ทุ่งเสลี่ยม...อัญมณีแห่งสุโขทัย


ต้องไปเยือนให้ได้อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต

จังหวัดสุโขทัยมีอะไรมากมายกว่าที่คุณคิด...เพราะสุโขทัย ไม่ใช่มีแค่เมืองเก่าสุโขทัย เมืองเก่าศรีสัชนาลัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระแม่ย่า งานลอยกระธง งานบวชช้างหาดเสี้ยว เพียงเท่านั้น แต่ยังมีประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี ที่งดงาม ควรค่าแก่การได้ไปสัมผัสเรียนรู้ และไปเยี่ยมชมมากมาย กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปใน ๙ อำเภอ

วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตที่แตกต่างจากจังหวัดอื่น และมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกันในแต่ละอำเภอ ทำให้ไม่สามารถละเลยหรือหลงลืมที่จะไปสัมผัสบรรยากาศเหล่านั้นยังสถานที่จริงอันมีเสน่ห์ชวนให้หลงใหล

อำเภอทุ่งเสลี่ยม เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสุโขทัยที่มีความน่าสนใจไม่น้อยกว่าอำเภอใดๆ เป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่างมากมายถึงธรรมชาติ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีแบบเมืองเหนือที่สวยงาม เป็นสังคมชนบทที่ผูกพันกับท้องนา ป่าเขาอันเขียวขจี ใช้ชีวิตอย่างไม่เร่งรีบ มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมน้อยมากอำเภอหนึ่งในประเทศไทย <?xml:namespace prefix = v />

วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ ผู้เขียนได้รับเกียรติพูดคุยกับบุคคลท่านหนึ่ง ซึ่งทราบในภายหลังว่า ท่านคือ สุธรรม ทิพหา ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลทุ่งเสลี่ยม ซึ่งเพิ่งจะเกรีษณจากราชการ อีกตำแหน่งท่านเป็นรองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอทุ่งเสลี่ยม ท่านเป็นผู้ที่สนใจในเรื่องของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีของ อ.ทุ่งเสลี่ยม ประกอบกับท่านจบด้านประวัติศาสตร์ และลูกสาวของท่านก็จบด้านประวัติศาสตร์มาเช่นกัน ทำให้ชีวิตของท่านผูกพันกับเรื่องราวเหล่านี้

ท่าน ผอ.สุธรรม ทิพหา ได้ศึกษา ค้นคว้า รวบรวม เรียบเรียงเรื่องราวของ อ.ทุ่งเสลี่ยมไว้บ้างแล้ว ท่านมีความประสงค์จะศึกษาและดำเนินงานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตอย่างจริงจัง เพื่อนำมารับใช้สังคมชาวทุ่งเสลี่ยม ให้เกิดความตระหนักรักษ์ท้องถิ่นของตน เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาบนพื้นฐานสิ่งที่ดีงามที่บรรพบุรุษที่ได้รังสรรค์เอาไว้ ซึ่งวันนั้นผู้เขียนมีความปิติ ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีผู้สนใจที่ศึกษาเรื่องราวของทุ่งเสลี่ยม อีกทั้งได้ดำเนินการมาบ้างแล้ว และผู้เขียนได้บอกกับท่าน ผอ.สุธรรมในวันนั้นว่าจะหาเวลาไปเยี่ยมท่านเพื่อขอดูข้อมูลที่ท่านได้ศึกษา ค้นคว้า เรียบเรียงเอาไว้

โอกาสดี วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๘ ผู้เขียนพร้อมทีมงานได้เดินทางไปพบท่าน ผอ.สุธรรม ยังสถานที่นัดหมาย คือ ร.ร.อนุบาลทุ่งเสลี่ยม โดยมีท่าน ผอ.สุธรรม และคุณนายของท่านให้การต้อนรับอย่างดียิ่ง ทำ ให้ผู้เขียนและทีมงานได้รับข้อมูลและเรื่องราวเกี่ยวกับ อ.ทุ่งเสลี่ยม และรับรู้ประวัติความเป็นมา การดำเนิน กิจกรรมของสภาวัฒนธรรม อ.ทุ่งเสลี่ยม และเรื่องที่ท่าน ผอ.สุธรรมนำเรียนท่านจิรชาติ นาคสวัสดิ์ นายอำเภอทุ่งเสลี่ยม ว่าทำเรื่องประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี อ.ทุ่งเสลี่ยมอย่างจริงจัง และ ท่านนายอำเภอยินดีให้ความร่วมมือ และพร้อมช่วยเหลืออย่างเต็มที่

ผู้เขียนจึงได้แนะนำให้ทำโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำนักงานคณะกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อศึกษาอย่างเป็นระบบอย่างที่เมืองบางขลังเคยทำ โดยต้องหาคนมาช่วยเป็นทีมงาน ร่วมเป็นทีมวิจัย หรือนักวิจัยท้องถิ่น ท่าน ผอ.สุธรรมมีความยินดีและมีความกระตือรือร้นที่จะดำเนินการ โดยท่านเห็นว่าอยากทำที่ ต.ไทยชนะศึกก่อน เพราะเป็นตำบลเก่าที่มีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์เสรีไทย เสมือนเป็นการเปิดประตูสู่ อ.ทุ่งเสลี่ยมอีกด้วย

หลังจากนั้น สุวรรณ ทรัพย์ศิริกาญจนา รองปลัดเทศบาลตำบลเมืองบางขลัง ก็ได้นำเรียนข้อมูลให้แก่ ผศ.ดร.ชุลีรัตน์ จันทร์เชื้อ ผู้ประสานงาน สกว.ภาคเหนือตอนล่างทราบ ถึงความสนใจและความพร้อมของทางคณะทีมงานท่าน ผอ.สุธรรม ทิพหา ในเวลาต่อมา ทาง ผศ.ดร.ชุลีรัตน์ จันทร์เชื้อ ก็ได้ลงพื้นที่ไปสำรวจความพร้อม พูดคุยกับคณะทำงานของ ผอ.สุธรรม จนนำไปสู่การจัดทำโครงการเพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณจาก สกว. ซึ่งจะนำรายละเอียดมาเสนอให้ทราบในโอกาสต่อไป

ประชาชนชาวไทยรับรู้ถึงการมีอยู่ของอำเภอทุ่งเสลี่ยมผ่านสื่อ สิ่งพิมพ์ต่างๆ เมื่อครั้งมีการติดตามทวงคืนพระหลวงพ่อศิลาที่โด่งดังจนได้รับคืนมาประดิษฐานยังวัดทุ่งเสลี่ยม หลังจากนั้นนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดสุโขทัย ถ้ามีเวลาต่างก็มาชื่นชมพระบารมี กราบไหว้ ขอพรหลวงพ่อศิลา ทำให้อำเภอทุ่งเสลี่ยมเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

อ.ทุ่งเสลี่ยมในปัจจุบันไม่ได้มีแค่ หลวงพ่อศิลาเพียงเท่านั้น แต่ยังมี “ของดี” อีกมากมายที่รอการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รอการเยี่ยมชมจากบุคคลทั่วไป เช่น หอคำหลวงวัดพิพัฒมงคล เจดีย์ทองคำ ๕ ยอดและครูบาศรีวิชัย ณ วัดกลางดง โด่แม่ถัน ครูบาผัดวัดหัวฝาย ไร่วิปัสสนาวัดเชิงผาโบราณสถานวัดใหญ่ชัยมงคล ประเพณีกินข้าวสลาก ฯลฯ อันนำมาสู่คำขวัญประจำอำเภอทุ่งเสลี่ยม ที่ว่า

“พระศิลามิ่งขวัญ แม่ถันเด่นสง่า สวยล้ำค่าหินอ่อน เอื้ออาทรน้ำใจ รักษาไว้วัฒนธรรม”

กำเนิดทุ่งเสลี่ยม (http://www.thungsaliam.org/articles/316610/)

คำว่า "ทุ่งเสลี่ยม" มาจากข้อสันนิษฐานลักษณะ คือ

๑. คำว่า " สะเลียม" (เป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง) ที่ภาคกลางเรียกว่า “สะเดา” ไม้ชนิดนี้ มีขึ้นอยู่ทั่วไป เพราะที่บริเวณนั้น มีต้นสะเลียมอยู่มาก

๒. มาจากคำว่า " เหลี่ยม" (งูเหลือม หรือหลาม) เพราะมีงูเหลือมขนาดใหญ่ เข้ามาจับสัตว์ในบริเวณนั้นอยู่เป็นเนืองนิตย์

๓. มาจากคำว่า "สระสี่เหลี่ยม" เพราะพื้นที่นี้ยังมีสระสี่เหลี่ยมเป็นหลักฐานปรากฏให้เห็นอยู่ในทุ่งนา หมู่บ้านทุ่งเสลี่ยม

ในวรรณคดีเรื่อง "ขุนช้างขุนแผน" ตอนที่ ๒๗ พลายงามอาสา ได้กล่าวถึงทุ่งเสลี่ยม ว่าทุ่งชะเลียม ขุนไกรได้สาส์นขึ้นมาไช้ สะบัดย่างวางใหญ่เข้าในป่า ข้ามทุ่งชะเลียมเร่งตะเบ็งมา บ่ายหน้าม้าตรงลงธานีถึงสังคโลกพลันทันใด ลงจูงม้าคลาไคลไปเร็วรี่

พ.ศ. ๒๔๒๘ ชาวเมืองเถิน (อ.เถิน) จ.ลำปาง ได้พาครอบครัว ประมาณ ๓๐๐ คนเศษ ลงมาหาเสบียง และตั้งถิ่นฐานจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ เมื่ออพยพเข้ามาอยู่ใหม่ ๆ เป็นป่าดงดิบทึบ ราษฎร ซึ่งมีอาชีพในการล่าสัตว์ เอาเนื้อ หนัง ไปขายและแลกข้าว ที่บ้านปากคลองช้าง ปากคลองแห้ง ในท้องที่ ต.เมืองบางขลัง อ.วังไม้ขอน จ.สวรรคโลก (เดิม อ.ทุ่งเสลี่ยม เป็นส่วนหนึ่งของ อ.สวรรคโลก)

ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๒๘ ต.ค. ๒๔๙๗ แยกหมู่บ้านรวม ๑๑ หมู่บ้าน ต.นาทุ่ง อ.วังไม้ขอน จ.สวรรคโลก ตั้งเป็น ต.ทุ่งเสลี่ยม อ.วังไม้ขอน จ.สวรรคโลก

พ.ศ. ๒๔๘๒ จ.สวรรคโลก ได้เปลี่ยนเป็น จ.สุโขทัย อ.วังไม้ขอน ได้เปลี่ยนเป็น อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย

ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๑๑ พ.ย.๒๔๘๔ แยกหมู่ที่ , , , , ๑๐ และหมู่ที่ ๑๑ ต.ทุ่งเสลี่ยม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย จัดตั้งตำบลขึ้นอีกตำบลหนึ่ง ชื่อว่า ต.กลางดง จัดเป็น หมู่บ้าน

ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๑๙ พ.ค.๒๕๐๐ ยกฐานะ ต.ทุ่งเสลี่ยม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า "กิ่งอำเภอทุ่งเสลี่ยม" ให้ขึ้นอยู่ในความปกครองของ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย และให้มีเขตการปกครอง รวม ตำบล คือ ต.ทุ่งเสลี่ยม และ ต.กลางดง

๓๑ ส.ค.๒๕๐๐ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๒๙ ส.ค.๒๕๐๐ ตั้ง ต.ไทยชนะศึก กิ่ง อ.ทุ่งเสลี่ยม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย

๑๑ ธ.ค.๒๕๐๒ พระราชกฤษฎีกาให้ตั้ง กิ่ง อ.ทุ่งเสลี่ยม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย เป็น อ.ทุ่งเสลี่ยม

๑๕ ก.ย. ๒๕๑๔ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ก.ย. ๒๕๑๔ ตั้ง ต.บ้านใหม่ไชยมงคลในท้องที่ อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย

ส.ค. ๒๕๒๗ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๒๘ ส.ค. ๒๕๒๗ ตั้ง ต.เขาแก้วศรีสมบูรณ์<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" /> <?xml:namespace prefix = o />

ลักษณะสำคัญของ อ.ทุ่งเสลี่ยม

ประชากร ร้อยละ ๘๐ เป็นคนล้านนา (คนเมือง) ซึ่งยังคงรักษาศิลปวัฒนธรรมและประเพณี ที่ดีงาม สืบสานมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ประเพณีกินข้าวสลาก (มีแหล่งเดียวในสุโขทัย)

อ.ทุ่งเสลี่ยม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ จ.สุโขทัย อยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ ๖๘ กม. อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๔๙๕ กม. มีพื้นที่ประมาณ ๕๖๙.๙๓๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓๕๖,๒๐๘ ไร่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ตำบล ๕๙ หมู่บ้าน มีเทศบาลตำบล แห่ง และ อบต. แห่ง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ และทำสวน

มีพื้นที่ป่าไม้อยู่บริเวณด้านทิศเหนือและตะวันตกของอำเภอ ซึ่งมีบริเวณติดต่อกับอำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสำโรง และอำเภอบ้านด่านลานหอย ตลอดจน อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง โดยอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่สำคัญ ได้แก่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม และอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย

มีแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ ลำน้ำแม่มอก คลองเหมืองนา คลองสำราญ คลองแม่ทุเลา ห้วยคะยาง และห้วยไคร้

ลำน้ำแม่มอก เป็นลำน้ำสายหลักของ อ.ทุ่งเสลี่ยม ซึ่งเกิดจากเทือกเขาในเขต จ.ลำปาง ไหลจากทิศตะวันตกไปตะวันออก ผ่าน อ.ทุ่งเสลี่ยม อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง และเข้าสู่ อ.เมืองสุโขทัย ซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ ระยะทางประมาณ ๙๐ กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศสวยงาม เป็นที่ราบสูงโอบล้อมด้วยแนวสันเขา ในเขตติดต่อกับ อ.เถิน จ.ลำปาง จึงมีทรัพยากรป่าไม้ที่สวยงาม และมีภูเขาหินปูนกระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งเป็นแหล่งผลิตหินอ่อนที่มีชื่อของจังหวัดสุโขทัย โดยหินอ่อนทุ่งเสลี่ยม มีสีหลากหลายถึง สี ได้แก่ สีขาว - เทา - เทาอ่อน - เทาแก่ - ดำ - เหลือง - เขียว - ชมพู – ม่วง

ประตูเชื่อมต่อระหว่างสุโขทัย กับล้านนา เนื่องจาก อ.ทุ่งเสลี่ยม เป็นอำเภอที่มีเส้นทางสู่ จ.ลำปาง และ จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นเส้นทางลัด ทำให้ประหยัดระยะเวลาในการเดินทางกว่าเส้นทางอื่น และยังเป็นเส้นทางในการเดินทางมาเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

เหตุการณ์สำคัญ วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ก.พ. ๒๕๒๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัคราชกุมารี เสด็จเยี่ยมราษฎร ณ โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์ อำเภอทุ่งเสลี่ยม โดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับผู้ใหญ่ลั่น สมหารวงศ์ ผู้ใหญ่เสาร์ อุตบัววงศ์และกำนัน ปริสาวงศ์ ซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาเรื่อง การสร้างถนนสายทุ่งเสลี่ยม-สวรรคโลก และโครงการอ่างเก็บน้ำแม่มอก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับสั่งว่า ให้สร้างอ่างเก็บน้ำก่อนที่จะสร้างถนน (ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรมกระทรวงวัฒนธรรม http://www.m-culture.in.th/moc_new/album/70280/)

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ (http://www.thungsaliam.org/index.php?mo=3&art=310907) </p>

ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเพียงเล็กน้อย ด้วยเนื้อที่มีกำจัด

หลวงพ่อศิลา เป็นพระพุทธรูปนาคปรก ปางสมาธิ สกัดจากหินทรายสีเทา พระพักตร์ทรงสี่เหลี่ยม

ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานขนดนาคสามชั้น นาคที่ปรกอยู่เหนือพระเศียรนั้นมีเจ็ดเศียร ด้านหลัง หางนาคพันขึ้นมาถึงลำตัว มีลวดลายศิลปะแบบลพบุรี องค์พระวัดจากฐานถึงปลายยอดเศียรนาค สูง ๘๕ .๕๐ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๔๔ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ ๑๒๖ .๕ กิโลกรัม งดงามล้ำค่า ประดิษฐานอยู่ ณ วัดทุ่งเสลี่ยม ต.ทุ่งเสลี่ยม โดยวันที่ ๒๔ ก.พ. ของทุกปี ชาว อ.ทุ่งเสลี่ยม กำหนดให้จัดงาน “นมัสการหลวงพ่อศิลา” ขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่หลวงพ่อศิลา ได้กลับมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้อีกครั้ง หลังจากถูกโจรกรรมไปยังประเทศอังกฤษ

หลวงพ่อทองคำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่สร้างด้วยทองคำ น้ำหนัก ๙ กิโลกรัม ขนาดหน้าตักกว้าง ๒๒ .๕ เซนติเมตร หรือ ๙ นิ้ว ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพิพัฒน์มงคล ต.ทุ่งเสลี่ยม

วัดใหญ่ไชยมงคล อยู่ในเขตบ้านกมลราษฎร์ ต.บ้านใหม่ไชยมงคล วัดนี้เป็นวัดโบราณสมัยเมืองบางขลัง มีซากโบราณสถานที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว

นมัสการครูบาเจ้าศรีวิชัยที่วัดกลางดง วัดกลางดง สร้างด้วยสถาปัตยกรรมที่มีวิจิตรศิลป์งดงามไม่ว่าจะเป็นอุโบสถ ซึ่งเป็นศิลปะล้านนาคล้ายกับวัดในจังหวัดเชียงใหม่และลำปาง สิ่งที่โดดเด่นคือ องค์พระเจดีย์ ๕ ยอด สีทองซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับพระวิหาร ซึ่งเป็นศิลปะพม่าภายในบรรจุแก้วแหวนเงินทองที่มีค่ามากมาย นอกจากนี้ยังมีมณฑปอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยลักษณะเป็นรูปหล่อเท่าองค์จริง ประดิษฐานอยู่ในมณฑปวัดกลางดง อันเป็นที่เคารพสักการะนับถือของประชาชนชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยม สาเหตุเพราะช่วงเวลาหนึ่งพระครูบาศรีวิชัยได้มาที่วัดกลางดง เนื่องจากลูกศิษย์เอกของพระครูบาศรีวิชัย คือพระทองสุก คุณารักษ์ เป็นคนบ้านกลางดง พระครูบาศรีวิชัยจึงให้ลูกศิษย์ของท่านมาสร้างพระธาตุเจดีย์ ทองคำ ๕ ยอด ไว้ที่วัดกลางดง ๑ องค์ อีกด้วย

โด่แม่ถันอยู่ในพื้นที่บ้านเชิงผา ต.กลางดง ซึ่งมีวัดเชิงผา อยู่ติดกับเชิงเขาแม่ถัน และถ้ำเชิงผาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่ง ทางวัดได้เก็บรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ที่มีคุณค่าหลายอย่าง

อ่างเก็บน้ำห้วยหัวแหวน อยู่ในพื้นที่ บ้านหนองผักบุ้ง ต.กลางดง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดทุกชนิด และเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สวยงาม

อ่างเก็บน้ำบ้านแม่ทุเลาในอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติป่าแม่ลำพัน-ป่าแม่มอก พื้นที่ หมู่ที่ ๙ ต.กลางดง เป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สวยงาม

ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดเชิงผา ซึ่งเป็นศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นท่ามกลางธรรมชาติอันสมบูรณ์ รายล้อมด้วยน้ำ ภูเขา ต้นไม้ บรรยากาศร่มรื่น ร่มเย็น นอกจากเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ที่แห่งนี้ยังมีการถ่ายทอดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งยังมีการจำหน่ายอาหารสดต่าง ๆ เพื่อเป็นรายได้ให้กับสามเณรสำหรับการศึกษาเล่าเรียนต่อไป ทั้งนี้ยังเป็นการฝึกอาชีพให้กับสามเณรอีกด้วย

“ทุ่งเสลี่ยม”ยังมีอะไรให้ได้สัมผัสอีกมากมาย บางอย่างเผยตัวตนให้สามารถสัมผัสได้ด้วยตา รับรู้ ด้วยจิตวิญญาณ บางอย่างยังรอการค้นพบเพื่อไขปริศนานำไปสู่อัตลักษณ์ที่มีชาวบ้านในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสืบค้นเรื่องราวผ่านงานวิจัยที่เป็นวิชาการเป็นขั้นเป็นตอน ภายใต้การสนับสนุนของสภาวัฒนธรรมอำเภอทุ่งเสลี่ยมและสำนักงานคณะกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่มีตำบลไทยชนะศึก ที่มี เอี่ยม ปัญญา นายก อบต. และทีมงานพร้อมขับเคลื่อนเป็นหมุดหมายแห่งการเริ่มต้น และขยายการศึกษาค้นคว้าไปยังตำบลอื่น เรื่องราวอื่น ให้ครอบคลุมพื้นที่ เพื่อนำพาศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีถิ่น มาปรากฏต่อสายตาชาวโลก

ในวันพรุ่งนี้...อัญมณีเม็ดนี้จะผ่านการเจียรนัย ส่องแสงระยิบ

ระยับ เปร่งประกายเจิดจ้า เป็นมณีล้ำ

ค่าแห่งกรุงสุโขทัยสืบไป...

หมายเลขบันทึก: 608787เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2016 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2016 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-สวัสดีครับท่านปลัด...

-ผมมีญาติอยู่อำเภอทุ่งเสลี่ยม จึงได้เห็นภาพความสวยงามของอำเภอนี้อยู่อย่างต่อเนื่อง

-เมืองวัฒนธรรมที่งดงามนะครับ

-ขอบคุณภาพและข้อมูลนะครับ

-หากมีโอากาสคงได้ไปตามรอยบันทึกความงามนี้ครับ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท