วิถีลูกอีสาน


วิถีลูกอีสาน

ผมเกิดและเติบโตมาในครอบครัวชาวนา บ้านสำโรง ต.ยางท่าแจ้ง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ได้อยู่กับวิถีชีวิตที่เรียบง่ายไม่วุ่นวาย เป็นวิถีที่เอื้อเฟื้อต่อกันและกัน สังคมบ้านนอกเป็นสังคมที่ต้องพึ่งพาอาศัยธรรมชาติในการทำมาหากิน จึงได้เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละท้องถิ่นในการหากินที่แตกต่างกันออกไป สำหรับหมู่บ้านผมเป็นหมู่บ้านที่แม่น้ำชี(แม่น้ำซี)ไหลผ่านเราจึงที่ภูมิปัญญาในการหาปลา ในแต่ละครัวเรือนก็จะมีวิธีการหาปลาที่แตกต่างกัน เช่น ทอดแห่ ดักตาข่าย แล้วก็จะถ่ายทอดภูมิปัญญานั้นสู่ลูกหลานต้องเรียนรู้ แต่ละบ้านก็จะมีเรือ(เที่ยวบ้านเรียก เฮีย) ครั้งหนึ่งผมได้ไปหาปลากับพ่อผม ไปซุ่มแห(ทอดแห)ไปไลดาง(ดักตาข่าย)เป็นที่นิยมมากของในการหาปลาของหมู่บ้านผมเพราะบางหมู่บ้านที่ติดลำน้ำชีก็มีการหาปลาที่แตกต่างออกไป การไปดักตาข่าย(ไปไลดาง) ก็จะมีนายท้ายคือคนพายเรือนายหัวเป็นคนปล่อยตาข่ายจากฝั่งหนึ่งของลำน้ำชีไปฝั่งตรงข้าม ใช้ไม้ไผ่ลำประมาณเท่านิ้วกลางเป็นหลักแล้วผูกตาข่าย(ดาง)ไว้ แล้วใช้ลำไม้ไผ่ยาวประมาณ 12ศอกมีพวงเหล็กติดอยู่ที่ปลายไม้เพื่อทำให้เกิดเสียงใช้ถิ่มลงไปใต้น้ำแล้วเขย่าๆให้เกิดเสียง(เรียกว่าไม้ไล่)เพื่อทำให้ปลาตกใจว่ายไปติดตาข่าย แล้วค่อยสังเกตลำไม้ไผ่เล็กๆที่เป็นหลักตาข่ายถ้าหลักเขย่าแสดงว่าปลาติดตาข่าย และหน้าประหลาดคือพ่อผมรู้ด้วยว่าเป็นปลาอะไรที่ติดตาข่าย มีจำนวนกี่ตัวและมีน้ำหนักของแต่ละตัวประมาณกี่กิโล ผมก็ได้เรียนรู้จากการเข้าไปสัมผัสลงมือปฏิบัติ มันเป็นวิถีที่ต้องอดทนเพราะต้องนั่งพายเรือทั้งวันร้อนก็ร้อน แต่มันเป็นวิถีที่พึงพาอาศัยธรรมชาติ เมื่อเอยถึงปลาผมจะนึกถึงลำน้ำชี

หมายเลขบันทึก: 610635เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บันทึกนี้ทำให้เราได้ทบทวนรากเหง้าตัวเองไปในตัว-ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท