หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาค 1/2559


ท่านผู้อ่าน Blog ทุกท่าน ,

วันที่ 20 สิงหาคม 2559 นี้ ผมได้รับเกียรติเป็นวิทยากรเรื่อง แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับองค์กรด้านกระบวนการยุติธรรม ในหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการศึกษาที่ 1/2559

ในโอกาสนี้ผมจึงขอเปิด Blog นี้เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับ

หมายเลขบันทึก: 612558เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2016 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2016 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สรุปการเรียนรู้ โดย ทีมวิชาการ Chira Academy

ช่วงแนะนำตัว

นายมิติ สังข์มุสิกานนท์

เรียนเพื่อแสวงหาความรู้เพิ่ม

จบปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ความสำคัญของหัวข้อที่เรียนวันนี้ เมื่อเช้าอาจารย์ณรงค์ได้เปิดอภิปรายเรื่องคน

นายจิรวุฒิ ปุญญาสวัสดิ์

ทำงานกรมราชทัณฑ์ วางนโยบายและงบประมาณ กำหนดนโยบายสู่การปฏิบัติสู่เรือนจำ

นางสาวพิมพ์ญาดา ฐิติกุลธนรัชต์

ทำธุรกิจที่ดินและนำเข้าอาหารเสริม

ทำงานช่วยเหลือคนและกฎหมาย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การพัฒนาคนต้องทำต่อเนื่อง

ต้องมีการลงทุนเรื่องคน

นางสาวนิรมล ยินดี

จบปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ตอนนี้ก็ทำงานอยู่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีและได้รับทุนวิจัยด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หัวข้อนี้เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม

Google ลงทุนเรื่องคนเพราะคนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

แนวทางศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ต่างออกไป นักศึกษาอาจแปลกใจ จบ 3 ชั่วโมง อาจจะมีเนื้อหาทำวิทยานิพนธ์ก็ได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าทำวิทยานิพนธ์ ก็ควรปรึกษาอาจารย์ณรงค์และศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เรื่องนี้ การบริหารบุคคลที่ยังทำไม่ดีเพราะยังไม่เข้าใจความสำคัญของคน ใน HR มีคำว่า Non-HR คือทุกคนในองค์กรรวมผู้นำ แล้วจะเข้าใจเรื่องทรัพยากรมนุษย์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การลงทุนเรื่องคนควรทำให้ดี

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

มีคำเกี่ยวกับคนคือ บริหารงานบุคคลมีกองการเจ้าหน้าที่ทำให้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บริหารงานบุคคลเป็นงาน Routine ก็คือ

-กองการเจ้าหน้าที่

-กองฝึกอบรม

ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักทำงาน เช่น

-รับคน (Recruitment)

-Training

-เงินเดือน ค่าตอบแทน

-การเข้าสู่ตำแหน่ง-การเลื่อนตำแหน่ง

-วินัย

-ร้องทุกข์

-อื่น ๆ

ซึ่งปัจจุบันคงจะต้องปรับงานเหล่านี้ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น

Performance ฝ่ายยุติธรรมต้องดีกว่าเดิม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

2.HR คือทรัพยากรมนุษย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ใช้ Human Capital หมายถึงคนที่ได้รับการลงทุนแล้ว เรียนรู้แล้ว ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว เป็นบุคคลที่มีคุณค่า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ประเทศไทยกำลังไปสู่ Creativity and innovation แต่คนต้องดีก่อน

ตอนนี้เศรษฐกิจไทยเป็น 4.0 มีมูลค่าเพิ่มด้วย

ปัญหาคือคนไทยเรียนหนังสือแบบไม่มีคุณภาพ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

HR transformation ไปไกลกว่า Change เพราะเปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไป

อาจารย์จีระคาดหวังว่า น่าจะนำไปสู่ HR transformation

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จะได้เห็นประเทศไทยในยุคการเปลี่ยนแปลง

พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวส เคยเชิญศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นที่ปรึกษา

ถ้าผู้นำสูงสุดเห็นความสำคัญลงทุนพัฒนาคนในระยะยาว ก็จะดี

บริษัทยิ่งใหญ่ลงทุนเรื่องคนเพราะสามารถนำธุรกิจกลับมาได้

ถ้าเรียนปริญญาเอกให้รอด ต้องทบทวน Coursework บางอย่างก็เป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้

นายสิงห์พล พลสิงห์

เป็นความใฝ่ฝันอยากเรียนจบปริญญาเอก

ทำงาน Compliance ต้อง comply กับ regulators

จะเขียนวิทยานิพนธ์ compliance กฎหมายฟอกเงิน

พันตำรวจโท บดินทร วิยาภรณ์

เป็นตำรวจดูแลสวัสดิการ

ดูแลศูนย์ข้อมูลผู้กระทำผิดกฎจราจร

เป้าหมายคือเรียนไปเพื่อไปเป็นอาจารย์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องพัฒนาตำรวจอย่างจริงจัง

เรื่องคนคือหัวใจ ต้องเป็นยุทธศาสตร์องค์กร คนต้องดีก่อนแล้วค่อยเก่ง

ถ้ามองเรื่องวัตถุอย่างเดียวก็จะล้มเหลว

อย่ายกย่องแต่คนมีเงิน

พันตำรวจโท บดินทร วิยาภรณ์

ตำรวจได้รับการพัฒนาไปไกลมากแล้ว ปัญหาคือผู้นำยังเน้นโทรศัพท์แอนะล็อกแต่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ผู้นำระดับสูงจึงไมได้ทำได้หมดทุกอย่าง

นายณัฐวุฒิ วงศ์เนียม

เป็นอัยการ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรให้อัยการมาเรียนปริญญาเอกมากขึ้น เพราะอัยการคิดนอกกรอบ ต้องดูคดีในหลายมุม

แต่อัยการไทยใช้ได้

คนเก่งที่จบนิติ ไปเป็นอัยการแล้ว

เคยไปบรรยายให้อัยการ

นายณัฐวุฒิ วงศ์เนียม

เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

แม้ไม่อยู่ในวงการยุติธรรมก็ใช้หัวข้อนี้ได้

ในองค์กร ถ้าลงทุน Talent ดีและเก่ง องค์กรจะขับเคลื่อนได้ดี

ในอนาคต โลกจะใช้คนน้อยลง ใช้ Networking และเทคโนโลยีมากขึ้น

อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มหาวิทยาลัยมหิดลมีการประเมินบุคลากรหลายเกณฑ์มาตรฐาน ถ้าเน้นปฏิรูปกฎหมาย แต่ไม่ปฏิรูปคนก็ไม่สำเร็จ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พูดดีมาก

อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล

ในแง่บังคับใช้กฎหมาย บางอย่างบทบัญญัติดีแต่มีปัญหาการบังคับใช้ เพราะคนที่ไปบังคับใช้มีปัญหา ถ้าจะบริหารให้ยุติธรรมจริง ต้องปรับปรุงวิธีการพัฒนาคน ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องสำคัญ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

อาจารย์จากมหิดลพูดได้น่าสนใจ คือเรื่องกฎหมาย และคนไปบังคับใช้ ต้องให้เข้าใจคนในกระบวนการทั้งหมด

การบรรยาย หัวข้อ จากบริหารงานบุคคล สู่ HR สู่ Human Capital, HR Transformation

ในขบวนการยุติธรรม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันนี้เป็น Shakespearean Model ต้องพิจารณาผู้เกี่ยวข้อง (ตัวละคร) ทั้งหมดในกระบวนการยุติธรรม ต้องหาความรู้เรื่อยๆ ซึ่งปัญญามาจากการปะทะกันทางปัญญา

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

Shakespearean Model น่าสนใจ ต้องมีตัวละครครบ เป็นวิธีการที่อาจารย์จีระใช้กับทุก sector เช่น

ภาครัฐ ภาควิชาการ เอกชน ประชาชน

วันนี้มีภาครัฐ เช่น ตำรวจ อัยการ กรมราชทัณฑ์ มีภาควิชาการคือ มหาวิทยาลัย มีภาคเอกชนและภาคประชาชน เจอกระบวนการยุติธรรมมาก ว้าเหว่

ส่วนผสมแบบนี้ มีทีนี่คือพันธกิจเรียนร่วมกัน ควรทำวิทยานิพนธ์ที่มาจากความเป็นจริง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เขียนวิทยานิพนธ์ต้องเน้นความเป็นจริง โดยนำภูมิปัญญานิติศาสตร์มาใช้ ประอบกับความรู้ศาสตร์อื่นด้วย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งสำคัญจะทำให้ปะทะกับความจริง กฎหมายใช้กับคนต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์

เนื่องจากส่วนผสมดี จะได้ network เวลามีปัญหาจะช่วยเหลือกันได้

ในอนาคต ตำรวจอาจมีการเปลี่ยนแปลง ครั้งนี้เป็นการเตรียมตัว

ภาคเอกชนสนใจเรื่องการฟอกเงิน ต้องคิดไกลมาก

นายอภิชา ระยับศรี

ทำงานรัฐสภา เป็นข้าราชการการเมือง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขบวนการยุติธรรมกำลังปรับไปสู่ความเป็นเลิศ

ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ไม่ใช่เงิน สิ่งของหรือเครื่องจักร แต่เป็นคน เช่น สิงคโปร์ หรืออิสราเอล รายได้เฉลี่ยต่อหัวของสิงคโปร์มากกว่าไทย 11 เท่า

ตอนนี้ไทยเน้นเศรษฐกิจ 4.0 แต่คุณภาพคนแย่ มีแต่คนโกง

ศักยภาพของคนซ่อนอยู่ข้างใน

CEO ของ Microsoft ให้ความสำคัญการเรียนรู้ philosophy of work is “curiosity and thirst for learning.”

การพัฒนาคนต้องปลูกก่อน ถ้าคนไม่ชอบนาย ก็ไม่อยากทำงาน ต้องสร้างแรงบันดาลใจ ให้ทำงานแบบมีความสุขและมีเป้าหมาย

การพัฒนาคนต้องใช้เวลาแบบการปลูกพืชและต้องทำอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากสุภาษิตจีน

ปลูกพืชล้มลุก.. 3-4 เดือน

ปลูกพืชยืนต้น.. 3-4 ปี

พัฒนาคน.. ทั้งชีวิต

การมองทรัพยากรมนุษย์อย่ามองแค่องค์กร ต้องมองสภาพแวดล้อมในอนาคตด้วย เช่น การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ภาษาอังกฤษ

ต้องมีความรู้ทั้งแนวกว้างและแนวลึก

กระบวนการยุติธรรมต้องมีการปรับตัว

หลักสูตรนี้ต้องให้เกิดพลวัตในกระบวนการยุติธรรม

เรียนแล้วต้องนำทฤษฎีไปปะทะกับความจริง บางกฎหมายล้าสมัยใช้จริงไม่ได้

ต้องเลือกประเด็นที่ศึกษา ต้องตัดสินใจว่ากระบวนการใดมีคุณค่าต่อตน ต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

ต้องหลุดจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง S-curve ต้องเปลี่ยนไปเน้นนวัตกรรม ขบวนการยุติธรรมต้องทำสิ่งใหม่ให้คนตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้

คนต้องได้รับแรงบันดาลใจ แรงจูงใจและอยากทำงาน ต้องบริหารคนให้ใช้ศักยภาพได้อย่างเต็มที่

สิ่งสำคัญต้องมี Happiness at work ต้องมีความเคารพกัน ให้ความสำคัญเกียรติและศักดิ์ศรี ต้องมีความยั่งยืน มีการแสวงหาความรู้ตลอด เรียนร่วมกัน เป็นเพื่อนกัน

นอกจากเรื่องกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมแล้ว เรื่องบริหารคนก็น่าสนใจที่จะนำมาพัฒนาในหลายๆ มิติ โดยเฉพาะ อัยการ ตำรวจ ศาล และหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรม

บริษัทใหญ่ เช่น ปูนซิเมนต์ไทยมีงบให้พนักงานเรียน และวันเรียนไม่ถือเป็นวันลา

ใน 8K’s บางครั้งคนมีปริญญาแต่ไม่มีปัญญา ปัญญากับจริยธรรมขึ้นอยู่กับการปลูกฝัง ทุนทางจริยธรรมควรจะมีต้นแบบ (Role Model) เช่นศึกษาผู้นำธรรมศาสตร์ 4 คน ในหนังสือพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม

ต้องมี 8K’s ก่อนมี 5K’s กระบวนการยุติธรรมล้มเหลวเพราะ8K’s มาหลัง 5K’s ปัญหาคือสังคมไทยยกย่องคนรวยแต่ไม่ยกย่องคนดี การปฏิรูปคนต้องมี 8K’s+5K’s ด้วย

ในวงการตุลาการต้องรู้กฎหมาย ทำงานเป็นทีม มีภาวะผู้นำ ต้องมีจิตวิญญาณเชิงผู้ประกอบการ ต้องมีความรู้ในสถานการณ์โลก ถ้ามีภาพใหญ่ด้วย ก็จะเป็นประโยชน์มาก

Dave Ulrich กล่าวว่า HR ยุคใหม่ต้องทำ 4 อย่าง

1.HR ต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ได้ คือต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง

2.อย่าทำงานคนเดียว ต้องเป็น Strategic Partners กับคนในองค์กร เช่น CEO หรืออธิบดีหรือคนในหน่วยงานที่ทำหน้าที่ซึ่งเรียกว่า Non-HR

3.ต้องเน้นคุณค่าของคน คือ เป็น Employee Champion

4.ต้องมีระบบการบริหารจัดการ HR ที่ทันสมัย คิดเป็นยุทธศาสตร์ คือ อย่าใช้กฎระเบียบแบบราชการ ต้องให้มีเสรีภาพมากขึ้น หรือ มีการมอบอำนาจ คือ Empowerment

Peter Senge ก็เน้นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มี 5 เรื่อง คือ

1.Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง

2.Mental Models มีแบบอย่างทางความคิด

3.Shared Vision มีเป้าหมายร่วมกัน

4.Team Learning เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน

5.Systems Thinking มีระบบการคิด มีเหตุมีผล

ถ้ากระบวนการยุติธรรมมีการใฝ่รู้ คิดนอกกรอบ ก็จะเป็นองค์กรการเรียนรู้

แนวคิดของ John P.Kotter ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Leading Change จะเน้นจุดที่มากดดันเรียกว่า “Sense of Urgency”

กระบวนการยุติธรรมมีแรงกดดันให้ปรับทุนมนุษย์ให้เป็นเลิศได้หรือไม่

John Kotter ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Leading Change พูดถึง กลยุทธ์ในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง 8 ขั้นตอน โดยถือเป็นภาระของผู้นำที่จะต้องกระตุ้นองค์การให้เปลี่ยนแปลง ดังนี้

1.สร้างความรู้สึกถึงตระหนักถึงความจำเป็น สร้างความรู้สึกกระตือรือร้น และเร่งด่วนที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร (Establishing a sense of urgency)

2.การรวมกลุ่มที่มีพลังมากพอที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (Forming a powerful guiding coalition)

3.สร้างวิสัยทัศน์ (Creating a vision)

4.การสื่อสารและถ่ายทอดวิสัยทัศน์ (Communicating the vision)

5.การให้อำนาจ และทำให้คนในองค์กรดำเนินการตามวิสัยทัศน์ (Empowering others to act on the vision)

6.การวางแผนเพื่อให้เกิดความสำเร็จในระยะสั้น (Planning for and creating short-term wins)

7.ประมวลการปรับปรุงเหล่านี้ให้ครบถ้วน (Consolidating Improvements and Producing Still More Change)

8.ปลูกฝังวิธีใหม่ในองค์การให้คงอยู่ (Institutionalizing new approaches)

ทั้งหมดนี้เป็น HR ยุคใหม่ มีมูลค่าเพิ่ม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล จันทรกมล

ต้องมอง Macro ด้วย คือคนนอกกระบวนการยุติธรรม เป็นทั้งปัญหาและโอกาส ถ้าใช้เป็นก็ช่วยองค์กรได้

ปัญหาคือกฎหมายถูกซ่อน ไม่ได้ถูกส่งออกมาภายนอก หาข้อมูลยากมาก

ต้องมองกฎหมาย AEC ด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องศึกษากฎหมายอียูด้วย มีกฎหมายซ้ำซ้อน ในแง่กฎหมายระหว่างประเทศ ตำรวจต้องสนใจมากขึ้น

ทุกคนควรมี Global Competency ต้องรู้กว้างด้วย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล จันทรกมล

อาเซียนมี 3 เสาหลัก กฎหมายเกี่ยวข้องกับทุกเสาหลัก กฎหมายเศรษฐกิจมาแรงมาก

ถ้าทำกฎหมายฟอกเงิน Double A ไปปลูกป่าในยุโรป กฎหมายอียูก็ครอบคลุมด้วย

ประเทศไทยทำเศรษฐกิจ 4.0 ต้องหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและแสวงหาโอกาส

อาจารย์จีระเน้นให้มองกว้าง คือสภาพแวดล้อมที่กระทบคน ก่อน Transform ก็ต้อง Change

เรื่องที่สองอาจารย์จีระให้ทฤษฎี ต้องดูกฎหมาย เวลาทำวิทยานิพนธ์ควรจะเป็นแบบนักสืบไม่ต้องไปดูทุกเรื่อง

Learn องค์ความรู้หาไม่ยาก Share ใน workshop เรียนแล้วได้อะไร

Learning How to Learn คนต้องมี 8K’s (ทุนมนุษย์พื้นฐาน) คุณธรรม จริยธรรมต้องมากับโลกกว้าง ทำให้เห็นกรณีศึกษา ต้องทำให้คนทำงานอย่างมีความสุข ทำของยากให้ง่ายลง ทุนทางสังคม Network สำคัญ มีประโยชน์ในการแก้ปัญหา ทุนแห่งความยั่งยืน ต้องเรียนรู้ทุกวัน การหารือร่วมกันทำให้มีความรู้กว้างขวางขึ้น ที่สำคัญต้องคิดดีทำดีแล้วจะยั่งยืน ทุนทางไอทีทำให้ทำงานได้สะดวก ต้องมีการควบคุมระดับการเข้าถึงข้อมูลให้เกิดความปลอดภัย ทัศนคติสำคัญสุด ต้องปรับให้คนในองค์กรได้

5K’s ได้แก่ ทุนแห่งการสร้างสรรค์มีการจดสิทธิบัตรแหล่งกำเนิด ต้องสนใจเรื่องนี้ ต่อไปกฎหมายนี้มาแรงแน่นอน เพราะมีการฟ้องร้อง มีคนนำฤๅษีดัดตนของไทยไป มีการฟ้องร้องแล้ว ถือเป็นเรื่องทุนทางวัฒนธรรม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ศาลต้องมีความคิดสร้างสรรค์ การบริหารคนในกระบวนการยุติธรรมต้องเน้น HRDS

Intangible จะเข้ามา

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล จันทรกมล

กฎหมายใหม่มาตลอด มีนวัตกรรม ถ้าคนไม่มีความเครียด ก็ทำงานได้ดี ทุนทางวัฒนธรรมมีครูอาจารย์ แต่ต้องดูแลประชาชนด้วย

ทฤษฎี 3 วงกลมคือการเก็บเกี่ยว สามารถนำไปใช้ได้ดี

Context ถ้านำไอทีมาใช้ จะช่วยให้ทำงานได้ เช่น ติดกล้องหน้ารถทำให้ช่วยเหลือได้ง่าย

Competency ใส่ทักษะที่เหมาะสม

Motivation ทำให้ทำงานบรรลุผลสำเร็จ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องนำพฤติกรรมคนในองค์กรมาเกี่ยวข้องด้วย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล จันทรกมล

ทฤษฎี 3 วงกลมก็สามารถใช้ได้กับองค์กรทุกประเภทอาจจะนำไปใช้ทำวิทยานิพนธ์ได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เมื่อปลูกคือลงทุนเรื่องคนแล้ว ต้องทำให้คนอยากทำงานให้ด้วย

บางครั้งมีความขัดแย้งในองค์กร บางคนมี EGO

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล จันทรกมล

ทฤษฎี 3 วงกลมต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในองค์กร

HRDS ทำได้เองในระดับบุคคล

Happiness ทำงานแล้วเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ถือเป็นการเก็บเกี่ยวแล้ว

Respect ความเคารพนับถือ ให้ตำแหน่ง ถ้าทำไม่ได้ก็มีการถอดถอน

Dignity เป็นความภาคภูมิใจ ทำให้คนเชื่อมั่นว่าตนมีความสำคัญในการจรรโลงองค์กร

Sustainability ความยั่งยืน เรียนรู้ตลอดชีวิต

ต้องทำกระบวนการทำงานให้เป็นเรื่องง่าย คนจะให้ความร่วมมือดี

Workshop

กลุ่มซ้าย

1.อุปสรรคในการปรับ HR Personnel มาเป็น HR แบบใหม่ 3 เรื่องในกระบวนการยุติธรรมคืออะไร ทางออกที่เหมาะสมคืออะไร ยกตัวอย่างที่สำเร็จ 3 เรื่อง

(1) Training ในราชการและเอกชนมี KPIs มีหนังสือเวียน หัวหน้าอนุมัติ อบรมแล้วก็เหมือนเดิม อบรมใช้งบประมาณมาก แต่เกิดอุปสรรคทำงานไม่ได้ มีทางออกคือเปลี่ยนเป็นเรียนรู้ On-the-job Training แล้วแบ่งปันให้เพื่อนร่วมงาน

(2) ทัศนคติการทำงาน มักทำแบบ Stand alone ทำคนเดียว ปี 2557-2558 สถิติอาชญากรรม 2 ล้านกว่าคดี ต้องผ่านตำรวจ ซึ่งมี 2 แสนคน แต่ประชากรมีมากกว่ามาก งบหมดไปกับเงินเดือนตำรวจ ขาดเครื่องมือ ทางออกคือ ทำงานเป็น Network ทำให้มุมมองกว้าง เช่น กรณีหญิงไก่ กองปราบไปเช็คข้อมูลเจาะลึกได้ ต้องร่วมมือหน่วยปราบปรามอาชญากรรมเศรษฐกิจและการค้ามนุษย์ด้วย

3.CEO ในการพัฒนาคน เริ่มที่แม่ แก้ที่พ่อ ก่อที่ลูก ปลูกที่ครูอาจารย์ โลกสวยได้ด้วยมือครูเพราะครูปลูกคนให้ดี เก่งและมีสุขภาพ ก็จะเป็นที่มาของ CEO ว่า คนที่จะเป็น CEO ต้องรอบรู้และมีความเปลี่ยนแปลง ผู้นำระดับประเทศหลายคนพัฒนาจากเดิมไปสู่ความเปลี่ยนแปลงมีความทันสมัย ประเทศไทยมีผู้นำหลากหลายแตกต่างกันออกไปในอดีตโดยเฉพาะสังคมการเมือง เช่น รอบรู้แบบคึกฤทธิ์ สุจริตแบบพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดทนแบบบิ๊กจิ๋ว พลิกพลิ้วแบบชาติชาย กล้าตายแบบท่านอานันท์ อารมณ์ขันคือท่านควง อภัยวงศ์ ซื่อตรงแบบท่านสัญญา ธรรมศักดิ์ แน่นหนักแบบสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นุ่มนวลและมัธยัสถ์แบบท่านชวน หลีกภัย ฉับไวแบบบรรหาร ศิลปะอาชา เชี่ยวชาญแบบทักษิณ บ้าบิ่นแบบสมัคร งามยิ่งนักแบบยิ่งลักษณ์ หรือมั่นคง มั่งคั่งแบบท่านประยุทธ์ จันทร์โอชา วาระประชาชนต้องมาก่อนแบบอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ CEO เหล่านี้ต้องผ่านการเรียนรู้มาอย่างเต็มที่จนมีความรู้ความสามารถ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

HR routine ทำ training แบบไม่มีเป้าหมาย ต้องมีการเชื่อมโยงให้ต่อเนื่อง เช่น เรื่อง Software ปปง. ไม่มีใครนำไปปะทะกับความจริง ขาด Facilitator ใน HR

ในอนาคต ควรนำกองการเจ้าหน้าที่มาฝึกแบบเข้าค่ายไปเรื่อยๆ

ต้องใช้ learn, share and care แล้วนำไปปะทะความจริง คนประสานต้องเป็นผู้ใหญ่ รู้จริง มีบารมี

การเปลี่ยน Training เป็น Learning เป็นเรื่องที่ถูกต้อง

ควรเขียนวิทยานิพนธ์ว่า มีองค์กรใดบ้างที่การเปลี่ยน Training เป็น Learning

ในเรื่อง Stand alone แก้โดยหาเครือข่ายภายนอกมาช่วยทำงาน ข้อดีตำรวจคือมีประสบการณ์เห็นโลกมาก ต้องเห็นโลกมากแล้วจะเกิดปัญญา ต้องมีความใฝ่รู้

ท่านสุดท้ายพูดดี ถ้าอัยการให้เวลาเรื่องคนมากกว่าคดี มีผู้ร่วมงานแบบ Smart HR อัยการเรื่องคนก็จะไปไกล คนต้องไปรับใช้วัตถุประสงค์ขององค์กร คนเป็นตัวขับเคลื่อนให้การทำงานเพิ่มมูลค่า

กลุ่มขวา

ทั้งสามประเด็นครบถ้วน แต่อุปสรรคพัฒนาคนมีมากกว่านั้น

ปัญหาที่พบคือ การบูรณาการร่วมกันรวมถึงองค์กรทั้งหมดที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากมีความมั่นคงเกี่ยวข้องด้วย ทหารก็ต้องเข้ามามีบทบาท

การบูรณาการในเชิงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทัศนคติในการทำงานร่วมกันไปคนละทาง ทหารมองตำรวจและตำรวจมองทหารต่างกัน ทำให้แก้ปัญหาลำบาล ต้องให้เกิดกระบวนการบูรณาการการทำงานร่วมกันและทรัพยากร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หน่วยงานรัฐที่ทำงานเรื่องคนควรมาบูรณาการกันแล้วทำงานร่วมกัน อาจจะมีการประชุมร่วมกันระหว่างกองการเจ้าหน้าที่และทหาร

ปัญหาเมืองไทยเรื่องคน คือไม่ทำงานต่อเนื่อง

กลุ่มขวา

2.แนว Chira’s Way, Ulrich และ Peter Senge และ Kotter จะผสมกันอย่างไร เหมาะกับระบบยุติธรรมในเมืองไทยหรือไม่อย่างไร จุดแข็ง จุดอ่อนของ 4 ท่าน คือ อะไร อธิบาย จะนำไปใช้กับ Reality ของระบบยุติธรรมไทยอย่างไร

ควรมองว่าระบบไทยเหมาะกับแนวคิดเหล่านี้ได้หรือไม่ เพราะทฤษฎีส่วนใหญ่มาจากต่างชาติ ซึ่งมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแตกต่างจากไทยโดยสิ้นเชิง จึงนำมาใช้ได้เพียงบางอย่าง

Chira’s Way มององค์รวมและวัฒนธรรมไทย ตามที่อาจารย์จีระบรรยาย พื้นฐานความคิดครอบครัว สังคม เป็นหลักใหญ่ที่จะทำให้ตัวบุคคลเติบโต มีความรู้ มีความคิดขึ้นมาแล้วนำมาขับเคลื่อนระบบ

ไม่ได้มองว่าทฤษฎีต่างๆเป็นจุดอ่อนหรือจุดแข็ง แต่ขอให้เพิ่มจิตสาธารณะ อยากทำทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป หรือองค์กรขับเคลื่อนโดยตรง เช่น พนักงานสอบสวนไม่ควรทำแค่หน้าที่ ควรมีจิตสาธารณะคล้าย CSR จากการมาเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณาจารย์ได้ให้โอกาสมาช่วยงานที่ศูนย์นิติศาสตร์ทำให้ทราบข้อบกพร่องในกระบวนการยุติธรรมหลายด้าน แต่ถ้าทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ขับเคลื่อน หรือผู้ประสบเหตุเองมีจิตที่ตรงกัน คนหนึ่งพยายามเข้าไปช่วย อีกคนพยายามสื่อสารสิ่งที่ตนประสบอยู่ให้ผู้ให้ความช่วยเหลือทราบหรือขับเคลื่อนระบบไปให้ได้ดีที่สุด ก็จะทำให้จุดอ่อนที่มีอยู่ในระบบกระบวนการยุติธรรมเริ่มพัฒนามากขึ้น แต่ข้อเสียกระบวนการยุติธรรมที่จะไม่นำทฤษฎีทั้งหมดที่มีอยู่ไปใช้เพราะ มี EGO ของตนเองสูง หรือมีความคิดของตนเองมากกว่าจะพัฒนาทฤษฎีอยู่ที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครอบครัวเป็นพื้นฐาน ต้องปลูกฝังเรื่องความดี ตอนนี้ครอบครัวก็อ่อนแอ

CSR เป็นเรื่องดี

ต้องมีการเสริมกัน

กลุ่มซ้าย

การมีแนวคิดเชิงรุก ควรสร้างกรอบหน้าที่อนุญาตให้ออกไปแนวหน้าได้ ก็จะทำให้ระบบยุติธรรมไทยก้าวหน้าขึ้น

ทฤษฎีและปฏิบัติต่างกัน ภาคปฏิบัติต้องใช้ประสบการณ์ ถ้าเห็นปัญหา ก็ต้องปฏิรูป

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ใน HR architecture มีเรื่องจิตสาธารณะแล้ว หน่วยงานต่างๆควรมีจิตสาธารณะด้วย ต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีวัฒนธรรมการเรียนรู้

กลุ่มขวามองทฤษฎีแล้วเพิ่มจิตสาธารณะ ต้องมองส่วนร่วม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ควรนำ Workshop ไปใช้ในหน่วยงานด้วย ทุกท่านโชคดีที่ได้มาเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถือเป็นดินดี และมีปุ๋ยดีคือออกแบบวิชาการ ได้น้ำดี คือ อาจารย์ให้ความรู้ มี Fresh air ปะทะกันทางปัญญา ทำให้งอกงาม

เวลาทำงานในหน่วยงาน ควรให้ทำ Workshop

ในคำถามข้อแรก เลือกเรื่องการเรียน การทำงาน ผู้นำ เลือกได้ดีมาก HR ไม่สำเร็จ ถ้าผู้นำไม่สนับสนุน กลุ่มแรกเน้นแนวลึก

ข้อสอง ได้แนวคิดใหม่ขึ้นมา บูรณาการกระเด้งมาจากกลุ่ม 2 เรื่องเล็กทำได้

ส่วนผสมใน Workshop แบบ Chira’s Way ต้องทำอะไรเร็วเพราะโลกเปลี่ยนแปลงเร็ว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คนที่น่ากลัวที่สุดคือคนไม่เรียนรู้แต่มีตำแหน่งสูงเพราะมี EGO สูง ควรลด EGO ให้น้อยลง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เรื่องที่เรียนรู้เป็นเรื่องใกล้ตัวแต่ไม่รู้จึงรู้สึกว่าไกลตัว

การทำ Workshop ครั้งนี้ ส่วนผสมดีเพราะมีคนมาจากหลายฝ่าย แล้วเรียนแล้วต้องมีการเลือก จึงต้องมีการจัดลำดับ กลุ่มแรกจึงจัดลำดับได้ ทำได้สำเร็จเพราะผู้นำ ต้องบริหารผู้นำให้ได้

กระบวนการสำคัญคือ Learn, Share and Care คนนำการประชุมสำคัญที่สุด ต้องเลือกสิ่งที่ดีสุด

แนวคิดหลายเรื่องสุดยอด เรื่อง Network ความแตกต่างระหว่างทีม ต้องมีศิลปะการขับเคลื่อนและบูรณาการ แล้วต้องนำความคิดไปปฏิบัติ

รศ. ณรงค์ ใจหาญ

วันนี้ได้ความรู้มาก มาร่วมฟังเพราะตามงานดร.จีระมานานและอาจารย์ให้เกียริมาบรรยาย วันนี้อาจารย์ให้กรอบความคิด เดิมมีการถกเถียงระหว่างระบบดีกับคนดีอะไรมาก่อน กฎหมายไทยไม่น้อยหน้าระดับสากล

แต่เรื่องคน กระบวนการยุติธรรมมีคนหลากหลาย กระบวนการสร้างความตระหนัก ต้องมีจิตสำนึก คือ ทำได้แล้วเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

การบริหารกระบวนการยุติธรรมต้องทำให้คนมีแรงบันดาลใจ เรียนรู้ตลอดชีวิต สิ่งสำคัญคือการต่อยอดความรู้และประสบการณ์ ควรมีการประสานงานระหว่างหน่วยงาน

ในอนาคต ต้องมีเรื่องอาเซียนและกฎหมายต่างประเทศและหน่วยงานต่างประเทศมาเกี่ยวข้องทำงานด้วย จะตีกรอบกฎหมายทำงานเฉพาะคนไทยไม่ได้แล้ว

ขอขอบคุณอาจารย์จีระ

ผู้นำองค์กรยุติธรรมยังต้องการแบบนี้อยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท