ศาสนาเต๋า (Taoism)


เต๋า คือ " ธรรมชาติ หรือ ธรรมชาติผู้สร้างที่ยิ่งใหญ่ "( Great Creating Nature ) เชื่อในความมีอยู่เป็นอยู่ของธรรมชาติ บูชาธรรมชาติหรือเป็นศาสนาที่เนื่องด้วยธรรมชาติ

ศาสนาเต๋านี้เริ่มต้นในฐานะเป็นปรัชญา คือ ไม่มีพิธีกรรม ไม่มีข้อปฏิบัติอะไรเป็นพิเศษมากไปกว่าข้อคิดและคำสอนที่ปรากฏในคัมภีร์เต้าเต็กเก็งศาสนาเต๋าเกิดข้นในช่วงเวลาที่จีนตกอยู่ในภาวะของการมีสงครามภายในประเทศ

ในศตวรรษที่ 5 ประเทศจีนถูกแบ่งออกเป็นแคว้นใหญ่ๆหลายแคว้น สังคมจึงมีแต่ความสับสนวุ่นวายแต่ก็นับว่าเป็นโชคดที่เหตุการณ์เลวร้ายต่างๆ เหล่านี้เป็นแรงผลักให้นักปราชญ์จีนเริ่มหันมาพัฒนาแนวความคิดทางด้านอภิปรัชญา จนก่อให้เกิดศาสนาใหม่ขึ้น จึงนับว่าศาสนาใหม่นี้มีความสำคัญ ดังนี้

1. ศาสนาเต๋า มีอิทธิพลทำให้สังคมที่มีความสับสนวุ่นวายค่อยๆสงบ
2. ศาสนาเต๋า ทำให้การดำเนินชีวิตของคนในสงคมมีความเรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ
3. ศาสนาเต๋า สอนให้คนทำประโยชน์แก่คนอื่นโดยไม่แฝงความเห็นแก่ตัวไว้
4. ศาสนาเต๋า มีอิทธิพลปลี่ยนแปลงแนวความคิดของคนอื่นซึ่งเดิมนับถือภูตผีปีศาจให้เน้น เรื่องอภิปรัชญามากขึ้น และทำให้สังคมของคนจีนเจริญก้าวหน้า

เล่าจื๊อ ได้รับการยกย่องให้เป็นศาสดาของศาสนาเต๋าเกิดประมาณปี 604 ก่อน ค.ศ. ในตระกูลแซ่ "ลี้" หมู่บ้านเค็กยิ้นลี้ ตำบลไหล่ จังหวัดโฮนาน ในแผ่นดินกษัตริย์ราชวงศ์จิวหรือเจา เม่อประมาณปี 604 ก่อน ค.ศ. สถานที่เกิดของเล่าจื๊อตามที่กล่าวมานี้ ตรงกับเมืองลูยี (Luyi) ในปัจจุบันอยู่ในตำบล

โฮนาน ห่างจากเมืองโปเลียนประมาณ 40 ลี้
คำว่า "เล่าจื๊อ" แปลว่า ผู้เฒ่า นักประวัติศาสตร์แบ่งเรื่องราวของชีวิตเล่าจื๊อไว้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. เล่าจื๊อเคยเป็นเจ้าหน้าที่ในราชสำนักสมัยราชวงศ์จิว
2. ขงจื๊อเคยมาเยี่ยมเล่าจื๊อ
3. เล่าจื๊อเดินทางออกจากราชสำนักราชวงศ์จิว
ในที่สุดเล่าจื๊อก็ได้เดินทางมุงหน้าไปทางทิศตะวันตก บอกกล่าวคำสอนของตัวเองให้คนยามฟังและได้จดไว้ เสร็จแล้วตัวเขาเองก็ได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย คำสอนที่ยามเฝ้าประตูจดจากเล่าจื๊อไว้ คือ คัมภีร์เต้าเต็กเก็ง

คัมภีร์เต้าเต็กเก็ง อาจจะแยกคำได้ดังนี้

เต้า หรือ เต๋า ได้แก่ ทาง
เต็ก ได้แก่ บุญ ความดี หรือคุณธรรม
เก็ง ได้แก่ สูตร หรือวรรณคดีชั้นสูง

คัมภีร์ ที่สำคัญที่สุดของศาสนาเต๋า คือคัมภีร์ เต้าเต็กเก็ง เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงเรื่องเต๋าในหลายลักษณะ มีทั้งหมด 81 บท แปลว่า สัจธรรม คุณธรรมสูตร เพราะมีอยู่ 2 เรื่อง คือ สัจธรรมกับเรื่องคุณธรรม เล่าจื๊อได้กล่าวถึงประมุข เจ้านคร จริยธรรมและการเก็บภาษี เป็นต้น อธิบายได้ดังนี้

1. เต๋า คือ หนทางคุณสมบัติ วิธีการ กฎ จารีต ธรรมชาติ ฯลฯ เป็นพื้นฐานของสรรพสิ่งในโลก เป็นอมตภาวะ ไม่มีเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ทุกสิ่งเกิดขึ้นและดับไปในเต๋า
2. เต๋าที่นำมาขานกันได้ไม่ใช่เต๋าที่แท้จริง นามที่บัญญัติได้ไม่ใช่นามที่แท้จริง อภาวะ คือ ความไม่มีเป็นเบื้องต้นแห่งฟ้าและดิน

3.จากเต๋า หนึ่งก็เกิดขึ้น จากหนึ่งสองก็เกิดขึ้น จากสามสากลโลกถูกสร้างขึ้น เต๋าทำให้เกิดหนึ่ง หนึ่งทำให้เกิดสอง สองทำให้เกิดสาม สามทำให้เกิดสิ่งทั้งปวง

หลักธรรม

หลัก ธรรมของศาสนาเต๋าก็คือ การดำรงชีวิตให้กลมกลืนกับธรรมชาติ หรือการพยายามทำให้ถูกหลักของเต๋า ได้แก่ การบำเพ็ญคุณงามความดี ไม่ฟุ้งเ้อเห่อเหิม อยากเป็นใหญ่เป็นโต ทำจิตใจให้สงบ ถ่อมตัว พยายามอยู่ในที่ต่ำเสมอ สรุปแล้วหลักคำสอนของศาสนาเต๋ามีทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม แต่เน้นหนักไปทางฝ่ายธรรม เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่หลักธรรมคำสอนของศาสนาเต๋า มิได้รับการส่งเสริมสนับสนุนมากพอ แต่กลับไปส่งเสริมและเน้นหนักไปในเรื่องเครื่องรางของขลัง เวทมนต์คาถา และการแสวงหายาอายุวัฒนะ หรือ ยาอมฤต คือ กินแล้วทำให้คนไม่ตาย

นิกาย

พวกนิกายเช้งอิ อยู่ทางใต้ของแม่น้ำแยงซี ความเชื่อในฤทธานุภาพแห่ง ท่านอาจารย์บนสวรรค์(เทียนจื๊อ) บางครั้งนิกายนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นิกายเทียนจื๊อ

นิกายชวนเชน อยู่ทางเหนือ คำสอนของนิกายนี้ คือ ควรดำรงชีพให้กลมกลืนกับธรรมชาติ รักสงบ เป็นอยู่อย่างง่ายๆ ซึ่งจะเป็นเช่นนั้นได้ดีด้วยการครองชีพแบบนักบวช กลุ่มของนิกายนี้ส่วนใหญ่สละบ้านเรือนออกไปอยู่ในวัด รับประทานอาหารเจ อดอาหารในบางโอกาส และผู้ที่อยู่เป็นนักบวชจะแต่งงานไม่ได้ ดื่มน้ำเมาไม่ได้พิธีกรรม

พิธีกรรม ที่สำคัญ คือ การบูชาบรรพบุรุษ แต่ในปัจจุบันนี้ พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตชาวจีน มักเกี่ยวกับเวทมนตร์คาถา และการปลุกเสกนักบวชศาสนาเต๋า ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้ฤกษ์ยาม และวันมงคล ในการประกอบพิธีต่างๆ นักบวชหาเลี้ยงชีพอยู่กับเรื่องวิญญาณ โดยสอนประชาชนให้รับการชำระบาป นอกนั้น นักบวชก็ขายเครื่องรางของขลังป้องกันภูติผีปีศาจ
ดังนั้น ศาสนาเต๋าที่เคยมีปรัชญาสูง แต่มาเปลี่ยนแปลงไปเกือบหมดสิ้น จึงได้กลายเป็นศาสนาแห่งไสยศาสตร์

พิธีกรรม พิธีกรรมที่สำคัญของศาสนาเชน คือ
1) การบวชเป็นบรรพชิต เป็นการเปลี่ยนแปลงภาวะของคนธรรมดาสู่ความเป็นนักพรต ครองผ้า 3 ผืน ต้องโกนผมด้วยวิธี ถอนผมตนเอง ฉันอาหารเท่าที่แสวงหามาได้การถืออัตตกิลมถานุโยค ศาสนาเชนถือว่าการทรมานตนให้ได้รับการลำบากต่างๆ เช่นการอดอาหาร การไม่พูดจากับใครจะสามารถทำให้บรรลุโมกษะ
2) พิธีกรรมเนื่องด้วยการระลึกถึงองค์ศาสดาทุกพระองค์ โดยเฉพาะพิธีกรรมระลึกถึงศาสดามหาวีระ เช่น

2.1) พิธีฉลองวันประสูติของมหาวีระ พิธีปัชชุสนะ คือการกระทำใจให้สงบ การอภัย และการเสียสละ อาศัยอยู่เฉพาะที่แห่งเดียวในฤดูฝน มีการบริจาคทานให้คนยากจนในวันสุดท้ายแห่งพิธีกรรม และมีการนำเอารูปองค์ศาสดาไปแห่ตามท้องถนนและในที่ต่างๆ

2. 2) แต่ละปีจะมีการจัดพิธีกรรมที่เรียกว่า ไกตระ คือ การจัดพิธีเคารพรูปองค์ศาสดา ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 9 วัน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน และเดือนกันยายน – ตุลาคม

2.3) พิธีระลึกถึงวันนิรวาณของมหาวีระ วันพระจันทร์เต็มดวงในเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ศาสนิกชนก็จะจุดตะเกียง เพื่อให้เกิดแสงสว่างไปทั้งร่างกายและจิตใจ และ

2.4) ต่อไปอีก 5 วัน ก็เป็นพิธีญานปัญจมะ พิธีกรรมเคารพพระคัมภีร์ และมีการจาริกแสวงบุญไปยังภูเขาสะตรันชัย อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งตีรถังกรองค์แรก

2.5) พิธีกรรมประจำวัน คือ พิธีชลบูชา การทำความสะอาดองค์ตีรถังกรด้วยน้ำและเช็ดให้แห้งอย่างสำรวมระวังมิให้น้ำหก หยดลงพื้นเด็ดขาด แล้วยังต้องล้างด้วยน้ำนมอีกแล้วกรองผ้าให้ใหม่ ตกแต่งให้งามด้วยเครื่องประดับ เช่น ทอง เงิน สร้อย มงกุฎ กำไล หรือพวงมาลัย เป็นต้น และการถวายอาหาร คือ ข้าว และผลไม้แห้งในเวลาเช้า และ

2.6) พอตอนเย็นทำพิธีอารติบูชา คือการแกว่งตะเกียงจากซ้ายไปขวาเบื้องหน้าองค์ตีรถังกรในนิกายเศวตัมพร

ปัจจุบัน ศาสนาเชนได้แปลงหลักการศาสนา กำหนดข้อปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์และบรรพชิต ดังนี้

1) ข้อปฏิบัติของผู้ครองเรือน มี 12 ข้อ ดังนี้

1.เว้นจากการฆ่าสัตว์

2.เว้นจากการพูดเท็จ

3.เว้นจากการลักฉ่อ

4.สันโดษในลูกเมียตน

5.มีความปรารถนาพอสมควร

6.เว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นอาหาร

7.อยู่ในเขตของตนตามกำหนด

8.พอดีในการบริโภค

9.เป็นคนตรง

10.บำเพ็ญพรตประพฤติวัตรในคราวเทศกาล

11.รักษาอุโบสถ

12.บริบูรณ์ด้วยปฏิสันถารต่ออาคันตุกะ

2) ข้อปฏิบัติของบรรพชิต มี เพิ่มอีก 3 ข้อ

1. ห้ามประกอบเมถุนธรรม

2.ห้ามเรียกสิ่งต่างๆว่าเป็นของตนเอง

3.กินอาหารเที่ยงแล้วได้ แต่ห้ามกินในราตรี



หมายเลขบันทึก: 613903เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2016 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2016 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท