รายวิชาศึกษาทั่วไป : วิชา ๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน _๐๔ : ถอดบทเรียนการจัดการเรียนการสอน ปีการศึกษาที่ ๒/๒๕๕๘


วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เราเชิญตัวแทนอาจารย์ผู้สอนรายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน มาร่วมแลกปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา ๒/๒๕๕๘ ที่ผ่านมา ขอขอบคุณ เราพบว่าแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนของแต่ละคณะแตกต่างกัน อย่างน่าสนใจ จึงขอนำเอาไทมไลน์กิจกรรมการเรียนรู้ของแต่ละคณะมาแลกเปลี่ยน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนของ คณะ-วิทยาลัยที่จะเปิดสอนต่อ ๆ ไป

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง

จุดเด่นของการจัดการเรียนการสอนวิชา "๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน" ของวิทยาลัยการเมืองการปกครอง คือการปลูกฝัง "จิตอาสา" ด้วยกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน เครื่องมือสำคัญของอาจารย์ คือการโยนคำถามว่า "ชุมชนต้องการอะไร" และให้ความสำคัญกับสิ่งที่ชุมชนต้องการเป็นอันดับแรก การทำงานร่วมกันอย่างหนักของนิสิต ความสุขจากการอุทิศแรงกาย แรงใจ และการสละทรัพย์เงินส่วนตัว น่าจะเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของการ "ระเบิดจากภายใน" เป็นเหตุให้เกิดจิตอาสาที่แท้จริง

ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดการจัดการเรียนการสอน ตั้งแต่สัปดาห์แรกถึงสัปดาห์สุดท้าย ท่านผู้อ่านสามารถอ่านทำความเข้าใจได้ โดยไม่จำเป็นต้องอธิบายเพิ่มเติมมากนัก






คณะวิทยาการสารสนเทศ

จุดเด่นของการจัดการเรียนการสอนของคณะวิทยาการสารสนเทศ คือ การบรูณาการความรู้ในสาขาไปใช้ในกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ และการทำงานเป็นทีม คำถามสำคัญในการสอนคือ จะนำความรู้ในสาขาวิชา (หลักสูตร) ของตนเองไปใช้ในการทำงานเป็นทีมเพื่อสังคมอย่างไร?



ผม AAR ว่า การจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษาแรก (๒/๒๕๕๘) ที่ผ่านมานั้น แม้จะไม่ประสบผลสำเร็จแบบงดงาม เนื่องจากปัญหาด้านการบริหารจัดการในการประสานและขับเคลื่อนของผมเอง แต่ก็ถือว่าได้รับ "องค์ความรู้" ที่จะนำมาสู่การพัฒนาในขั้นต่อไป ที่คุ้มค่า โดยเฉพาะข้อค้นพบที่เราต้องยอมรับ ดังนี้

  • เนื้อหาร่วม (เนื้อหาส่วนกลางที่ต้องสอนร่วมกัน) ค่อนข้างลงตัว คือบทที่ ๑ ถึงบทที่ ๓ ได้แก่
    • บทที่ ๑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งจะกล่าวถึงความเป็นมาของจังหวัด การก่อตั้งมหาวิทยาลัย วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ค่านิยม และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย และรวมไปถึงจุดมุ่งหมายของหลักสูตรด้วย
    • บทที่ ๒ บทบาทของมหาวิทยาลัยกับการรับใช้สังคม การบริการวิชาการ และการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑
    • บทที่ ๓ การศึกษาชุมชน ซึ่งเน้นภาพกว้างของหลักการ ความสำคัญ เครื่องมือ เทคนิค และข้อปฏิบัติเมื่อจะลงพื้นที่ศึกษาชุมชน
  • เนื้อหาร่วมนี้ จะวัดผลในการสอบกลางภาคเรียน ด้วยข้อสอบชุดเดียวกันทุกคณะ-วิทยาลัย คิดเป็นคะแนน ๓๐ คะแนน
  • กำหนดให้มีคะแนนสำหรับการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ๑๐ คะแนน
  • คณะ-วิทยาลัย มีอิสระที่จะออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของตนเอง โดยเฉพาะในส่วนหลังสอบกลางภาค และกำหนดแนวทางการวัดผลประเมินผลของตนเอง ทั้ง ๖๐ คะแนน
  • ปลายภาคเรียน สำนักศึกษาทั่วไป จะจัดเวทีนำเสนอผลงาน/ผลการเรียนรู้จากกิจกรรมการเรียนการสอนของรายวิชา และมีการเชิญกรรมการหรือผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก มาร่วมสะท้อนความเห็น และประเมินผลการเรียนรู้ โดยไม่มีข้อบังคับว่า แต่ละคณะ-วิทยาลัย จะต้องนำคะแนนนั้นๆ ไปใช้

ขอจบเท่านี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 611555เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2016 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2016 11:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท