จดหมายถึงพระคุณเจ้า: ฉันเบื่อท่านมาก...มายาสังคม


หลายคนที่มีตราพุทธอยู่ในบัตรประชาชน บ่นเพ้อว่า "ฉันเบื่อท่านมากเลย พระเดี๋ยวนี้ทำตัวไม่เรียบร้อย เจ้ายศเจ้าอย่าง วิ่งหาแต่สมณศักดิ์ ห้องนอนติดแอร์ มีรถส่วนตัว..." แต่คำเหล่านี้ พระคุณเจ้าจะไม่ได้ยิน เพราะในสังคมโลก เราต้องยิ้มให้กันเมื่อพบหน้ากัน บางคนอาจยิ้มด้วยความรู้สึกขมขื่น ไมตรีบนสีหน้าเป็นสิ่งที่คนต้องแสดงออกเพื่อภาพของสังคมที่ดี การคิดอย่างนี้อาจมองโลกในแง่ร้ายเกินไป ซึ่งเป็นก็เป็นจริงอย่างนั้น เพราะท่ามกลางไมตรีบนสีหน้า มีผู้คนจำนวนหนึ่งไม่ได้มีไมตรีบนสีหน้าเพียงอย่างเดียว หากแต่มีไมตรีเคลือบหัวใจสีโปร่งใสเป็นเนื้อเดียวกันอยู่ด้วย พระคุณเจ้าอาจสังเกตได้กับคนที่นุ่งขาวห่มขาว เข้าวัดปฏิบัติธรรม เขาเหล่านี้ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส พื้นผิวบนใบหน้าอ่อนกว่าวัยโดยไม่ต้องฉาบทาด้วยเครื่องประทินผิว เราจะเห็นแววตา สีหน้า และหัวใจจากบุคคลเหล่านี้ นอกจากคนที่เข้าปฏิบัติธรรมดังกล่าวนี้ ก็มีท่านอื่นๆอีกมากมายที่ไม่แสดงตัวตนภายในวัดวาอาราม หากแต่ท่านเหล่านี้มีหัวใจโปร่งใสในจำนวนนี้มีบุคคลที่ไม่ได้มีตราพุทธอยู่ด้วย

เป็นเรื่องน่าคิด เมื่อมีการพูดถึงสิ่งที่สังคมมองว่าไม่ดี เช่น "ทำไมพระวิ่งหาแต่สมณศักดิ์..." ประเด็นดังกล่าวนี้กลายเป็นเรื่องใหญ่เพื่อจะบอกว่า "พระไม่ควรวิ่งหาสมณศักดิ์" แต่ก็ลืมนึกไปว่า พระจำนวนหนึ่งไม่ได้ใส่ใจกับสมณศักดิ์ แต่พระดังกล่าวนี้ก็จะถูกคนจำนวนหนึ่งมองว่า "บวชทำไม? ไม่ได้ช่วยสังคมเลย กินแล้วก็นอน เป็นชีวิตที่ไร้ประโยชน์เสียจริงๆ" เมื่อพิจารณาถึงสังคม สังคมโดยรวมให้ค่าต่อสิ่งใด เกียรติทางสังคมให้ค่าต่อผู้นำการเมืองชุมชนเพื่อยกผ้ามหาบังสุกุลสู่พานรองในวันเผาศพหรือให้ค่าต่อผู้สูงอายุที่มีศีลธรรมในชุมชนมากกว่ากัน เกียรติทางสังคมให้ค่าต่อผู้มียศสูงทางราชการมากกกว่า หรือว่าให้ค่าต่อคนแก่ที่ผ่านความทุกข์ยากลำบากมากกว่ากัน เกียรติทางสังคมให้ค่ากับพระที่มีสมณศํกดิ์สูงกว่าหรือว่าให้เกียรติกับพระตาสีตาสา จึงอาจเป็นสิ่งที่น่าคิดกับปรากฎการณ์ทางสังคมดังกล่าวนี้

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า พระคุณเจ้าจะตระหนักถึงความเหมาะสมกับสมณสารูป สังคมนี้ยังคาดหวังบางอย่างจากพระคุณเจ้า ขณะเดียวกัน หากพระคุณเจ้าได้รับผลกระทบที่ทำให้ความรู้สึกตกต่ำจากสิ่งสวยงามที่พุทธองค์เสนอไว้ หวังว่าพระคุณเจ้าจะประคับประคองตัวเองให้เหนือโลกธรรมเหล่านั้น กุฏิ โบสถ์ ที่พักอาศัย ล้วนแต่เป็นศรัทธาของผู้มีจิตสะอาด เมื่อเข้าไปอยู่ในสถานที่ดังกล่าวนี้ เราควรจะประคับประคองชีวิตอย่างไรเพื่อสืบทอดศรัทธาเหล่านั้นให้ยาวนานตราบชั่วโลกหลานซึ่งไม่ได้หมายเพียงชีวิตของพระคุณเจ้าเท่านั้น

"วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน = ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ"

คำสำคัญ (Tags): #พุทธศาสนา
หมายเลขบันทึก: 616057เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2016 07:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2016 07:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

(อย่าเบื่อไปเลย)...เพราะ มันเป็น เช่น นั้น เอง.

ก่อนจะถึง "เช่นนั้นเอง" ก็ต้องเบื่อหน่ายก่อนสิครับคุณยายครับ :-)

It is difficult to say whether a monk earns his keep from his dhamma practice or from his desire for worldly rewards. The end result can be the same for either path.

It is up to 'us' (ordinary-persons) to 'pay homage' in the right way based on what we know or think. Kalama-sutta is the tool again.

อาจจะคาดหวังนักบวชมากไปน่ะครับ :-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท