การตายของสื่อสิ่งพิมพ์ที่เรียกว่า "นิตยสาร" บอกอะไรเรื่อง "Platform Revolution"


ยุคใหม่ของธุรกิจ ต้องกลับมาดูในเรื่อง "Platform Revolution"

การเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย เป็น วัฏของชีวิต ที่พระพุทธองค์ได้ทรง "ค้นพบ" และบอกให้มวลมนุษย์ชาติได้รับรู้

พร้อมทั้งสอนให้ "ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท"

ธรรมชาติของธุกิจ ก็มีวัฏจักร เช่นเดียวกัน แต่อาจจะต่างไปบ้าง คือ การเกิดใหม่ได้ หรือ Rebirth เช่น ปรับผลิตภัณฑ์ใหม่ ฯลฯ

นิตยสาร น่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ ที่มีวงจรชีวิตสั้นลง

1) "นิตยสารเปรียว ปิดตำนาน 35 ปี

บรรณาธิการบริหารใหญ่ของนิตยสารเปรียว ยอมรับว่า หมดยุคของนิตยสารกระดาษแล้ว!! เพราะโลกยุคปัจจุบัน พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป สื่อสิ่งพิมพ์ไม่มีทางสู้กับความรวดเร็วของสื่อดิจิตอลได้ ยิ่งในสภาพเศรษฐกิจซบเซาแบบนี้ ต่อให้สายป่านยาวแค่ไหนก็รอดยาก ปฏิเสธไม่ได้จริงๆว่า ทุกวันนี้ใครๆก็บริโภคข่าวสารและข้อมูลจากทางมือถือและอินเตอร์เน็ต ไม่มีใครรออ่านนิตยสารที่จับต้องได้ ผู้บริโภคมองหาแต่นิวมิเดียใหม่ๆ แนวโน้มนี้เกิดขึ้นทั่วโลก มันหมดยุคของแมกกาซีนแล้วจริงๆ" (จากไทยรัฐ อ้างจาก http://pantip.com/topic/34411942 : 2558)

2) ล่าสุด "นิตยสาร อิมเมจ ได้ประกาศปิดตัวเช่นเดียวกัน

ต้านไม่ไหว! นิตยสาร ‘อิมเมจ’ ปิดตัว เลิกจ้างพนักงาน เหตุขาดทุนเดือนละหลายล้าน

โจ วิโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ทรีแดนซ์ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ถือหุ้นบริษัท อิมเมจ พับลิชชิ่ง จำกัด กล่าวว่า วันนี้บริษัทประกาศปิดนิตยสารให้พนักงานทั้งหมดประมาณ 30 คนได้รับทราบ เนื่องจากจะมีการเลิกจ้างพนักงานเกือบทั้งหมด และก็ได้จ่ายเงินให้พนักงานตามกฎหมายแรงงานทุกบาททุกสตางค์ ซึ่งสาเหตุที่อิมเมจต้องปิดตัวลงนั้นเป็นเพราะสื่อสิ่งพิมพ์อยู่ในขาลง โดยตอนแรกที่ซื้อลิขสิทธิ์มาจากทางจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 แม้จะเข้าใจว่าธุรกิจสิ่งพิมพ์คงจะขาดทุนตามกระแสโลกในตอนนี้ แต่ก็คิดว่าน่าจะขาดทุนน้อยลง ทว่าในความเป็นจริงกลับขาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ เดือนละหลายล้านบาท โดยไม่สามารถแก้ไขอะไรได้"

(อ้างจาก http://www.matichon.co.th/news/119301 27 เม.ย.59 )

เกิดอะไรขึ้นในโลกธุรกิจ

อันต้น ๆ เลยเกิดมาจาก เทคโนโลยี ได้เปลี่ยน Platform ของธุรกิจ ต่อมา อุปกรณ์สมัยใหม่ (Devices) ได้เข้ามา เชื่อมต่อ (Connected) ให้ทุกอย่างในโลกติดต่อถึงกันได้หมดทุกที่ ทุกเวลา และเกือบจะทุก Platform พร้อมกับ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีและอุปกรณ์สมัยใหม่ เช่นกัน

ธุรกิจต้องทำอะไรในโลกยุคคลื่นลูกที่ 4 ของปฏิวัติอุตสาหกรรม (The Fourth Industrial Revolution)

(ภาพนำมาจาก http://cxoweekly.com/platform-revolution/ )

ผู้เขียนมองว่า ต้องเข้าใจ สิ่งแรกคือ การปฏิวัติ Platform รีบเรียนรู้และทำความเข้าใจ เช่น Uber เปลี่ยนแพลตฟอร์ม อะไร ยังไง หรือ เก่าหน่อยก็ Amazon.com เปลี่ยนแพลตฟอร์มธุรกิจร้านหนังสือ และ Udemy เว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้ออน์ไลน์ เป็นต้น

รูป : บรรดา แพลตฟอร์มที่คุมโชคชะตาของโลกธุรกิจยุคใหม่ในขณะนี้

(Reference: FIGURE 1.1 (Platform Revolution) Source: Peter Evans, Center for Global Enterprise)


ต่อมา การคิดกลยุทธใหม่ ๆ ที่ว่องไว (Agile) ไม่ใช่กลยุทธแบบเดิม ผู้เขียนยังเห็น บางที่ยังอบรมการเขียนตัวชี้วัดส่วนบุคคล (Personal /Individual Scorecard) อยู่เลย ในยุดใหม่นี้เราคุยเรื่องที่ว่องไว เช่น "Disruptive Innovation Strategy" หรือ "กลยุทธนวัตกรรมฝ่าทะลวง" (ลองติดตามอ่านได้ในบล็อกต่าง ๆ ครับ)

ขออธิบายย่อ ๆ การฝ่าทะลวงแรก คือ ผู้นำตลาดต้องมีนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง (Sustaining technological improvements) จึงจะเป็นผู้นำตลาด แต่มีราคาแพง และไม่ค่อยแคร์ลูกค้า ซึ่งในโลกความจริงการเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ทำให้เกิดช่องว่าง ของผู้ที่มาใหม่ เช่น Amazon.com Uber Udemy ....


ขระเดียวกันการฝ่าทะลวงแบบที่สอง ในกลุ่มช่วงค่าเฉลี่ยหรือ ระดับล่าง ที่ลูกค้ารับได้ จะมีคนที่กล้าทำ ราคาสูงบนตลาดคนส่วนใหญ่ (Mass product) เช่น นกแอร์ ทำราคาพรีเมียมในตลาดสายการบินต้นทุนต่ำ

และการฝ่าทะลวงแบบที่สาม คือ ตลาดที่ยังไม่เคยเป็นลูกค้า หรือไม่เคยเคยใช้บริการ เช่น ลูกค้า รถ บขส. มาใช้บริการ แอร์เอเซีย

สุดท้าย ธุรกิจยุคใหม่ไม่มีสูตรสำเร็จ ที่ตายตัว แต่ก่อนเรามักจะพูดกันว่า ไปบ่อนหรือ คาสิโน ก็ เป็นเศรษฐีหรือ ยาจก ได้ชั่วข้ามคืน ธุรกิจในยุคดิจิตอลได้กลายเป็นเช่นนั้นไปแล้ว

02-05-2559


หมายเลขบันทึก: 605834เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2016 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2016 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท