เรื่องเล่าอื่นๆ


"แซนโฏนตาประเพณีเมืองศรีสะเกษ สารทแห่งความกตัญญู

“วันสารท” เป็นวันที่เชื่อกันว่าญาติที่ล่วงลับไปแล้วจะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงมีการทำบุญใหญ่เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติที่ล่วงลับเหล่านั้น ชาวไทยก็มีวันสารทไทย ชาวจีนก็มีวันสารทจีน อีกทั้งยังมีคติความเชื่อที่คล้ายคลึงกัน ต่างกันแต่เพียงกำหนดวันทำบุญเท่านั้น สำหรับชาวไทยเชื้อสายเขมรในถิ่นอีสานใต้นั้น พวกเขาก็มีการจัดงานเนื่องในวันสารทด้วยเช่นกัน โดยจะร่วมกันจัด “ประเพณีแซนโฎนตา” หรืองานสารทเขมรขึ้นเพื่อทำบุญใหญ่ให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับคำว่า “แซนโฎนตา” หากแปลเป็นภาษาไทยก็คือประเพณีเซ่นไหว้ตายาย โดยคำว่า แซน = เซ่นไหว้ โฎน = ยาย (บรรพบุรุษฝ่ายหญิง) ตา = ตา (บรรพบุรุษฝ่ายชาย) หรือเรียกรวมว่าเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งเป็นประเพณีที่ชาวไทยเชื้อสายเขมรยังคงอนุรักษ์สืบสานกันมาโดยตลอด โดยเฉพาะที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 22-23 กันยายน ประเพณีแซนโฎนตาเป็นพิธีกรรมความเชื่อทางพุทธศาสนาของคนไทยเชื้อสายเขมรที่ปฏิบัติกันมาช้านาน กล่าวกันว่า ในรอบ 1 ปีนักษัตรของโลกมนุษย์ พระยายมราชจะอนุญาตให้ผู้ที่รับกรรมอยู่ในนรกทั้งหลายได้ขึ้นไปรับบุญกุศลจากลูกหลานญาติมิตรได้หนึ่งครั้ง ในเดือน 10 โดยนับตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ไปจนถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 แล้วจึงกลับไปรับโทษทัณฑ์ในนรกภูมิต่อไปจนสิ้นกรรม


อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.painaidii.com

หมายเลขบันทึก: 610509เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 00:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บันทึกนี้ ร้อยเรียงยึดโยงระหว่าง พุทธ พรหมณ์...
นิสิตละครับ
มีประสบการณ์ตรงในเวทีนี้อย่างไรบ้าง


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท