Questions & Answers กับ ดร.จีระ


ทุกคำถามของท่านกับคำแนะนำและมุมมองจาก ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

8 มกราคม 2550 

สวัสดีครับชาว Blog 

ผมขอตอบคำถามรุ่นน้องศิษย์เก่าเทพศิรินทร์เรื่องที่ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมนมัสการพระวีระยุทธ ดิษยะศริน อดีตพระสวามีของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ซึ่งขณะนี้พระคุณท่านได้บินมาอุปสมบทเป็นพระอยู่ที่วัดบวรนิเวศฯ ผมเข้าไปเยี่ยมนมัสการในฐานะที่เป็นรุ่นพี่ที่เทพศิรินทร์ เพราะพระวีระยุทธท่านเป็นนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ท่านบอกว่าคุณพ่อของท่านจบสวนกุหลาบ แต่ท่านชอบเทพศิรินทร์ จึงเข้าไปเรียน และยังรักโรงเรียนเหมือนเดิม ผมฟังแล้วภูมิใจมาก ในวันนั้นก็ได้มีโอกาสได้เรียนรู้จากท่านหลายเรื่องด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ทราบว่าท่านกำลังจะตั้งมูลนิธิเกี่ยวกับอากาศยานที่อเมริกาซึ่งก็คงจะมีโอกาสได้ร่วมมือกันในอนาคตต่อไป เลยฝากภาพบรรยากาศในวันนั้นมาด้วย

                                                         จีระ  หงส์ลดารมภ์  

 


 

 

......................................................................................... 

สวัสดีค่ะชาว Blog ทุกท่าน

          สำหรับการเปิด Blog: Questions & Answers กับ ดร.จีระ นี้เพื่อให้ผู้ติดตามผลงานของท่านอาจารย์จีระ และทีมงาน Chira Academy สามารถฝากคำถาม ข้อสงสัยหรือปัญหาต่าง ๆ ถึงพวกเรา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ  ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารจัดการและการพัฒนาองค์กร หรือการพัฒนาความรู้ ความสามารถของตัวท่านเอง แม้แต่ปรัชญาในการคิดและการทำงานที่เป็นประโยชน์ หลาย ๆ ครั้งที่ดิฉันได้มีโอกาสติดตามท่านอาจารย์จีระไปตามที่ต่าง ๆ สังเกตเห็นว่า..การตั้งคำถามดี ๆ ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลาย ๆ อย่างได้เร็วขึ้น และง่ายขึ้น ตรงประเด็นมากขึ้น

          มีกรณีตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจเมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่พวกเราทีมงาน Chira Academy มีโอกาสได้ไปจัดกิจกรรมขยายผลของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ขึ้นที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี มีนักเรียนหญิงคนหนึ่งลุกขึ้นถามคำถามท่านอาจารย์จีระว่า "ในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำนั้น ท่านมีวิธีการเผชิญกับปัญหาและเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้อย่างไร?" ซึ่งน่าสนใจมาก และในวันนั้น ท่าน ดร.จีระ ก็ได้ตอบเด็ก ๆ ไปว่า "ในฐานะที่ผมเป็นผู้นำ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคผมใช้หลักใหญ่ ๆ 3 ข้อในการเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น คือ 1) ผู้นำต้องลด Ego ของตัวเราเองลงและให้เกียรติผู้อื่นมากขึ้น 2) ผู้นำจะต้องมองอนาคตเป็นเรื่องที่สำคัญ และ 3) ผู้นำจะต้องมีคุณธรรม สิ่งเรานี้จะเป็นส่วนช่วยให้เราสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้ด้วยดี"

              และกับคำถามเดียวกันนี้เอง ท่าน ดร.จีระ ท่านเคยถาม ดร.ไมเคิ้ล แฮมเมอร์ เจ้าพ่อเรื่องรีเอ็นจิเนียริ่ง (จากเทปสัมภาษณ์ของรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ระหว่าง ดร.จีระ - ดร.แฮมเมอร์) เขาตอบคำถามนี้ว่า.. "ผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ (Vision) แล้วก็ต้องมีความสามารถทำให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจในวิสัยทัศน์นั้นและทำงานโดยมีเป้าหมายเดียวกัน (Share Vision) และสุดท้ายก็คือต้องทำให้เกิดความสำเร็จ มี Commitment หรือที่ ดร.จีระมักจะพูดเสมอ ๆ ว่า Get things Done."

           จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่าเราได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตรงประเด็น หวังว่า Blog นี้จะมีคำถามที่ดี ๆ มาให้พวกเราได้เรียนรู้กันต่อไปนะคะ

                                                                 วราพร  ชูภักดี

คำสำคัญ (Tags): #ถาม-ตอบ
หมายเลขบันทึก: 61586เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (39)
     สวัสดีค่ะ  ดีใจจริง ๆ ที่ได้มีโอกาสเห็น Blog ของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ยินดีต้อนรับค่ะ
น.ส.ภรณ์ลภัส เรือนประเสริฐ

สวัสดีค่ะ และขอขอบคุณท่าน ดร.จีระ ที่ท่านได้มอบความรู้และข้อคิดต่างๆให้กับผู้ที่มีความรู้อันน้อยนิดได้เพิ่มพูนความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้เข้าใจในวิชาที่เรียนอย่างมากด้วยค่ะ คือว่าตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ดรุณพิทยา และได้เรียนวิชากระบวนการคิดและการตัดสินใจ กับอาจารย์สุดาภรณ์ อรุณดี ซึ่งเป็นผู้แนะนำให้รู้จักแวบไซด์ของท่านดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ขอบคุณมากค่ะ

เรียน ท่านอาจารย์จีระที่เคารพ

         ดิฉันได้ติดตามอ่านบทความของท่านอาจารย์ทางเว็บไซต์ของแนวหน้าเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาซึ่งท่านอาจารย์ได้พูดถึงบทบาทของผู้นำ 3 แนวทางของ Steven Covey ของ Jack Welch และของท่านอาจารย์เอง แต่ทางเว็บไซต์ยังไม่ได้ใส่รายละเอียดลงไป จึงขอความกรุณาท่านอาจารย์จีระ ให้ความรู้ด้วยค่ะ

        ขอขอบพระคุณอย่างสูงล่วงหน้าค่ะ

เรียน  ภรณ์ลภัส เรื่องประเสริฐ

         ต้องขอขอบคุณที่ติดตามงานของผม หวังว่าจะเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กันที่นี่อย่างต่อเนื่อง

                                       จีระ  หงส์ลดารมภ์ 

 

สวัสดีคุณเอมิกาและชาว Blog ทุกท่าน          ผมขอขอบคุณที่ติดตามบทความของผมที่แนวหน้า ซึ่งผมเขียนเป็นประจำทุกวันเสาร์ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผมเขียนถึงบทบาทของผู้นำใน 3 แนวทาง ซึ่งใน web ของแนวหน้าเขาขึ้นตารางไม่ได้ หากใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมก็โปรดคลิ๊กที่นี่ครับ www.chiraacademy.com/article.html ก็จะมีรายละเอียดอยู่ในนั้น           ขอบคุณอีกครั้งและหวังว่าจะติดตามงานของผมต่อไปนะครับ  
สวัสดีครับท่านอาจารย์ ดร.จีระที่เคารพ ผมติดตามอ่าน Blog และผลงานต่าง ๆ ของท่านอาจารย์มาโดยตลอดทั้งบทความที่แนวหน้า รายการโทรทัศน์ และรายการวิทยุที่ 96.5 MHz. รู้สึกชื่นชมอาจารย์มากเพราะอาจารย์เป็นแบบอย่างของการเป็นสังคมการเรียนรู้ตัวจริง อาจารย์มักจะมีความรู้สด ๆ มาใหม่ ๆ มาเล่าให้พวกเราฟังอยู่เสมอ ๆ  ผมดีใจมากที่อาจารย์เปิด Blog นี้ขึ้นมา เพราะผมมีคำถามที่อยากจะขอความคิดเห็นจากอาจารย์และอยากจะ Share ให้กับชาว Blog ด้วยครับคำถามของผมก็คือ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ของอาจารย์เกิดขึ้นได้อย่างไรครับ และจะมีวิธีการยังไงที่จะทำให้เราสามารถเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้?   ขอบคุณครับพันธชาติ  ศรีวงศ์ 

 

 
สวัสดีครับคุณพันธชาติ และชาว Blog 
ขอขอบคุณที่คุณพันธชาติติดตามผลงานของผมอย่างต่อเนื่อง และสนใจที่จะถามคำถามที่มีประโยชน์มาก และก็มีประโยชน์ต่อคนอื่น ๆ ที่ได้ติดตามด้วย ทีตั้งคำถามว่าความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ของผมเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะมีวิธีการยังไงที่จะทำให้เราสามารถเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้? นั้น ก่อนอื่นต้องถามตัวเองกันก่อนว่าเราเข้าใจรึยังว่าความคิดสร้างสรรค์ หรือ  Creativity คืออะไร? ความคิดสร้างสรรค์ก็คือการที่เรามีทางเลือกหลาย ๆ ทาง ซึ่งการที่เราจะสามารถคิดหารทางเลือกหลาย ๆ ทางได้นั้น สำหรับผม ผมคิดว่า Creativity ของผมเกิดจากการที่ผมแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องด้วยวิธีต่าง ๆ ทุกวัน เพื่อให้เรามีข้อมูลที่สด ทันสมัย สามารถนำมาใช้ประกอบการคิดและการตัดสินใจได้ดี ความคิดสร้างสรรค์ของผม1.      เกิดจากการออกกำลังกาย คือ ทุก ๆ เช้าผมจะออกกำลังกาย ส่วนใหญ่จะวิ่ง ประมาณ 1 ชั่วโมง ถือว่าค่อนข้างหนัก แต่การออกกำลังกายทำให้ร่างการเราหลั่งสารเอ็นโดฟินออกมาซึ่งผมคิดว่ามันทำให้ผมเกิดความคิดสร้างสรรค์ แต่ต้องระวังเพราะมันจะมาเร็วไปเร็วมากต้องพยายามจดจำความคิดสร้างสรรค์ที่มันเกิดขึ้นมาในช่วงนั้นให้ดี2.      เกิดจากทฤษฎี 4L’s ของผม คือ บรรยากาศในการหาความรู้ ผมชอบบรรยากาศในการหาความรู้ที่มันสบาย ๆ Relax 3.      เกิดจากการที่ผมเป็นนักอ่าน ผมชอบอ่านมุมมองของผู้เขียนที่เก่ง ๆ ในโลก เช่น เมื่อวันก่อนนี้ผมอ่านบทความเกี่ยวกับการเลือกตั้งปี 2008 ของอเมริกา ซึ่งก็น่าสนใจว่าการเลือกตั้งครั้งนี้อาจจะเป็นการแข่งขันกันระหว่างนางฮิลลารี่ คลินตัน กับ วุฒิสมาชิกบาแร็ค โอบามา จากมลรัฐอิลินอยส์ สังกัดพรรคเดโมแครต นักการเมืองผิวดำบทความนี้ได้สะท้อนอะไรหลาย ๆ อย่าง แต่ที่น่าสังเกตคือ อเมริกาพร้อมหรือไม่ที่จะยกย่องให้ผู้หญิงก้าวขึ้นเป็นผู้นำหมายเลขหนึ่ง หรือจะยกย่องให้คนผิวดำเป็น? ซึ่งในบทความนี้ก็มีคำตอบอยู่แล้วว่า ณ วันนี้อเมริกายอมเปิดทางให้กับผู้หญิงแต่ยังไม่เปิดสำหรับคนผิวดำ ก็เลยถือโอกาสนำมาเล่าให้ฟัง ยังคงมีอีกหลายเรื่องที่ผมอยากจะเล่าให้ฟังซึ่งก็ขอให้ติดตามกันต่อไปนะครับ                           
จีระ หงส์ลดารมภ์
สวัสดีครับท่านอาจารย์จีระที่เคารพ

ผมทราบข่าวว่าท่านอาจารย์ไปร่วมบรรยายเรื่อง HR กับ Innovation ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงมา 2 ครั้งแล้ว ไม่ทราบว่าเป็นโครงการอะไรครับ อยากทราบรายละเอียดเพราะว่าผมกำลังสนใจเรื่องนี้อยู่ครับ ต้องขอความกรุณาจากท่านอาจารย์ด้วยนระครับ

                                             ชาญชัย
อัศรีนา รัตนวงศ์เจริญ

สวัสดีค่ะ อาจารย์จีระ

     ดิฉันมีเรื่องขอเรียนถามอาจารย์จีระ  ดังนี้ค่ะ ดิฉันอยากทราบว่า อาจารย์ได้ไปบรรยายเรื่อง HR and Innovation ที่ ม.รามคำแหงมา 2 ครั้งแล้ว   ดิฉันอยากทราบว่าเป็นโครงการอะไรค่ะ

                                  อัศรีนา  รัตนวงศ์เจริญ

เรียน   คุณอัศรีนา  รัตนวงศ์เจริญ            
           โครงการที่ว่าเป็นโครงการปริญญาโทเรื่องนวัตกรรม ครับ ผมได้เข้ามาช่วย ดร.ศุภชัย  หล่อโลหะการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งในวันนั้นผมได้ไปบรรยายเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ กับ Innovation ให้กับ นักศึกษาปริญญาโทมหาวิทยาลัยรามคำแหงครับ ซึ่งในวันนั้น ผมก็รู้สึกว่านักศึกษาแต่ละคนได้ให้ความสนใจในรายวิชา HR and Innovation มากครับ เพราะว่า ในวันนั้นผมได้ลองให้นักศึกษาเขาทำ Workshop ลองคิด Product ทางด้าน Innovation มากลุ่มละ 1 หัวข้อ และ HR ได้เข้าไปมีบทบาทอย่างไรบ้าง ซึ่งแต่ละกลุ่มก็ตอบได้ดีครับ  
          สุดท้ายผมขอขอบคุณที่คุณอัศรีนา ให้ความสนใจติดตามงานของผมครับ
                   จีระ  หงส์ลดารมภ์

สวัสดีค่ะ อาจารย์จีระ

           ดิฉันได้ติดตามอาจารย์มาโดยตลอดค่ะ ทั้งในรายการโทรทัศน์ และทางวิทยุ ทราบมาว่า อาจารย์เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ไม่ทราบว่าอาจารย์มีโครงการจะเปิดหลักสูตรปริญญาโทหลักสูตรใหม่ หรือไม่ค่ะ และอาจารย์จะเริ่มเปิดหลักสูตรเมื่อไหร่ค่ะ  ขอบคุณค่ะ

                                  กาญจนาพร  สมควร

เรียน   คุณกาญจนาพร

         ขอบคุณครับที่ติดตามรายการของผมเป็นประจำ  เรื่องที่ถามว่า มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดจะเปิดหลักสูตรปริญญาโทหลักสูตรใหม่ หรือไม่ และเมื่อไหร่ นั้น          ทางมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด กำลังเปิดหลักสูตรปริญญาโททางด้านนวัตกรรม ขึ้นครับ จะเริ่มประมาณ เดือนมิถุนายน 2550 โดยจะรับรุ่นแรกประมาณ 40 คนครับ         หลักสูตรนี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ โดย ดร.ศุภชัย  หล่อโลหะการ ผู้อำนวยการ เป็นผู้ริเริ่มโครงการ ร่วมกับ ผม มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด และทีมงานของผมก็จะเข้ามาช่วยด้วยครับ  ในหลักสูตร ก็จะประกอบด้วย วิชาเศรษฐศาสตร์  การเงิน  การตลาด  และ HR มากเป็นพิเศษ  ซึ่งทั้งนี้ ผมก็อยากให้มีผู้ที่เข้าเรียนประกอบด้วย ตัวแทนจาก ข้าราชการ ร่วมกับ นักธุรกิจ  ด้วยครับ   จีระ  หงส์ลดารมภ์ 

สวัสดีค่ะอาจารย์จีระ

 ดิฉัน นางสมศรี  ควรคนึง ได้ติดตามกิจกรรมของอาจารย์จีระ และ สารคดีสั้นชุดเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ที่ออกอากาศทางช่อง 11 มาโดยตลอด และได้ทราบว่า อาจารย์ได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่โรงเรียนราชดำริ  ดิฉันจึงขอเรียนถามอาจารย์ 2 เรื่องดังนี้ค่ะ

1. ดิฉันอยากทราบว่าโรงเรียนราชดำริ อยู่ที่ไหนค่ะ และทางโรงเรียนมีวิธีเชิญอาจารย์ไปบรรยายได้อย่างไรค่ะ

2. โรงเรียนราชดำริได้ดำเนินการเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไรบ้างค่ะ

สุดท้ายนี้ ดิฉันขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้อาจารย์คิดอะไรสมหวังตลอดปี 2550 ค่ะ

สมศรี  ควรคนึง

เรียน  คุณสมศรี  ควรคนึง        
       
        ขอบคุณครับที่ติดตามรายการ ฯ  และกิจกรรมของผมเป็นประจำ  เรื่องที่ทางโรงเรียนราชดำริได้เชิญผมไปบรรยายนั้นเป็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงครับ บรรยายในวันอังคารที่ 26 ธันวาคม 2549 ให้กับนักเรียน และอาจารย์กว่า 300 คน  สำหรับบรรยากาศในวันนั้น ทางโรงเรียนใช้วิธีการเรียนรู้เหมือนที่ผมได้เคยพูดไว้เป็นประจำคือ การใช้หลักทฤษฎี 4 L’s  มีจัดโต๊ะแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อให้นักเรียน และอาจารย์ได้มีการทำ Workshop ครับ  ซึ่งผมก็ได้นำภาพบรรยากาศใส่มาให้ดูด้วยครับ โดยสามารถเปิดไปที่ Blog ของผมเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโรงเรียนราชดำริ และที่น่าสนใจคือ โรงเรียนราชดำรินั้น  อยู่ใกล้กับสวนหลวง ร.9 ซอยเฉลิมพระเกียรติ 28 ซึ่ง ก่อนที่ผมจะไปบรรยายนั้น ผมก็ได้ไปวิ่งที่สวนหลวง ร.9 มา อากาศ และดอกไม้สวยมากครับ        
        สำหรับเหตุผลที่ผมได้รับเชิญไปบรรยายที่โรงเรียนราชดำริ ก็เนื่องจากว่า นักศึกษาปริญญาเอกที่เคยเรียนกับผม อาจารย์ปรารถนา ได้รู้จัก กับครูตุ๋ม ที่โรงเรียนราชดำริ ซึ่งทางโรงเรียนนั้นมีความสนใจในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง และทราบว่าผม และทางมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ได้ศึกษาและน้อมนำหลักปรัชญาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปเผยแพร่ทั้งในประเทศเพื่อนบ้าน และจัดสัมมนาในประเทศมาโดยตลอด ประกอบกับ ทราบว่าผมได้ร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จัดทำสารคดีสั้นชุดเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ขึ้น ทางโรงเรียนจึงเชิญผมไปบรรยายครับ   
         นอกจากนี้ ผมได้ทราบว่าทางโรงเรียนราชดำริได้ดำเนินการในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปบ้างแล้ว  ในเรื่อง
1.    การพลังงาน
2.    การออม
3.    ประหยัด
4.    การกำจัดขยะ
          ผมจึงขอชื่นชมสำหรับโรงเรียนนี้มากครับ และในอนาคตผมคงไปเยี่ยมเยียนที่โรงเรียนราชดำริ บ่อยมากขึ้นครับ  
         สุดท้ายนี้ ผมขอขอบคุณคุณสมหญิง และชาว Blog ทุกท่านที่ติดตาม Blog ผมมาโดยตลอดครับ สำหรับปีใหม่นี้ ผมขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงดลบันดาลชาวไทยทุกคนมีความสามัคคี และมีความสุขตลอดไปครับ  สวัสดีปีใหม่ครับ                                
                          
                           จีระ  หงส์ลดารมภ์ 

เรียนอาจารย์จีระ

สวัสดีปีใหม่ 2550 ครับ  ผมติดตามคอลัมภ์บทเรียนจากความจริงเป็นประจำเริ่มตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ครับ ผมอยากทราบว่า เพราะเหตุใดอาจารย์จึงตัดสินใจใช้ชื่อคอลัมภ์บทเรียนจากความจริง  และอาจารย์เขียนมากี่ปีแล้วครับ  และ ผู้อ่านจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างครับ  ขอบคุณครับ

                                     รัชพล  แตงน้อย

เรียน  คุณรัชพล  แตงน้อย           
       
        ขอบคุณครับที่ติดตามคอลัมภ์บทเรียนจากความจริง ของผมเป็นประจำ  เพราะว่าทุกอาทิตย์ ผมจะนำประสบการณ์และความรู้ของแต่ละสัปดาห์ ที่ผมได้พบหรือจัดกิจกรรมในทุกสัปดาห์ โดยเฉพาะในเรื่อง การศึกษา การพัฒนาคน หรือเหตุการณ์ที่น่าสนใจในแง่มุมต่าง ๆ และคาดว่าจะเป็นประโยชน์ ผมก็จะนำมาเล่าและวิเคราะห์ให้ผู้อ่านเป็นประจำทุกวันเสาร์ ทางหนังสือพิมพ์แนวหน้า ในคอลัมภ์บทเรียนจากความจริงครับ และในปี 2550 นี้ คอลัมภ์บทเรียนจากความจริงก็จะขึ้นปีที่ 5 แล้วครับ  ซึ่งผมได้วางแผนไว้ว่าจะรวบรวม และคัดเลือกบทความที่น่าสนใจ จัดพิมพ์เป็น Pocket Book โดยผมจะเพิ่มบทวิเคราะห์ และประเด็นที่น่าสนใจในแต่ละคอลัมภ์เพิ่มเติมด้วยครับ  และสำหรับ Pocket Book บทเรียนจากความจริง ที่ผมจะจัดทำนี้ ถือได้ว่าเป็น Pocket Book เล่มที่ 3 ครับ ต่อจาก เรื่อง ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ และเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงานครับ          
         สำหรับคุณรัชพล  และผู้อ่านที่ติดตามคอลัมภ์ของผมทาง น.ส.พ.แนวหน้าเป็นประจำ ถ้าวันไหนไม่ได้ซื้อ ก็สามารถติดตามได้ที่ www.naewna.com คอลัมภ์บทเรียนจากความจริง ทุกวันเสาร์ ครับ ทั้งนี้ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ที่อ่านและติดตามคอลัมภ์ของผม จะได้รับความรู้  มีโลกทัศน์ และแนวคิดสำหรับความเข้าใจในเรื่อง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ครับ                        
                 
                         จีระ  หงส์ลดารมภ์  

                                         

สวัสดีครับอาจารย์จีระ

           ผมเป็นแฟนประจำรายการคิดเป็น...ก้าวเป็น กับ "ดร.จีร  และติดตามรายการฯ มาอย่างต่อเนื่องครับ แต่พอประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน 49 ที่ผ่านมา  จนถึงวันนี้ ผมไม่ได้เห็นรายการคิดเป็น...ก้าวเป็น กับ ดรจีระ  เลยครับ ผมอยากทราบว่า รายการฯ ของอาจารย์ ย้ายเวลาหรือไม่ครับ และถ้าจะติดตามรายการฯ ของอาจารย์ต้องทำอย่างไรครับ  ขอบคุณครับ

โกศล  วิจิตรทฤษฎี

กรรณิการ์ อยู่เย็น

เรียน อาจารย์จีระ  ที่เคารพ

          ดิฉันติดตามสารคดีสั้นชุดเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ในรายการมุมใหม่ไทยแลนด์ มาตลอดคะ ทราบมาว่ามีทั้งหมด 40 ตอน ดิฉันรู้สึกสนใจมากค่ะ  และอยากจะนำไปสอนลูก ๆ ดิฉันค่ะ ถ้าดิฉันสนใจอยากซื้อเทปรายการฯ ไม่ทราบว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ  และหลังจากที่จบสารคดีสั้นชุดเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์แล้ว อาจารย์มีโครงการทำอะไรต่อค่ะ ขอบคุณค่ะ

                                              กรรณิการ์  อยู่เย็น

สวัสดีค่ะ

ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ได้ยินชื่อเสียงของอาจารย์มานานตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา แต่พึ่งจะได้มีโอกาสติดตามผลงานของอาจารย์อย่างจริงจังก็เมื่อประมาณหนึ่งปีที่ผ่านมานี้เอง ดิฉันติดตามรายการโทรทัศน์และบทความทางหนังสือพิมพ์เป็นประจำค่ะ

 ดิฉันทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรในองค์กรเล็กๆซึ่งได้นำแนวทางของอาจารย์ไปใช้ในการทำงาน ทำให้ดิฉันมองเห็นว่าคนทุกคนมีคุณค่าไม่ว่าจะอยู่ในส่วนไหน เราจะต้องดึงศักยภาพจากตัวเขามาใช้ให้ได้มากที่สุดจะทำให้เกิดผลดีกับองค์กร การให้โอกาสในการพัฒนาก็เป็นการเพิ่มศักยภาพให้ดีขึ้นด้วย

ดิฉันอยากให้อาจารย์กรุณาเสนอแนวทางการบริหารคนองค์กรเล็กๆในการปรับกระบวนทัศน์ให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไรค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ปนัดดา สังขทิพย์

เรียน  คุณโกศล  วิจิตรทฤษฎี     
                
          ขอบคุณครับที่เป็นแฟนประจำรายการฯ ของผม และต้องขอโทษครับที่ไม่ได้แจ้งให้ทราบก่อนล่วงหน้าว่ารายการฯ ที่ออกอากาศทางช่อง UBC 07 มีการปรับเปลี่ยนผังรายการฯ ซึ่งทาง UBC 07  นั้นจะพยายามปรับรูปแบบเป็นรายการฯ ข่าวทั้งหมดครับ  รายการฯ ที่ออกทางช่อง UBC 07 จึงย้ายไปอยู่ช่วงใหม่ โดยรายการฯ ของผม คาดว่าจะไปอยู่ที่ช่อง UBC 08 และคาดว่าจะเริ่มออกอากาศในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 เป็นตอนแรกครับ  แล้วผมจะประชาสัมพันธ์ วัน เวลา และสถานที่ออกอากาศให้ทราบอีกครั้งนะครับ  แต่ในช่วงนี้ คุณโกศล ก็สามารถติดตามรายการฯ อีกรายการของผมได้ครับ คือ รายการ สู่ศตวรรษใหม่ ออกอากาศทางช่อง 11 ทุกวันจันทร์สัปดาห์ที่ 1 ของเดือน เวลา 14.05 – 15.00 น. ครับ ขอบคุณครับ                              
                            
                             จีระ  หงส์ลดารมภ์
เรียน     คุณกรรณิการ์  อยู่เย็น
              ขอบคุณครับที่ติดตามสารคดีสั้นชุดเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ มาตลอดครับ เพราะผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์ และจะทำให้คุณกรรณิการ์มีความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้นครับ เพราะเศรษฐกิจพอเพียงนั้นสามารถน้อมนำไปปฏิบัติได้กับทุกคนครับ  และจะเป็นประโยชน์มากครับ ถ้า คุณกรรณิการ์เรียนรู้อย่างเข้าใจและไปเผยแพร่ ได้ ซึ่งถ้าคุณกรรณิการ์สนใจเทปสารคดี สามารถติดต่อไปได้ที่เบอร์ 0-2884-9420-1 ครับ                                                                                            
                  
                       จีระ  หงส์ลดารมภ์ 

เรียน   คุณปนัดดา  สังขทิพย์       

            ขอบคุณครับ  สำหรับคำถาม และการติดตามผลงานของผมมาโดยตลอด คำถามที่คุณปนัดดา สนใจนั้น เป็นคำถามที่ดีมากครับ สำหรับการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการบริหารงานในปัจจุบันครับ โดยเฉพาะการบริหารคนในองค์กรขนาดเล็ก เรื่องกระบวนทัศน์แบบใหม่ หรือเรียกอีกอย่างนึงว่า Paradigm Shift จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งครับ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรภาคเอกชน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอันดับแรกคือ ความพอใจของลูกค้าครับ แต่องค์กรราชการก็สำคัญเช่นกันนะครับ แต่อาจเป็นเรื่องที่ต้องระวังสำหรับการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่มากเกินไป  ทั้งนี้ ผมจึงขอฝาก ประเด็นเรื่องกระบวนทัศน์ไว้ดังนี้ครับ

1.   ต้องศึกษาสถานการณ์รอบ ๆ ตัวก่อนครับ ว่าเป็นอย่างไร มีโลกทัศน์ที่กว้างครับ

2.   มีความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจครอบครัว ถ้าไม่สามารถปรับเปลี่ยน ยังคงทำแบบเดิมธุรกิจคงไม่สามารถอยู่รอด ดังนั้นจึงต้องพยายามมองให้เข้าใจ และชัดเจนมากขึ้น เหมือนการใส่แว่นที่ทำให้มีภาพชัดเจนขึ้นครับ

3.   เข้าใจถึงโอกาส และการคุกคาม รู้จักหลีกเลี่ยงการคุกคาม และ รู้จักการฉกฉวยโอกาส เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพตัวเอง  เช่น ไปทำการตลาดในอินเดีย รู้จักวิธีการเจรจาต่อรอง   ทำธุรกิจด้านความรู้ วัฒนธรรมข้ามชาติ  ด้านภาษาต่างประเทศ

4.   กระจายความรู้สู่คนในองค์กร  รู้จักวิธีการแสวงหาความรู้

5.   สามารถแก้ปัญหาด้านอุปสรรค และขจัดความขัดแย้ง เช่นธุรกิจครอบครัว ควรเน้นเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง เป็นต้นครับ

           สุดท้ายประเด็นที่ผมอยากฝากคือ ต้องรู้จักการเรียนรู้ตลอดเวลา และ สามารถทำงานแบบคิดถึงกระบวนทัศน์ใหม่ในการทำงานรูปแบบใหม่ครับ จึงจะสามารถุทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ

                        จีระ  หงส์ลดารมภ์

สุนันทา เมธารัตนกิจ

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

ดิฉันเป็นอาจารย์ประจำสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งซึ่งติดตามความรู้ของอาจารย์ตลอดมาค่ะ เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ทราบว่ามหาวิทยาลัยกรุงเทพเชิญท่านอาจารย์ไปเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง Global Vision and Local competence: Thailand's Perspective. ไม่ทราบว่าในวันนั้นอาจารย์มีเอกสารแจกหรือไม่คะ อยากขอความรู้จากท่านอาจารย์ด้วยค่ะ หากมีภาพบรรยากาศด้วยก็ขอชมภาพบรรยากาศเหมือนเช่นใน Blog อื่น ๆ ที่อาจารย์มักจะมีภาพบรรยากาศมาฝากให้ดูกันด้วยไม่ทราบว่าจะเป็นการรบกวนอาจารย์หรือไม่ค่ะ แต่อย่างไรก็ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ล่วงหน้านะคะ

                                      อ. สุนันทา 

นักเรียนเก่าเทพศิรินทร์
สวัสดีครับพี่จีระที่เคารพ

ผมเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์เหมือนกันครับ ได้ทราบข่าวจากทางสมาคมฯ ว่าพี่จีระได้มีโอกาสไปกราบนมัสการพระวีระยุทธ ดิษยะศริน อดีตพระสวามีของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่วัดบวรนิเวศไม่ทราบว่าพี่จีระจะช่วยเล่าบรรยากาศในพวกเราได้รับความรู้ด้วยได้ไหมครับ

                                       รุ่นน้องเด็กเทพฯ

สวัสดีครับชาว Blog 
ผมขอตอบคำถามรุ่นน้องศิษย์เก่าเทพศิรินทร์เรื่องที่ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมนมัสการพระวีระยุทธ ดิษยะศริน อดีตพระสวามีของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ซึ่งขณะนี้พระคุณท่านได้บินมาอุปสมบทเป็นพระอยู่ที่วัดบวรนิเวศฯ ผมเข้าไปเยี่ยมนมัสการในฐานะที่เป็นรุ่นพี่ที่เทพศิรินทร์ เพราะพระวีระยุทธท่านเป็นนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ท่านบอกว่าคุณพ่อของท่านจบสวนกุหลาบ แต่ท่านชอบเทพศิรินทร์ จึงเข้าไปเรียน และยังรักโรงเรียนเหมือนเดิม ผมฟังแล้วภูมิใจมาก ในวันนั้นก็ได้มีโอกาสได้เรียนรู้จากท่านหลายเรื่องด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ทราบว่าท่านกำลังจะตั้งมูลนิธิเกี่ยวกับอากาศยานที่อเมริกาซึ่งก็คงจะมีโอกาสได้ร่วมมือกันในอนาคตต่อไป ผมได้บันทึกภาพไว้ด้วยแล้วจะให้ทีมงานของผมเขาส่งมาให้ดูนะครับ
จีระ  หงส์ลดารมภ์  
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

กราบเรียนอาจารย์ดร. จีระ

พวกเราเป็นนักศึกษาของม.สวนสุนันทาจากการที่ได้ศึกษาเรื่องทฤษฎี  4 L'S และ 8 H's จึงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องการนำทฤษฎีเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและนำไปพัฒนาตนเองได้อย่างไรค่ะ

นายชาติชาย ศรีสุวรรณาภรณ์ เลขที่ 31 0892064874

นายธนวิต เกิดพุฒ เลขที่ 32 0830251217

น.ส.วรรณศิริ แนวโอโล เลขที่ 33 0849731820

น.ส.อริยา ชัยชาญ เลขที่ 34 0847592980

น.ส.สุวรรณี ป้อมภู่ เลขที่ 35 0812565711

นายณัฐสิทธิ์ พึ่งสุข เลขที่ 36 0892124463

น.ส.ณัฐยา ลิ้มสำราญ เลขที่ 38 0879004602

น.ส.อุมาวรรณ ศรีโรจน์นพคุณ เลขที่ 39 0839059608

นายนรรธชัย พูลสมบัติ เลขที่ 40 0837775040

 

 

มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา

กราบเรียน ดร.จีระ

พวกเราเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสวนสุนันทา

พวกเรามีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องการใช้ทฤษฎีต่าง ๆ แต่ที่พวกเรางงและสงสัยเป็นอย่างยิ่งก็คือ ทฤษฎี 4 L ว่ามีข้อบ่งใช้อย่างไรเพราะตอนนี้พวกเรากำลังศึกษาในวิชา  การคิดและการตัดสินใจ  ของอาจารย์โลตัส  จึงขอรบกวนอาจารย์ ดร. จีระ ช่วยชี้แนะด้วยนะค่ะ

1. นายวราวุฒิ  แกล้วกล้า

2. น.ส. พันทิพา  ประจิตร  086-5740203

3. น.ส. แสงเพชร  ผลจันทร์  084-7113173

4. นายยุทธนา  ทองเชื้อ 

5. น.ส. จุรีพร  ภิรมย์รักษ์

6. นายเสฐียรพงษ์  เสมใจดี

7. น.ส. สุกัลยา  เชื้อทหาร  084-0740079

 8. น.ส. กฤติยานี  เทียบแก้ว 089-1049964

9. น.ส. ฐิติกานต์  ถานะ  089-5660283

10. น.ส. ภาวิณี  กิตติอุดม  087-6955578

 

 

 

สวัสดีครับ นักศึกษา ม.สวนสุนันทา       
           ขอบคุณครับที่สนใจในเรื่อง ทฤษฎี 4L’s  ของผม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษานั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจครับ เพราะว่า ทฤษฎี 4 L’s นั้น ผมได้คิดขึ้นจากประสบการณ์ของผมที่ผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือ  และแสวงหาความรู้ตลอดเวลา ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องมาจากหนังสือเท่านั้น ครับ การที่เราได้ออกไปงานสัมมนา หรือพบปะพูดคุยกับคนเก่ง ๆ เราก็สามารถได้ความรู้เช่นกันครับ  และที่สำคัญ ประสบการณ์ในการเรียนรู้ ถ้าเรารู้จักเก็บสะสม ก็จะสามารถนำไปต่อยอด  และเผยแพร่ให้กับคนอื่น  ๆ ได้ครับ หรือที่เรียกว่าการเรียนรู้ตลอดชีวิตครับ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นสำคัญ ผมอยากให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ครับ ผมจึงได้คิดทฤษฎี การเรียนรู้ โดยมีองค์ประกอบ  4 อย่างขึ้นมาครับ เริ่มต้นจาก
1.    Learning Methodology คือการเข้าใจวิธีการเรียนรู้      เริ่มต้น ต้องเข้าใจก่อนว่า จะเรียนรู้อะไร และจะได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการเรียนรู้นั้น  สำหรับในมุมของนักศึกษานั้น ต้องเข้าใจตัวเองก่อนว่าเราจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการเรียนรู้ ได้อย่างไรบ้าง  เริ่มต้นจากวิธีการเรียนรู้-         ต้องมีการเตรียมความพร้อมก่อนการเข้าเรียนครับ  หรือศึกษาว่าวิชาที่เรียนนั้น มีอะไรบ้าง เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นเวลาอาจารย์สอนครับ-         ต้องเข้าใจว่าตัวเราชอบการเรียนแบบไหน  และอาจารย์สอนแบบไหนครับ-         ต้องรู้จักแลกเปลี่ยนความรู้กับอาจารย์ และเพื่อนนักศึกษาด้วยกันเองครับเพื่อให้ความรู้นั้นสามารถแตกฉานได้มากขึ้นครับ -         ฯลฯตัวอย่างเช่น เวลาผมสอนหนังสือ ส่วนใหญ่ ผมชอบวิธีการสอนแบบ กระตุ้นให้นักศึกษาคิด มากกว่าสอน แบบทฤษฎี ครับ ซึ่งผมคิดว่า จะทำให้นักศึกษารู้จักคิดเป็น และมีการกล้าแสดงออกเป็นต้นครับ      
2.    Learning Environment คือ การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้     ต้องพยายามไม่เครียด เวลาเรียน หรือเวลาทำงานครับ เพราะเมื่อไรก็ตามที่รู้สึกผ่อนคลาย สมองก็จะปลอดโปร่ง และรับข้อมูล และสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ      ตัวอย่างของการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ผมใช้ เช่น เวลาผมบรรยาย ผมจัดบรรยากาศให้ผู้เข้าเรียนแบ่งโต๊ะเรียนเป็นกลุ่ม ๆ เสมือนตอนทำ Workshop เพื่อให้เสมือนการเรียนแบบเป็นทีม      
               การจัดห้องสมุดจำลอง ที่มีหนังสือที่น่าสนใจหลากหลายชนิด จากนักเขียนชั้นนำทำให้ผู้เข้ารับการเรียนรู้ รู้สึกสนใจหนังสือที่ตนเองชอบ และได้มุมมองที่เป็นประโยชน์ และรู้จักรักการอ่านมากขึ้นครับ      
               การมีต้นไม้ และดอกไม้ เพื่อให้บรรยากาศไม่เหมือนอยู่ในห้องเรียน ทำให้รู้สึก Relax เสมือนการมาพักผ่อน แต่ได้รับความรู้ไปด้วยครับ     
                 การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นกันเอง เพื่อให้ผู้เข้าเรียนรู้สามารถกล้าแสดงออก และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับวิทยากร และเพื่อนที่รับฟังได้ครับ
3.    Learning Opportunities คือ การสร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้    ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเราก็สามารถสร้างโอกาสการเรียนรู้ได้ครับ  เช่น
1.    การเรียนในห้องเรียน นอกจากการรับฟังวิทยากรแล้ว ผู้เข้าฟังก็สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับวิทยากร และเพื่อน ๆ ได้ครับ2.    นอกห้องเรียน -  การสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด แลกเปลี่ยนความรู้ และความคิดเห็น ในกลุ่มเพื่อน กับคนเก่ง ๆ ในเรื่องต่าง ๆ ก็เป็นการสร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้ครับ
3.    งานสังสรรค์ หรืองานสัมมนา นอกจากอยู่กลุ่มเพื่อนกันเองแล้ว การที่พยายามรู้จักกับคนแปลกหน้า หรือคนเก่ง ๆ ก็สามารถแลกเปลี่ยนมุมมองที่แปลกใหม่ได้ครับ
 4.    ห้องสมุด หรือ อินเตอร์เน็ต การค้นหาข้อมูล สามารถทำได้เร็วขึ้นครับ ซึ่งนอกจากหาความรู้จากห้องสมุดเหมือนแต่ก่อน ตอนนี้ ก็สามารถหาข้อมูลจาก อินเตอร์เน็ต และ สนทนาผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ด้วยครับ
4.    Learning Community คือ การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้  ครับ คือผมคิดว่า นอกจากที่เราจะเรียนรู้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเองแล้ว เราควรนำความรู้ไปต่อยอดให้กับชุมชน หรือสังคมเพื่อสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ครับ 
           ส่วน ทฤษฎี 8 H’s นั้น ผมอยากให้นักศึกษาลองอ่าน หนังสือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน ที่ผมเขียนร่วมกับคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ ครับ ซึ่งในนั้น คุณหญิงทิพาวดี  ได้ยกตัวอย่าง ทฤษฎี 8 H’s กับสิ่งที่ท่านได้ปฏิบัติจริง ซึ่งผมคาดว่าจะสามารถมาประยุกต์ได้อย่างดีในชีวิตประจำวันของแต่ละคนครับ
                               จีระ  หงส์ลดารมภ์ 
นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เขตการศึกษาดรุณพิทยา
กราบเรียนดร.จีระ พวกเราเป็นนักศึกษาคณะคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 02 ของอาจารย์สุดาภรณ์ เกตุแก้ว กำลังศึกษาเกี่ยวกับวิชา ความคิดและการตัดสินใจ จากการที่พวกเราได้อ่านหนังสือพิมพ์แนวหน้าคอลัมภ์ที่ดร.จีระไปอบรมเรื่องแนวคิดแบบCEOเป็ความคิดแบบไหนค่ะ พวกเราสงสัยมากค่ะ อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจค่ะ จึงขอรบกวนท่านดร.จีระให้ช่วยติดต่อกลับมาทางพวกเราได้ไหมค่ะ พวกเรามีความประสงค์ที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดนี้จริงๆค่ะ (กรุณาติดต่อกลับด้วยนะค่ะ) สาเหตุที่เข้ามาโพสอาจารย์สุดาภรณ์เห็นว่าการที่ส่งงานเป็นแบบกระดาษมันเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากร และอาจารย์สอนให้พวกเรารู้จักใช้ความคิดให้เป็นประโยชน์ค่ะ ด้วยความเคารพอย่างสูง 1. นางสาวสุไลพร ธาดา 2. นายชยารพ คุรุฑศัทธา 087-0070233 3. นางสาวกรรณิการ์ อุ่มเพชร 087-4005870 4. นางสาวกนกวรรณ มณีช่วงแก้ว 085-9618783 5. นางสาวเพ็ชรัตน์ รักสหาย 084-1066839 6. นางสาวศศิธร ถาอิน 7. นางสาวศรัญญา นามโฮง 8. นางสาววิไล เย็นใจ 9. นายสุรศักดิ์ ศรีสวัสดิ์ 10. นายอรรถพล บุญลาภ 11. นางสาวอัญชลี นูมหันต์ 12. นางสาวนิตยดา เนตรโสภา    
บุญยเกียรติ พงษ์ทอง

กราบเรียน ท่านอาจารย์ ดร.จีระ

นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา คณะ : คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 02

ผมตัวแทนกลุ่มและเพื่อนๆ ได้ติดตามท่านอาจารย์ทั้งในรายการโทรทัศน์ และทางวิทยุและเวปไซด์ในแนวหน้าและเวปต่าง ๆ ที่ท่านได้เขียนบทความไว้

ผมอยากถามท่านว่าเราจะวัด ego ของบุคคลได้อย่างไรคับ เพราะว่าคนเรานั้น มีทั้งดีและไม่ดี การที่เราจะลดและเพิ่มระดับของ ego จากข้อความข้างต้นที่ผมได้อ่านมาการลดและเพิ่มระดับของ ego นั้นการที่มี ego ที่ดีกว่าทำไมต้องลดด้วยครับ !! ผมไม่เข้าใจจิงๆ ครับ เพราะมันดีอยู่แล้วจะลดทำไม

                            บุญยเกียรติ  พงษ์ทอง

                            087 - 6968461

 

 

 

นายวิวัฒน์ เพชรยิ่งวรพงศ์

กราบเรียน ศ.ดร.จีระ

นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา คณะ : คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 02

ผมรู้สึกสะดุดใจตรง 4 L's ตัวที่ 2 ซึ่งก็คือ "Learning Environment การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้" คือมีวิชาเรียนอยู่ตัวหนึ่งก็คือ "วิชาบัญชี" ซึ่งใครๆก็บอกว่าอยากและอาจารณ์ผู้สอนก็สอนไม่รู้เรื่อง(โดยส่วนตัวแล้วผมวิชานี้ผมก็พอไปได้) โดยเพื่อนผมบางคนไม่รู้เรื่องเลย ในช่วงก่อนสอบมิดเทรอมเมื่อปลายเดื่อนธันวาคมที่ผ่านมานี้ ก่อนที่จะสอบ2-3 วันที่เพื่อนๆผมก็มาให้ผมสอนประมาณ 3 - 4 คน(3-4คนนี้ไม่ได้เลยผมต้องมาสอนตั้งแต่สมการบัญชีซึ่งเป็นพื้นฐาน)ผลปารกฎว่าผมสอนอยู่ 1ชม.ครึ่ง มี 2 คนที่ทำได้เหมือนผมที่ตั้งใจเรียนมา 4 - 5 สัปดาห์ในห้องเรียน(สัปดาห์ละ 2 ชม.) *ห้องเรียนที่ว่านี้เป็นห้องเรียนที่เรียนรวมกับนักศึกษาภาคสมทบ ซึ่งรวมๆแร้วนักศึกษาในห้องเรียนมีประมาณ 60 คนคาดว่าจะมากกว่านี้ถ้าคนเข้าเรียนครบ แต่สถานที่ที่ผมใช้สอนเพื่อนก็เป็นอพาทเมนของเพื่อนคนหนึ่งในกลุ่มครับ 

ที่ผมอยากจะถามก็คือ เรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับ "Learning Environment การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้"หรือไม่คับ และถ้าใช่พอจะแนะนำวิธีแก้ ได้ม้ยคับในสถานะของนักศึกษาอย่างพวกผม

  1. วิวัฒน์ เพชริ่งวรพงศ์ 222(ตัวแทนกลุ่ม) เบอร์โทรติดต่อกลับ 086 - 6617653
  2. วรสิน  ชดช้อย 240
  3. กำกับ  กลิ่นอยู่ 242
  4. กิตติ  โค้ว 251
  5. มนฑิรา  รักษ์จันทร์ 235
  6. วรรณวิภา นาคเวช 318
  7. กัมพล  ชูประภาพร
  8. สวภพ ปิยวานิชเสถียร
  9. ทรงเกียรติ บุญมี 244
  10. ธีรพจน์ กำลดพิษ 204
ปารเมศ โพธิศาสตร์

กราบเรียนท่านอาจารย์ดร.จีระ

นักศึกษาม.ราชภัฏสวนสุนันทา(ดรุณพิยา) คอม01/4

ผมอยากทราบว่าปัจจุบันหลักเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศไทยยังมีอยู่รึเปล่าครับ แล้วถ้ามีตอนนี้ได้มีการนำไปใช้ในเรื่องใดบ้างครับ และถ้าไม่มีเราจะจูงใจให้คนไทยกลับมาดำรงชีวิตแบบพอเพียงอย่างไรดีครับ

ปริษา ชื่นครอบ (175)

ณรงค์ รักงาม (176)

ฐิติวัน ธรรมสอน (177)

รพีวรรณ สุเฌอ (179)

ธนัชพร สงวนเชาวน์สกุล (181) (ตัวแทนกลุ่ม) เบอร์โทรติดต่อกลับ 086-575-0312

คำบาง แวดอุดม (182)

ภัทราภรณ์ เพ็งลาย (183)

ปารเมศ โพธิศาสตร์ (184)

สุกิจ อิ่มจำรูญ (186)

ปริญญา วุฒิเวช (187)

นักศึกษามหาวิทลาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

กราบเรียนท่านอาจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

   จากที่ได้ติดตามบทความของอาจารย์เป็นเวลามาระยะหนึ่ง  พวกเราได้รับความรู้เป็นอย่างมากและวันนี้พวกเรามีคำถาม  กราบเรียนถามอาจารย์ดังนี้ค่ะ จากเรื่องที่เกิดขึ้นของกรณี กุหลาบแก้ว/เทมาเส็ก ในการซื้อ-ขายหุ้น บ.ชินคอร์ป นั้นได้นำไปสู่การแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว  ท่านอาจารย์มีความคิดเห็นว่าควรจะต้องปรับปรุง พ.ร.บ.ฉบับปัจจุบันนี้มากน้อยแค่ไหนคะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง  ขอบพระคุณค่ะ

1.นางมณฑิกานต์            ม่วงน้อย  0836068154

2.นางสาวปิ่นมณี             ดีจันทร์    0816269700

3.นางสาวเสาวณีย์          จำเริญ     029327281

4.นายวชิระ                      เอมเปีย 

5.นายชยกร                     ชินนะจรูญ

6.นางสาวพันณิดา          สุทธไชยวัฒน์

7.นายเสกสรร                 ลลิตแจ่มเลิศ

..

 

นักศึกษามหาวิทลาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

กราบเรียนท่านอาจารย์ ดร. จิระ  หงส์ลดารมภ์

           จากการที่ได้ติดตามผลงานของอาจารย์ และติดตามข่าวสารบ้านเมืองมา จึงเกิดความสงสัยว่าหลังจากที่เกิดเหตุระเบิดที่กรุงเทพฯเมื่อต้นปีเรื่องผลกระทบที่แน่ๆ4เรี่องที่อาจารย์กล่าวใว้ อยากทราบว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวนานเท่าไร และที่เกรงว่าการเก็บภาษีของรัฐในปี2007จะต่ำกว่าเป้าจะเป็นอย่างไรและจะเกิดอะไรขึ้นมากน้อยเพียงใดกับประชาชน

ด้วยความเคารพอย่างสูง

 น.ส. นงลักษณ์ สมศรี  0868889816

นาย บริสุทธิ์ ชินะพันธ์มณีกุล  0819170317

นาย ครรชิต ตันทสีสุข.  0897686737

น.ส. น้ำผึ้ง แก่นคำ  0851565649

น.ส. ภรณ์ลภัส เรือนประเสริฐ   0815889802

น.ส. จอย

 

สวัสดีครับ  นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา                
           ก่อนอื่นผมต้องขอโทษที่ตอบคำถามช้าไปสักหน่อยนะครับ  แต่อย่างไรก็ตามผมขอขอบคุณ นักศึกษาทุกคนที่ติดตามผลงานของผมครับ ไม่ว่าจะเป็นในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ในวิทยุ หรือในโทรทัศน์ ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นการสร้างสังคมการเรียนรู้อย่างหนึ่งครับ และถือเป็นโอกาสอันดี ที่เราจะได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันใน Blog  ที่นอกจากจะเป็นประโยชน์เพียงแค่คนไม่กี่คนแล้วนั้น แต่ประโยชน์ สำหรับคนโดยทั่วไปที่ชอบในการหาความรู้ครับ                  
            ซึ่งในวันนี้ผมก็ขอตอบคำถามที่ทุกคนถามมา  ในเนื้อหาต่อไปนี้ครับ   
1.คำถาม แนวคิดแบบ CEO นั้นเป็นแนวคิดแบบใดนั้น
          ผมขอยกทฤษฎี ดังนี้นะครับ ทฤษฎีแรกคือ หลักปรัชญาในการทำงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  
          ก่อนที่จะทำงานในเรื่องใด ๆ ให้คำนึงถึง ว่า จะทำอะไร ทำอย่างไร ทำเพื่อใคร และทำแล้วได้อะไร  และการทำงานนั้น ควรคำนึงถึง 6 ขั้นตอนในการทำงานคือ  
 1) คิด Macro ทำ Micro
 2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน
 3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
 4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ
 5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ     (Communication, Coordination, Integration)
 6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ  
ต่อมาผมขอพูดถึง แนวคิดทฤษฎี 4 L’s เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ตลอดชีวิตครับ ประกอบด้วย ซึ่งผมได้เคยพูดไว้แล้วในการตอบคำถาม Blog ก่อนหน้านี้ลองย้อนกลับไปดูในการตอบคำถามใน Blog ก่อนหน้านี้ครับ
ทฤษฎี 4 L’s ซึ่งประกอบด้วย
        L ที่ 1  คือ Learning Methodology
        L ที่ 2  คือ Learning  Environment    
        L ที่ 3  คือ Learning Opportunity      
        L ที่ 4  คือ Learning Communities    
กฎของ Peter Senge   ครับ ประกอบด้วย
        Personal  Mastery     รู้อะไร รู้ให้จริง
        Mental Models         แบบอย่างทางความคิด
        Shared Vision           เห็นอนาคตร่วมกัน
        Team Learning          เรียนเป็นทีม
        System Thinking       คิดมีเหตุผล 
วิธีการคิดมี 6 วิธี  ของ Edward De Bono คือใช้หมวก 6 ใบ
          (1) คิดได้ แต่ต้องมีข้อมูล (หมวกขาว)
          (2) เป็นคนเก่งคิด คือ คิดเยอะ แต่คิดอย่างระวัง และอนุรักษ์นิยม (ดำ)
          (3) คิดเร็ว และไปข้างหน้า  ชอบความเสี่ยง มองอะไรดีไปหมด (เหลือง)
          (4) คิดสร้างสรรค์  Creative Thinking (เขียว)
          (5) คิดตามอารมณ์และความรู้สึก (คนไทยมีเยอะ) (แดง)
          (6) Control of Thinking  มองทั้ง 5 หัวข้อ  และมาวิเคราะห์ดูว่าใช้ตัวไหนให้ถูกต้อง ไม่ให้ขัดแย้งกัน (ฟ้า)
2. คำถาม การวัด E-go ของแต่ละบุคคล จะสามารถเพิ่มและลดได้อย่างไร    
         คนเราสามารถวัด E-go ในตัวได้ครับ โดยดูจาก การยอมรับ หรือ Accept ของบุคคลอื่นที่มีต่อตัวเราครับ เราต้องรู้จักสังเกตปฏิกิริยา ของคนรอบข้างว่ารู้สึกอย่างไรกับเรา และต้องรู้จักยอมรับตนเอง และพยายามปรับตามความเหมาะสมครับ อาจดูได้จากการทำงานเป็นทีม ว่ามีคนยอมรับเรามากน้อยเพียงใดครับ ผมขอยก ทฤษฎี HRDS
Happiness   มีความสุขในสิ่งที่ทำRespect       มีความเคารพ และให้เกียรติผู้อื่น
Dignity        มีศักดิ์ศรี
Sustainability   มีความยั่งยืนครับ
3. คำถาม เรื่อง เหตุระเบิดในกรุงเทพ           
           ถ้าไม่มีการระเบิดเกิดขึ้นอีก ผมคิดว่า เศรษฐกิจ และคนกรุงเทพฯ คงจะสามารถปรับตัวได้ไม่ช้าครับ  แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยต้องพยายามสร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างชาติครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ประเทศไทยได้นำประเด็นเรื่องการบริหารโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น ไม่ขัดแย้ง กับ โลกาภิวัตน์ หรือการเชื่อมโยงระหว่างประเทศครับ และที่สำคัญ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ปัจจุบันได้กำหนดอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แล้วครับ  คนไทยทุกคนควรจะศึกษา และมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ไม่จำกัดเฉพาะอาชีพใดอาชีพหนึ่งครับ  แต่เป็นหลักปฏิบัติที่ถ้าทุกคน มีอยู่ภายใต้จิตสำนึกแล้ว จะเป็นหลักการที่สามารถสร้างความยั่งยืน และความแข็งแกร่งให้กับประเทศไทย ในอนาคตอย่างแท้จริงครับ
4. คำถามสำหรับเรื่อง การปรับปรุง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว       
             เป็นการลด Nominee ครับ เพราะจากเดิมนั้น คนต่างชาติมาจ้างให้คนไทยถือหุ้น แต่คนไทยไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหารงาน สิทธิ์ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ต่างชาติในการบริหาร  ซึ่งชาวต่างชาติมาทำในธุรกิจหลัก หรือธุรกิจเกี่ยวกับความมั่นคง ของไทยมากขึ้นนั้น  ต่างชาติก็จะสามารถมีอำนาจในการกำหนดเศรษฐกิจ หลัก ของคนไทย  ซึ่งอาจส่งผลเสียตามมาในภายหลังครับ         ดังนั้นผมคิดว่า การปรับปรุง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจคนต่างด้าวนั้น จะเอื้อประโยชน์ และป้องกันความเสียเปรียบของคนไทยจากคนต่างชาติมากขึ้นครับ          
           
            สุดท้ายนี้ ผมอยากให้นักศึกษา และชาว Blog ทุกคน สามารถเป็นผู้ที่แสวงหาความรู้ และรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยไม่จำกัดว่าเป็นเรื่องใด เรื่องหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนสนใจ ดังเช่น คำถามที่ถามผมมาในครั้งนี้ครับ  ขอบคุณครับ                                   
       
                          จีระ  หงส์ลดารมภ์ 

สวัสดีครับ อาจารย์จีระ

             ผมติดตามรายการฯ ของอาจารย์ มาโดยตลอดครับ ทราบมาว่า รายการคิดเป็นฯ ก้าวเป็นของอาจารย์จีระ จะย้ายมาอยู่ช่อง UBC 08  ไม่ทราบว่าประมาณเมื่อไรครับ และตอนนี้ ผมกำลังรอติดตามอยู่นะครับ

           ส่วนอีกเรื่อง ผมได้เห็นแนวคิดของอาจารย์จีระในหนังสือพิมพ์แนวหน้า เรื่อง ตะวันตก และตะวันออก ผมจึงอยากทราบว่า ในส่วนใดของประเทศในกลุ่มตะวันตกที่ อาจารย์คิดว่าเป็นประโยชน์ ครับ

                        จำเนียร  พวงมาลัย

 

สวัสดีครับ คุณจำเนียร          
            ขอบคุณครับที่ติดตามรายการของผม สำหรับรายการคิดเป็นฯ ที่จะออกทางช่อง UBC 08 นั้น ผมคาดว่าจะออกประมาณเดือนมีนาคม 2550 ครับ แล้วผมจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง ครับ           
            ส่วนเรื่องที่ถามผมว่า ตัวอย่างของประเทศตะวันตกที่คิดว่าเป็นประโยชน์ มีเรื่องอะไรบ้างนั้น ผมคิดว่าที่ประเทศทางเอเชียควรดูเป็นตัวอย่างคือ ประเทศทางตะวันตก เน้นการทำงานโดยเน้นที่ผลงาน (Performance) และข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อประสบความสำเร็จทางธุรกิจแล้วประเทศทางตะวันตกส่วนใหญ่จะทิ้งมรดกและแนวคิดที่นำไปสร้างประโยชน์ไว้ให้กับสังคมครับ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าประเทศตะวันตก เน้นการเก็บภาษีมรดกจึงไม่ค่อยยกทรัพย์สินสู่รุ่นลูกเท่าไรนัก  ผิดกับนักธุรกิจของเอเชียที่บางครั้งทำธุรกิจเพื่อทิ้งมรดกไว้ให้รุ่นลูก หลานครับ 
         ผมอยากให้ดูตัวอย่างของบุคคลในประเทศทางตะวันตกผู้ที่สร้างคุณค่าและประโยชน์สู่สังคมโลก แม้ผู้นั้นจะล่วงลับไปแล้วก็ตาม เช่น
·        Dale Carnegie เป็นผู้ที่มีความสนใจในเรื่องการศึกษาและศิลปะวัฒนธรรม และได้สร้างเป็นมูลนิธิฯ ขึ้นมาครับ
·        Rocky Feller เป็นผู้ที่ทำธุรกิจทางด้านน้ำมัน  ได้จัดตั้งมูลนิธิ Rockyfeller เพื่อมอบทุนทางด้านการศึกษาให้กับบุคคลที่เรียนดี  และได้ทำประโยชน์เพื่อสังคม แต่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา หรือด้อยพัฒนา ตัวอย่างเช่น ที่ ม.ธรรมศาสตร์  ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับทุนนี้ และกลับมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครับ
·        Mr.Ford  เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ได้มีการตั้งมูลนิธิฟอร์ดขึ้น
·        Bill Gates นักธุรกิจที่รวยเป็นอันดับหนึ่งของโลก ถึงแม้ยังมีชีวิตอยู่ แต่ก็ได้สร้างมูลนิธิ Bill Gates ขี้น โดย Donate เงินกว่า 80 % ของรายได้ มอบให้กับมูลนิธิเพื่อไปทำประโยชน์ให้กับสังคม
·        Warren Buffet  จัดได้ว่าเป็นนักลงทุนที่รวยอันดับ 2 ของโลกในปัจจุบัน ได้ Donate เงินกว่า 80 % ของรายได้ มอบให้มูลนิธิของ Bill Gates เช่นเดียวกัน
           ส่วนตัวอย่างของนักธุรกิจของประเทศตะวันออกที่เมื่อประสบความสำเร็จแล้วทิ้งมรดกไว้ให้กับสังคมโลกนั้นนับว่ายังมีอยู่น้อยมากเมื่อเทียบกับตะวันตกซึ่งประเด็นนี้ผมก็ขอฝากให้พวกเรานำมาคิดกันต่อไป เพราะผู้นำในประเทศตะวันออกรวมทั้งประเทศไทยเองเมื่อประสบความสำเร็จแล้วก็น่าจะคิดึงการสร้างคุณค่า สร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ทิ้งไว้ให้เป็นมรดกของสังคมต่อไป
                      จีระ  หงส์ลดารมภ์
มณฑิกานต์ ม่วงน้อย

กราบเรียนท่านอาจารย์ ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์

          จากที่ได้ติดตามบทความของท่านอาจารย์ ดิฉันได้รับความรู้เป็นอย่างมาก และวันนี้ดิฉันมีคำถาม

กราบเรียนถามอาจารย์ดังนี้คะ

          จากหัวข้อข่าวที่ว่า "ม็อบต้านค้าปลีกปะทุอีกรอบ เร่งรัฐออกกฏห้ามขยายสาขาด๋วนจี๋  ด้านกรรมาธิการพาณิชย์ สนช. ชี้ช่องโชวห่วยไล่บี้ต้นตอ ทั้งผวจ. และ รมต.พาณิชย์ หลัง ก.มหาดไทยอุดช่องโหว่ ก.ม ผังเมืองเปิดทาง ผวจ. เซ็นอนุมัติและ รมต.ที่ชะลอยื่นร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีกเข้า ครม.พร้อมแนะรัฐบาลสุรยุทธ์ 1 ต้องเดินหน้าปลดล็อก ก.ม. และมีความชัดเจนว่าจะอยู่อย่างพอเพียงหรือ ทุนนิยม เปิดทางต่างชาติรุกคืบ"  จากการที่สมาชิกสมาพันธ์คนไทยต้านค้าปลีกต่างชาติกว่า 300 คน เข้ายื่นหนังสือเรียกร้อง ให้แก้ปัญหาเรื่องความเดือดร้อนของคนไทย จากการขยายสาขาของห้างค้าปลีกต่างชาติ และเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเร่งออกมาตรการแก้ปัญหาโดยด่วน  คือการผลักดันร่าง พ.ร.บ. ผู้ประกอบการค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ.... เพื่อออกเป็นกฎหมายมาช่วยเหลือร้านโชวห่วย เพราะในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะมีการกำหนดเวลาเปิด-ปิด ให้บริการ การขยายสาขาการค้าที่ไม่เป็นธรรมฯลฯ  ถ้าหาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ ผ่านความเห็นชอบ  และมีผลบังคับใช้ ร้านโชวห่วยจะไม่เดือดร้อนและได้รับผลประโยชน์มากน้อยเพียงใดคะ และมีผลดีผลเสียอย่างไรหรือไม่

          สุดท้ายนี้ ดิฉันขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้ท่านอาจารย์คิดอะไรสมหวังตลอดปี 2550 และตลอดไปคะ

มณฑิกานต์  ม่วงน้อย

    

 

 

 

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา(ศูนย์การศึกษาดรุณพิทยา)

กราบเรียน ดร.จีระคะ

จากที่หนูได้เข้าไปอ่านบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้าในคอลัมน์บทเรียนแห่งความจริง ฉบับวันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาคะ ในการเปรียบเทียบระหว่างทักษิโณมิกส์ กับ เศรษฐกิจพอเพียง เพราะหนูไม่เข้าใจว่าคือ อะไร ถ้าอาจารย์มีเวลาว่างช่วยตอบให้หนูด้วยนะคะ ขอบคุณอาจารย์ด้วยคะที่กรุณา

 

นส.ลัดดา  พรหมประเสริฐ 49473140223 คอมพิวเตอร์ 02   4 ปี  ตัวแทนกลุ่ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท