3.1 การศึกษากับการสร้างวัฒนธรรมแห่งชาติ


1 การศึกษากับการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม

คำว่า “การศึกษาชุมชน” มีนักวิชาการและนักบริหารงานพัฒนาให้ความหมายไว้หลาย ประการ โดยมุ่งเน้นถึงการเข้าไปศึกษา เพื่อทำความเข้าใจในสภาพต่างๆ ของชุมชน ทั้งทาง ด้านกายภาพ สังคม วัฒนธรรม ประเพณี เศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้เพื่อ วัตถุประสงค์ของการศึกษาชุมชนที่แตกต่างกันไป

โรงเรียนชุมชน

โรงเรียนชุมชนสามารถมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนโดยตรง ทั้งนี้เพราะนอกจาก จะทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทุกเพศทุกวัยและทุกอาชีพแล้วยังเป็นโรงเรียนที่จัดขึ้นโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชุมชนเป็นใหญ่ มีการจัดบริการด้านต่าง ๆ ให้ประชาชนเข้ามาใช้ประโยชน์ เช่น ห้องสมุด โรงฝึกงาน หอประชุม ฯลฯ มีการสำรวจความต้องการและศึกษาปัญหาของคนในชุมชน เพื่อร่วมกันหาทางแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมในทุกด้าน

บทบาทและหน้าที่ของโรงเรียนต่อชุมนุม

เนื่องจากโรงเรียนเป็นสถาบันของสังคมชุมชน มีหน้าที่อบรมสั่งสอนให้แก่บุตรธิดาของชุมนุมนั้น เพื่อให้เขาใช้ชีวิตในชุมนุมได้อย่างมีความสุข ด้วยเหตุนี้ชุมชนจึงควรมีสิทธิที่จะรู้และกำหนดแนวทางได้บ้างว่า เพื่อให้เขาใช้ชีวิตอยู่ในชุมชุนได้อย่างมีความสุข ด้วยเหตุนี้ชุมชนจึงมีสิทธิที่จะรู้และกำหนดแนวทางได้บ้างว่า บุตรธิดาของเขาควรมีลักษณะอย่างไร ควรมีความสามารถทางด้านไหน ควรมีอนาคตอย่างไร เป็นต้น บุคคลที่ควรได้เข้ามากำหนดและรู้ถึงการดำเนินงานของโรงเรียนคือผู้ปกครอง หรือพ่อแม่ของบุตรธิดานั้น ๆ นอกจากบิดามารดาจะเป็นผู้กำหนดแนวทางแล้ว ผู้ปกครองหรือพ่อแม่ยังช่วยขจัดปัญหาการซัดทอดหรือการโยนความผิดให้แก่กันและกันด้วย สิ่งที่ทางโรงเรียนควรให้ผู้ปกครองหรือพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการของโรงเรียน สิ่งที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนก็คือ อุดมการณ์และเป้าหมายของโรงเรียนต่อชุมชน

กำหนดไว้เป็นทางในการปฏิบัติดังนี้

1. ปรับปรุงและส่งเสริมโรงเรียนประถมศึกษาให้เป็นแหล่งให้การศึกษาแก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย

2. เพื่อให้โรงเรียนมีบทบาทในการให้การศึกษาให้เป็นแหล่งให้การศึกษาแก่ประชาชน

3. เพื่อให้โรงเรียนมีบทบาทในการให้การศึกษาตามความต้องการของชุมชนกว้างขวางขึ้น นอกจากทำให้ประชาชนได้รับบริการทางการศึกษา

4. เพื่อให้ประชาชนตระหนักว่าโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนซึ่งชุมชนมีส่วนรับผิดชอบในการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

5. เพื่อปลูกฝังและส่งเสริมประชาธิปไตยขั้นมูลฐานให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น

จากเหตุผลต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วพอจะสรุปได้ว่าทั้งโรงเรียนและชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่จะต้องสัมพันธ์กันตลอดเวลาทั้งนี้ก็เพื่อให้บรรลุถึงจุด หมายที่วางไว้ ตามภาระกิจของโรงเรียนที่มีต่อชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น มีทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง การเศรษฐกิจ และทางด้านวัฒนธรรม

ความหมายของการพัฒนาชุมชน

การพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย 2 คำ คือการพัฒนา และชุมชน

การพัฒนา หมายถึง ทำให้เจริญ การเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนสภาพ ปรับปรุงให้ต่างจากเดิม

ชุมชน หมายถึง การรวมตัวของบุคคล กลุ่ม/องค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน และประชาชนที่อาศัยอยู่ในขอบเขตพื้นที่หนึ่งๆ ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ระดับพื้นฐานที่สุด คือ หมู่บ้าน หรือชุมชนในรูปแบบอื่นๆ ที่มีมารวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาเดียวกัน

การพัฒนาชุมชน ตามหลักพื้นฐานเป็นกระบวนการให้การศึกษา แก่ประชาชนเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ หรือช่วยตนเองได้ ในการคิด ตัดสินใจ และดำเนินการแก้ปัญหา ตลอดจนตอบสนองความต้องการของตนเอง และส่วนรวม

ประเภทของการพัฒนาชุมชน

การแบ่งประเภทของชุมชนนั้นอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. แบ่งตามจำนวนพลเมือง การแบ่งตามชุมชนตามจำนวนพลเมืองนั้นเป็นการแบ่งตามขนาดของชุมชน โดยถือเอาจำนวนพลเมืองในชุมชนเป็นเกณฑ์เช่น หมู่บ้าน เมือง นคร มหานคร

2. แบ่งตามหน้าที่การงานหรือตามลักษณะกิจกรรม การแบ่งชุมชนตามหน้าที่การงานนั้นจัดแบ่งตามลักษณะของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน ได้แก่ ศูนย์การค้า ศูนย์กลางการขนส่ง ศูนย์กลางการบริการ ซึ่งการแบ่งชุมชนทั้ง 3 ดังกล่าวไม่ได้แบ่งแยกลักษณะกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งของแต่ละชุมชนออกจากกัน

3. แบ่งตามความสัมพันธ์ของบุคคล การแบ่งประเภทนี้จะคำนึงถึงความเป็นอยู่และการติดต่อสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม นั่นก็คือ ชุมชนชนบท และชุมชนแบบเมือง

การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถของประชาชนในการแสวงหาความรู้ สร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักการจัดการความรู้ และการวิจัยชุมชนบูรณาการอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนและสังคมโดยรวม ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยให้ประชาชน ชุมชนร่วมกันรับผิดชอบและเห็นถึงความสำคัญในการฟื้นฟูพัฒนาสังคมและชุมชนของตนเอง เ

การศึกษากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

การศึกษานั้นถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่ 5 หรือเป็นเป็นปัจจัยใจหลักที่จะทำให้เราสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ นอกจากนี้แล้วการศึกษาและการเรียนรู้นั้น ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในห้องเรียน เราสามารถเรียนรู้และศึกษาได้ในทุกที่ อย่างไรก็ตามคุณภาพชีวิตกับการศึกษาก็ขึ้นอยู่กับของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน หากเราสามารถนำความรู้จากการศึกษา มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ก็ย่อมเกิดผลดีกับตัวของเราเอง การศึกษาหรือกระบวนการการเรียนรู้สามารถเกิดได้ในทุกวัย สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับสาขากิจกรรมบำบัดได้ เช่นเราสามารถประเมินว่ากิจกรรมใดเหมาะกับผู้รับบริการใด ระดับความรู้ความเข้าใจในแต่ละวัย, ระดับของการศึกษาที่แตกต่างกัน ก็ทำให้เกิดการรู้และเข้าใจที่ต่างกันด้วยเช่นกันเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ บูรณาการความรู้ ประสบการณ์ และทักษะอาชีพ เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยรวม ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่สังคมที่เข้มแข็ง มีความเอื้ออาทรต่อกัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

อ้างอิง: https://sites.google.com/site/jatupatschool/ed461-kar-brihar-kar-suksa/kar-suksa-pheux-phathna-chumchn


วีดีโอที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา:

  • ความรู้เบื้องต้นในการศึกษาชุมชน


เผยแพร่เมื่อ 19 ก.ค. 2013

รายวิชา ลส401 บทบาทครูในการพัฒนาการศึกษาในชุมชน
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


  • การศึกษาชุมชนแบบมีส่วนร่วม


เผยแพร่เมื่อ 9 ก.พ. 2014

การศึกษาชุมชนแบบมีส่วนร่วม



เผยแพร่เมื่อ 8 มิ.ย. 2015



3.1 การศึกษากับการสร้างวัฒนธรรมแห่งชาติ

วัฒนธรรม กับ การศึกษาตามอัธยาศัย การเรียนรู้ตลอดชีวิตเนื่องจากมิติการศึกษาตามอัธยาศัย หรือ การเรียนรู้ตลอดชีวิตเชื่อมโยงเป็นสหวิทยาการ ได้ทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติเชิงประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรม หรือแม้แต่วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วันนี้จะมาเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมวัฒนธรรมคืออะไร ที่ผ่านมาได้มีการนิยาม การสร้างความหมายให้กับวัฒนธรรม กลุ่มที่หนึ่ง มองในแง่ดี โรแมนติค ว่าความหมายของวัฒนธรรม คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม มีความสงบสุข ความมั่นคง เจริญก้าวหน้า

เมื่อใดก็ตามที่เกิดการหลงลืมวัฒนธรรมอันดีงามก็จะประสบปัญหาต่าง ๆอีกกลุ่มหนึ่งนิยามวัฒนธรรมไปในทางตรงกันข้ามก็คือ ในโครงสร้างของวัฒนธรรมมีความไม่ยุติธรรม ไม่เสมอภาค ถูกกดขี่ ไม่เป็นประชาธิปไตย ทางออกของกลุ่มนี้ก็คือ ทุบทำลายวัฒนธรรมและสถาปนาวัฒนธรรมใหม่

วัฒนธรรมที่เป็นความหมายกลาง ๆ ตามที่ได้รับการยอมรับกันก็คือ วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิต (Way of Life) ความหมายนี้ มีความหมายแบบมีชีวิตที่มีทั้งสองด้านของมนุษย์ มีพลวัตร เคลื่อนไหว เชื่อมโยงกันทุกด้านเป็นชีวิตวัฒนธรรม ชีวิตวัฒนธรรม เกี่ยวกับการเรียนรู้ในวัฒนธรรมของเรา เป็นอย่างไร???

ในชีวิตวัฒนธรรมของมนุษย์มีความสัมพันธ์ที่จะต้องเกี่ยวข้องอยู่สามประการคือ ความสัมพันธ์ระดับที่หนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติมนุษย์ตั้งแต่บุพกาล มาจนถึงปัจจุบัน มีความกลัว ไม่มีความมั่นคงในจิตใจ ปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดจากธรรมชาติ ไม่ว่า ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว หิมะตก ไฟไหม้ เปลี่ยนแปลงไปนั้นมีสิ่งเหนือธรรมชาติอยู่เบื้องหลัง เป็นอำนาจที่อยู่เบื้องหลังปราฏการณ์ ท่าทีต่ออำนาจ

เหนือธรรมชาติ นั้นก็คือ ท่าทียอมจำนน ด้วยการเซ่นสรวงบูชา วิธีการเซ่นสรวงบูชา มีนัยความหมายสองประการคือ ประการหนึ่งคือท่าทียอมจำนนว่าเราพึ่งพาธรรมชาติไม่ทำลายธรรมชาติ ประการที่สอง คือ

การรวมพลังทางสังคมชุมชนในพิธีกรรมเหล่านั้น เป็นพลังอำนาจที่รวมคนในสังคมไว้ด้วยหลักการที่ว่าด้วยคนอยุ่ร่วมกับธรรมชาติวิธีชีวิตที่เป็นประวัติศาสตร์ร่วมของมนุษยชาติเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เมื่อเกิดการปฏิวัติ

อุตสาหกรรม ภายหลังยุคสว่าง (Enlightenment) หรือความรุ่งเรืองของวิทยาศาสตร์ความเชื่อดั้งเดิมที่เชื่อว่าธรรมชาติมีเบื้องหลัง เช่นความเชื่อของอินเดียแดงในอเมริกาก็มีความเชื่อเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติอยู่กับทรัพยากร ในขณะที่ผู้บุกเบิกและรุกรานในนามของวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรม ไมได้มีความเชื่อในธรรมชาติแบบดั้งเดิมได้มีความเชื่อใหม่คือ ความร่ำรวย จับต้องได้ จากสภาพความเชื่อที่เปลี่ยนไปทำให้

มีการขุดเอาทรัพยากรไปขายเป็นสินค้า และไล่ล่าชนเผ่าผู้อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นที่น่าเวทนา จนถึงปัจจุบันวัฒนธรรมใหม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง และแปรปรวนของธรรมชาติ จนนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นหาทางออกโดยการเดินทางไปตั้งถิ่นฐานยังดาวดวงอื่นการเรียนรู้ที่เป็นระบบความคิดสมัยเดิม ก็คือ การอยู่กับธรรมชาติ อนุรักษ์ธรรมชาติประทะกับระบบความคิดสมัยใหม่ ก็คือ ความมั่งคั่ง และจัดการทรัพยากรเป็นสินค้าความคิดหลังเกิดขึ้นไม่ถึงสองร้อยปี แต่ก็มีผลให้โลกมีอายุสั้นขึ้น ส่วนความสัมพันธ์ในระบบที่สอง คือ ระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติความสัมพันธ์ชนิดนี้ เกิดจากการสังเกต ความเคลื่อนไหวของธรรมชาติ ฤดูกาล และธรรมชาติของสรรพสิ่ง

ความคิดต่อธรรมชาติก่อให้เกิดเทคโนโลยีต่าง ๆ ขึ้นมา มนุษย์สมัยหินอาศัยถ้ำอยู่ เกิดการประดิษฐ์เครื่องมือในการจัดการอาหาร และการล่าสัตว์เครื่องมือสมัยหินเช่นขวานหิน เครื่องบดเมล็ดข้าว จากหิน การแกะสลักรูปเคารพบูชาต่อมาสมัยยุคเหล็ก เกิดการประดิษฐ์เครื่องมือจากการเรียนรู้เรื่องธาตุตามธรรมชาติก่อให้เกิดเครื่องมือเหล็ก ข้าวของเครื่องใช้อาวุธที่เป็นเหล็ก พอพัฒนาไปหน่อยก็รู้จักการทำโลหะผสม ตลอดจนมีการตกผลึกความคิดเรื่องจากธรรมชาติ โดยเฉพาะชนชาติจีนรู้จัก เฟิง สุ่ย (Geomancy) เพื่อจัดการกับธรรมชาติในการสร้างบ้านเรือน และมีตำราที่เรียกว่า อี้ จิง คือ ตำราว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ ทุกอย่างได้สร้างและเปลี่ยนแปลง สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ เป็นภูมิปัญญา หรือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ของมนุษย์ยุคต่าง ๆต้องการอะไรก็ประดิษฐ์ คิดค้น ทำเอาเอง เลียนแบบบ้างระบบความสัมพันธ์ชนิดนี้ ก่อให้เกิดการผลิตจากการเลียนแบบธรรมชาติ เช่นการผลิตข้าวการเลี้ยงสัตว์ การผลิตข้าวของเครื่องใช้กัน การแลกเปลี่ยนสินค้า เมื่อมีเทคโนโลยีมนุษย์ก็จะหันไปควบคุมทรัพยากรและสังคมอื่น ๆ รุกรานกันเพื่อจะควบคุมพื้นที่และทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นขบวนการล่าอาณานิคมของยุโรปการขยายอาณาเขตของเจงกิสข่าน มีความสัมพันธ์กับการจัดการทรัพยากร พวกยุโรปได้แสวงหาอาณานิคม โดยการทำสงคราม และคิดค้นเทคโนโลยี ผู้ที่มีเทคโนโลยีที่เหนือกว่าก็จะควบคุมทรัพยากร เมี่อควบคุมทรัพยากรของประเทศอาณานิคมได้แล้วก็เข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม นำทรัพยากรที่ได้นำมาถลุง สร้างความเจริญมั่นคงให้กับประเทศเจ้าอาณานิคม พวกนี้นำเอาทรัพยากรไปบำรุงบำเรอประเทศ สร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานเป็นอย่างดี เนื่องจากทรัพยากรนั้นมีจำกัด หลังจากประเทศเจ้าอาณานิคมได้ออกไปจากประเทศเหล่านั้น ก็เพราะว่าเขาได้ทรัพยากรที่สำคัญไปหมดแล้ว จากการได้กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทำให้เกิดการทำลายทรัพยากรอย่างกว้างขวาง และนำมาสู่ภาวะวิกฤติของทรัพยากร จนมาถึงปัจจุบัน การจัดการทรัพยากรนั้นมีคนจำนวนน้อยได้ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพยากร เช่น น้ำมัน ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของระบบอุตสาหกรรม และนวัตกรรมและการจัดการทรัพยากรยุคปัจจุบัน คือ การบริโภค สัญญะ บริโภคตราสัญลักษณ์ และเครื่องอำนวยความสะดวกมาถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ หรือระบบสังคม ความสัมพันธ์ของมนุษย์ตั้งแต่บรรพกาล ก็คือการอยู่กันเป็นชุมชน เป็นกลุ่มชน เนื่องมาจากการกลัวภัย ต่อมาได้เกิดรัฐ และโครงสร้างสังคมแบบเป็นทางการ ได้ก่อเกิดรัฐแบบศักดินา รัฐแบบเผด็จการรัฐแบบเสรีประชาธิปไตย รัฐแบบคอมมิวนิสต์ ประดิษฐกรรมการสร้างรัฐเป็นนัยว่ามาจากมันสมองของมนุษย์เอง ความสัมพันธ์ของมนุษย์ก็เปลี่ยนไป จากความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายไม่เทียมกัน เปลี่ยนแปลงเป็นเท่าเทียมกันจากความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบนายทาส และ ทาส มากลายเป็นความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เคยเปลี่ยนแปลงไปเลย ก็คือ โครงสร้างและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ที่มีผู้ผูกขาดทรัพยากรในสังคมเท่าไร ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงเท่าเดิม แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงในทางให้เกียรติกับเพศที่สาม เรื่องสิทธิมนุษยชน ไปแล้วก็ตามสรุปแล้ว วัฒนธรรมเป็นเรื่องใหญ่ที่เขียนอย่างละเอียดจะได้ตำราใหญ่ ๆ หลาย ๆ เล่มมนุษย์ได้เรียนรู้ตลอดชีวิตจากความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมทั้งสาม คิด สร้าง ผลิตซ้ำมีทั้งดีบ้าง ไม่ดีบ้าง แตกต่างและซับซ้อน ซึ่งมนุษย์ได้เรียนรู้ สร้างความรู้ ผลิตซ้ำความรู้ผลิตซ้ำระบบความคิด ซึ่งการเรียนรู้ชนิดนี้คือ การศึกษาตามอัธยาศัยหรือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต นั่นเอง

อ้างอิง:https://www.gotoknow.org/posts/506275


วีดีโอที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา:

สื่อการเรียนรู้ วัฒนธรรมและประเพณีไทย


เผยแพร่เมื่อ 24 ก.พ. 2016

สื่อการเรียนรู้นี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชาคอมพิวเตอร์
จัดทำขึ้นโดยนักเรียนชั้นม.5/11 โรงเรียนมัธยมวานรนิวาส
เสนอ ครูศิริพร โยทะคง


การเรียนรู้ วัฒนธรรมองค์กร


เผยแพร่เมื่อ 19 ส.ค. 2015


  • พอเพียงเพื่อแผ่นดินเกิด "ภูมิวัฒนธรรม และการศึกษาท้องถิ่น"


เผยแพร่เมื่อ 9 ต.ค. 2015

พอเพียงเพื่อแผ่นดินเกิด "ภูมิวัฒนธรรม และการศึกษาท้องถิ่น" ช่วงที่1 10/10/2015
รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม นักโบราณคดีและนักมานุษยวิทยา
Official Website : http://www.manager.co.th

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษาชุมชน
หมายเลขบันทึก: 618017เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2016 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2016 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท