เราเองใช่ไหมที่รู้เท่าไม่ถึงการทำให้ไม่ทันการณ์


รู้เท่าไม่ถึงการทำให้ไม่ทันการณ์


  • อ่านการจัดการศึกษาของเด็กปกติ....แล้วย้อนกลับมาคิดถึงการจัดการศึกษาของเด็กพิการ !!!!!! เคยแต่สอนเฉพาะรายวิชาของตนเอง/เฉพาะความพิการ แต่รอบนี้ต้องรู้รอบเป็นรายบุคคลในรูปแบบของศูนย์ฯที่มีเด็กพิการทุกประเภทแยกแผนการสอนเป็นรายบุคคลชัดเจน

ณ วันหนึ่งได้นั่งตรวจ IEPและIIP อ่านมาถึง เด็กคนหนึ่งซึ่งเป็นเยี่ยมบ้าน ในสมุดรายงานผล ผู้ปกครองเขียนตอบกลับมาว่า น้อง........ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้.....อยากให้ครูเข้ามาเยี่ยมเหมือนที่ผ่านๆมา(คิดในใจ อ้าวก็ครู/ผู้ดูแล ออกเยี่ยมบ้านทุกอาทิตย์นี่หว่าแล้วทำไมผู้ปกครองเขียนมาแบบนี้ เริ่มเอามือกุมขมับ)...และขอบคุณที่ครูเข้ามา.... จึงย้อนกลับไปอ่านประวัติการมารับบริการของเด็กอีกครั้ง......(อืม!) และโดยส่วนใหญ่จะเขียนว่าพัฒนาการดีขึ้นเหมือนcopyคำพูดมา (เอากุมขมับทั้งสองข้างแล้วนั่งคิด!(อืม1) แล้วก็หายใจเข้าออกแรงๆ ลุกขึ้นเดินออกไปข้างนอกมองออกไปก็เห็นแต่ความมืด!

จึงเดินกลับไปอ่านรายผลพัฒนาการนักเรียนภาคเรียนที่ผ่านมาต่อ พบว่า มีนักเรียนผ่านที่100% หลายคนรู้สึกดีใจจังที่เด็กผ่านตั้ง100% 55555 แต่ผ่านทักษะเดียวเอง เปิดไปกี่กี่คนก็100% เห้อๆๆ วางแฟ้มลง! เดินอีก มองเห็นข้างนอกมีแต่ความมืด แล้วคิดย้อนไปเมื่อต้นภาคเรียน (เรื่องทักษะเดียวกับการพัฒนาเด็กเคยถามแล้วคุณครูตอบกลับมาว่าสอนแค่ทักษะเดียวค่ะทักษะที่ด้อยที่สุด.....ต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้นะคะ....(เราถามกลับไป...อ้าวแล้วทักษะอื่นไปสอนตอนไหนทำไมไม่สอนไปเลย ทั้งด้อยทั้งเด่นก็สอนคู่กันไป...) คุณครูก็บรรยายว่าศูนย์ฯเป็นอย่างนี้ๆๆๆๆต้องทำแบบนี้ๆๆๆ (ณ ตอนนั้นเราก็ อืม! ค่ะครู)

หันมองกลับไปที่มุมของIEP/IIP อีกครั้งกับ 11 หน่วยบริการ/10อำเภอ นักเรียน 268 คน จำนวนแฟ้มIEP/IIP วางรวมกันแล้วได้ราวๆรถกระบะตอนเดียวน่าจะเต็ม! แล้วคิดถึงเด็กๆเหล่านั้น เขาได้รับการพัฒนาสักกี่%กันแน่นะ บางคน 2ขวบ บางคน8ขวบ บางคน 11 ขวบ บางคน 15 ขวบ บางคนอยู่ที่มานาน/ตั้งแต่4ขวบจน14ขวบ อนิจจา....(วันที่19ธ.ค.นี้เราก็จะอยู่ที่ครบสองขวบ) แต่เรายังช่วยเหลือเด็กได้น้อยอยู่ หรือเราเองที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงไม่ทันการณ์ในวิธีการจัดการพวกเขาให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

ก็ยังพอปลอบใจตัวเองได้อยู่ว่า เกือบสองปีที่เดินเข้ามา พอเดินออกไปมองด้านนอกยังพอเห็นแสงอยู่บ้าง

อ่านมาถึงวลีที่ว่า....ทักษะที่เด็กในวันนี้ต้องเรียนรู้เพื่อจะเอาไปใช้ในอนาคต" ของ (Marjo Kyllonen ผู้อำนวยการของกรมสามัญศึกษาในเฮลซิงกิ) อ่านแล้วมันใช่นะ เรานำมาใช้กับเด็กพิการได้ด้วยพัฒนาทักษะเด็กได้ในทุกทักษะแบบบูรณาการครูผู้จัดหน่วยหรือกิจกรรมสามารถประเมินได้จากการร่วมกิจกรรมของเด็กว่าเขาเด่น/ด้อย/เราก็เสริมเราก็พัฒนาเราก็จะสามารถบันทึกผลพัฒนาการของเด็กได้ในทุกๆหน่วยหรือกิจกรรมเด็กคนไหนพัฒนาวิชาการได้ส่งเสริมและรีบส่งไปเรียนรวม เรียนอาชีพ หรือเฉพาะทาง หากคนไหนปรับเป็นเรียนที่บ้านก็ส่งต่อให้เรียนรวมหรือเฉพาะทางเขาจัดไป เพราะศูนย์ฯให้บริการแรกเริ่มเท่านั้น ไม่สามารถออกใบจบ ป.6 ให้เด็กได้

ถ้าหากอนาคต "ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ"เกิดขึ้นได้จริงก็สามารถจัดการศึกษาได้ในระดับขั้นพื้นฐาน เด็กจบ ป.6/ม.6/หรือจบประกาศนียบัตรวิชาชีพได้ เมื่อนั้นคงสนุกน่าดู เพราะคงต้องมีหลักสูตรสำหรับเด็กแต่ละคนโดยเฉพาะของเขาจริงๆ

แต่เรา“ศูนย์การศึกษาพิเศษ” เป็น สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษานอกระบบ หรือตามอัธยาศัยแก่คนพิการ ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการจนตลอดชีวิต และจัดการศึกษาอบรมแก่ผู้ดูแลคนพิการ ครู บุคลากรและชุมชน รวมทั้งการจัดสื่อ เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลืออื่นใด ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในประกาศกระทรวง/พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ

หมายเลขบันทึก: 618464เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2016 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2017 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท