ่างล้างมือ :มอบหมายให้พี่ที่เรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้จัดทำร่วมกับเพื่อนล่วงหน้า โดยระดมอุปกรณ์และแรงงานจิตอาสาจากนิสิตมาช่วยกัน รวมถึงเพื่อนในกลุ่มแวะเวียนไปดูและช่วยเหลือ
  • ชั้นวางแก้วน้ำ : มอบหมายเพื่อนที่เรียนสายสาธารณสุขฯ ดูแล จัดซื้ออุปกรณ์และสื่อที่เกี่ยวข้อง
  • สีทาอาคารและโต๊ะอาหาร : มอบเพื่อนที่มีประสบการณ์ตรง ซึ่งที่บ้านเปิดร้านจำหน่วยวัสดุก่อสร้างอยู่แล้วเป็นแกนหลักในการจัดหา
  • ก๊อกน้ำและอุปกรณ์อ่างน้ำ : มอบหมายเพื่อนจากคณะมนุษยศาสตร์ฯ ที่มีประสบการณ์ตรงเนื่องจากที่บ้านทำงานเรื่องการเป็นช่าง หรือการก่อสร้าง






นอกจากนี้ก็ช่วยงานกันทุกๆ คน โชคดีหน่อยที่กลุ่มพวกเราพอจะมีคนที่มีประสบการณ์ในเรื่องเหล่านี้อยู่บ้าง เช่น เพื่อนที่เรียนวิทยาลัยการเมืองการปกครองเคยออกค่ายมาแล้ว เพื่อนที่เรียนสาขาฟิสิกส์ก็พอที่จะเข้าใจเรื่องการตัดไม้ตัดเหล็กอยู่บ้าง จึงพอที่จะรู้งานว่าควรต้องทำอะไรกันบ้าง จึงไม่ค่อยหนักอกหนักใจว่างานจะเสร็จหรือไม่เสร็จ หรืองานจะออกมาดีหรือไม่ดี 555












ได้เรียนรู้...


จริงๆ แล้วหนูเป็นคนขี้อาย ไม่กล้าคุยกับใคร แต่วิชานี้และกิจกรรมนี้สอนให้หนูรู้ถึงการที่กล้าพูดกล้าคุยกล้าแสดงความคิดเห็น และทำให้หนูรู้จักกับเพื่อนต่างคณะ รู้นิสัยใจคอกัน จึงเริ่มเข้าใจว่าทำไมตอนเรียนในห้องอาจารย์ถึงเน้นเรื่องกลุ่มเรื่องทีมและเน้นให้พูดให้คุยกันมากๆ เพราะจะได้เอามาใช้จริงในเวลาการจัดโครงการนั่นเอง

กิจกรรมนี้สอนให้รู้ถึงการอดทน การเสียสละ จิตอาสาและที่สำคัญการเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพราะทุกคนล้วนมีความคิดไม่เหมือนกันขัดแย้งกันบ้าง แต่หนูก็คิดเสมอว่าควรเป็นผู้ฟังที่ดีและฉลาดที่จะเก็บคำถามคำตอบเหล่านี้นำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างผลงานของเราให้ดีที่สุดคะ

นี่คือประสบการณ์ใหม่ของหนู เป็นประสบการณ์ในการก้าวเดินหลากเรื่องราว ตั้งแต่หลงทางมาจนได้งาน ได้เพื่อน และได้ความสุขของการเป็นผู้ให้จากกิจกรรมนอกห้องเรียนที่แสนงดงามค่ะ




....



หมายเหตุ

เรื่อง : พัชรี ดีเขาพอด นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
ภาพ : เยาวภา ปรีวาสนา

หมายเลขบันทึก: 618540เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2016 00:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2016 13:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สิ่งที่ได้รับ คือ การได้ลงมือปฎิบัติจริงไม่ใช่เพียงการเรียนรู้ภาค ทฤษี ทำให้รู้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เมื่อเกิดปัญหาขณะลงมืองาน ได้ความสามัคคีภายในกลุ่ม รู้จักการแบ่งหน้าทีการทำงาน


ในฐานะที่เราเป็นผู้ให้เรามีความสุขเพราะเราให้ในสิ่งที่เขาไม่มีพอเราให้เขาในสิ่งทีเขาต้องการ ผู้รับก็มีความสุข ส่วนเราคือผู้ให้ก็สุขทั้งกายและใจที่เห็นผู้รับมีความสุข ถึงแม้สิ่งที่เราให้จะเป็นเพียงของเล็กน้อย อย่างน้อยเราก็ได้รอยยิ้มจากผู้รับกลับมา นั้นคือความสุขของผู้ให้ นอกจากนี้ก็ไม่ต้องการอะไรแล้ว นอกจากคำว่า "ความสุข"


ได้รู้จักการทำงานเป็นทีม การร่วมแรงร่วมใจของนิสิตที่ช่วยกันพัฒนาและแก้ไขปัญหา อุปสรรคต่างๆที่อยู่ตรงหน้าให้สำเร็จและลุลวงไปด้วยดี

รายวิชานี้สอนให้เรารู้จักคิด รู้จักกล้าที่จะเป็นผู้นำ กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นและที่สำคัญเน้นการลงมือปฏิบัติให้เราได้เรียนรู้งานอย่างแท้จริง



จากการที่ได้ลงพื้นที่แล้วลงมือปฏิบัติแสดงให้เห็นว่า การมีความสามัคคีคือสิ่งสำคัญในการปฏิบัติงานครั้งนี้เป็นอย่างมาก มีการร่วมมือจากเพื่อนๆและกลุ่มชาวบ้านในการทำงาน

และงานก็ดำเนินไปอย่างราบรื่น รู้สึกภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานครั้งนี้

การทำโครงการครั้งนี้ไม่ง่าย แต่ พวกเราก็ผ่านมาได้ด้วยความสามัคคี การช่วยเหลือซึงกันและกันทำให้โครงการของพวกเราผ่านไปได้ดี อาจะเหนื่อยบางทีก็สนุกได้กินข้าวร่วมกัน ขอขอบคุณโครงการดีๆแบบนี้นะครับ 55

น.ส.วรรณภา รักษาภักดี

การได้ทำงานจิตอาสาในครั้งนี้ทำให้พวกเราสามัคคีในการทำงานกันมากขึ้นและดีใจที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆทุกคน ได้ทำกิจกรรมจิตอาสาสนุกและมีความสุขมากที่ได้ทำประโยชน์ให้กับน้องๆค่ะ

อรุณรัตน์ ชั่งทองมะดัน

สิ่งที่ได้รับจากการทำโครงการครั้งนี้ สิ่งแรกก็คือการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ ซึ่งต้องอาศัยความสมัคสมาน สามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันในการทำงาน เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในกลุ่มโครงการของพวกเราในการทำประโยชน์ต่อชุมชนในระแวกใกล้เคียงของมหาวิทลัยมหาสารคามของเรา ในการทำโครงการจิตอาสาเพื่อน้องนี้ทำให้ดิฉันได้ฝึกการพูดคุยกับผู้อื่น กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ ก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ดีมากๆ ซึ่งหาได้ยากเพราะเป็นการเปิดหูเปิดตารับสิ่งใหม่ๆ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งของพื้นฐานการเป็นผู้นำที่ดี ต้องขอบคุณทุกๆคนที่ร่วมกันทำงานจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ประสบการณ์ที่ได้รับครั้งนี้คือ การทำงานจะให้ออกมาดีนั้นถ้าเราร่วมมือร่วมใจกันงานก็จะออกมาดีโดยต่างคนต่างถนัดแต่ละด้านช่วยกันดีกว่าลงมือเพียงคนเดียวและเป็นการช่วยเพิ่มเติมสิ่งเล็กๆน้อยๆให้กับน้องๆ

สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา ทำให้ได้รับถึงความสามัคคี ความร่วมด้วยช่วยกัน การลงมือปฏิบัติทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จ ลุล่วง

และยังให้ประสบการณ์ดีๆความรู้สึกดีๆ ภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือชุมชน

สิ่งที่ได้จากการทำโครงการ ได้ความสามัคคีและมีความร่วมมือในการทำงานกันอย่างเป็นทีม มีความรับผิดชอบและมีทักษะในการทำงานมากขึ้น

สิ่งที่ได้รับจากการทำโครงการนี้นะคะ คือ การทำงานเป็นทีม แน่นอนว่าการลงพื้นที่เช่นนี้ จะทำคนเดียวไม่ได้แน่ๆ ได้เห็นถึงความเสียสละขอเพื่อนๆ แม้จะมาจากคนละคณะ เวลาอาจจะไม่ตรงกัน แต่เราก็ได้มีการพูดคุย ปรึกษาหารือ รู้สึกภูมิใจมาก ที่ได้ทำงานร่วมกัน และกล้าพูดได้อย่างเต็มบอก ว่าไม่เหนื่อยเลยค่ะ เมื่อแลกกับการได้เห็นเด็กๆมีความสุข เด็กๆตื่นเต้นในสิ่งที่เราทำ มีชาวบ้านมาช่วยเหลือ มีคุณครูคอยให้คำปรึกษา ถือว่าคุ้มมากๆ ในการทำโครงการนี้ จากที่ไม่เคยทำอะไรแบบนี้มาก่อน ก็ได้ทำ ได้ลงมือปฏิบัติจริงๆ ทำให้เรารู้ ว่าเราก็ทำได้

จากการทำโครงการในครั้งนี้ ทำให้เรามีความสามัคคี มีความสุขในการทำสิ่งดีๆ ให้แก่ผู้อื่น รู้จักการทำงานเป็นทีม ให้ความร่วมมือ และความเคารพซึ่งกันและกัน โครงการนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากความร่วมมือ ความอดทนในการทำงาน จากเพื่อนๆ ดังเช่นสุภาษิตที่ว่า "กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท