767. SOAR Analysis กับยาเสพติด


ผมขอเขียนสั้นๆ กันลืม ...ด้วยเพิ่งได้ยินเรื่องเล่าจากอาจารย์ท่านหนึ่งที่เป็นวิทยากรบรรยายให้คนติดยาเสพติด ท่านมีโอกาสไปเจอมูลนิธิแห่งหนึ่ง ที่ลุยแก้ปัญหายาเสพติดให้เยาวชน มูลนิธินี้ไม่มีทุนมาก แต่ก็ทำตามมีตามเกิด ปรับเปลี่ยนยุทธวิธีมาเรื่อย จนกระทั่งเริ่มตระหนักได้ว่า.. เด็กที่ติดยาจำนวนมาก มาจากครอบครัวยากจน ทำให้มีปัญหาในตัวเอง..ถ้าอย่างนั้น ถ้าจะแก้ปัญหาเด็กติดยา ก็ต้องแก้ที่ครอบครัวด้วย ...ทำอย่างไรล่ะ ..

เขาไปหาครอบครัวที่ยากจน จากนั้นลองค้นหาว่าครอบครัวนั้นมีจุดแข็งอะไร... ชัดมากครอบครัวหนึ่งทำโรอร่อย ก็เลยเสนอให้ทำโรตีขาย โดยมอบเงินตั้งต้นให้ 5,000 บาท ให้ไปซื้ออุปกรณ์แล้วเชียร์ให้ขายเลย ผ่นไปไม่กี่ปีฐานะครอบครัวดีขึ้น เด็กไม่มีปัญหาอีกด้วยพ่อแม่ไม่ต้องปากกัดตีนถีบมาก จนไม่มีเวลาให้ลูกอีก ..ไม่เครียด ปัจจุบันกลายเป็นเจ้าดังของจังหวัดไปแล้ว..

ผมบอกว่านี่เลย..นี่ไงครับ Appreciative Inquiry ชัดๆ ... AI คือการค้นหาสิ่งดีๆ ในตัวคน โดยเชื่อว่าทุกคนมีเรื่อราวดีๆ ที่ซ่อนเน้นรอการค้นพบอยู่ จากนั้นเชียร์ให้ขยายผล ที่สุดไปแก้ปัญหาไม่ใช่แค่ปากท้อง แต่เป็นยาเสพติดด้วย ...

ถ้าเป็นพิธิการหน่อย ผมนึกถึงวิธีการทำกลยุทธ์โดยใช้ SOAR Analysis ซึ่งเป็น AI Model ที่ใช้ในการวางแผนกยุทธ์

SOAR มาจากคำว่า

Strengths (S) จุดแข็ง ..สำหรับครอบครัวนี้คือโรตี

Opportunities (O) โอกาส …โอกาสอะไรบ้างที่จะเป็นประโยชน์ นั่นคือเงินทุน 5,000 และการสนับสนุนจากมูลนิธิ

Aspiration (A) …ฝันว่าจะทำร้านโรตีให้มีรายได้พอเลี้ยงครอบครัว

Action (A) ลองทำจริง

Results (R) ผมที่เกิดคือรายได้มากขึ้น แถมมี Side Effect คือมีเวลาอยู่กับบ้าน สอนลูกดูแลลูก

ชัดไหมครับ

ขั้นตอนการทำ SOAR Analysis นี้มีง่ายๆ ใช้การตั้งคำถามอย่างเดียวเลย

คุณมีจุดแข็งอะไร...หรืออะไรที่ทำได้ดี... (S)

แล้วโอกาสอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ต่อคุณ (O)

แล้วจากจุดแข็งและโอกาส คุณอยากเห็นอะไรดีๆ เกิดขึ้นในชีวิตคุณ (ตรงนี้อาจต้องไกด์เล็กน้อย... คุณมีฝีมือทำโรตี และได้เงินลงทุน 5,000 บาท คุณคิดว่าจะทำอะไรต่อ (A) ...ขายโรตี... ทำแล้วจะดีอย่างไร..มีรายได้ ..เท่าไหร่ล่ะ แล้วอะไรจะดีขึ้น (R) OK ไหม ถ้า OK เราจะเริ่มยังไงดี ไปซื้ออุปกรณ์ แล้วเริ่มทดลองขายวันจันทร์เลย (A-Action)

เอาง่ายๆ แค่บทสนทนาธรรมดา ก็อาจเปลี่ยนชีวิตคนๆหนึ่งได้...

ฟังมาว่า การทำให้เลิกติดยาไม่ใช่เรื่องยาก แต่การทำให้มีชีวิตอยู่ในสังคมหลังจบสิเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อยผมว่าแนวคิดนี้น่าขยายผลมากๆ เราสามารถช่วยกันตั้งคำถาม ช่วยกันค้นหาได้ว่าเขามีจุดแข็งอะไร แล้วหาโอกาสช่วยเขา ด้วยการให้เขาค้นพบศักยภาพ และสร้างโอกาสได้ด้วยตนเอง ...อาจต้องการความช่วยเหลือบ้าง แต่อาจไม่มาก แค่นี้ก็ไปไกลแล้วครับ

นี่เป็นวิธีการหนึ่งที่มีศักยภาพน่าต่อยอด ...ผมเองในโลกธุรกิจก็ต่อยอดมามากแล้ว ด้วยวิธีการคล้ายๆกัน.. เพื่อสังคมดีๆของเราในอนาคต

บางคนเอาง่ายๆ.. นั่งคุยกับผม..เอ๊รู้สึกว่า ทำไมศึกษาหาความรู้อะไรที่มันนอกตำราอย่างนี้นะ...ดูเหมาะมากๆ เป็นที่ปรึกษา หรือเป็นอาจารย์ก็ได้..

เลยบอกเขาครับ..คุณดูมีจุดแข็งเรื่องการเรียนรู้นะ..อนาคตน่าเป็นอาจารย์หรือที่ปรึกษาด้าน AI ได้เลย มีคือ S ครับ..ที่สุดลูกศิษย์ผมเกิดสนใจ ก็มานั่งคุยกันว่าจะมีโอกาสอะไรบ้างก็พบว่าในประเทศไทยตอนนั้นไม่มีบริษัทไหนทำ AI เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาองค์กรเลย นี่ไง (O) เป็นโอกาสชัดๆ เพราะถ้าทำนี่เป็น Pioneer .. เลยเกิดอยากสร้างบริษัทที่ปรึกษา (A) แล้วเขาก็ทำ แจกนามบัตรเลย ปัจจุบันได้งานมาก มีชื่อเสียง มีรายได้ (R)

ยืนยัน นั่งยันได้เลยว่าวิธีการนี้ใช้ได้ครับ SOAR Analysis ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเร็วมากๆ

ลองทำดูนะครับ

และวันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

บทความโดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์




หมายเลขบันทึก: 617551เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2016 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2021 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท