แรงงานในสังคมผู้สูงอายุ งาน "วันนิคม จันทรวิทุร" วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2559


สวัสดีครับ ชาว Blog ทุกท่าน ,

วันนี้ผมได้รับเกียรติจากมูลนิธินิคม จันทรวิทูร ให้มาร่วมงาน "วันนิคม จันทรวิทุร" ครั้งที่ 14 ประจำปี 2559 เรื่อง "แรงงานในสังคมผู้สูงอายุ" เพื่อเข้าร่วมประชุม และให้ความเห็นต่อการปาฐกถา หัวข้อ "การบริหารแรงงานในสังคมผู้สูงอายุ : สถานการณ์และข้อเสนอแนะเพื่อการเตรียมความพร้อมของสังคมไทย" และกล่าวสรุปและปิดการสัมมนา ในวันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2559 ณ ห้องประชุม จอมพล ป.พิบูลสงครม ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน จัดโดย กระทรวงแรงงาน ร่วมกับ สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และมูลนิธินิคม จันทรวิทูร

ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ผมจึงขอโอกาสเปิด Blog นี้เพื่อเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันครับ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์





สรุปโดย ทีมงานวิชาการ Chira Academy

เรื่อง “แรงงานในสังคมผู้สูงอายุ”

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2559

ณ ห้องประชุมจอมพล ป.พิบูลสงคราม ชั้น 5 ก.แรงงาน

ปาฐกถาหัวข้อ “การบริหารแรงงานในสังคมผู้สูงอายุ : สถานการณ์และข้อเสนอแนะเพื่อการเตรียมความพร้อมของสังคมไทย”

โดย ม.ล. ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน

การให้ความเห็นต่อการปาฐกถา

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวให้ความเห็นต่อการปาฐกถา หัวข้อ “การบริหารแรงงานในสังคมผู้สูงอายุ : สถานการณ์และข้อเสนอแนะเพื่อการเตรียมความพร้อมของสังคมไทย” สรุปประเด็น ดังนี้

1. เห็นด้วยกับที่ท่านปลัดกระทรวงแรงงานกล่าวถึงบทบาทของกระทรวงแรงงานที่ทุกกรมจะต้องมีการประสานบทบาทร่วมกัน มีคณะกรรมการระดับชาติซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และ การยกตัวอย่างยุทธศาสตร์ 5 เรื่องของกระทรวงแรงงาน

2. ฝากประเด็นเพิ่มคือ

- ตัวละครที่เล่นในแต่ละบทบาทควรทำงานอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

- ควรมีหน่วยงานที่เป็นตัวประสาน ทำแบบ Partnership + Networking + Collaboration อาจให้มูลนิธินิคม จันทรวิทุร ประสาน

- การมองผู้สูงอายุเป็นโอกาสที่ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น

อาทิ การจ้างงานยุคต่อไปจะเป็น Project Based มากขึ้น ผู้สูงอายุในอนาคตจะเชื่อมโยงกับภายนอก สร้างเป็น Project Based เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผู้สูงอายุ

ศึกษาศักยภาพของผู้สูงอายุว่ามีอยู่ที่ไหนบ้าง

ส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยให้มากขึ้น จะทำอย่างไร

- การมองเรื่องความหลากหลาย (Diversity) ระหว่างรุ่นต่าง ๆ

อย่างผู้สูงอายุมีความได้เปรียบและมีประสบการณ์มาก มี Comparative Advantage ในเรื่อง Wisdom

การสร้างให้เด็กรุ่นใหม่มาร่วมทำงานกับผู้ใหญ่ ปัญหาคือทัศนคติ ต้องส่งเสริมเรื่องการให้ประสบการณ์ชีวิตจากผู้สูงอายุ ให้เด็กรุ่นใหม่มองในเรื่อง Pain และ Gain การมองศักยภาพในมิติต่าง ๆ ที่น่าสนใจ

การทำอย่างไรเพื่อเสริมบทบาทผู้สูงอายุ ให้เพิ่มขึ้นในสังคมไทย และสังคมโลก

การอภิปรายเชิงนโยบาย หัวข้อ “แรงงานในสังคมผู้สูงอายุ : สภาพปัญหาและการพัฒนาการบริการของรัฐ และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน”

นางศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

สถานการณ์ที่พบในประเทศไทยปัจจุบันคือคนในวัยแรงงานลดน้อยลง สืบเนื่องมาจาก

1. อัตราการเกิดน้อยลง เหลือเพียงแค่ 1.6% ซึ่งไม่สามารถทดแทนแรงงานในวัย พ่อ แม่ ได้

2. อัตราอายุขัยเฉลี่ยของคนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น คือผู้หญิงอายุขัยเฉลี่ย 78 ปี ผู้ชายอายุขัยเฉลี่ย 71 ปี

ทำให้สิ่งที่พบตามมาคือ จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มีอัตราส่วนของสังคมสูงวัยที่เพิ่มขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากกำลังแรงงานลดลงเรื่อย ๆ

รายได้หลัก ๆ ของผู้สูงอายุ

ส่วนใหญ่จะมาจากคนอื่นถึง 65 % ประกอบด้วย จากลูกหลานที่ให้เงินพ่อแม่ 37% จากเบี้ยยังชีพ 15% และเงินบำนาญในประเทศไทย 5% และอีก 34% ผู้สูงอายุยังคงทำงานเพื่อหารายได้อยู่ และสถิติพบว่ามีแนวโน้มที่ผู้สูงอายุจะทำงานเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังคงมีสุขภาพดี และแข็งแรง

การประกอบอาชีพ

- การประกอบอาชีพค้าขาย เล็ก ๆ น้อย ๆ ทำได้เรื่อย ๆ

- การประกอบอาชีพทางการเกษตร เป็นแรงงานที่ทำจนไม่สามารถทำไหว

- การประกอบอาชีพในระบบ จะเกี่ยวกับการเกษียณอายุการทำงาน

กระทรวงแรงงาน ทำงานภายใต้กรรมการผู้สูงอายุระดับชาติ มีการดูแลในเรื่อง

- ประกันสังคม (บำนาญชราภาพ)

- ทิศทางการเกษียณอายุลูกจ้างจาก อายุ 55 ปี เป็น 60 ปี

- แผนการขยายการมีงานทำของผู้สูงอายุคือ

เรื่องประชารัฐ เน้นการสร้างการมีส่วนร่วม

เรื่องการกำหนดมาตรการจูงใจในการทำงาน

เรื่องการปรับแก้กฎหมายการจ้างงาน

เรื่องการให้โอกาสการทำงานผู้สูงอายุ

เรื่องการจัดทำระบบข้อมูลกำลังแรงงาน

สิ่งที่จะทำคือ 1.การส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ 2. การถ่ายทอดภูมิปัญญา 3. การยกย่องเชิดชูเกียรติ 4.การส่งเสริมการสร้างแรงบันดาลใจ

คุณดวงพร พรพิทักษ์พันธุ์

ผู้ตรวจราชการ สำนักงานประกันสังคม

กล่าวถึงรูปแบบการรับสิทธิประโยชน์

1. Defined Benefit : DB

การเก็บเงินเป็นกองกลาง และมีกำหนดอัตราชัดเจนในการรับเงินผู้สมทบ ไม่ต้องรับความเสี่ยง

2. Defined Contribution : DC

การเก็บเงินรายบุคคลที่มีความเสี่ยง ขึ้นกับการลงทุน ถ้าขาดทุนจะขาดทุนด้วย ถ้าได้กำไรจะได้กำไรด้วย

กล่าวถึงรายละเอียดอัตราการรับเงินบำเหน็จ และเงินบำนาญตามระยะเวลาสมทบ

เส้นความยากจน

แนวทางการพัฒนาคือ 1. ปรับเพดานค่าจ้าง 2. ปรับเพิ่มฐานระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ

ทำอย่างไรให้มีรายได้รองรับหลังการเกษียณที่เพิ่มมากขึ้น

1. ขยายอายุ

2. เพิ่มเพดานเงินสมทบ

จะทำให้ได้รับบำเหน็จและบำนาญเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างอนาคตที่ดีมากขึ้น

นายมนัส โกศล

ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย

กล่าวถึงการสร้างความชัดเจนว่าแรงงานผู้สูงอายุควรจะมีกลุ่มไหนบ้าน กลุ่มสำคัญจะแก้ไขอย่างไร ควรให้มีการบูรณาการกองทุนและผู้สูงอายุเข้าด้วยกัน

- กองทุน กบข. เน้นการกระตุ้นการออม และเบี้ยยังชีพ

- ระบบภาษี ควรมีการเติมเต็มในการดูแลผู้สูงอายุ

- กฎหมายรับรอง ควรมีการออกกฎหมายหลัก และกฎหมายลูกควบคู่ไปด้วยกัน ให้คำนึงถึงแนวทาง กฎหมาย

- กองทุนประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพควรส่งเสริมให้บริษัทสนับสนุนให้มีกองทุนด้วย เพื่อสนับสนุนการออมเงิน อย่างเช่น รัฐวิสาหกิจจะมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บังคับให้ทุกคนทำ และเมื่อเกษียณจะได้บำเหน็จ ทำให้มีเงินตอนสูงอายุ

- อยากให้ดูตัวอย่างระบบภาษี และการดูแลผู้สูงอายุในต่างประเทศ ของกลุ่มประเทศที่เจริญแล้วอย่างแคนาดาว่าเขาทำอย่างไร

- ควรมีการศึกษาข้อมูลค่าครองชีพที่สามารถอยู่รอดได้ ข้อมูลต้องมีความชัดเจน ให้ศึกษาว่าคนต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะอยู่อย่างพอเพียง และส่งเสริมให้มีการบูรณาการกองทุนจะทำอย่างไร

รศ.ดร.ขัตติยา กรรณสูต

อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

รศ.ดร.ขัตติยา กล่าวว่า ควรเน้นในเรื่องภาพรวม ไม่เจาะจงเฉพาะแรงงานที่มีงานทำเท่านั้น

1. กำลังแรงงานผู้สูงอายุเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพ

คาดว่าในปี พ.ศ. 2538 ประเทศไทยจะเป็นประเทศอันดับหนึ่งของผู้สูงอายุ จึงควรคำนึงถึงเรื่องค่าใช้จ่ายจะมีคุณภาพหรือไม่

รายได้ของผู้สูงอายุ

1. เพิ่มขึ้นจากการทำงานและช่วยเหลือตนเอง 5%

2. รายได้จากเงินออม และเงินชดเชย

3. รายได้จากครอบครัวลดลง อาจสืบเนื่องจากค่าใช้จ่ายการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น หรือคุณธรรม ความกตัญญูลูกหลานเสื่อมถอยลงไป

แนวทางการพัฒนาอาชีพผู้สูงอายุ

1. การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากการทำงานในโรงงานเป็น Project Based

2. เพิ่มโอกาสในการทำงานผู้สูงอายุเป็นแผนคู่ขนานกับการเพิ่มศักยภาพของคนในวัยทำงาน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12

1. เพิ่มคุณภาพเมืองไทยให้รับการศึกษาภาคบังคับ 5%

2. การเพิ่มศักยภาพแรงงานไม่ใช่แค่การศึกษา แต่เน้นเพิ่มเทคโนโลยีสมัยใหม่ สร้างความสามารถในการเข้าสู่เทคโนโลยีสามารถนำมาใช้ในการทำงานมากขึ้น เป็น Informative Technology / Comparative Technology ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร

3. เพิ่มศักยภาพผู้สูงอายุ อาทิ เพิ่มการศึกษาให้ผู้สูงอายุสามารถทำงานร่วมกับวัยแรงงานและคนรุ่นใหม่ ให้ผู้สูงอายุสามารถถ่ายทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการรวมกลุ่มมากขึ้น ไม่ทำด้านเดียว ส่งเสริมการทำงานผู้สูงอายุโดยเน้นเรื่องการมีส่วนร่วมและการทำงานให้ดีภายใต้ร่างกายและจิตใจ สร้างคนรุ่นใหม่และผู้สูงอายุทำงานที่เกื้อกูลกัน

Mr. Eduardo Klien

ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชีย Help Age International

การพูดเรื่องประชากรผู้สูงอายุเป็นเรื่องปกติของประเทศในอาเซียนที่มีการพูดกันเป็นประจำ ได้แบ่งกลุ่มประเทศเป็น 3 กลุ่มพบว่า

1. กลุ่มประเทศที่เจริญแล้วอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ มีผู้สูงอายุประมาณ 20-30%

2. กลุ่มประเทศระดับกลาง อย่าง ไทย เวียดนาม พบว่ามีอัตราผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมากในอีก 15 ปี

3. กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอย่าง ฟิลิปปินส์ สปป.ลาว ยังมีอัตราการเพิ่มของผู้สูงอายุในระดับที่ต่ำอยู่

ซึ่งการเพิ่มขึ้นของกลุ่มผู้สูงอายุเป็น Trend ของทั่วโลก ต้องคำนึงถึงเรื่องสภาวะแวดล้อมในการดูแลผู้สูงอายุว่ามีทรัพยากรเพียงพอในการดูแลหรือไม่ มีความพร้อมหรือไม่ เป็นเรื่อง Economic Crisis , Health และ Physical Sustainability หมายถึงต้องดูแลในเรื่องการรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้องสนใจดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว และการดูแลในเรื่องสุขภาพ รวมถึงเงินบำนาญสุขภาพด้วย

ปัญหาที่พบคือ กำลังแรงงานในภาคเศรษฐกิจลดลงที่อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และพบปัญหาเช่นนี้ในหลายประเทศ เช่น จีน

ควรมีการศึกษาเรื่องการเกษียณอายุ และการทำงานหลังการเกษียณ เพื่อลดสัดส่วนการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดูและผู้สูงอายุ จะทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุ และคนในวัยแรงงานทำงานร่วมกันได้อย่างเหมาะสม ทำอย่างไรให้การทำงานมีการเกื้อกูลกันระหว่างคนรุ่นใหม่และผู้สูงอายุ ควรมีการศึกษาในเรื่องการพัฒนาทักษะที่เหมาะสมสำหรับเพิ่มศักยภาพผู้สูงอายุ เพื่อสามารถมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้ด้วย

การแสดงความคิดเห็น

1. การขยายการเกษียณอายุจาก 55 ปี ไปเป็น 60-65 ปี ทำอย่างไรที่กระทรวงแรงงานจะออกกฎระเบียบให้บริษัททำตาม ให้มีมาตรการในการปรับแก้กฎหมาย และเรื่องการขยายเงินสมทบจะทำอย่างไร

ตอบ การทำงานในแต่ละที่ไม่เหมือนกัน การขยายอายุเกษียณอาจเหมาะสมกับบางแห่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ได้ทุกแห่งควรมีการจัดกลุ่มการทำงานที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ

2. ควรมีการนำภาษีไปสนับสนุนกองทุนชราภาพด้วย เนื่องจากคนเสียภาษีจำนวนมาก และให้รัฐบาลส่งเสริมเรื่องการออมให้กลับมาในรูปแบบกองทุน

ตอบ เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่ควรมีการปรับการใช้เงินจากภาษี

3. การออกกฎหมาย 60 ปีเกษียณอายุควรให้ภาครัฐเป็นผู้ผลักดัน และสายด่วนประกันสังคมไม่สามารถตอบปัญหาได้เหมือนตอนเปิดแรก ๆ

ตอบ จะไปปรับปรุงเรื่องการตอบปัญหาที่อาจมีความไม่เข้าใจเรื่องกฎหมายดีเท่าที่ควรจึงไม่สามารถตอบได้ และจะไปดูในเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุ กับการทำงานที่ร่วมกันระหว่างประชาชนและข้าราชการ

สรุปและกล่าวปิดสัมมนา

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. การบรรยายครั้งที่ 14 นี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่ดีมาก น่าจะเชิญคนนอกมาร่วมฟังด้วย เพราะเรื่องแรงงานสูงอายุมีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในเรื่องโอกาสและการคุกคาม

2. น่าจะมีการผลักดันในเรื่องกฎหมาย ปัญหาการออม และรายได้หลังจากการเกษียณมีเพียงพอหรือไม่ การสร้างโอกาสให้ผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุบางคนมีศักยภาพมหาศาล น่าจะเป็นประโยชน์ในการให้ Wisdom เพื่อการเปลี่ยนแปลง

3. การแก้ปัญหา Middle Income Trap ด้วยการส่งเสริม Creative + Techonology

4. การวางแผนการทำงานร่วมกัน อย่างข้าราชการที่มีความรู้ การยกย่องนักวิชาการ การส่งเสริมให้คนคิดเป็นวิเคราะห์เป็น

5. มหาวิทยาลัยที่มีจำนวนนักศึกษาลดลง อาจเพิ่มเติมหลักสูตรระยะสั้น เพื่อส่งเสริมอาชีพ และสร้างประโยชน์ในระยะยาวได้

6. การดำเนินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และความยั่งยืน ได้ยกตัวอย่างที่ ดร.จีระนำมาใช้ สองเรื่องคือการรักษาสุขภาพ และการหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ

7. การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุทำงานร่วมกับคนรุ่นใหม่ได้อย่างดี มีการเกื้อกูลกัน

หมายเลขบันทึก: 617596เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2016 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2016 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท