161102-2 ศัพท์ ที่มักสับสนในการใช้ ชุด W – Who & whom


ศัพท์อังกฤษ

การใช้ภาษาอังกฤษ ที่ถือว่าถูกต้องนี้ อ้างอิงตามมาตรฐานของภาษา


Who & whom

(NOAD) อธิบาย การใช้ “WHO” และ “WHOM”

มีการ โต้แย้งอยู่ต่อเนื่อง ว่า เมื่อใดควรใช้ “who” และเมื่อใดใช้ “whom”

หลักไวยากรณ์ที่เป็นทางการ

กำหนดรูป “who” เป็น “subjective case”

จึงควรใช้ เป็น “ประธาน” ของ กริยา

เช่นประโยค Who decided this?”

และรูป “whom” เป็น “objective case”

จึงควรใช้ เป็น “กรรม” ของ กริยา

เช่น Whom do you think we should support?’

ถึงแม้ ผู้พูด บางรายยังคงใช้ ทั้งสองคำนี้ ตามกฎของไวยากรณ์เป็นทางการ

แต่ก็มีอีกจำนวนมาก ที่ลดการใช้ “whom” น้อยลงตลอดมา

กระทั่ง การใช้ส่วนใหญ่ จำกัดอยู่แต่ ในเนื้อหา ที่เป็นทางการ

ในปัจจุบัน โดยทั่วไปใช้ “who” แทน “whom” เช่น

Who do you think we should support?”

และเมื่อทำได้ ก็ใส่ “preposition” ที่ท้ายประโยคด้วย เช่น

Who do you wish to speak to?”

ปัจจุบัน ยอมรับเป็นการทั่วไป ว่า การใช้แนวนี้เป็น มาตรฐาน

แต่สำหรับการใช้เป็นทางการ ควรยึดถือเรื่องความแตกต่าง


(DPWE) อธิบาย ความยากลำบาก ในการเลือกใช้ “who” หรือ “whom”

รวมถึง “whoever” และ “whomever” เพื่อเขียน หรือพูด ของคนจำนวนมาก

เมื่อศึกษา การใช้ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นได้ถึง ความแตกต่าง ของสองรูปแบบนี้

ส่วนหนึ่งเพราะ เป็นการยากที่จะระบุให้ชัดเจนได้

และ ส่วนหนึ่งเพราะหลายคนเริ่มประโยคด้วย “who” โดยไม่รู้ว่าจะจบประโยคอย่างไร

เพราะคนส่วนมากเห็นว่า “whom” มีความเป็น “ธรรมชาติ” น้อยกว่า “who”

บางครั้งจึง ไม่ยึดถือ กฎทางไวยากรณ์ และเลือกใช้ “who”

แม้เมื่อเห็นชัดเจนว่า ควรใช้ “whom” ก็ตาม


กฎทางไวยากรณ์ เป็นเรื่องไม่ยาก โดย

ใช้ “who” (whoever) เป็นประธาน ของ กริยา หรือเป็น “predicate pronoun

“ใช้ “whom” (whomever) เป็น กรรม ของ กริยา หรือ บุพบท


ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างการใช้ที่ถูกต้อง

“The question who can go is unimportant.”

ในที่นี้ “who” เป็นประธาน ของ “can go”

และ วลี “who can go” ทั้งหมด เป็น “กรรม” ของ บุพบท “of”

“This is the fireman whom we saw on top of the building.”

ในที่นี้ “whom” เป็น “กรรม” ของ .”saw”

“He asked me who I thought would be elected.”

กรณีของ สรรพนาม ขึ้นอยู่กับการใช้ และไม่ควร ได้รับผลกระทบจาก “คำอื่น”

ที่ อยู่ระหว่างหรือก่อนหน้า สรรพนามนั้น”

ประโยคนี้ ตรวจสอบได้ โดย เอา “I thought” ออก

จะเห็นได้ว่า “who” ใช้เป็น ประธาน ของวลี “would be elected”

“I danced with the girl whom everyone suspected the committee had chosen Beauty Queen.”

ในที่นี้ ตรวจสอบได้ โดย เอา “everyone suspected” ออก


คำแนะนำท้ายสุด นอกจากจะแน่ใจว่าใช้ “whom”

ให้เลือกใช้ “who” ไว้ก่อน โอกาสว่า “ถูกต้อง” มีมากเกินครึ่ง


(CCED) อธิบาย การใช้ “who” และ “whom”

ใช้ “who” เมื่อถามเกี่ยวกับ “เอกลักษณ์ของบางคน”

สามารถใช้ “who” ให้เป็น “ประธาน” “กรรม” หรือ “ส่วนเสริม ของ กริยา

และยังสามารถใช้เป็น “object” ของ “preposition”

Who invited you?’

Who are you?’

ข้อควรระวัง

เมื่อใช้ “who” เป็น “กรรม” ของ กริยาหรือ preposition

ให้ตามด้วย “กริยา ช่วย” “ประธาน” และ จากนั้น จึงเป็น “กริยาหลัก”

เมื่อใช้ “who” เป็น “กรรม” ของ preposition หนึ่ง

preposition นั้น ต้องอยู่ที่ท้ายสุดของข้อความ อย่าวางหน้า “who”

Who are you going to invite?’

Who did you dance with?’

คำที่ถือเป็นทางการ “whom” บางครั้งใช้แทน “who”

แต่สามารถใช้ “whom” ให้เป็นได้แต่เพียง “กรรม” ของ กริยา หรือ บุพบท

Whom shall we call?’

‘By whom are they elected?’

ข้อควรระวัง

เมื่อใช้ “whom” ให้เป็น “กรรม” ของ บุพบท

ต้องวาง บุพบท นั้นไว้ “หน้า whom”

บ่อยครั้ง ใช้ “who” ใน “reported clauses”

‘She didn’t know who I was.’

‘We have to find out who did this.’

ใช้ ทั้ง “who” และ “whom”

ได้ทั้งใน “defining และ non-defining” relative clauses”

‘He’s the man who I saw last night.’

‘Joe, who was always early, was there already.’

‘The writer was Philip Pullman, for whom I have great respect.’

และใน “relative clauses” นั้น สามารถใช้ “who” หรือ “which”

ตามหลัง “collective noun” เช่น “family” “committee” หรือ “group”

โดยปกติ ตามหลัง “who” ด้วย กริยา พหูพจน์

และตามหลัง “which” ด้วย กริยา เอกพจน์

‘It is important to have a family who love you.’

‘He is a member of a group which does a lot of charitable work.’

ข้อควรระวัง

เมื่อใช้ “who” เป็น ประธาน ของ “non-defining clause”

อย่าใช้ สรรพนาม อีกคำ ตามหลัง

เช่น อย่าใช้ว่า “He told his mother, who she was very shocked.”

ให้ใช้ว่า “He told his mother, who was very shocked.”


NOAD = New Oxford American Dictionary

DPWE = Dictionary of Problem Word and Expression

CCED = Collins COBUILD English Dictionary

หมายเลขบันทึก: 617801เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2016 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2016 11:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I think ... who...เป็น “ประธาน” ของประโยค ... whom...เป็น “กรรม” ของประโยค (NOAD) is not quite correct, but กฎทางไวยากรณ์ เป็นเรื่องง่าย โดย

“ใช้ “who” (whoever) เป็นประธาน ของ กริยา หรือเป็น “predicate pronoun
“ใช้ “whom” (whomever) เป็น กรรม ของ กริยา หรือ บุพบท

is.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท