(148) KM : 'คู่หู' เครื่องมือ 2 ชนิดที่ต่างวัตถุประสงค์กัน


พิสูจน์ให้เห็นกันจะๆ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ว่าเครื่องมือสองชนิดนี้ 'มีความสอดคล้องกัน' จริง .. เพราะมันเป็นธรรมดาที่เครื่องมือหนึ่งๆ ที่ใช้ได้ดีในช่วงเวลาหนึ่งจะเสื่อมประสิทธิภาพลงในภายหลัง

บันทึกนี้เป็นภาคสอง เขียนต่อจากเรื่อง '(147) KM : การจำแนกความรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวช' ค่ะ

ความสอดคล้องของเครื่องมือประเมิน 2 ชนิดต่างวัตถุประสงค์

โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ใช้การประเมิน PTP (Prasri Treatment Paln) ในการรับผู้ป่วยจิตเวชไว้รักษาในโรงพยาบาล PTP พัฒนามาจากแบบประเมิน HoNOS (Health of the Nation Outcome Scale) ประเมินความรุนแรงอาการทางจิตของผู้ป่วยอย่างครอบคลุมทุกด้าน (12 ด้าน) แบบ Holistic หรือเป็นคนทั้งคนครอบคลุมด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อในการดูแลผู้ป่วยของทีมสหวิชาชีพ

ผลการประเมิน PTP สำหรับแต่ละหมวดจะจำแนกออกเป็นความรุนแรงมาก-น้อย 4 ระดับ แต่ละระดับก็จะกำหนดแนวทางไว้ว่าวิชาชีพใดทำอะไร อย่างไร โดยพยาบาลจิตเวช (พยาบาลเจ้าของไข้) จะเป็นผู้ประสานงานในแผนการดูแลของสหวิชาชีพ

เราใช้ PTP ประเมินผู้ป่วยทุกโรค ทุกราย ใช้เป็นเกณฑ์รับผู้ป่วยไว้รักษา ย้ายไปย้ายมาในโรงพยาบาลเพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมกับความรุนแรง ใช้มานานกว่า 10 ปี เป็นที่ ‘ยอมรับ’ กันว่าผลการประเมิน PTP ‘มีความสอดคล้อง’ กับจำแนกประเภทผู้ป่วยจิตเวช (ใน version เก่าในขณะนั้น) โดยไม่มีการพิสูจน์อย่างเป็นทางการ

ในโอกาสที่เรามี 'การจำแนกประเภทผู้ป่วยจิตเวช' version ใหม่ ปรับปรุงแล้วเสร็จโดยชมรมเครือข่ายพยาบาลจิตเวช กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เมื่อปลายปี 2557 เริ่มนำมาใช้จริงในปี 2558-59 (นำเสนอไว้ในบันทึก (147) KM : การจำแนกความรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวช) จึงขอเสนอแนะให้เก็บสถิติการประเมิน PTP และสถิติการจำแนกประเภทผู้ป่วยใน (รับไว้รักษา) เป็นรายบุคคลไว้ หรือทำเป็นวิจัยแบบศึกษาย้อนหลัง เพื่อประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการจำแนกประเภทผู้ป่วย ..

พิสูจน์ให้เห็นกันจะๆ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ว่าเครื่องมือสองชนิดนี้ 'มีความสอดคล้องกัน' จริง ก็เป็นกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงานว่าขณะใช้เครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่งก็เป็นการช่วยให้ใช้เครื่องมืออีกชนิดง่ายขึ้น หรือ หากผลออกมาว่าไม่สอดคล้องกัน ก็แค่ทำกระบวนการทบทวนปรับปรุงให้มันสอดคล้องกันเสีย เพราะมันเป็นธรรมดาที่เครื่องมือหนึ่งๆ ที่ใช้ได้ดีในช่วงเวลาหนึ่งจะเสื่อมประสิทธิภาพลงในภายหลัง ประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติจะช่วยบอกได้เมื่อมี 'ข้อยกเว้น' จำนวนมากขึ้น มากพอจะปรับปรุงเครื่องมือนั้นๆ ให้มีประสิทธิภาพดีเหมือนเดิม .. ดีกว่าเดิมได้ยิ่งดีค่ะ

หมายเลขบันทึก: 617176เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2016 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2016 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยอดเยี่ยมมากครับพี่สาวผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท