คุยกับตนเอง KM&R2R EMS


เกือบจะหนึ่งปีที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสร่วมในกระบวนการขับเคลื่อน R2R EMS โดยมีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินเป็นแกนนำสำคัญและมีน้องพิงค์ หรือคุณชลนิกานต์ สิงห์ยักฆ์ทำหน้าที่เป็น R2R Facilitator

ข้าพเจ้าได้รับการชักชวนจากน้องพิงค์ให้มาช่วยในการขับเคลื่อนกระบวนการครั้งนี้ โดยใช้ KM มาเป็นเครื่องมือในการเดินเรื่อง

การพูดคุยกับน้องพิงค์ทำให้ทราบเป้าหมายชัดเจนร่วมกัน และปลายทางที่เราอยากได้คือ การสกัดความรู้ที่ได้จากการขับเคลื่อนในครั้งนี้

เริ่มต้น...

กระบวนการที่ดำเนินไปเริ่มตั้งแต่...การเชิญผู้ที่สนใจมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำความเข้าใจในเรื่อง R2R ความรู้ความหมายและการสร้างแรงบันดาลใจ จากนั้นก็จะมีคัดเลือกหัวข้อที่น่าสนใจเข้าร่วมในการรับทุนในครั้งนี้...

กระบวนการ...

เราจัดเวทีแลกเปลี่ยนทั้งสิ้นสามครั้ง โดยครั้งแรกเชิญอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมาช่วยในการให้คำแนะนำและช่วยเติมเต็มผลงานให้ชัดเจนขึ้น

จากนั้นก็นัดมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ติดตามความก้าวหน้าในการทำ R2R ...และครั้งสุดท้ายเป็นการถอดบทเรียนร่วมกับการสกัดปรากฏการณ์ของการเกิดการแปรเปลี่ยนในตัวนักวิจัย (Transformation)

ท้ายสุดได้ชุดความรู้มาสองชุด...

คือ หนังสือไร้เส้นขอบฟ้าการจัดการความรู้ในงานการแพทย์ฉุกเฉิน และรายงานการวิจัย R2R 9 เรื่อง


ข้าพเจ้าได้เรียนรู้อะไร...กับการทำงานครั้งนี้ เป็นคำถามที่ถามกับตนเอง

สิ่งที่เกิดขึ้นและทำให้เกิดแรงบันดาลใจเสมอตลอดระยะเวลาเกือบหนึ่งปีคือ

  • การทำงานร่วมกับผู้จัดที่มีความเข้าใจและให้การยอมรับนับถือระหว่างกันทำให้ข้าพเจ้าสามารถออกแบบกระบวนการและดำเนินการจัดการเรียนรู้ได้อย่างสบายใจและเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ มีความสุขและสนุกและเกิดแรงบันดาลใจทุกครั้งเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ
  • กระบวนการที่มีการทำ Reflection อย่างสม่ำเสมอ ทั้งเป็นแบบ Face to Face และ การทำ Dialogue online ผ่าน social network โดยเราเลือกใช้ Line มาเป็นเครื่องมือในครั้งนี้
  • ทุกครั้งที่เสร็จกระบวนการข้าพเจ้าจะเขียนถอดบทเรียนบันทึกไว้เสมอ ในขณะเดียวกัน ... สิ่งที่ได้เขียนไว้นั้นได้นำมารวมรวบไว้ในหนังสือ "ไร้เส้นขอบฟ้า..."
  • และสิ่งที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งที่เกิดขึ้นกระบวนการเรียนรู้ของข้าพเจ้าเอง คือ การตระหนักและเกิดความเข้าใจในงาน EMS อย่างมากว่าเป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญและช่วยกันพัฒนาในทุกมิติเพื่อให้การงานนี้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างสูงสุด
  • ทำกระบวนการเอง...ก็เกิดแรงบันดาลใจเองทุกครั้งอย่างมากมาย
  • ประทับใจในตัวนักวิจัย R2R ทั้ง 9 ท่านที่ทำงานเพื่อ EMS อย่างทุ่มเททั้งชีวิต สะท้อนออกมาชัดเจนถึงความรักในงานที่ตนเองทำ

สิ่งที่ข้าพเจ้าทบทวนกับตนเองว่า ...สิ่งที่ยังทำไม่เต็มที่กับตนเองหรือเกิดการเรียนรู้ในตนเองยังไม่มากพอ คือ อะไร

  • ในฐานะคนทำกระบวนการ...ข้าพเจ้ามักได้เจอนักวิจัยก็ต่อเมื่อวันนัดหมายของการประชุมแลกเปลี่ย สิ่งที่ยังขาดหายไปคือ การลงไปพื้นที่หน้างานและสัมผัสบริบทหน้างานให้มากกว่านี้ เพื่อที่จะได้มองเห็นอะไรที่กว้างและลึกซึ้งขึ้น หรือไม่ก็อาจให้นักวิจัยบอกเล่าบริบทหน้างานผ่านคลิปหรือเรื่องเล่าที่มองเห็นภาพชัดเจน จะทำให้เราได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน...อย่างชัดเจน
  • การทำบ้านในการถอดบทเรียนแต่ละครั้ง...ถ้าสามารถเก็บรายละเอียดมากกว่านี้ได้จะเป็นคลังความรู้ที่ดีมากสำหรับตัวข้าพเจ้าเอง
  • การใส่องค์ประกอบของการเป็น R2R Facilitator ให้กับนักวิจัยทั้งเก้าเรื่อง...หรือคนที่สนใจ เป็นการขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน...

ปรารถนาที่อยากจะทำอะไรอีก...เมื่อมีโอกาส

  • การสร้าง connection และการเชื่อมโยงให้เกิดการขยายผลงานวิจัย R2R 9 เรื่องและแตกหน่อออกไป พร้อมกันนั้น Inspiration ให้นักวิจัยในชุดแรกนี้ขับเคลื่อน R2R ต่อในภาพที่กว้างขึ้นจนเกิดเป็นวัฒนธรรม R2R
  • มีหลายงานที่สามารถผลักดันให้เกิดเป็น Learning Center R2R EMS ได้...เพราะการศึกษาพัฒนาของทั้งเก้าเรื่องมีความแตกต่างในแง่ของการเรียนรู้และมองเห็นเป็นศักยภาพที่จะสามารถเปิดพื้นที่ไปสู่การเรียนรู้ของผู้อื่นได้

Note: การจัดกระบวนการครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้ทำ KM ครบทั้งสามส่วนคือ KV KS KA

...

10-09-2559



หมายเลขบันทึก: 613648เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2016 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2016 08:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

รพ ศรีนครินทร์ก็ได้อานิสงค์ไปด้วยค่ะ

ขอบคุณมากๆๆนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท