วันที่ 3 เทคนิคการสอนภาษาไทย (กิจกรรม POP UP นิทานพื้นบ้าน)


เทคนิคการสอนภาษาไทย (กิจกรรม POP UP นิทานพื้นบ้าน)

บันทึกการฝึกสอน
วันพุธ ที่
18 พฤษภาคม พ.ศ.2559

เรื่อง เทคนิคการสอนภาษาไทย (กิจกรรม POP UP นิทานพื้นบ้าน)


18 พฤษภาคม 2559 วันนี้ได้เห็นมองมุมใหม่ๆเกี่ยวกับเทคนิคการสอนอีกรูปแบบหนึ่ง คือ เทคนิคการสอนภาษาไทย (กิจกรรม POP UP นิทานพื้นบ้าน) โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ครูผู้สอนให้เด็กนักเรียนทำกิจกรรมกลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มคุยกันพร้อมทั้งศึกษาค้นคว้า
เกี่ยวกับ นิทานพื้นบ้านตามความสนใจของเด็กนักเรียน จากนั้นให้แต่ละกลุ่มนำกระดาษขนาด A4 ขึ้นมา วาดภาพตัวละครสำคัญ ระดมความคิด
เพื่อคิดฉากหลังและพื้นหลังจากนั้นตกแต่งให้สวยงาม ส่วนเนื้อหาสาระให้นำไปติดที่หน้าปกพร้อมทั้งตกแต่งให้สวยงาม ดังนั้นกิจกรรม POP UP จึงเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและดึงดูดผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยที่ครูผู้สอนมีหน้าที่ในการเป็นผู้อำนวยการการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เป็นผู้ที่ให้คำแนะนำ ปรึกษา ตลอดจนชี้แจงรายละเอียดลักษณะของกิจกรรมที่จะจัดให้กับผู้เรียนได้
เรียนรู้ และจากการสังเกตในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งหมด พบว่า เด็กนักเรียนได้เรียนรู้วิธีการทำ POP UP ได้ทักษะกระบวนการกลุ่ม การทำงานเป็นทีม การแบ่งหน้าที่ในการทำงาน ทุกครั้งไม่ว่าเราจะทำงานในหน้าที่อะไรก็ตาม มักจะมีผู้นำที่ทำงานเดินหน้าต่อไป เช่นเดียวกับ
เด็กนักเรียน การทำงานในครั้งนี้ก็ต้องมีผู้นำเพื่อเป็นคนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการภายในกลุ่มเป็นคนวางแผนและกำหนดทิศทางในการทำงาน นอกจากนี้ข้อสังเกตที่ค้นพบ คือ เด็กนักเรียนมีความกระตือรือร้น รู้จักแบ่งหน้าที่กันทำงานอย่างชัดเจน เกิดความเป็นระบบในการทำงาน คนหนึ่งทำหน้าที่เป็นคนระบายสี อีกคนเป็นคนวาดภาพ คือ ทุกๆคนมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบซึ่งจะร่วมกันทำงาน ไม่เกี่ยงงานกัน ทำให้เราเกิดความประทับใจในตัวเด็กนักเรียน ประทับใจในครูผู้สอน

ส่วนในคาบสุดท้ายของการเรียนการสอนในวันนี้เป็นการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาโครงงาน เราได้เข้าร่วมทำกิจกรรมการเรียน
การสอนร่วมกับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 เด็กนักเรียนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ต่างคนก็ต่างมีความคิดเป็นของตนเอง ความชอบ ความสนใจ
ของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ประเด็นปัญหาที่เด็กสงสัยและต้องการแสวงหาคำตอบนั้นมากมายอยู่ที่ครูว่าครูจะสามารถจัดระบบความคิดของเด็ก
นักเรียนให้เป็น Concept หรือ ความคิดรวบยอดได้มากน้อยแค่ไหน ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานจะสามารถแยกความสนใจ
ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีและทำให้นักเรียนได้เรียนรู้และหาคำตอบด้วยตนเอง



หมายเลขบันทึก: 606774เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2016 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2016 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท