ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู


พระตรีมูรติหรือผู้เป็นเจ้าทั้งสาม มีตัวอักษร ๓ ตัว อันศักดิ์สิทธิ์เรียกกันว่า “โอม”

ประกอบด้วยอักษร ๓ ตัวคือ



“อะ” หมายถึง พระวิษณุหรือพระนารายณ์

“อุ” หมายถึง พระอิศวรหรือพระศิวะ

“มะ” หมายถึง พระพรหม

ประวัติความเป็นมา

  • เกิดขึ้นในดินแดนชมพูทวีป ไม่ปรากฏนามของศาสดา
  • เดิมเรียกว่า สนาตนธรรม แปลว่า ศาสนาหรือธรรมะอันเป็นของเก่าหรือนิรันดร
  • ศาสนาพราหมณ์เป็นเครื่องมือที่ชาวอารยันใช้ในการปกครองพวกดราวิเดียน

โดยศาสนาและระบบวรรณะเป็นเครื่องมือ

พัฒนาการของศาสนา

ยุค

ลักษณะสำคัญ

ยุคพระเวท

*ชาวอารยันแบ่งเทพเจ้าเป็น 3 กลุ่ม คือ บนโลก บนอากาศ บนสวรรค์ เช่น

พระวรุณ(เทพแห่งฝน) พระวายะ(เทพแห่งลม) พระสุริยะ(เทพแห่งพระอาทิตย์)

*เทพเจ้าองค์ใดได้รับการนับถือมากที่สุด จะได้รับการยกย่องเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ เรียกว่า ประชาบดี (ผู้ใหญ่ ผู้สร้างโลก)

( พระพรหม )

*มีการสวดสรรเสริญพระเจ้ามากขึ้น โดยพราหมณ์เป็นผู้รวบรวมไว้ในคัมภีร์

ยุคพราหมณ์

*อิทธิพลของพราหมณ์มีมากที่สุด ผูกขาดการประกอบพิธีกรรมต่างๆของศาสนา

*มีความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม การเวียนว่ายตายเกิด และการเกิดใหม่

ยุคฮินดู

เกิดความเชื่อในเทพเจ้า 3 องค์ เรียกว่า “ ตรีมูรติ “

1. พระพรหม ผู้สร้างโลก

2. พระนารายณ์หรือพระวิษณุ ผู้รักษาโลก

3. พระศิวะหรือพระอิศวร ผู้ทำลายโลก ( เพราะมีคนชั่วมากเกินไป )

หลักธรรมพื้นฐาน : วรรณะ เน้นเรื่องสีผิว ของสังคมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มี 4 วรรณะ

วรรณะ

เกิดจากอวัยวะของพระพรหม

อาชีพ ( หน้าที่การงานในสังคม )

พราหมณ์

ปาก

ครู นักบวช ผู้ปกครอง

กษัตริย์

แขน

นักรบ นักปกครอง

แพศย์(ไวศยะ)

ท้อง

พ่อค้า แม่ค้า อาชีพเกี่ยวกับเศรษฐกิจ

ศูทร

เท้า

กรรมกร ผู้ใช้แรงงาน

ขั้นตอนการดำเนินชีวิตตามหลักอาศรม

อาศรม 4

หน้าที่

พรหมจารี

*เป็นวัยเรียน ต้องตั้งใจศึกษาคัมภีร์พระเวท

*วรรณะศูทรไม่รับการอนุญาตให้เรียนได้

*เมื่ออายุครบ 5,8,16 ปี ต้องทำพิธีอุปนยัน (อุปนยสังสการ = การมอบตัวขอเป็นศิษย์ )

คฤหัสถ์

*วัยครองเรือน

*ทำหน้าที่เป็นสามี ภรรยาที่ดี เมื่อมีลูกก็ต้องทำหน้าที่เป็นพ่อ แม่ที่ดี

วานปรัสถ์

*ออกบวช เมื่อลูกผ่านวัยพรหมจารี จนถึงคฤหัสถ์

*ต้องเข้าป่าหาความสงบ ฝึกจิตให้บริสุทธิ์

สันยาสี

*วัยบรรลุเป้าหมายของชีวิต

*เข้าบำเพ็ญเพียรตามหลักศาสนา เพื่อจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต คือ โมกษะ

หลักปรมาตมัน โมกษะ

ปรมาตมัน ( บรม + อาตมัน ) = วิญญาณอันยิ่งใหญ่ (พระเจ้า)

อาตมัน = วิญญาณย่อยที่ออกมาจากปรมาตมัน แล้วเข้าไปสิงในร่างกาย1 ชีวิต

โมกษะ = การหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดด้วยการบำเพ็ญมรรค 4 ของสันยาสี

เป็นมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

มรรค 4 = หนทางสู่โมกษะ ประกอบด้วย

กรรมมรรค =การกระทำ โดยไม่หวังผลตอบแทน

ชญาณมรรค =การใช้ปัญญาญาณในการดำเนินชีวิต

ภักติมรรค =ความภักดีต่อพระเจ้า

ราชมรรค =การฝึกจิตใจให้แข็งกล้า

กฎแห่งกรรมและสังสารวัฏ

  • คนฮินดูเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม
  • คนฮินดูเชื่อว่าคนเรามีการเวียนว่ายตาเกิด = สังสารวัฏ
  • คนฮินดูเชื่อว่าจะไปเกิดใหม่ในทางที่ดี หรือแย่กว่าเก่าต้องขึ้นอยู่กับกรรม ( การกระทำในชาตินี้ )

นิกาย

เทพเจ้าที่นับถือ

เป้าหมาย-ลักษณะสำคัญ

พรหม

พระพรหม

ปัจจุบันมีความสำคัญลดน้อยลง

ไวษณพ

พระวิษณุ (นารายณ์,หริ,ภควัท,วาสุเทพ)

*เชื่อมั่นในการอวตารของพระวิษณุ เพื่อปราบยุคเข็ญ

เรียกว่า = นารายณ์ 10 ปาง

เป้าหมายสูงสุด ถึงโมกษะ

ไศวะ

พระศิวะ(พระอิศวร)

*เป้าหมาย คือ โมกษะไปรวมกับพระศิวะด้วยการบำเพ็ญตน (ทรมานตนเอง)

*โดยใช้ขี้เถ้าทาตามร่างกาย และทำเครื่องหมาย

3 ขีด บนหน้าผาก เรียกว่า สีหาสันทน์

*สัญลักษณ์ คือ ศิวลึงค์

*นับถือมากทางภาคเหนือของอินเดีย

ศักติ(ศากตะ)

พระชายาของเทพเจ้า

*พระอุมา = พระชายา พระศิวะ

*พระลักษณี = พระชายาพระวิษณุ

*พระสุรัสวดี = พระชายาพระพรหม

พิธีกรรม

พิธีกรรม

ลักษณะสำคัญ

หลักปฏิบัติเกี่ยวกับวรรณะ

*ต้องเป็นวรรณะเดียวกันถึงจะแต่งงานได้ (ถ้าชายเป็นพราหมณ์อนุโลมให้แต่งกับวรรณะอื่นๆได้ แต่หญิงเป็นวรรณะพราหมณ์จะทำอย่างชายไม่ได้)

*ต้องวรรณะเดียวกันถึงจะปรุงอาหารให้กันและกัน และนั่งกินอาหารร่วมกันได้

*การประกอบอาชีพต้องเป็นไปตามวรรณะ

สังสการ(พิธีกรรมประจำบ้าน)

*เป็นพิธีกรรมที่ทำให้บริสุทธิ์ จะเป็นผู้บริสุทธิ์ต้องทำพิธีนี้

*วรรณะศูทร ห้ามทำ เช่น พิธีตั้งครรภ์ พิธีคลอดบุตร พิธีนำเด็กไปดูพระอาทิตย์ขึ้น พิธีกลับบ้านเมื่อศึกษาจบ

*พิธีแต่งงาน

ศราทธ์

*เป็นพิธีทำบุญให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

*ทำช่วงเดือน 10 ( ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ – แรม 15 ค่ำ )

*บูชาด้วยข้าวบิณฑ์

*ต้องให้ลูกชายทำพิธี เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้ตายพ้นจากนรก ขุม ปุตตะ

*สปิณฑะ = ผู้ร่วมพิธีข้าวบิณฑ์ คือ ญาติฝ่ายบิดา มารดานับขึ้นไป 3 ลงมา 3 ชั่วคน


คัมภีร์พระเวท มี 4 คัมภีร์ย่อย

คัมภีร์

สาระสำคัญ

ฤคเวท

คำอ้อนวอน บทสวดสรรเสริญเทพเจ้า

ยชุรเวท

คู่มือทำพิธีบูชายัญต้องศึกษาเป็นพิเศษ

สามเวท

เป็นบทร้อยกรอง ไว้สวดในพิธีถวายน้ำโสมแก่พระศิวะ

อาถรรพเวท

รวบรวมคาถาอาคม เพื่อให้พ้นภัยจากศัตรู

*อาถรรพเวท มีบางคนไม่ยอมรับ เพราะเป็นไสยศาสตร์

*สามคัมภีร์แรก ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท = ไตรเวท ( ไตรเทพ )

พราหมณ์รู้และสอน คือ ความรู้เกี่ยวกับคัมภีร์พระเวทอันศักดิ์สิทธิ์ พราหมณ์แบ่งออกเป็น ๔ ประเภทตามความรู้ความชำนาญ คือ

1. พราหมณ์ผู้ชำนาญมนตร์ในพระเวท

2. พราหมณ์ผู้ชำนาญการทำพิธีกรรม

3. พราหมณ์ผู้ชำนาญการขับกล่อมเทพเจ้า

4. พราหมณ์ผู้เป็นประธานในพิธีบูชาไฟและชำนาญเกี่ยวกับคัมภีร์เวทมนตร์อาถรรพณ

ชาวฮินดูเชื่อกันว่าพราหมณ์มีกำเนิดจากพระเศียรของพระพรหม จึงมีสถานภาพสูงกว่าคนวรรณะอื่นๆ



พระพรหม หรือ พระพรหมมา เป็นมหาเทพ ผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง

พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ เป็นมหาเทพ ผู้ดูแลรักษาทุกสรรพสิ่ง
พระศิวะ หรือ พระอิศวร เป็นมหาเทพ ผู้ทำลายทุกสรรพสิ่งมหาเทพทั้ง 3 พระองค์นี้

เมื่อรวมกันจะเรียกว่า พระตรีมูรติ องค์พระเป็นเจ้าแห่งพลังอำนาจทั้งสามประการ ผู้เป็นพระเป็นเจ้าแห่งสรรพชีวิตทั้งปวง


พระวิษณุเทพ มีพระชายาคือ พระแม่ลักษมี พระแม่เจ้าผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์ และความผาสุกแก่ผู้ศรัทธา

ผู้ซึ่งคอยอยู่เคียงข้างพระวิษณุ และคอยอวตารไปเป็นชายาพระวิษณุในทุกๆภารกิจ





พระศิวะ หรือ พระอิศวร

พระชายา คือ พระแม่อุมาเทวีบุตร คือ พระพิฆเนศเป็นเทพที่จะอำนวยพรประทานความ

อุดมสมบูรณ์ให้แก่ผู้ที่มีอาชีพเลี้ยงวัว เลี้ยงม้า หรือเลี้ยงแกะ และอาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตรทั้งปวง

เป็นเทพเจ้าแห่งการดนตรี และการร่ายรำ ระบำฟ้อนเป็นเจ้าแห่งการทำลายล้าง

หมายเลขบันทึก: 613842เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2016 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2016 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท