แก้ไขโรคกระดูก


การกินโดยไม่คิดถึงกระดูก เพราะกระดูกต้องการสารอาหาร แต่เรากลับไม่ค่อยคิดถึงว่า อาหารแต่ละมื้อที่เรากิน จะมีสารอาหารให้กระดูกมากพอไหม ร่างกายต้องการแคลเซียมจากอาหารวันละ 800-1000 มิลลิกรัมทุกวัน หรืออาจมากกว่านั้นในผู้สูงวัย แต่คนไทยได้แคลเซียมจากอาหารเฉลี่ยเพียงวันละ 361 มิลลิกรัมเท่านั้น อาจไม่เพียงพอต่อการดูแลสุขภาพกระดูกในแต่ละวัน โรคกระดูกพรุนจึงกลายเป็นโรคร้ายอันดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตคนไทย ในทุกวันจึงควรเติมสารอาหารให้กระดูก ด้วยการกินอาหารอุดมแคลเซียมอย่างเพียงพอเช่น นมวัว นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ถั่วต่างๆ งาดำ ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง บรอกโคลี คะน้า ใบยอ ใบชะพลู เป็นต้น ฉะนั้นการเติม แคลเซียมเสริม เป็นทางเลือกเติมสารอาหารให้กระดูก เนื่องจากร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมจากอาหารได้ระดับหนึ่งในแต่ละมื้อ การกินมากๆ ในมื้อเดียวอาจได้ประโยชน์น้อยกว่าการกินอาหารที่มีแคลเซียมกระจายในแต่ละมื้อ ผู้ที่ไม่แน่ใจว่าจะกินอาหารให้ได้แคลเซียมพอทุกวัน อาจหาผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมมาเป็นตัวเสริม ควรเลือกสูตรที่มีตัวช่วยการดูดซึมแคลเซียม เช่น วิตามินดี แมกนีเซียม หรือไฟเบอร์ละลายน้ำ เป็นต้น ล่าสุดวิจัยพบว่ามีแคลเซียมจากสาหร่ายทะเล ซึ่งเป็นแคลเซียมที่ได้จากพืช สามารถละลายและดูดซึมได้ง่าย และไม่ทำให้เกิดอาการท้องผูกเหมือนแคลเซียมทั่วไป ที่มาจากหินปูน จึงอาจเป็นอีกทางเลือกใหม่สำหรับคนที่รักสุขภาพ”

เพราะการป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไขเสมอ ดังนั้นยังไม่ช้าเกินไปที่เรามาป้องกัน และเสริมความแข็งแรงให้แก่กระดูกของเรา ก่อนที่จะสายเกินแก้

คำสำคัญ (Tags): #pprep
หมายเลขบันทึก: 615621เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2016 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2016 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท