การนิเทศครั้งที่ 1 30 มิถุนายน 2559


การนิเทศก์ครั้งที่ 1 (วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2559)

ข้าพเจ้าได้จัดการเรียนการสอน เรื่อง ความถี่ธรรมชาติและการสั่นพ้อง ซึ่งเป็นไปตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่แนบมาในด้านล่างค่ะ

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 13 ความถี่ธรรมชาติ.docx

ในส่วนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผู้สอนได้ ให้นักเรียนค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับ การสั่นพ้องของวัตถุ โดยให้ประเด็นเป็นคลิปวิดีโอของเหตุการณ์ สะพานทาโคมาแนโรว์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาถล่ม แล้วให้นักเรียนค้นหาความรู้ว่า สะพานเกิดการถล่มได้อย่างไร

ภาพกิจกรรม ประจำวันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2559




ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรม

1. นักเรียนได้มีความร่วมมือกันในการทำกิจกรรมกลุ่ม แบ่งงานทำอย่างเป็นระบบ

2. ฝึกให้นักเรียนได้มีความกล้าแสดงออกหน้าชั้นเรียน ทำให้นักเรียนมีความมั่นใจมากขึ้น

3. เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศในห้องเรียนให้มีความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น นักเรียนไม่เครียดและได้สาระความรู้เพิ่มไปในตัว


ปัญหาที่พบและแนวทางแก้ไข

1. คำถามที่ถามนักเรียนยังมีน้ำหนักไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยสังเกตได้จากการที่นักเรียนค้นหาในอินเตอร์เน็ตแล้วคัดลอกความรู้ลงในกระดาษบรู๊ฟซึ่งนักเรียนไม่ต้องใช้ความรู้ในการวิเคราะห์เลย ผู้สอนได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ว่า ควรใช้คำถามที่ชวนคิดมากกว่านี้เพื่อไม่ให้นักเรียนคัดลอกข้อมูลลงกระดาษทันที ควรเป็นคำถามที่สามารถคิดต่อยอดไปได้ อีกทั้งยังต้องเน้นการให้ที่มาของข้อมูล โดยผู้สอนจะต้องปลูกฝังว่าการนำข้อมูลมาจากที่ใดควรจะใส่แหล่งอ้างอิงและค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลอย่างน้อย 3 แหล่ง เพื่อส่งเสริมให้ข้อมูลน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

2. ในการจัดกิจกรรมยังดึงความสนใจของนักเรียนทั้งห้องไม่ได้หมดเพราะนักเรียนบางส่วนก็ไม่ให้ความร่วมมือ เนื่องจากคิดว่ามีเพื่อนในกลุ่มทำอยู่แล้ว จึงเล่นสมาร์ทโฟน ดังนั้น จากจุดนี้ทำให้ผู้สอนต้องกลับไปแก้ไขกิจกรรมว่า ทำอย่างไรทุกคนจึงจะมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมครบทุกคน

3. ในการจัดกิจกรรมใช้เวลานานเกินไปเนื่องจากนักเรียนให้ความสนใจในการตกแต่งความสวยงาม ทำให้เนื้อหาจุดสำคัญในตอนสุดท้ายไม่มีเวลา อธิบาย ส่งผลให้เนื้อหาที่ครูต้องการอธิบายเพิ่มเติมไม่ทันในชั่วโมงเรียน ในครั้งหน้าอาจจะต้องมีการลดเวลาและสร้างเงื่อนไขอย่างจริงจังว่านักเรียนทุกคนต้องตรงต่อเวลาในการทำงาน และเน้นย้ำเนื้อหาในงานมากกว่าความสวยงาม

4. ผู้สอนยังขาด feedback จากนักเรียน ทำให้ประเมินไม่ได้ว่านักเรียนมีความรู้อย่างแท้จริงหรือไม่ ในครั้งหน้าผู้สอนอาจจะต้องให้ตัวแทนสุ่มออกมาสรุปที่สิ่งที่เรียนในวันนี้และให้คำชมแก่นักเรียนเพื่อเป็นการเสริมแรงต่อนักเรียนให้มีกำลังใจในการเรียนต่อไป

5. ในการสอนครั้งหน้าผู้สอนต้องสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ในการสอนด้วย

หมายเลขบันทึก: 609770เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2016 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กรกฎาคม 2016 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สู้ๆ ครับ ๑) ไม่มีประหม่าเลยครับ นี่เยี่ยมข้อแรก ๒) เตรียมตัวและเตรียมสื่อการสอนได้ดีมาก ๓) สรุป concept ของฟิสิกส์ในการสอนด้วยดีมาก ผมชอบมากตอนที่บอกว่า วัตถุสิ่งของแต่ละอัน มีธรรมชาติของตัวเอง การสั่นของวัตถุนั้นจะสั่นด้วยความถี่ที่เรียกว่า ความถี่ธรรมชาติ ๔) concept ของการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ดีมาก เสียดายที่ เสียเวลาไปกับกิจกรรมมากไปหน่อย ทำให้ ตอนท้ายของการสะท้อนหายไป.... สู้ต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท