เรื่องเล่าในมหาวิทยาลัย


พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2542

โดยภายในพื้นที่โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้แบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น 8 ส่วนดังนี้

1. เรือนอีสานประยุกต์หลังใหญ่ ประกอบด้วย สำนักงาน ห้องประชุมใหญ่

ห้องประชุมย่อย ห้องรับรอง คลังพิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย

มหาสารคาม และนิทรรศการพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

2. เรือนอีสานประยุกต์หลังเล็ก ประกอบด้วยนิทรรศการพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามและพื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการหมุนเวียน

3. เรือนโข่ง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมืองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

4. เรือเกย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโครงการอนุรักษ์ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

5. เล้าข้าว ตูบต่อเล้า จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิตชาวลุ่มแม่น้ำชี

6. เรือนผู้ไท จัดแสดงนิทรรศการภูมิปัญญาชาวลุ่มแม่น้ำชี

7. ลานกิจกรรม เป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมกลางแจ้ง

8. สถานีศึกษาสัตว์

ในส่วนของนิทรรศการประกอบด้วย เรื่องเล่าของเรา เล่าเรื่องมหาวิทยาลัย แสดงพัฒนาการของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ยุคเริ่มต้นที่เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม(พ.ศ.2511) จนถึงยุคมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม (พ.ศ.2517) และในยุคมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (พ.ศ.2537) โดยผ่านคำบอกเล่าของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็น ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร นิสิต ตลอดจนศิษย์เก่าของทางมหาวิทยาลัย ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของมหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้น ดำรงอยู่ และเปลี่ยนแปลงอย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของสังคม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศและระดับนานาชาติ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของมหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้น ดำรงอยู่ และเปลี่ยนแปลงอย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของสังคม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ ตลอดจนความหมายและความสัมพันธ์ กับชีวิตของผู้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร นิสิต และบุคคลอื่นๆค่ะ

โดยในพิพิธพันธ์มีการจัดแสดงต่างๆมากมาย เช่น 1.นิทรรศการภูมิปัญญาชาวลุ่มแม่น้ำชี แสดง 2.โข่ง เป็นเรือนหลังเล็กที่มีโครงสร้างเฉพาะ 3. เรือนเกย เป็นรูปแบบเรือนในวิถีชีวิตของชาวอีสานที่มี การต่อเกย (ชาน) ออกมาจากเรือนใหญ่ 4.เรือนผู้ไทย เป็นรูปแบบเรือนของ "ชาวผู้ไท" ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะคล้ายคลึงกับ 5.เรือนโข่ง ต่างกันที่"ขื่อและคาน" ของเรือนหลังเล็กจะฝากยึดติดกับโครงสร้างของเรือนใหญ่ เรือนผู้ไท เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการ "ภูมิปัญญาชาวลุ่มน้ำชี"

ดิฉันเห็นว่าเป็นที่ที่มีความสำคัญมากทั้งด้านการรักษาวัฒนธรรมประเพณีและเป็นสถานที่พักผ่อนให้กับนิสิตและบุคคลภายนอกได้เดินทางมาออกกำลังกายซึ้งดิฉันก็ได้ไปออกกำลังกายไปเดินเล่นกับเพื่อนอยู่เป็นประจำทำให้เราได้อาการที่บริสุทธิ์มากขึ้นค่ะ

แหล่งข้อมูล

http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside_ByMember_Detail.php?id=1015&CID=24312

หมายเลขบันทึก: 610578เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นิสิต มีความทรงใดกับสถานที่ต้องนี้บ้างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท