ข้อคิดจากการ์ตูน


1-ละครและวิถีไทย ดูละคร (เรามักไม่ย้อนดูตน)

2-Don't limit a child to your own learning, for he was born in another time. [ Tagore ]

Cre: Rumi page

3-จิตวิทยาเด็ก

4-กลุ่มดราก้อนบอล(ในเฟสบุ๊ค)

4.1-น้าต๋อยคนพากย์ดราก้อนบอลป่วย เคยเห็นสมาชิกในกลุ่มโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับคนๆหนึ่งที่พาดพิงว่าการ์ตูนเป็นเรื่องไร้สาระ แล้วก็มีเด็กคนหนึ่งที่ดูการ์ตูนผ่านน้าต๋อยมาแต่ และเป็นหมอ (ขออาสาช่วย)

จากชุดข้อมูลและ/หรือ องค์ความรู้ ข้างต้น สอนผมหลายอย่าง ผ่านหลายช่วงอายุ วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และตอนนี้เป็นพ่อคน

การวิพากษ์วิจารณ์ บทนิยาย ไม่ว่าจะเป็น ละคร หนัง หรือแม้แต่การ์ตูน(ก็ไม่เว้น) เป็นสิ่งที่กระทำกันโดยทั่ว แต่บางครั้ง คนวิจารณ์ ก็มักจะล้ำเส้นในส่วนของผู้แต่งไปหลายระยะทีเดียว ทำไมคนนั้นไม่เป็นแบบนี้ ทำไมตัวละครตัวนั้นไม่ทำแบบนั้น

แม้มันจะดูตึงเครียดหรือน่าเบื่อสำหรับบางท่าน แต่ผมกลับสนุกและมีความความสุขกับการแกะปรัชญาต่างๆจากสิ่งรอบข้าง

จาก ข้อ 2

การ์ตูนเปรียบเสมือนเด็ก ถ้าเราพยายามใส่ความเป็นเราเป็นผู้ใหญ่ พยายามใส่โลจิกในธรรมชาติของเด็ก(หรือการ์ตูน) นั่นเรากำลังทำร้ายเขา เรากำลังมีปัญหา เรากำลังฝืนธรรมชาติ ของเขา

ความผิดพลาดทางเทคนิคของผู้จัดทำการ์ตูน ก็เปรียบเสมือน ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก บางอย่างก็มองผ่านไปได้บางอย่างที่อันตรายก็ตักเตือน/วิจารณ์ ในวิสัย

จากข้อ 1

เคยโพสต์ในกลุ่ม (ข้อ-4) ว่า ถ้า คนอย่างฟรีเซอร์ จอมมารบูร (ตัวร้ายในดร้าก้อนบอล) มาเดินตลาดสดในเมืองไทย อาจเจอตบเจอด่าจากแฟนการ์ตูนได้

นี่แหละที่ซ้ำร้าย เราไปกำกับ เนื้อเรื่อง ของคนอื่นมากเกิน บางครั้ง ก็เลยเถิดจน หมดเสน่ห์ของการวิเคราะห์วิจารณ์ เมื่อครั้งถูกติงก็มักจะแก้ตัวว่าขำๆ หลายครั้งที่เราจริงจังในการวิจารณ์ผู้อื่น พูดถึงผู้อื่นในหน่วยในมิติของเรา

หมายเลขบันทึก: 617564เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2016 19:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ตุลาคม 2016 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท