LLEN มหาสารคาม : ก้าวแรกการขยายผลของกลุ่ม "ฮักนะเชียงยืน"


วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ผมไปช่วยคุณครูเพ็ญศรี ใจกล้า ทำหน้าที่กระบวนกร "พาคิดเรื่องที่จะทำโดยนำคุยผู้ที่เกี่ยวข้อง" ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญมากๆ ที่ทำให้เกิดโครงการนี้คือ CSR ของบริษัทซัมซุง (เรียกว่าโรงเรียนซัมซุง) และกลุ่มนักเรียน "ฮักนะเชียงยืน" และปีนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มีโอกาสเข้ามร่วมด้วย และเข้ามาช่วยเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงานครั้งนี้ ที่ห้อง PH 201 คณะสาธารณสุขศาสตร์ ดังภาพ



ถ้า "การศึกษาไทย" แบ่งไว้ ๔ ยุค ได้แก่

  • ยุค ๑.๐ ครูถ่ายทอดสู่นักเรียน
  • ยุค ๒.๐ ครูพาเรียน ครูนำทำกิจกรรม
  • ยุค ๓.๐ นักเรียนเรียนเอง ศึกษาเอง ครูเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้
  • ยุค ๔.๐ นักเรียนและครูเรียนรู้ร่วมกัน เน้นการคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ มุ่งสู่นวัตกรรมทางความคิด ครูเป็นนักสร้างแรงบันดาลใจ

กระบวนการเรียนรู้ในวันนี้ จัดไว้ในยุคที่ ๓.๐ นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านการลงมือทำและมานำน้อง ๆ รุ่นใหม่ให้เรียนรู้ตามประสบการณ์ของตนเอง และสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่คือการมุ่งสู่ ยุค ๔.๐ ต่อไป

ผมไม่ได้สังเกตการกิจกรรมในส่วนของนักเรียนมากนัก เนื่องจาก หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายวันนี้ คือเป็นผู้อำนวยการสนทนาของวงผู้ใหญ่ใจดี ซึ่งวันนี้มาร่วมกันอย่างคับคั่ง ดังนี้รับ

  • ผู้บริหารของบริษัทซัมซุง ประเทศไทย (จำกัด) ผู้ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาในโรงเรียนซัมซุง ซึ่งปีนี้ขยายผลไปสู่ ๕ โรงเรียน
  • นายอำเภอเชียงยืน ท่านมาเอง... และอยู่จนจบงานเลยครับ สุดยอดจริงๆ
  • ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีทั้งผู้ใหญ่บ้าน อดีตนายก อบต.
  • ปราชญชาวบ้าน ... ผมจำชื่อได้ คุณป้าลมโชย ... แนะนำให้เด็ก ๆ ไปเรียนรู้จากท่านมาก ๆ
  • ผู้ปกครองของนักเรียน
  • นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดร.ญาณวุฒิ อุทรักษ์
  • ผู้อำนวยการโรงเรียนนาข่าวิทยาคม ผอ.คม แคนสุข และ ผอ.โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม นายทรงรัตน์ ธนมาลาพงศ์
  • ศึกษานิเทศก์ประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดร.นงเยาค์ แคนสุข และ อ.เครือมาศย์ ชินกร
  • ครูผู้เข้าร่วมโครงการ ครูวรารักษ์ ภูเฉลิม จากโรงเรียนมะค่าพิทยาคม ครูศิริลักษณ์ ชมภูคำ โรงเรียนบ้านหินลาด ครูเพ็ญศรี กานุมาร โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ เป็นต้น
  • ครูเพ็ญศรี ใจกล้า ครูผู้เป็นจุดเริ่ม เป็นความสำเร็จที่กำลังจะขยายต่อไป





ข้อสรุปการสนทนา

ผลสรุปการสนทนาสรุปเป็นขั้นตอนในการดำเนินการต่อไป ดังแผนภาพ


  • เวทีวันนี้ (๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙) ถือเป็นเวทีเปิดและประชาสัมพันธ์โครงการโรงเรียนซัมซุงช่วงขยายผล สิ่งที่ได้จากเวทีนี้ นอกจากจะเด็กจะเข้าใจปัญหาและกำหนดเป้าหมายร่วมกันแล้ว คณะครู ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ยังได้ร่วมกันกำหนดแนวทางร่วมกัน
  • ขั้นต่อไปคือ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งครูและตัวแทนนักเรียน โดยมีทีมอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นวิทยากร โดยมุ่งเป้าหมาย ให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งต่อไปนี้ ดังนี้
    • ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นเรื่องป่าและเรื่องการเดินป่า
    • กระบวนการเรียนรู้จากป่า
    • ทักษะการใช้เครื่องมือเรียนรู้จากป่า
    • มีประสบการณ์ในการทำข้อมูลป่า เช่น ทำ QR code เก็บข้อมูลต้นไม้ เป็นต้น
  • ขั้นต่อมาอาจจะจัดพร้อมๆ กับขั้นตอนการฝึกอบรมฯ วัตถุประสงค์ของขั้นนี้คือ ให้นักเรียนแกนนำตัวแทนจากแต่ละโรงเรียนได้ทดลองใช้ความรู้ที่ได้ฝึกอบรมมานั้นไปใช้จริงๆ ในการเดินสำรวจป่า ... คิดว่าน่าจะเป็นป่าที่ อ.เชียงยืน
  • หลังจากมีประสบการณ์บ้างแล้ว นักเรียนแกนนำของแต่ละโรงเรียนจะต้อง ไปติดต่อโรงเรียนระดับประถมศึกษา เพื่อติดต่อขอจัดกิจกรรมพาน้องเรียนรู้เรื่องป่า โดยใช้กิจกรรมที่ได้เรียนรู้จากพี่ๆ จากกลุ่มฮักนะเชียงยืน ... น่าจะมีกลุ่มฮักเชียงยืนไปช่วยทุกโรงเรียน
  • ต่อด้วยการจัดค่ายเดินสำรวจป่าชุมชนของตนเอง อาจเป็นป่าในโรงเรียนหรือในชุมชน แล้วแต่ความเหมาะสม ซึ่งถ้าผู้อำนวยการโรงเรียนและกรรมการสถานศึกษาจริงจัง เด็กประถมจะได้พลังแห่งการเรียนรู้ไม่น้อยเลย
  • กิจกรรมสุดท้ายคือ การจัดเวที Show & Share เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนจากทุกโรงเรียนได้นำเสนอผลงานของตนเอง และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

ความจริง เราคุยกันลึกถึงบทบาทของแต่ละคนแต่ละท่าน และบางส่วนถึงกับกำหนดเวลาไว้อย่างชัดเจนว่า อีก ๑ ปี ต่อไปนี้ เราจะมารวมกัน ...

ขอจบไว้เท่านี้ครับ .... ขออภัยที่ใช้เวลานานเหลือเกินกว่าจะนำมาบันทึกไว้....

หมายเลขบันทึก: 613572เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2016 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กันยายน 2016 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท