การป้องกันแก้ไขปัญหาเรื่องระเบียบวินัยของนักเรียน


การป้องกันแก้ไขปัญหาเรื่องระเบียบวินัยของนักเรียน

การจัดกระบวนการเรียนรู้  KM.  ฝ่ายกิจการนักเรียนโรงเรียนอู่ทองเรื่อง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษนักเรียน  และการดำเนินการกับนักเรียนที่ประพฤติผิดระเบียบอย่างร้ายแรง  ภายใต้ข้อจำกัดของระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  และสิทธิเด็ก  อย่างมีประสิทธิภาพ    โรงเรียนอู่ทองได้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  โดยใช้กระบวนการ  KM.  โดยได้กำหนดหัวปลาเรื่อง  การป้องกันและแก้ไขปัญหาการไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษนักเรียน  และการดำเนินการกับนักเรียนที่ประพฤติผิดระเบียบอย่างร้ายแรง  ภายใต้ข้อจำกัดของระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  และสิทธิเด็ก  อย่างมีประสิทธิภาพ    โดยมี-  คุณอำนวย         นายสมชาย   พิทักษ์วงศ์-  คุณกิจ                 คณะกรรมการฝ่ายกิจการนักเรียนโรงเรียนอู่ทอง-  คุณลิขิต              นายนพดล   คำเรียง  และนางสาวเพชร์ลัดดา   ขันทองดีในการดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าว  คุณอำนวยได้เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เล่าเรื่องที่ประสบความสำเร็จ  ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียนของนักเรียน  และการดำเนินการกับนักเรียนที่ประพฤติผิดระเบียบอย่างร้ายแรง   คุณลิขิตได้จดบันทึกเรื่องเล่าของผู้เล่าทุกคน   และนำเสนอประเด็นที่จดบันทึก  จากนั้นคุณอำนวยได้สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการพูดคุย  โดยทุกคนช่วยกันเติมเต็ม  ได้ดังนี้1.  ฝ่ายกิจการนักเรียนควรชี้แจงคณะครูทุกคนให้ทราบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียน  ..2548  ว่าให้ครูลงโทษนักเรียนได้  4  สถานดังนี้คือ  1)  ว่ากล่าวตักเตือน  2)  ทำทัณฑ์บน  3)  ตัดคะแนนความประพฤติ  และ  4)  ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควรเน้นย้ำให้ครูลงโทษนักเรียนโดยยึดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ  และของโรงเรียนเป็นหลัก2.   โรงเรียนได้กำหนดระเบียบว่าด้วยความผิด  การตัดคะแนน  และการทำกิจกรรมของนักเรียน  และได้แจกบันทึกการตัดคะแนนให้ครูทุกคน เมื่อนักเรียนถูกตัดคะแนนมากตามเกณฑ์ที่กำหนดให้เชิญผู้ปกครองมาพบเพื่อรับทราบความผิดและร่วมกันหาทางแก้ไขพฤติกรรมนั้น3.  กรณีนักเรียนทำความผิดขั้นร้ายแรงให้เชิญผู้ปกครองมาพบโดยด่วนเพื่อรับทราบความผิด  แล้วทำบันทึกไว้  ส่วนการพิจารณาลงโทษนักเรียนที่ทำความผิดขั้นร้ายแรงควรทำในรูปของคณะกรรมการและเชิญผู้ปกครองมาร่วมในการพิจารณาโทษด้วย4.  ครูที่ปรึกษาควรดูแล  ติดตาม  ตรวจสอบความประพฤติของนักเรียนอย่างใกล้ชิด  โดยใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  การคัดกรองนักเรียน   การเยี่ยมบ้านนักเรียน  และอื่น ๆ5.  โรงเรียนควรจัดให้มีเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน  เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ปกครองกับสถานศึกษา  และมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ  ป้องกัน  แก้ไขปัญหา  พัฒนาพฤติกรรมนักเรียน6.  โรงเรียนควรจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมอันดีแก่นักเรียนให้หลากหลาย

หมายเลขบันทึก: 60628เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2006 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท