ประเพณีแซนโฏนตา ของชาวจ.บุรีรัมย์ สุรินทร์


ประเพณีแซนโฎนตา คืออีกประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญและปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนานนับพันปีของชาวเขมรพื้นเมืองสุรินทร์ ที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ความรัก ความผูกพันของสมาชิกในครอบครัว เครือญาติรวมถึงชุมชนต่างๆ โดยจะประกอบพิธีกรรมตรงกับวันแรม14 ค่ำเดือน10 ของทุกปีเมื่อถึงวันแรม 14 ค่ำเดือน 10 สายเลือดลูกหลานชาวพื้นเมืองเขมรสุรินทร์ที่ไปทำงานหรือตั้งถิ่นฐานที่อื่น ไม่ว่าจะใกล้หรือไกลหลายหมื่นหรือนับแสนคน ต่างพร้อมใจกันเดินทางกลับมารวมญาติเพื่อทำพิธีแซนโฎนตา ( เส้นไหว้บรรพบุรุษ ) อย่างพร้อมหน้าพร้อมตากันทุกหมู่บ้าน ความเชื่อของชาวเขมร เชื่อว่าเมื่อถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ประตูยมโลกจะเปิด ผีในยมโลกจะเดินทางมาเยี่ยมญาติได้ ชาวเขมรจึงมีการจัดทำอาหาร ขนม ข้าวต้ม ในตอนเย็นของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 และพอรุ่งเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ก็จะก็จะนำอาหาร ขนม ข้าวต้ม ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลที่วัด เป็นวัน "เบ็นตูจ” โดยเชื่อว่าผีจะออกมาจากยมโลกได้ 15 วัน หลังจากนั้นต้องกลับไปรับกรรมในยมโลกตามเดิม จากวันเบ็นตูจนับไปอีก 15 วัน(นับจากวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ) จะตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี คือวัน"เบ็นทม”ซึ่งเป็นวันที่ประกอบพิธีแซนโฎนตา

สาเหตุที่ต้องเตรียมตัวทำบุญตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 เพราะผีตายาย หรือผีบรรพบุรุษ ถูกปล่อยมาวันนั้นและเดินทางมาไกลเกิดความเหน็ดเหนื่อย หิวกระหาย เมื่อมาถึงก็จะอยู่ที่วัดรอคอยว่าญาติหรือลูกหลานจะมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้หรือไม่ เมื่อถึงรุ่งเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ญาติหรือลูกหลานก็จะไปทำบุญที่วัดตอนนี้เองถ้าญาติหรือลูกหลานมาก็จะดีใจและได้รับผลบุญจากที่ได้มีการทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จมีเงินมีทองใช้ แต่ถ้าไม่เห็นก็จะโกรธและสาปแช่งญาติหรือลูกหลานไม่ให้มีความสุขความเจริญ

จุดประสงค์ของประเพณี แซนโฎนตา นอกจากจะเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผีบรรพบุรุษแล้วยังเป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ การสร้างปฏิสัมพันธ์ ความรักความอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัวเครือญาติ ตลอดถึงการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน คำว่า"แซนโฏนตา"มาจากไหน แซน หมายถึงการเซ่นไหว้ การบวงสรวง โฎน หมายถึง ยาย หรือย่าและตา หมายถึงตา หรือ ปู่ โฏนตาหมายถึงยาย,ย่า ตาและปู่ การทำบุญให้ปู่,ย่า ตา,ยาย หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยทั่วไปแล้วมักเขียนว่า "โดนตา" ซึ่งถือว่าผิด เนื่องจากเป็นประเพณีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษของชาวเขมร ที่ไม่มีตัวอักษร "ด" อยู่ในพยัญชนะ แต่ใช้ตัว "ฏ" สืบทอดมาเป็นระยะเวลานาน การเตรียมอุปกรณ์เครื่องเซ่นไหว้ การเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน การเซ่นไหว้ศาลพระภูมิประจำบ้าน การประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตาที่บ้าน การประกอบพิธีกรรมบายเบ็ญ(เครื่องเซ่นไหว้) การประกอบพิธีกรรมที่วัด ประกอบด้วย อาหารคาว – หวาน ผลไม้ เครื่องดื่ม ได้แก่ ปลานึ่ง ปลาย่าง หมูย่าง ไก่ย่าง แกง วุ้นเส้น แกงกล้วย ต้มยำไก่ ลาบหมู ไก่นึ่ง ซึ่งต้องเป็นไก่ทั้งตัวเอาเครื่องในออก อาหารหวาน ได้แก่ ข้าวต้มมัดใบมะพร้าว ขนมเทียน ขนมนางเล็ด ขนมโชค(ขนมดอกบัว) ขนมโกรด ข้าวกระยาสารท ผลไม้ ได้แก่ มะพร้าวอ่อน กล้วย ส้ม ละมุด พุทรา องุ่น เป็นต้น เครื่องดื่ม ได้แก่ น้ำเปล่า เหล้าขาว น้ำอัดลม เหล้าสีต่างๆเป็นต้น อุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ เสื่อหวาย ที่นอนแบบพับ หมอน ผ้าขาว ผ้าไหม ผ้าโสร่ง อาภรณ์ต่าง ๆ พาน ธูป เทียน กรวย 5 ช่อ ที่ทำจากใบตองสดม้วนเป็นกรวย แล้วสอดด้วย ธูป และใบกรุยการจัดกรวย5ช่อคือ ขันธ์ 5 หมายถึง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ประเพณีแซนโฎนตามีความเป็นมายาวนานนับพันปี ต้นกำเนิดของแนวความคิดประเพณี โดยชาวเขมรเห็นแนวทางในการที่จะอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศไป ทำให้ทุกข์เวทนาจากบวงกรรมมีความบรรเทาเบาบางลง จึงให้มีการจัดพิธีแซนโฎนตาขึ้น และให้มีการสืบทอดต่อ ๆ กันมา ซึ่งเชื่อว่าถ้าในยุคของตนได้แซนโฎนตาให้แก่ ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ไปแล้ว รุ่นลูกจะต้องแซนโฎนตาให้ตนเหมือนกัน เพื่อให้ลูกหลานต้องปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันไปไม่สิ้นสุด เช่น ถ้าญาติหรือลูกหลานประกอบพิธีแซนโฎนตา และทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จมีเงินมีทองใช้ แต่ถ้าไม่ทำพิธีแซนโฎนตาก็จะโกรธและสาปแช่งญาติหรือลูกหลานไม่ให้มีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพฝืดเคือง ไม่ราบรื่น ดังนั้นลูกหลานของชาวไทยเขมรทุกรุ่นจึงต้องประกอบพิธีแซนโฎนตา หรือพิธีกราบไหว้ เซ่นไหว้บรรพบุรุษ มาตราบจนทุกวัน

http://pr.prd.go.th/surin/ewt_news.php?nid=1805



หมายเลขบันทึก: 610427เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2016 20:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2016 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นิสิตเคยเข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้ด้วยตนเองหรือไม่ครับ และมองกิจกรรมนี้ พิธีนี้อย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท