บทความแนวทางการศึกษา เพื่อวิเคราะห์จุดวิกฤตในอนาคต


ผมขอออกต่อก่อนว่าผมไม่ใช้ผู้เชียวชาญ ขาดตกบกพร่องไปต้องขออภัย ณ ที่นี้ โดยเฉพาะบทความนี้ มีการยกตัวอย่างความคิดเห็นด้านอนาคตของประเทศไทยเข้ามาด้วย

กล่าวถึงสมัยที่ผมเรียน ป.โท (10+ปี) ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ดร. ท่านหนึ่งจากอินเดีย ไม่ชอเอ๋ยนาย เพราะจำไม่ได้ครับ ได้มาบรรยายพิเศษ มีการบรรยายให้ความรู้อยู่หลายๆ หัวข้อ เช่น การสอนแนวใหม่ที่ทำให้นักศึกษามีความสามารถในการวิเคราะห์หาคำตอบอย่างไม่มีที่สิ้นสุด หรือการสอนแบบ Creative Teaching (หากมีเวลาจะเขียนให้อ่านน่ะครับ) รวมถึงหัวข้อเกี่ยวการการศึกษา เพื่อวิเคราะห์จุดวิกฤษในอนาคต ที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้

ขอยกตัวอย่าง เพื่อให้เข้าในง่ายๆ น่ะครับ ดังนี้ ปัญหา ผักตบชบา เริ่มตัวจาก สมมุติว่า

** ผักตบชบามีความสามารถในการเจริญเติบโต ทุกๆ 1 วันสามารถแตกหน่อเป็น 1หน่อ จะแตกเป็น2 หน่อ วันที่ 2 ต่อมา 2 หน่อเมื่อวานก็จะกลายเป็น 4 หน่อ อย่างนี้ ** หน่วยงานกำจัดผักตบชบา มีเครื่องที่สามารถกำจัดผักตบได้ 10 หน่อต่อ 1 วัน หน่วยงานได้รับแจ้งพบเห็นผักตบชบา 1 หน่อบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ทางหัวหน้าได้สั่งการลงไปให้ไปกำจัดผักตบ 1 หน่อนั้น

**แต่ผู้ปฏิบัติเห็นว่า แค่หน่อเดียว เครื่องมีความสามารถกำจัดได้วันล่ะ 10 หน่อ ยังไม่จำเป็นตอนนี้ ก็เลยยังไม่ออกไปกำจัด แล้วเมื่อไหร่ครับถึงกำจัดได้ทัน การแตกหน่อของผักตบชบา

*** เรามาลองวิเคราะห์กันน่ะครับ แล้วสักกี่วันล่ะครับ แล้วเมื่อไหร่ ล่ะครับที่เหมาะสมที่สุด หรือจุดวิกฤตกี่วัน วิธีดังต่อไปนี้ครับ ผักตบชบา 1 หน่อ เครื่องกำจัด 1 วัน ได้หมด ผักตบชบา 1 วัน จาก 1หน่อ เป็น 2 หน่อ เครื่องกำจัด 1 วัน ได้หมด ผักตบชบา 2 วัน จาก 2หน่อ เป็น 4 หน่อ เครื่องกำจัด 1 วัน ได้หมด ผักตบชบา 3 วัน จาก 4หน่อ เป็น 8 หน่อ เครื่องกำจัด 1 วัน ได้หมด ผักตบชบา 4 วัน จาก8หน่อ เป็น 16 หน่อ เครื่องกำจัด 3 วัน ได้หมด กล่าวคือ

*เริ่มวันที่ 1 มี 16หน่อ เครื่องกำจัดไป 10 หน่อ เหลือ 6 หน่อ

**วันที่ 2 จาก 6 หน่อที่เหลือเมื่อวานกลายเป็น 12 หน่อวันนี้ เครื่องกำจัดไป 10 หน่อ เหลือ 2 หน่อ

***วันที่ 3 จาก 2 หน่อที่เหลือเมื่อวานกลายเป็น 4 หน่อวันนี้ เครื่องกำจัดไป 4 หน่อ ได้หมด


แต่ผักตบชบา 5 วัน จาก16หน่อ เป็น 32 หน่อ เครื่องกำจัดไม่มีวันหมดครับ กล่าวคือ

****เริ่มวันที่ 1 มี 32หน่อ เครื่องกำจัดไป 10 หน่อ เหลือ 22 หน่อ

*****วันที่ 2 จาก 22 หน่อที่เหลือเมื่อวานกลายเป็น 44 หน่อวันนี้ เครื่องกำจัดไป 10 หน่อ เหลือ 34 หน่อ

******วันที่ 3 จาก 34 หน่อที่เหลือเมื่อวานกลายเป็น 68หน่อ เครื่องกำจัดไป 10หน่อ เหลือ 58 หน่อ แล้วก็เจริญไปเรื่อยๆ จะเต็มแม่น้ำเจ้าพระยา

ดร. ได้ยกตัวอย่างดังกล่าว แล้วอธิบายให้ฟังว่าจุดวิกฤตอยู่ตรงไหน ดูอย่างไร ในตัวอย่างจุดวิกฤตอยู่ที่ วันที่ 4 ถ้าไม่กำจัดผักตบชบาก่อนวันที่ 4 จากเครื่องกำจัดที่มีอยู่ ก็จะไม่สามารถกำจัดผักตบชบาได้หมดนั้นเอง

จากตัวอย่างเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของแนวทางการวิเคราะห์ ดร. ท่านยังได้ยกตัวอย่างการสร้างถนนอีกครับ ว่า จำนวนรถที่วิ่งมากขึ้นทุกว่า คำนวณอย่างไร จะต้องสร้างถนนเพิ่มเมื่อไหร่ จึฃจะทันต่อความต้องการ ผมเองก็คิดถึงระบบไฟฟ้าฝ่ายผลิต เมื่อไหร่จะสร้างโรงงานไฟฟ้า จุดวิกฤตอยู่ตรงไหน ที่จะสร้างได้ทันโดยที่ไม่ขาดแคลน ว่าไม่ครับ

แต่วัตถุประสงค์ของบทความนี้ไม่ได้อยู่ที่วิกฤตพลังงานครับ แต่ผมกลับมองในอีกเรื่องหนึ่งครับ นั้นคือ การกำหนดภาษีที่ดินสิ่งปลูกสร้างที่กำลังจะอนุมัติครับ ปัญหาที่ผมเห็นก็คือ การกำหนด หรือแนวความคิด ที่ไม่มีการวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์ เพื่อหาจุดวิกฤตไม่มีใครพูดถึงเลย จะแนวคิดการกำหนดอัตราภาษีดังกล่าวนั้น จำทำให้เกิดสถานะ ก้นหอย ในอนาคต เพราะสถานะการที่กล่าวนี้จะทำให้อนาคต คนที่มีรายได้ต่ำ จนถึงปานกลางจะไม่มีสิทธิมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองด้วยการวิเคราะห์ แก้ปัญหาแบบง่ายๆ จากคนกลุ่มเดียวที่มีอาชีพเกรงกำไรที่ดินก็ซวยไปครับ

สถานะการก้นหอย คืออะไร ผมขอยกตัวอย่างเลยแล้วกันน่ะครับ ในที่นี้ขอสมมุติ ทั้งตัวเลข และค่าต่างๆ ให้เป็นเพียงแนวคิดให้ลองพิจารณาเท่านั้น ถ้าใช้ตัวเลขจริงเดียวจะโดนอะไรไม่ทราบ เอาเป็นว่าตัวเลขที่กำหนดตามใจ น่ะครับ กล่าวคือ

*** กรณีที่ไม่ทำประโยชน์ นาย ก. ซื้อที่ดิน 100 ไร่ ราคาไร่ล่ะ 1 ล้านบาท เป็นเงิน 100ล้านบาทไม่ได้ทำประโยชน์อะไร ทางการกำหนดให้เสียภาษีร้อยล่ะ 5 นาย ก. มีเงินก็ไม่ใส่ใจก็ยอมจ่ายไป ไม่เดือดร้อน 5 ล้านบาท(กรณีไม่ทำอะไรกับที่ดิน) 10 ปีผ่านไปก็ไม่เป็นไร ทำไมนาย ก. ถึงคิดอย่างนั้น ? ถ้าคุณพิจารณาให้ดีจะพบว่า ที่ดินของนาย ก. เวลาต้องการขาย แน่นนอนนาย ก. จะต้องหาข้ออ้างในการขึ้นราคาที่ดินอยู่แล้ว จากที่ดินที่ซื้อมา 100ล้านบาทต้องเสียภาษี 5 ล้านบาทในปีที่ 1 และยิ่งเก็บนาน ราคาค่าที่ดินก็จะขึ้นโดยอัตโนมัติจากหลักการเก็บภาษีนี้แหละครับ นาย ก. ก็แค่บวกต้นทุน ทำต้นทุนใหม่โดยการ นำภาษีที่ต้องจ่ายไปทุกปีเข้ากับราคาที่ดินที่จะขาย แล้วคุณด้วยผลกำไรที่ต้องการเข้าไปเท่านั้นเองครับ ถามว่านาย ก. เดือดร้อนหรือไม่ ครับ ไม่เลย ก็ในเมื่อซื้อมาแพง มีต้นทุนต้องเสียภาษีที่ดินทุกปี นาย ก. ก็แค่ บวกค่าใช้จ่ายภาษีเข้าไปเท่านั้นเอง ดีเสียอีกราคาที่ดินจะได้ขึ้นโดยอัตโนมัติ 10 ปีข้างหน้าก็ไม่เดือนร้อน ขายที่ดิน + ภาษีที่จ่ายไป แล้วใครล่ะครับ จะมีปัญญาซื้อที่ดินนี้ครับ

*** กรณีที่ทำประโยชน์ นาย ก. ซื้อที่ดิน 100 ไร่ ราคาไร่ล่ะ 1 ล้านบาท เป็นเงิน 100ล้านบาททำประโยชน์โดยการลงทุนปลูกต้นมะม่วง ไม่ต้องเสียภาษีร้อยล่ะ 5 นาย ก. มีเงินก็ไม่ใส่ใจพัฒนาลงทุน ทำไมนาย ก. ถึงคิดอย่างนั้น ? ถ้าคุณพิจารณาให้ดีจะพบว่า ที่ดินของนาย ก. เวลาต้องการขาย แน่นนอนนาย ก. จะต้องหาข้ออ้างในการขึ้นราคาที่ดินเช่นกัน จากที่ดินที่ซื้อมา 100 ล้านบาท ต้องลงทุนปลูกต้นมะม่วงไปเท่าไร ก็ต้องบวกเข้าไปกับราคาที่ดินที่จะขายอยู่แล้ว โดยที่ผู้ซื้อ นาย ข. จำใจต้องซื้อในราคาที่ดินบวกต้นมะม่วง ทั้งๆที่ผู้ซื้อ นาย ข. จะซื้อมาเพื่อจัดสรรขายทำเป็นที่อยู่อาศัย แล้วยังต้อเสียค่าปรับปรุงที่ดิน โคนต้นมะม่วง ถ้าว่านาย ข. คิดอย่างไร ? แน่นนอนครับนาย ข. เมื่อจัดสรรเสร็จเวลาขาย ต้องต้องขายในราคาสูง โดยอ้างว่าได้ซื้อที่ดินมาในราคาแพง (บวกราคามะม่วง และค่าปรับปรุงพื้นที่) นาย ข. ผู้จัดสรรจะเดือดร้อนอะไรครับ ในเมื่อซื้อมาเท่าไรมีค่าใช้จ่ายอะไรก็บวกกันตามใจชอบเลย เพราะใครล่ะจะพิสูจน์ได้ครับว่าค่าลงทุนค่าใช้จ่ายจริงๆ เท่าไร สุดท้ายคนที่ซื้อบ้านที่จัดสรรน่ะแหละครับต้องซื้อของแพง ราคาที่ดินขึ้นโดยอัตโนมัติเช่นกันครับ ภาวะก้นหอยก็คือ เวลาคุณคิดทำอะไรก็ต้องคิดถึงข้างหน้า จุดที่จะไปถึงด้วยครับ จากตัวอย่างที่กล่าวแน่นนอนภาวะที่ดินแพงจะไม่เกิดตอนนี้ แต่จะเกิดขึ้นแน่น เมื่อเวลาผ่านไปจากราคาที่ดินที่มีราคาขายสำหรับคนทั่วไปจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนไม่มีปัญญาซื้อได้ ก็ได้แต่เช่าอยู่ตลอดไปครับ

การที่จะตีตรา หรือออกกฎหมายใดๆ ต้องคำนึงถึงความชอบธรรม และความเป็นธรรม อย่างมีคุณธรรม แน่นนอนคุณบอกว่าคนที่เดือดร้อนก็แค่คนรวยไม่กี่คน อย่างนี้แล้ว คนรวยที่คุณกล่าวถึง ไม่ไช่ประชาชนคนไทยเหมื่อนๆ คุณหรือครับ ในยามที่เขารวยคุณเก็บภาษีเขามาก แล้วยามที่เขาตกอับ ขาดทุน เป็นหนี้ คุณมีอะไรให้คืนเขาหรือเปล่าครับ แต่ที่คุณทำผมเห็นว่าเป็นการต่อยอดให้คนรวย และทำให้สิ่งที่เขาครอบครองนั้นมีค่าสูงขึ้นไปโดยอัตโนมัติ ด้วยโครงสร้างภาษีที่คุณคิดว่าจะเอาเปรียบคนรวย คุณไม่รวย หรือไม่จน บ้างก็แล้วไป



บทความนี้เป็นเพียงทัศนะ และความรู้ที่ต่ำต้อย หากส่งผลกระทบผู้ใด ต้อง ขออภัย ณ ที่นี้้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 608390เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2016 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2016 12:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ระบบโครงสร้างภาษี ซื้อขายที่ดินก็เช่นกัน ทำให้เกิดสถานะการณ์ก้นหอย กล่าวคือ

นาย ก. ขายที่ดิน 100 ไร่ ไร่ล่ะ 1 บาท เป็นเงิน 100 บาท นาย ข. ซื้อไป ในราคา 100 บาท บวกภาษี ซื้อขาย ร้อยล่ะ 5 เท่ากับว่า นาย ข. ซื้อในราคาทั้งสิ้น 105 บาท

ฉนั้น เมื่อนาย ข. ต้องการขาย ก็ต้องเอาราคาซื้อมาตั้ง คือ 105 บาท + กำไร 5 % ก็จะเป็นเงิน 110.25 บาท ถ้าขายนาย ค. ก็ต้องเสียภาษีอีก 5 % นาย ค. ก็ต้องซื้อในราคารวมภาษี 115.75 บาท

ถ้านาย ค. ขายอีก.....

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า แค่เปลี่ยนมือ 2 ครั้ง ราคาก็ขึ้นไปแล้ว 15+% จากราคาเดิม แบบนี้แล้ว รายได้ต่ำไม่ต้องพูดถึง คนรายได้ปานกลางยังยากที่จะมีที่ดินเป็นของตัวเองเลย......ลองคิดดูน่ะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท