ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข


“ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข”

1.ผู้สูงวัยติดเตียงยากจน มีปัญหากลืนลำบาก หกล้มจนปวดหลังรุนแรงและไม่มีคนดูแล

ตอบ -ผู้สูงวัยติดเตียงควรหากิจกรรมที่สามารถให้เขาอยู่ห่างจากเตียง เช่น ให้ผู้ป่วยฝึกบริหารร่างกายโดยการลุกเดิน ออกกำลังกาย หากิจกรรมให้เขามีกำลังของกล้ามเนื้อ

-ปัญหาการยากจนควรให้เขาหาอาชีพเสริมที่ผู้ป่วยสามารถทำเองได้และสามารถทำที่บ้านได้ และเป็นงานที่ไม่เคร่งครัดหรือเร่งรีบและไม่หนักจนเกินไปที่จะมีผลกระทบต่อร่างกาย หรือแจ้งไปยังศูนย์หน่วยงานให้ทำเรื่องขอรับเบี้ยผู้สูงวัย

-ปัญหาการกระตุ้นกลืน โดยนักกิจกรรมบำบัดจะฟื้นฟูทางตรง เช่น การฝึกบริหารกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ควบคุมริมฝีปาก ลิ้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ให้ผู้ป่วยฝึก อ้าปากกว้าง แลบลิ้น เม้มริมฝีปากแน่นแล้วคลายออก ทำปากจู๋สลับฉีกยิ้ม หรือแนะนำให้ทานอาหารที่ปั่นจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันเพื่อฝึกการกลืนได้ง่ายขึ้น

- การจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและนอกตัวบ้าน ให้มีสภาพที่ปลอดโปร่ง และไม่มีสิ่งกรีดขว้างต่อการดำเนินชีวิต เพื่อไม่ให้มีปัญหาในการหกล้มหรือลื่น หากิจกรรม สอนวิธีการนอนที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดแผลกดทับจนเกิดปัญหาปวดหลังรุนแรงหรือแนะนำให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์

2.วัยทำงานมีภาวะซึมเศร้าและไม่มีงานทำ ต้องให้พ่อแม่ผู้สูงวัยเลี้ยงดู

ตอบ -ปัญหาภาวะซึมเศร้า เริ่มจากการที่นักกิจกรรมบำบัดเข้าไปพูดคุยทำความสนิท และทำให้เขาไว้ใจเรา เพื่อที่เขาจะได้กล้าเล่าเรื่องให้ผู้อื่นฟังจะช่วยลดความฟุ้งซ่าน หากิจกรรมยามว่างให้เขาทำ และแลกเปลื่ยนความคิดให้เขาปรับทัศนคติในแง่บวกปัญหาย่อมมีทางออก ทุกอุปสรรคย่อมมีโอกาส การมองโลกในแง่ดีช่วยลดความวิตกกังวล คลายเครียดด้วยร้อยยิ้มและเสียงหัวเราะ และแนะนำให้เขามีแรงจูงใจในการหางานทำ หรือให้เขาศึกษาวิชาชีพเสริม

-แนะนำพ่อแม่ที่เลี้ยงดู ว่าอาการของโรคซึมเศร้าเป็นอย่างไร มีสาเหตุ และวิธีป้องกันอย่างไร เพื่อที่เขาจะให้รับรู้และช่วยแก้ปัญหาได้ดีกว่า

3.วัยรุ่นไม่ไปโรงเรียน ย้ำคิดย้ำทำ ผลัดวันประกันพรุ่ง และติดเกม

ตอบ -ปัญหาวัยรุ่นที่ไม่ไปโรงเรียน อาจเกิดจากปัญหาทางครอบครัว มีการให้ท้ายเกินไป ไม่มีเวลาดูแลลูก ควรพูดคุยกับพ่อแม่หรือผู้ดูแลแนะนำให้เขาอบรมดูแลอย่างใกล้ชิด หรืออาจจะเกิดปัญหาจากโรงเรียน ซึ่งปัญหาติดเกม อาจจะเกิดมาจากการติดเพื่อน และการติดยา เราในหน้าที่นักกิจกรรมบำบัด ควรสร้างแรงจูงใจ พูดคุยหาเหตุและผลให้เขาเข้าใจ

-โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีความคิดซ้ำๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลใจ และมีการตอบสนองต่อความคิด ด้วยการทำพฤติกรรมซ้ำๆ เพื่อลดความไม่สบายใจที่เกิดขึ้น ซึ่งตัวผู้ป่วยเองก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผล วิธีการรักษาที่ได้ผลดีคือ พฤติกรรมบำบัด โดยการให้ผู้ป่วยเผชิญ กับสิ่งที่ทำให้กังวลใจและป้องกันไม่ให้มีพฤติกรรมย้ำทำ ที่เคยกระทำ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มักล้างมือ ก็ให้จับของที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าสกปรก ให้รออยู่ช่วงหนึ่งจึงอนุญาตให้ล้างมือ การฝึกจะทำตามลำดับขั้น เริ่มจากสิ่งที่ผู้ป่วยรู้สึกกังวลน้อยไปหามาก

-ปัญหาวัยรุ่นผลัดวันประกันพรุ่ง ฝึกให้เขามีความรับผิดชอบ เช่นฝึกให้เขาทำงานคนเดียว เพื่อที่จะให้เขามีแรงกระตุ้นในการทำงานม

4.วัยเด็กสมาธิสั้น ก้าวร้าว ตีคนแปลกหน้า และไม่ชอบออกจากบ้าน

ตอบ - เราจะเริ่มพัฒนาศักยภาพของเด็กโดยการฝึกสมาธิ การฝึกฝนการควบคุมตัวเอง ฝึกการทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน แบ่งงานออกเป็นทีละขั้นตอน หรือแบ่งงานให้เป็นชิ้น เช่น ฝึกให้เด็กระบายสี ฝึกให้เด็กเขียนหนังสือตามรอยปะเช่น ขณะที่ลูกทำการบ้าน คุณพ่อคุณแม่ควรใช้เวลาสอนลูกทำ การบ้านแบบตัวต่อตัว ไม่ควรให้ลูกทำการบ้านคนเดียว และหัดให้เด็กนั่งทำงานให้นั่งนานๆสัก5นาทีขึ้นไป โดยไม่ลุกจากโต๊ะบ่อยๆ ให้กำลังใจและเพิ่มความเชื่อมั่นให้ลูก การมอบหมายงานให้ลูกเลือกทำและรับผิดชอบ การไม่กดดันเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ

-การแก้ปัญหาความก้าววร้าว เริ่มจากคนใกล้ตัวหรือพ่อแม่ ต้องช่วยควบคุมอารมณ์อย่าก้าวร้าวตอบ ถ้าผู้อื่นชอบตีคนแปลกหน้าให้หยุดพฤติกรรมก้าวร้าวด้วยความสงบ เอาจริงเช่น จับมือเด็กไม่ให้ตีคนอื่น และถ้าเด็กอาละวาดให้ทำเป็นไม่สนใจจนกว่าเด็กสงบ เมื่อเขาสงบแล้วให้เข้ามาหาเขา หรือการสอนให้เด็กรับรุ้ถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ว่าทำสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดีไม่ควรทำ

-ปัญหาเด็กไม่ชอบออกจากบ้าน แก้ปัญหาโดยการที่หากิจกรรมต่างๆที่ทำนอกบ้าน ที่ทำให้เขารู้สึกว่ามีอะไรที่น่าสนใจและแปลกใหม่ ไม่รู้สึกว่าน่าเบื่อ เช่น การที่ให้เขาได้ไปเล่นสวนสนุก มีการขับจักรยานหน้าบ้าน มีการพาออกไปพูดคุยหรือเล่นกับคนแปลกหน้า เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับตัวเขาเอง


น.ส.กชกร แก้วไสล 5823001 PTOT


เอกสารอ้างอิง :

http://health.haijai.com/3715/

http://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/05012014-1443

http://www.manarom.com/article-detail.php?id=11

https://www.gotoknow.org/posts/592621


หมายเลขบันทึก: 616265เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2016 01:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2016 01:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท