ทุนมนุษย์และการบริหารการเปลี่ยนแปลง มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ


สวัสดีลูกศิษย์และชาว Blog ทุกท่าน

วันนี้ 27 มิถุนายน 2559 ได้รับเกียรตินักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ ได้กำหนดให้มีการจัดโครงการสัมมนาวิชาการด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยผมปาฐกถาเรื่อง ทุนมนุษย์และการบริหารการเปลี่ยนแปลง ของมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ กว่า 300 คน ทั้งนักศึกษาระดับต่างๆและ บุคคลทั่วไป (ขอขอบคุณคุณสยาม เศรษฐบุตร ที่ให้เกียรติเชิญผมมาในวันนี้)

ผมจึงขอใช้ Blog นี้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ


จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 609229เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2016 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มิถุนายน 2016 12:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทีมงาน Chiaacademy

สรุป การบรรยาย เรื่อง ทุนมนุษย์และการบริหารการเปลี่ยนแปลง ของมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

วันนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงระดับ Macro , Micro อยากให้มีการปะทะกันทางปัญญา

  • เข้าใจเรื่องทุนมนุษย์ เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงกันอย่างไร
  • ขอให้สนใจเรื่องทุนมนุษย์ อาจจะทุนมนุษย์กับความคิดสร้างสรรค์ หรือทุนมนุษย์กับจริยธรรม
  • มหาวิทยาลัยเราต้องมืออาชีพ ออกไปแล้วต้องทำงานได้และทำงานเป็น

อ.พิชญ์ภูรี : ดูจากหัวข้อน่าสนใจ และมีวิสัยทัศน์และมองการไกลมาก ประเทศไทยเรามีบทเรียนเรื่องอังกฤษ เรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง อังกฤษ เรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงาน เรื่องการทำงานใน EU มีคนยุโรปในอังกฤษ และสนธิสัญญาเรื่องทุนมนุษย์ ติดตามว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ความคาดหวัง คือสิ่งที่อ.จีระอยากให้เห็นถึงทฤษฎี การแคปเจอร์หัวข้อสำคัญๆ สิ่งที่ท่านจะได้คือ การขมวดเพื่อให้ท่านได้แนวคิดและทฤษฏีเพื่อไปใช้ในทุนมนุษย์ สิ่งที่ท่าน อ.จีระจะบรรยายคือ เลือกทรัพยากรมนุษย์ มีการคาดคะเนอนาคตที่จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเองและสังคม เลือกสิ่งที่เราเก่งและแตกต่าง และมีวิธีการที่สามารถทำได้

  • ถ้ามีประเด็นบางอย่างก็จดไว้ เพราะอาจจะมีอะไรที่เพิ่มขึ้นมา ไม่เข้าใจก็ถาม
  • ใครก็ตามอยากเรียนรู้อยากหาความรู้ ก็ถามอยากให้ทุกคนมีส่วนร่วม มีคำถามที่น่าสนใจ
  • มักจะเริ่มด้วยการ Quotations ของ Michael Hammer
  • ถ้าเรียนแล้วสามารถจัดการการเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่
  • คน คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร ตามที่คุณพารณ พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้กล่าวไว้
  • ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ไม่ใช่เงิน สิ่งของหรือเครื่องจักร แต่เป็นคน เช่น สิงคโปร์ หรืออิสราเอล ทุนมนุษย์คืออยากได้อะไรมาก็ต้องเสียก่อน ถึงจะได้สิ่งนั้นมาก

วัตถุประสงค์

  • ฟังและคิดแบบ Learning how to learn
  • ปรับตัวและทำให้สำเร็จพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
  • คิดหัวข้อวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์และการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ
  • มอง Macro – Micro linkage
  • กระจายความรู้ไปให้ประชาชนในวงกว้าง นอกเหนือจากวิชาการอย่างในวันนี้

อยากให้ทุกท่านดูจากทฤษฎีของผม และที่สำคัญคือทฤษฎี 4L's

  • Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี
  • Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
  • Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้
  • Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

ในระดับประเทศมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยเฉพาะ..สังคมสูงอายุ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งขยายตัวอย่างมากมายในปัจจุบัน เป็นคลื่นลูกที่ 3 ของอินเตอร์เน็ต มีปัญหาภาวะโลกร้อน การปรับตัวให้ประเทศไทยหลุดพ้นจาก middle income trap ต้องเน้นการผลิต

การบริหารทางการค้า เศรษฐกิจให้มีมูลค่าเพิ่มไม่ใช่แบบ..

  • Copy
  • ใช้แรงงานราคาถูก
  • ยืมเทคโนโลยีของคนอื่น

ต้องเน้นไปที่การให้ความรู้และการให้ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity& Innovation) ดูแล Sector ที่ใช้ภูมิปัญญาของเรา เช่น ท่องเที่ยว การแพทย์แผนไทย การเกษตรมูลค่าเพิ่ม

ประเทศชอบก็อปปี้ ใช้แรงงานราคาถูก เราหันมาดูภูมิปัญญา เช่น การท่องเที่ยว ซึ่งมาแรงในประเทศไทย และมาจากประเทศจีน ประมาณ 12% อาจจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้

ซึ่งผมจะสรุปภาพการเปลี่ยนแปลงและทุนมนุษย์ในระดับ Macro หรือภาพใหญ่ไว้ ดังรูป HR Architecture ดังนั้นในระดับประเทศเราจึงต้องมีคุณภาพของทุนมนุษย์ที่สูงขึ้น ซึ่งผมเรียกว่าเป็นการปลูก หรือ พัฒนาคน ให้มีคุณสมบัติแบบ 8K’s+5K’s (ใหม่)

มีคุณสมบัติของคน เราจะเจอการเปลี่ยนแปลงเช่น การแข่งขัน ประชาธิปไตย ความยากจน ปัญหาในประเภทต่างๆ ทำให้เราต้องแก้ไข โดยการมีคุณธรรมจริยธรรม คิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบ Creativity Innovation สังคมการเรียนรู้ จิตสาธารณะ

เรื่องทุนมนุษย์ หรือ คน .. ต้องมีปรัชญาและความเชื่อเสียก่อนว่า คน คือ ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร ต้องวัดทุนมนุษย์ไม่ได้วัดจากปริมาณ แต่วัดด้วยคุณภาพ เราจึงต้องมี 8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

หนังสือ Dave Ulrich ได้พูดไว้หลายปีแล้วในหนังสือ HR Champions ว่า New HR ที่ดีต้องเป็น Strategic Partners กับกลุ่มในองค์กร อย่าทำอะไรแบบแยกเป็นส่วนๆ หรือ “Isolation” และ คุณ Ulrich เน้น HR เป็นส่วนหนึ่งของ Change Agent

ผมได้เขียนบทบาทของ HR ยุคใหม่ไว้ ในตาราง Old HR and New HR นักทรัพยากรใหม่ต้องมีดังนี้ New HR

  • Strategic
  • CEO + Other Departments
  • Learning
  • Investment
  • Change Management
  • Knowledge
  • Partnership
  • Effectiveness
  • Value Added
  • Respect & Dignity
  • Macro to Micro
  • Blue Ocean
  • Assets

ถ้าเราเน้น Macro และ Micro มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ อาจจะเรียนเรื่อง HRD และ HRM ปลูกทุนมนุษย์แล้วก็ต้องเก็บเกี่ยวด้วย การทำงานต้องมีปลูก คือพัฒนาและจัดการบริหารทุนมนุษย์เหล่านั้น และปรับบริหารให้ดีและสูงสุด

ส่วนเรื่องการเปลี่ยนแปลง ผมได้ลองเขียนแนวของผม 9 ข้อ ซึ่งในนั้นจะเน้นวัฒนธรรมการเรียนรู้ (Learning Culture) หรือ Life long learning ของผมเป็นหลัก

กฎ 9 ข้อ Chira - Change Theory

1.Confidence มั่นใจ

2. Understanding Future

3. Learning Culture

4. Creativity

5. Networking

6. ชนะเล็กๆ

7. ทำต่อเนื่อง 3 ต.

8. ผลประโยชน์ต้องกระจายทุกกลุ่ม

9. Teamwork in diversity

Networking สำคัญมาก ค่อยๆเปลี่ยน ชนะเล็กๆ ทำงานเป็นทีม และมีความหลากหลาย

ส่วนแนวคิดของ John Kotter ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Leading Change จะเน้นจุดที่มากดดันเรียกว่า “Sense of Urgency” ซึ่งสำหรับประเทศของเราในระดับ Macro ก็ต้องยอมรับว่าระบบราชการเป็นตัวอันตรายที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว

John Kotter ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Leading Change พูดถึง กลยุทธ์ในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง 8 ขั้นตอน โดยถือเป็นภาระของผู้นำที่จะต้องกระตุ้นองค์การให้เปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • สร้างความรู้สึกถึงตระหนักถึงความจำเป็น สร้างความรู้สึกกระตือรือร้น และเร่งด่วนที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร (Establishing a sense of urgency) การเปลี่ยนแปลง ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง มีตัวเร่งเยอะ ต้องหาตัวเร่งให้เจอ
  • การรวมกลุ่มที่มีพลังมากพอที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (Forming a powerful guiding coalition)
  • สร้างวิสัยทัศน์ (Creating a vision)
  • การสื่อสารและถ่ายทอดวิสัยทัศน์ (Communicating the vision)

เราต้องมีแรงกดดัน และมีเป้าหมาย และเกิดความเป็นเลิศ มาจากแรงบันดาลใจของมนุษย์ ค้นหาตัวเอง

  • การให้อำนาจ และทำให้คนในองค์กรดำเนินการตามวิสัยทัศน์ (Empowering others to act on the vision)
  • การวางแผนเพื่อให้เกิดความสำเร็จในระยะสั้น (Planning for and creating short-term wins)
  • ประมวลการปรับปรุงเหล่านี้ให้ครบถ้วน (Consolidating Improvements and Producing Still More Change)
  • ปลูกฝังวิธีใหม่ในองค์การให้คงอยู่ (Institutionalizing new approaches)
  • แต่การที่เรามี ASEAN ทำให้เราถูกกดดันเรื่อง Bench Marking ต้องเปรียบเทียบกับประเทศอื่น และการที่เราจะต้องอายที่มีประเทศในอาเซียนอย่างมาเลเซียหรือสิงคโปร์ล้ำหน้าเราไปทำให้เราต้องปรับตัว..
  • การปรับตัวต้องใช้เวลา แต่ไม่มีทางเลือก ต้องเริ่มต้นด้วยทุนมนุษย์ต้องค้นหาตัวเอง และขยายเครือข่ายในประเทศและต่างประเทศ มิฉะนั้น ประเทศไทยหรือคนไทยก็จะล้าหลัง อาจจะถูก CVMV แซงเราไปก็ได้

โดยสรุป คนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด แต่คนก็เป็นสิ่งที่พัฒนาได้ยากที่สุด จึงต้องทำอย่างมีคุณภาพ ต่อเนื่องและต่อเนื่อง และสร้าง Networks ของตัวละครต่าง ๆ ในประเทศไทย ไม่ว่าภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ ภาคชุมชนและประชาชนให้ร่วมกัน โดยเน้น Mutual Trust and Respect

การศึกษาในอนาคตจึงต้องสร้างให้เด็กไทยเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ มีความอยากรู้อยากเห็น(Curiosity) และกระหายความรู้ซึ่งทำได้ยากเพราะไม่ใช่ Habitเรียนพิเศษแบบที่เป็นอยู่ กลายมาเป็น Habit ประจำของชาติ

การศึกษาไทย..

  • เน้นการท่องจำ
  • ไม่เน้นการอ่านและความรู้ข้ามศาสตร์
  • ขาดการเรียนเพื่อนำไปประยุกต์กับความจริง
  • ขาดการฝึกให้คิดนอกกรอบ

ผมโชคดีได้ทำงานต่อเนื่องเรื่องนี้มากว่า 40 ปี ได้เห็นว่ามีวิธีการเรียนที่สนุก เน้นความจริง เน้นการปะทะกันทางปัญญา การอ่าน ไม่ใช่แค่ Lectureในห้อง และมาวิเคราะห์กัน อาจจะเป็นทางออก ที่ดีก็ได้

อ.พิชญ์ภูรี : วิธีการปลูกต้องเปลี่ยน แต่จะปลูกอย่างไรให้ได้ประโยชน์ ผู้นำต้องจัดการ ดูความจริงในเรื่องนั้น เป็นหัวข้อๆ แบบ 2R's คือ ตรงประเด็นและเน้นความจริง ดูจากทุนมนุษย์ มีการสอนสั่งให้ทุนทางปัญญา มีความรู้มีการคิดเป็นวิเคราะห์เป็น และที่สำคัญต้องมีความสุข มีเครือข่าย มีทุนทางความยั่งยืน และมีทุนความรู้และทักษะ เช่น การทำอาหาร ต้องมีการฝึกและทักษะประสบการณ์ และเมื่อมี ทุน 8 ประการ แล้ว อาจจะไม่ครบก็ได้ แต่ อ.จีระ ก็มีทุนใหม่ อีก 5ทุน ที่ท่านสามารถนำไปสู้ ในการสร้างสรรค์ อาจจะไม่เกิดกับทุกคน รู้จักควบคุม การใฝ่รู้ หรือทุนทางความรู้ อีกอย่างคือทุนทางนวัตกรรม เช่น การเอาของเก่ามาทำใหม่ คิดใหม่ทำใหม่ แต่ต้องเป็นประโยชน์ทั้งเศรษฐกิจและสังคม

สำรวจว่าเรามีทุนครบหรือไม่ และจะทำให้เกิดความสุข จนทำให้เกิด Learning How to Learn.. ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

และต้องมี 3 V's คือ Value added Value creation value diversity

ดร.จีระ : หัวใจคือ ทุนมนุษย์ ระดับ Macro และ Micro เราต้องมีการเปลี่ยนแปลง เหมือนสัจธรรม แต่จะจัดการให้เกิดประสบความสำเร็จอย่างไร

นักศึกษา : อยากจะเติมเต็ม เหมือนน้ำครึ่งแก้ว ต้องการเรียนรู้เพิ่มขึ้น สิ่งสำคัญที่อ.ให้คือการพัฒนาคน มองเห็นว่า การเปลี่ยนแปลง สังคมต้องเปลี่ยนวิธีคิด เรื่องเวลา ตรรกะการทำงานใหม่ ทำงานทุกวัน ที่ไหนก็ได้ ทำได้หมด สิ่งสำคัญคือแบ่งเวลาทำงาน ใช้ช่วงทำงานที่ถูกสร้างเป็น 2 skill ทำงานแค่ 6 ชั่วโมง 2 กะ ข้าราชการ ทำ 2 แบบ ทำราชการ และอีกช่วงหนึ่งอาจจะไปทำอย่างอื่น เพื่อได้รับรายได้ตรรกะปานกลาง ได้เพิ่มขึ้นได้ ก้าวข้ามตรรกะนี้ ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ต้องเปลี่ยนวิธีคิดอันนี้ได้ เพื่อได้ใช้ skill ที่สองได้

อ.จีระ : ได้รับเรื่อง Creativity ขอยกย่องที่พูดแบบนี้ ได้ทำแล้วในบางประเทศ

นศ. ป.เอก รุ่น 3 : ยินดีที่ได้มาฟังอาจารย์ และได้ย้อนคิดว่า ประเทศไทยเรามี Human capital การบริหารระดับประเทศ ส่วนใหญ่การเปลี่ยนแปลงไปผูกกับ ตัว Leader และมีจุดประสงค์อะไรที่จะเข้ามาเป็น Leader การเปลี่ยนมีความเสี่ยง ประเทศไทยอยู่ในจุดดีแต่ต้องใช้เวลา และต้องมีการแข่งขัน

อ.จีระ :ต้องมี Leader ที่เปลี่ยนแปลง ให้ไม่ทำต้อง Leader ก็ตก ชื่นชมครับ

คุณศักดิ์ชัย สภาอุตสาหกรรมปทุมธานี : มีการทำงานอยู่ด้วย เด็กไทยเรียนเยอะในไทย แต่ตัว อ.จีระเรียนรู้ตลอดชีวิต ขอขยายความตรงนี้ครับ

อ.จีระ : ขอให้เรียนเพื่อความสนุก เรียนรู้ตลอดเวลา คือ Happiness เรียนรู้ของ สพฐ. เบื่อเรียน และครูก็เป็นคนรุ่นเก่า สอนแบบโบราณ พยายามเปลี่ยน และหาความรู้ หิวความรู้และกินไปเรื่อยๆ ต้องปะทะกันทางปัญญา ทุนมนุษย์คืออะไร สามารถแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่

รองศ.วัฒนชัย : สิ่งที่หลายคนในที่พูด คือถูกปลูกฝังในระบบ มีแพทเทิ้นไว้แล้ว ทำอะไรไม่เป็น ไม่เคยออกไปใช้ชีวิต ไม่รู้ว่าออกไปใช้ชีวิตอย่างไร เมืองนอกมีวิชาการเรียนรู้ภายนอก ซึ่งเราไม่เคยสอนเด็กเรา เราถูกตีกรอบในแนวคิดนี้ เราถูกบังคับและห้าม ยอมปล่อยไป

อ.จีระ : ระบบการศึกษาไม่ธรรมชาติ อยากให้บรรยากาศแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ พึ่งตัวเอง อย่างพึ่งคนอื่น รับใช้ประเทศทางที่มีประโยชน์ และมีเครือข่ายร่วมมือกัน มีจุดเริ่มต้นที่ดี ต้องทำแบบชนะเล็กๆ

ป.เอก รุ่น 4 : การทำถนนเกี่ยวกับการค้า one way one road ในประเทศจีน

อ.จีระ : เอาประวัติกลับมาในยุคใหม่ จะทำอย่างไร และสร้าง Network ในหลายๆด้าน ประเทศจีน มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ขอขอบคุณที่ท่านศึกษาเรื่องนี้

อ.พิชญ์ภูรี : อยากให้เป็นวัฒนธรรม

เอานักศึกษา ป.เอก ไปคุยกับ นักศึกษา ป.ตรี ในฐานะที่เชิญมาวันนี้ อยากให้รู้ว่าอนาคตอายุ 40 จะทำอะไร ต่อ อย่าเรียนเพื่อสอบอย่างเดียว

คุณสยาม : พูดถึงทุนมนุษย์ กับการศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นอย่างไรบ้าง

อ.จีระ : จะตอบตาม ทฤษฎี HR Architecture ต้อง Education HealthNutrition Family Media และฝึกฝนเพื่อให้เกิด มีคุณธรรมจริยธรรม คิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบ Creativity Innovation สังคมการเรียนรู้ จิตสาธารณะ และ ความยั่งยืน Sustainability และความสุข ความสมดุล แต่ตอนนี้ยังทำไม่ถึง มีการลอก และโกงกิน เป็นต้นแบบความล้มเหลว ทำให้ยังไม่สามารถแก้ไขได้

ขอขอบคุณคุณสยาม ที่ให้โอกาสในวันนี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท