ปรีดิยาธรแจงเพิ่มงบล้างหนี้ 8.5 หมื่นล้าน


เพิ่มงบล้างหนี้ 8.5 หมื่นล้าน
ปรีดิยาธรหอบเอกสารแจงเพิ่มงบปี '50 ล้างหนี้โครงการรัฐบาลชุดก่อน 8.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มงบรายจ่ายประจำถึง 1.77 แสนล้านบาท ย้ำเพื่อปรับระบบจัดทำงบประมาณให้ถูกต้อง พร้อมสั่งตรวจสอบ    ความเสียหายโครงการ จำนำลำไย-ข้าวก่อนตั้งงบปี '51 ชดใช้อีก ย้ำหนี้จากการขาดทุนโครงการต่าง ๆ ต้องชดเชย ปีต่อปี ยันเดินหน้ารถไฟฟ้า-จัดการน้ำ-ปรับปรุงระบบราง สั่งชะลอบ้านเอื้ออาทรรอ คตส. ตรวจสอบม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้นำเอกสารงบประมาณชี้แจงต่อสื่อมวลชน ระบุการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 ที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 1.52 ล้านล้านบาท      เป็น 1.5662 ล้านล้านบาท เนื่องจากพบว่ามีภาระหนี้ที่เกิดจากการบริหารจัดการหนี้ค้างจ่ายของรัฐบาลชุดที่แล้ว    ที่ต้องนำไปจัดสรรในงบปี 2550 ทั้งหมด 85,549 ล้านบาท  รวมถึงการใช้จ่ายด้านบุคลากรที่เป็นงบประจำกว่า 87,000 ล้านบาท รวมประมาณ 177,583 ล้านบาท จึงนำเงินภาระดังกล่าวไปจัดอยู่ในงบประจำ ซึ่งไม่ได้ตั้ง       อยู่ในรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ ที่ตั้งไว้ที่ 55,490 ล้านบาท ในบัญชีดังกล่าวเป็นการตั้งงบชำระหนี้ จากการ       ออกพันธบัตร การขาดดุลงบประมาณอยู่แล้ว จึงทำให้งบรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้น 177,583 ล้านบาท รวมเป็น           งบรายจ่ายประจำ 1.136 ล้านล้านบาท ส่วนงบลงทุนอยู่ที่ 374,648 ล้านบาท ส่วนการจัดเก็บรายได้คาดว่าจะอยู่ที่ 1.42 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ขาดดุลงบประมาณ 1.42 แสนล้านบาท หรือ 1.7% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) อยู่ในกรอบการขาดดุลงบประมาณไม่เกิน 2% ของจีดีพี      ซึ่งรัฐบาลต้องกู้เงินมาชดเชย เช่น การออกพันธบัตรจำนวนหนึ่ง เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุล แต่คงไม่สามารถออกได้ทั้งหมด และคาดว่าเป็นส่วนหนึ่งของพันธบัตร ที่ออกมาเพื่อชดเชยตั๋วเงินคลังในอดีต   "การกู้เงินเพื่อชดเชยขาดดุลนั้น จะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น แต่จะอยู่ในกรอบที่กำหนดไว้คือไม่เกิน 50% ของจีดีพี   โดยปัจจุบัน       หนี้สาธารณะอยู่ที่ 41% ของจีดีพี ซึ่งการเพิ่มขึ้น 2-4% ได้หารือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แล้ว  โดย ธปท.ระบุว่าอยู่ในฐานะที่ยอมรับได้ และไม่มีผลกระทบต่อภาครวมและเสถียรภาพเศรษฐกิจ   ขณะที่ Dept Service ของภาครัฐอยู่ที่ 13% เศษ หากออกพันธบัตรอายุ 15 ปี นำมาชำระหนี้จะทำให้ Dept Service เพิ่มขึ้นอีก 1%       ซึ่งไม่เกินเพดานที่กำหนดไว้ 16%” ม.ร.ว.ปรีดิยาธรระบุ สำหรับหนี้ค้างชำระเก่าของรัฐบาลเดิม ที่ต้องตั้งงบประมาณปี 2550 วงเงิน 8.5 หมื่นล้านบาทชดเชย ได้แก่ 1.หนี้ค้างชำระของกระทรวงเกษตรฯ เช่น หนี้ค้างชำระคืนกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรของกรมปศุสัตว์ 2,264 ล้านบาท หนี้ค้างชำระคืนกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรของกรมส่งเสริมสหกรณ์ 1,236 ล้านบาท     2.หนี้ค้างชำระของกระทรวงแรงงาน สำหรับเงินอุดหนุนสมทบกองทุนประกันสังคม 20,644 ล้านบาท             3.หนี้ค้างชำระของกระทรวงศึกษาธิการ เงินค่าวิทยฐานะของครู 8,845 ล้านบาท     4.หนี้ค้างชำระของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่งรวม 31,638 ล้านบาท ได้แก่ หนี้ค้างจ่ายที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ชำระเงินหนี้ต้นเงินกู้และดอกเบี้ยจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) จำนวน         23,079 ล้านบาท ซึ่งจำนวนหนี้ค้างเก่าที่เกิดจากการขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าวตั้งแต่ในอดีตจนถึงฤดูผลิต     ปี 2546/47  นอกจากนี้ ยังมีหนี้ค้างจ่ายชดเชยขาดทุนและดอกเบี้ยจากโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา 8,294 ล้านบาท หนี้ค้างชำระคืนกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรขององค์การคลังสินค้า วงเงิน 264 ล้านบาท และหนี้ค้างชำระให้กองทุนและเงินหมุนเวียน เช่น ค่าใช้จ่ายชำระหนี้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง วงเงิน 13,158 ล้านบาท จึงต้องตั้งงบประมาณชำระหนี้ที่เหลืออีก 16,213 ล้านบาท ในปี 2551-52 ที่เหลือคือค่าบริการทางการแพทย์ของกองทุนประกันสุขภาพ วงเงิน 7,761 ล้านบาท   ต้องการเคลียร์ภาระหนี้ต่าง ๆ เพื่อทำทุกอย่างให้ถูกต้องตามกระบวนการงบประมาณ เพื่อนำเงินไปใช้หนี้ให้หน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้รับจากภาระหนี้ดังกล่าว ไม่เช่นนั้นจะเป็นการเปิดช่องให้มีการตั้งงบใหม่ ขณะที่หนี้เดิมยังมีอยู่ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว แม้จะตั้งงบประมาณปี 2550 เพื่อชำระหนี้ค้างเก่าแล้ว แต่หนี้คงค้างในโครงการต่าง ๆ ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ยังมีอีกหลายโครงการ ที่ต้องมีการตรวจสอบว่าขาดทุนเท่าไหร่ และต้องตั้งงบประมาณชดเชย เช่น โครงการ  รับจำนำลำไยที่ยังมีสต็อกคงค้าง และโครงการรับจำนำข้าวฤดูกาลผลิตปี 2547/48 และ 2548/49 ซึ่งจากการประเมินสต็อกเบื้องต้นที่มีกว่า 3 ล้านตัน คาดว่าจะขาดทุน 1.8 หมื่นล้านบาท หลังจากตรวจสอบทั้ง 2 โครงการนี้ และโครงการอื่นๆ แล้วพบว่ามีผลขาดทุนเท่าไหร่ รัฐบาลก็จะตั้งงบประมาณปี 2551 เพื่อชดใช้หนี้เหล่านี้ต่อไป โดยคาดว่าหนี้ค้างชำระในปีหน้าคงไม่มากเท่ากับปีนี้ ส่วนการระบายข้าวในสต็อก 3 ล้านตันนั้น คงบอกไม่ได้ว่าจะมีการขายในประเทศหรือต่างประเทศ เพราะหากบอกไปพ่อค้าจะดักราคาได้ ส่วนนโยบายแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรนั้น จะยังไม่เปลี่ยนแปลง  การจำนำข้าวจะพบขาดทุนทุกปี แต่ 2 ปีที่ผ่านมามีการแทรกแซง แต่ราคาข้าวไม่ขึ้น จึงขาดทุนไปฟรี ๆ เพราะการขาดทุนนั้นไม่เป็นไร หากแทรกแซงแล้วราคาข้าวเพิ่มขึ้น 1 พันบาทต่อตัน ข้าวแต่ละปีออกมา 27 ล้านตันก็คุ้ม แต่ 2 ปีที่ผ่านมาขาดทุนแล้วไม่ได้อะไรเลย ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วก็ต้องเผชิญหน้ายอมรับเพื่อให้ประเทศสะอาดม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว ส่วนสาเหตุที่เลือกจัดการหนี้ค้างชำระในปีนี้ เพราะต้องการทำทุกอย่างให้ถูกต้องตามกระบวนการงบประมาณ โดยกระบวนการงบประมาณที่ถูกต้องนั้น เมื่อมีส่วนเสียหายเกิดขึ้นและพิสูจน์แล้วว่าเสียหายจำนวนเท่าใด ก็จะต้องตั้งงบชำระหนี้ส่วนราชการนั้น แต่ 3-4 ปีที่ผ่านมา หนี้ส่วนนี้กลับถูกหมกเอาไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่      ไม่พึงประสงค์ในกระบวนการงบประมาณ ดังนั้น ควรจะทำอะไรให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และต้องให้เป็นบรรทัดฐานต่อไป สำหรับงบปีต่อไป เงินกองทุนหมู่บ้านก็ยังต้องชำระปี 2551-2552 อีก 1.6 หมื่นล้านบาท ขณะที่การ       รับจำนำข้าวเปลือกยังไม่สามารถประเมินได้ เพราะต้องรอระบายข้าวค้างสต็อกอีก 3 ล้านตัน เพราะเงินที่ชดเชยให้ธ.ก.ส. เป็นภาระหนี้ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาและยังไม่ได้รับชดเชย ส่วนของโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่ได้อนุมัติก่อสร้าง 1.6 แสนหลัง แต่ตัดงบที่ขอเพิ่มใหม่อีก 3.3 หมื่นหลัง เนื่องจากต้องรอการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ให้ชัดเจน และหากตรวจสอบชัดเจนแล้ววิเคราะห์ว่า        เป็นโครงการที่ดีก็จะเดินหน้าต่อ  "ภาระดังกล่าวทั้งหมด ไม่น่าจะเป็นปัญหาการจัดหาเงินกู้ เพราะภาระหนี้สาธารณะยังอยู่ในสัดส่วน 41% ของจีดีพี ยังสามารถบริหารจัดการได้ ซึ่งกระทรวงการคลังสามารถกู้ หรือออกพันธบัตร
เพื่อชดเชยการขาดดุล เป็นเหมือนกับที่ผ่านมาที่ดำเนินการเป็นประจำอยู่แล้ว เมื่อมีการขาดดุลงบประมาณ"
  ม.ร.ว.
ปรีดิยาธรย้ำ
นอกจากนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เผยว่า กระทรวงการคลังได้เรียก 3 อธิบดีมาทำการชี้แจงถึงเรื่องการจัดเก็บรายได้ ซึ่งประกอบด้วย กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ภายหลัง 3 กรมดังกล่าวได้ทำการชี้แจงเรื่องการจัดเก็บภาษีประจำปีงบประมาณ 2550 เพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และต้องทำการจัดเก็บภาษีให้ได้แน่นอน ตามที่ประมาณการไว้ ซึ่งทุกคนได้แสดงความยืนยันว่า สามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างแน่นอน แม้ว่าราคาน้ำมันซึ่งเป็นตัวแปรหนึ่งเกี่ยวกับภาษีก็ตาม นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยภายหลัง     มอบนโยบายแก่ข้าราชการและลูกจ้างสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2549 ที่ผ่านมาว่า หลังจากที่รัฐบาลชุดใหม่ได้เข้ามาบริหารประเทศ ได้มอบนโยบายให้ สบน. เข้าไปดูแลโครงการเอสพีวี หรือ       นิติบุคคลเฉพาะกิจ ที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้ดำเนินการไป เช่น โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการโค 1 ล้านตัว โครงการแทรกแซงพืชผลทางการเกษตร  โครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน หรือเอสเอ็มแอล  ซึ่ง       การเข้าไปดูโครงการดังกล่าวนั้น เพราะมีความคิดว่าเป็นโครงการที่มีความเกี่ยวเนื่องกับงบประมาณ โดย สบน.จำเป็นที่จะต้องเข้าไปช่วยดูแลในเรื่องการบริหารความเสี่ยงเป็นหลัก  เหตุที่พึ่งเข้าไปดูโครงการเอสพีวี เพราะนโยบายรัฐบาลชุดใหม่ ให้นำนับรวมเข้ามาเป็นหนี้สาธารณะได้ เพราะอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับงบประมาณ          เราในฐานะ สบน. จำเป็นต้องเข้าไปดูแล  จากเดิมเป็นนโยบายของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ซึ่งโครงการเอสพีวี        คนกู้ไม่ได้ใช้เครดิตของรัฐบาล ดอกเบี้ยจึงสูงกว่ารัฐบาลกู้โดยตรง แต่เมื่อไม่มีความสามารถในการชำระหนี้และมีความเกี่ยวเนื่องกับงบประมาณจึงจำเป็นต้องเข้าไปดูแลด้วยในความเป็นจริงแล้ว โครงการเอสพีวี ถือว่าอยู่นอกกรอบของหนี้สาธารณะ แต่เผอิญเป็นเรื่องที่ผูกพันกับงบประมาณ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจบางแห่งเป็นหนี้สาธารณะ ไม่สามารถรับผิดชอบได้ด้วยตัวเอง สบน.     จึงจำเป็นต้องร่วมกับทีมงานของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เข้าไปดูแล   สบน. ดูแลหนี้สาธารณะ ตอนนี้ สบน. เข้าไปช่วยเหลือให้ความเห็นว่าอะไรเป็นหนี้สาธารณะให้ความเห็นแนวทาง เพราะในอนาคตหากเป็น       หนี้สาธารณะ เราต้องเข้าไปรับผิดชอบนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กล่าวว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2549            มีจำนวน 3,233,120 ล้านบาท หรือ 41.28% ของจีดีพี เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,967,704 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 911,473 ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 273,515 ล้านบาท และหนี้ขององค์กรของรัฐอื่น 80,428 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า          หนี้สาธารณะลดลง 4,613 ล้านบาท นายพงษ์ภาณุกล่าวว่า ในส่วนของนโยบายด้านอื่น ๆ ได้เน้นการบริหารหนี้ในเชิงรุก โดยได้วางหลักการเอาไว้คือ การจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการลงทุนของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ต้องมีต้นทุนต่ำ และอยู่ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่เหมาะสม และต้องมีความยั่งยืน ในด้านการบริหารเงินสดและเงินคงคลังก็ต้องบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องสภาพคล่อง ซึ่งในปีนี้จะทำการออกพันธบัตร       เพื่อชดเชยการขาดดุล 4.6 หมื่นล้านบาท โดยจะไม่ทำให้เกิดการขาดเงินสด และต้องดูแลรายจ่ายและรายได้  ในเบื้องต้นได้เตรียมที่จะออกพันธบัตรเพื่อชดเชยงบประมาณ 1.462 ล้านล้านบาท ซึ่งแนวทางการ           ออกพันธบัตรจะมีมากกว่าการออกตั๋วเงินคลัง คาดว่าภายในธันวาคมนี้ จะสามารถสรุปแนวทางการออกพันธบัตรได้อย่างชัดเจน และก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องออกในวงเงินสูงถึง 1.462 ล้านล้านบาทด้วยกรุงเทพธุรกิจ  สยามรัฐ  มติชน  ข่าวหุ้น 17 พฤศจิกายน 2549
คำสำคัญ (Tags): #การเงิน
หมายเลขบันทึก: 60550เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2006 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท