บริหารสภาพแวดล้อมโครงการ จุดเริ่มต้นบริหารโครงการตาม ISO 21500


อาจารย์จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

[email protected]

ความสำเร็จของโครงการในยุคใหม่ เป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของผู้บริหารโครงการมากขึ้น แม้ว่าผู้บริหารโครงการจะมีความเชื่อว่าตนมีความรู้ ความเข้าใจเทคนิคและวิธีการในการดำเนินงานโครงการมอย่างดีแล้ว

ที่เป็นเช่นนี้ เพราะการบริหารโครงการสมัยใหม่จะต้องมีการบริหารสภาพแวดล้อมของโครงการหรือ Project Environment ให้ประสบความสำเร็จด้วย และหากการบริหารสภาพแวดล้อมโครงการล้มเหลว ก็อาจจะกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกระบวนการของโครงการซึ่งเป็นเนื้อหาจริงของการบริหารโครงการ

ดังนั้น ผู้บริหารโครงการจะมุ่งให้ความสำคัญแต่การบริหารโครงการภายใต้ขอบเขต ต้นทุน และตารางเวลาของโครงการอย่างเดียวไม่ได้ เพราะอาจจะไม่สามารถนำโครงการสู่การบรรลุเป้าหมาย

ความหมายของสภาพแวดล้อมโครงการ

ในอดีตสภาพแวดล้อมโครงการอาจจะจำกัดเพียงสภาพแวดล้อมกายภาพในพื้นที่ตั้งโครงการเท่านั้นแต่ในยุคสมัยสภาพแวดล้อมโครงการขยายออกไปสู่เรื่องของวัฒนธรรม สังคมด้วย

นอกจากสิ่งที่เป็นสภาพแวดล้อมจริงแล้ว สภาพแวดล้อมยังรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีอิทธิพลต่อโครงการ และส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการในส่วนของผลลัพธ์ด้วย ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องหาแนวทางการดำเนินโครงการด้วยการทำงานร่วมกับคนเหล่านี้ให้ได้ และเป็นตัวขับเคลื่อนความสำเร็จ ไม่ใช่เป็นภัยคุกคามหรืออุปสรรคต่อโครงการ

ประเด็นสำคัญประการหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสภาพแวดล้อมโครงการ คือ

  • หาทางปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมโครงการไปในแนวทางที่เป็นบวก โดยเฉพาะในด้านการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อม การดำรงชีวิตของผู้คนหลังการดำเนินโครงการ
  • หาทางบริหารสภาพต่อต้านความเปลี่ยนแปลงของผู้คนในสภาพแวดล้อม ให้เกิดความเข้าใจและการยอมรับการเปลี่ยนแปลง

มิติของสภาพแวดล้อมโครงการ

  • มิติของสภาพแวดล้อมด้านเวลา คือมีผลเฉพาะช่วงบางเวลาของโครงการที่แตกต่างกัน
  • มิติด้านวัฒนธรรมการดำเนินโครงการภายในโครงการ
  • มิติด้านวัฒนธรรมขององค์กรเองตั้งแต่กำเนิดกิจการ
  • มิติที่เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกโครงการ

สภาพแวดล้อมด้านเวลาของโครงการ (Time Environment)

ระยะที่ 1

ระยะที่ 2

ระยะที่ 3

ระยะที่ 4

การริเริ่มโครงการ

หาแนวคิดโครงการ

การวางแผนและ

พัฒนาโครงการ

การบริหารและ

ดำเนินงานโครงการ

การส่งมอบและ

ปิดโครงการ

-การระบุความต้องการและความจำเป็น

-จัดทำความเป็นไปได้ของโครงการ

-ระบุทางเลือกที่มี

-กำหนดตารางเวลา

-วางกรอบงบประมาณ

-นำเสนอโครงการเบื้องต้น

ได้รับความเห็นชอบให้ดำเนินการต่อจากที่ทำบนกระดา

-พัฒนารายละเอียดโครงการ

-ทำการศึกษารายละเอียด

-เลือกเทคโนโลยี อุปกรณ์ เครื่องมือ

-ยืนยันประเด็นทางเศรษฐศาสตร์

(ก) งบประมาณ

(ข) กระแสเงินสด

(ค) การจัดหาเงิน

-การค้นหาความเสี่ยง

-กำหนดทางเลือกการทำโครงการที่เป็นไปได้

-นำเสนอโครงการในรายละเอียด

ได้รับความเห็นชอบได้ดำเนินการต่อ

ยังเป็นการทำแผนบนกระดาษ

-จัดตั้งโครงสร้างองค์กร

-กำหนดบทบาท ทรัพยากร

-จัดซื้อจัดหา

-วางกลไกประกันคุณภาพ

-กำหนดกลไกควบคุม

-ติดตาม กำกับความคืบหน้าโครงการ

-ปรับปรุงแก้ไข ตามความจำเป็น

-เกณฑ์เปรียบเทียบผลงานจริงกับแผนงานที่ยอมรับได้

-พยากรณ์งานในอนาคต

-จัดทำรายงาน

ส่งมอบสิ่งอำนวยความสะดวกโครงการเป็นการทำกิจกรรมจริง

-อบรมบุคลากร

-ทบทวนผลและกำหนดเกณฑ์ยอมรับได้

-เตรียมศักยภาพการทำงาน

-โอนวัตถุดิบที่เหลือ

-เคลียริ่งและชำระบัญชี

-ส่งตัวบุคลากรคืนต้นสังกัด

-สิ้นสุดสัญญาจ้างทั้งหมด

-สรุปบทเรียนที่เรียนรู้

-ปิดรายการทั้งหมด

-จัดทำแฟ้มข้อมูลให้สมบูรณ์

ส่งมอบรายงานฉบับสุดท้าย

ส่งมอบงานให้ผู้ที่รับช่วงสู่งานประจำ

สภาพแวดล้อมจากวัฒนธรรมภายในโครงการ

วัฒนธรรมซึ่งพัฒนาขึ้นภายในโครงการ อาจจะมาจากสไตล์ของผู้นำโครงการ และโครงสร้างองค์กรที่เป็นตัวก่อกำเนิดโครงการแต่ละโครงการ ในบางกรณีโครงการอาจจะต้องพิจารณาและคำนึงถึง คู่ค้า พันธมิตร ซับพลายเออร์ ผู้ที่ร่วมโครงการด้วย

สภาพแวดล้อมจากวัฒนธรรมขององค์กร

ผู้บริหารองค์กร ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับโครงการแต่ก็เป็นผู้อนุมัติโครงการ วางแผนกลยุทธ์ จัดสรรทรัพยากร และสร้างวัฒนธรรมที่เป็นปรัชญาทางธุรกิจที่กำกับโครงการด้วย และอาจจะสั่งการให้มีการระงับโครงการเมื่อใดก็ได้

อิทธิพลของสภาพแวดล้อมวัฒนธรรมโครงการ

ผู้บริหารโครงการควรจะให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมวัฒนธรรม และหาทางหล่อหลอมให้วัฒนธรรมที่เป็นอยู่ ช่วยในการขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จ เพราะวัฒนธรรมโครงการและวัฒนธรรมองค์กรสามารถปรับเปลี่ยนได้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในทีม หรือความสัมพันธ์กับผู้บริหารระดับสูงในฐานะผู้สนับสนุนโครงการ

กลยุทธ์การบริหารโครงการด้านสภาพแวดล้อมภายใน

การบริหารโครงการโดยรวม มีความสำคัญไม่น้อยกว่าสภาพแวดล้อมโครงการ จึงช่วยผลักดันความสำเร็จของโครงการได้ หากผู้บริหารกำหนดกลยุทธ์การบริหารโครงการที่ดี

องค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์การบริหารโครงการ ได้แก่

  • การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง ที่ต้องแสดงออกให้เห็นชัดเจนและเป็นรูปธรรมเพื่อให้มั่นใจว่ามีการรับรู้ทั่วไป
  • การมอบอำนาจภายในโครงการ โดยเฉพาะผู้จัดการโครงการ และการกระจายอำนาจภายในโครงการ
  • อำนาจในการใช้ทรัพยากร ทั้งทรัพยากรทั่วไปและเงินงบประมาณเพื่อนำมาใช้ในโครงการได้อย่างเพียงพอ
  • การตัดสินใจสำคัญ โดยเฉพาะประเด็นทางเทคนิค ต้นทุน ตารางเวลา และการตัดสินใจด้านผลดำเนินงานที่สำคัญ
  • สมรรถนะของบุคลากร จะต้องเพียงพอในการดำเนินงานโครงการ ในทุกตำแหน่งตามโครงสร้างองค์กรของโครงการ
  • ทีมงานของโครงการ จะต้องมีการจัดสรรและให้มีการจัดจ้างบุคลากรที่เกี่ยวข้องและมีความจำเป็นมาดำเนินการจริง
  • ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS) ซึ่งรวมทั้งระบบการควบคุม ติดตาม และรายงานผลความคืบหน้าของการดำเนินโครงการ

ความสำคัญของสภาพแวดล้อมภายนอกโครงการ

ในบางกรณี โครงการบางโครงการไม่อาจจะดำเนินการได้ หากสภาพแวดล้อมโครงการไม่เหมาะสม การบริหารจัดการจึงต้องเน้นการบริหารสภาพแวดล้อมภายนอกโครงการด้วย ได้แก่

(ก) ลูกค้า

(ข) คู่แข่งขัน

(ค) สภาพภูมิศาสตร์

(ง) ภูมิอากาศ

(จ) สภาพสังคมทางกายภาพ

(ช) สภาพเศรษฐกิจ

(ซ) สภาพทางการเมือง

ที่สำคัญคือ สภาพแวดล้อมภายนอกโครงการเหล่านี้ อาจจะมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกัน ๗งไม่ได้มีผลเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หากแต่มีผลกระทบซึ่งกันและกัน และอาจจะร่วมกันมีผลกระทบต่อโครงการพร้อมๆกันก็ได้ การพิจารณาจึงต้องพิจารณาทุกประเด็นว่า สภาพแวดล้อมภายนอกเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในระหว่างอายุของโครงการ

ยิ่งโครงการมีระยะเวลาการดำเนินการที่ยาวนาน ก็จะยิ่งทำให้ความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมเหล่านี้เพิ่มขึ้น และทำให้การบริหารโครงการยากขึ้นกว่าเดิม

โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกมีผลต่อโครงการใน 3 ลักษณะ

  • มีผลต่อผลผลิตที่จะเกิดจากโครงการ
  • มีผลต่อเทคโนโลยีที่จะใช้
  • มีผลต่อที่ตั้งทางกายภาพของโครงการให้เปลี่ยนแปลงไป

กลยุทธ์การบริหารโครงการด้านสภาพแวดล้อมภายนอก

การพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

เป็นการสร้างทัศนคติที่ถูกต้อง ความเข้าใจที่ดี และการยอมรับในตัวโครงการของผู้มีส่วนได้ส่วยเสีย โดย

  • เรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจกับอิทธิพลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ควรสนใจ
  • นำข้อมูลที่ได้เรียนรู้มาทำกิจกรรมปรับการรับรู้เกี่ยวกับโครงการ
  • หาธรรมชาติเฉพาะของแต่ละกลุ่มและความสนใจต่อโครงการ
  • ทำความเข้าใจพฤติกรรมและแรงจูงใจของแต่ละกลุ่ม
  • หาความเป็นไปได้ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มจะมีปฏิกิริยาต่อแนวคิดต่างๆ
  • กำหนดประเด็นที่สำคัญและทำแผนตอบโต้เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
  • เรียนรู้ว่าผู้บริหารโครงการจะทำอะไรได้บ้างในบทบาทของตนที่จะตอบโต้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจจะผลักดันอยู่เบื้องหลังโครงการ
  • กำหนดประเด็นสำคัญที่เป็นเป้าหมายที่ควรจะพิจารณาจากผลกระทบที่เกิดหากมีการรับรู้และยอมรับ ตอบรับโครงการ
  • ไม่ละเลยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแม้แต่เป็นกลุ่มเล็กๆ

กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการอาจจะแบ่งออกเป็น

  • กลุ่มที่มีบทบาทควบคุมโครงการ เช่น เป็นซับพลายเออร์ ลูกค้า กำกับโครงการ
  • กลุ่มที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินโครงการด้านศักยภาพ เทคโนโลยี การเงิน สังคม การเมือง กฎหมาย
  • กลุ่มที่จำเป็นต้องยอมรับ ให้การสนับสนุนทางบวกแก่โครงการ
หมายเลขบันทึก: 608668เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2016 12:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2016 12:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท