จิตป่วยช่วยอย่างไรในศตวรรษที่ 21


Acknowledgement for a highlighted topic talked by Dr. Ricardo Guinea จิตแพทย์ผู้นำ World Association for Psychosocial Rehabilitation หรือ WAPR ซึ่งเป็น NGO สหวิชาชีพฟื้นคืนสุขภาวะแก่ผู้มีประสบการณ์สุขภาพนานาชาติ

ผมดีใจที่ได้พูดคุยกับ Dr. Ricado ในงานประชุมนานาชาติที่ Permai Hospital เมื่อวานนี้และได้รับรู้สึกถึงความเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพจิตสังคมในรูปแบบสากลทางการแพทย์เชื่อมโยงกับการฟื้นคืนสุขภาวะทางสังคม คลิกชื่นชม WAPR ที่นี่

ความน่าสนใจของการฟื้นฟูสมรรถภาพจิตสังคม หรือ Psychosocial Rehabilitation (PSR) ซึ่งผมได้ศึกษาในหลักสูตร Master of Clinical Science ณ รร.กิจกรรมบำบัดออสเตรเลียด้วยทุนรัฐบาลบุคคลทั่วไประบุเฉพาะทาง PSR และก็การขึ้นคุณสมบัตินักกิจกรรมบำบัดเฉพาะทางก็เพิ่งจะผ่านมติของที่ประชุมคณะกรรมการวิชาชีพไม่กี่วันมานี้ แต่ผมก็พยายามนำ PSR โดยเน้นทั้ง Recovery Model ทางสุขภาพจิต และ Self-Management Model ทางสุขภาพกายมาประสมประสานในงานกิจกรรมบำบัดเสมอมา 8 ปีเต็ม และดีใจมากที่รพ.ศรีธัญญาได้ประกาศความเป็นเลิศเพื่อการพัฒนา Recovery Model คลิกที่นี่

ในการปฏิรูประบบการฟื้นฟูแบบ PSR แก่ผู้มีประสบการณ์สุขภาพจิตเริ่มปรับจากการรักษาในสภาพ Dark Side Hospices ในปี 1409 โดย Father Jofre และในปี 1789 คุณหมอ Philippe Pinel ได้เพิ่ม Light Side ด้วยกระบวนการแบบ Freedom for Humanity จนกระทั่งเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในประเทศที่พัฒนาแล้วและมีนโยบายการปรับสถานพยาบาลให้บูรณาการการให้บริการที่เป็นระบบเอื้อต่อการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษย์แบบ "De-institutional autonomy with friendly environmental organizing between hospitals - continuing of maximal care services and communities - utilizing assistant care services" เกิดการร่วมมือระดับ WHO-WAPR ในปี 1996 และ Output Management (OMS)-WAPR Declaration เน้นระดมการมีส่วนร่วมระหว่างบุคลากรสหวิชาชีพทางการแพทย์กับผู้รับบริการเพื่อส่งเสริมพันธกิจแห่งการส่งเสริมและเสริมสร้างสุขภาวะแห่งการเป็นพลเมืองดีของโลก (Life Citizenship) โดยไม่ใช่กระบวนการเยียวยาใดๆ (Not Healing Process) ดังนี้:-

  • ลดอาการทางจิตให้มากที่สุดและป้องกันมิให้เกิดอาการซ้ำ (Relapse prevention) ด้วยการจัดการทางชีวภาพ (Biological Management) เช่น การรักษาด้วยยา ร่วมกับการจัดการทางจิตสังคม (Psychosocial Management)
  • ลดภาวะที่เกิดจากการกระทำของบุคลากรทางการแพทย์ (Latrogeny)
  • เพิ่มศักยภาพการเข้าสู่สังคม (Social Competency)
  • ลดตราบาปและการแบ่งแยกทางสังคม (Stigmatization & Discrimination)
  • เพิ่มเครือข่ายการช่วยเหลือผู้ดูแลอย่างเป็นระบบ (Social Support System)
  • เพิ่มการเสริมพลังสร้างสุขภาวะแก่ผู้รับบริการ (Users' Empowerment)

Dr. Ricado ได้ย้ำถึงกระบวนการคิดเชิงระบบเริ่มจากระดับบุคคล ระดับการดูแลที่เป็นระบบ ระดับสังคม และระดับการวิจัย ในมิติ PSR ในผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตเรื้อรังและซับซ้อน

1) ระดับบุคคล โดยยกตัวอย่างการพัฒนาระบบจากการรักษาแบบเดิมใน Hospital ปี 1985 กลายมาเป็นการเริ่มมีห้องทีวีกลางบ้านพักผู้รับบริการในปี 2012 และขยายสู่บ้านที่อยู่ร่วมกันอย่างสมัครใจ หรือ Housing (a consensual placement) และเริ่มจัดหางานให้ผู้รับบริการมีโอกาสได้รับการจ้างงานแม้ว่าจะไม่ได้ทุกราย นับเป็นการเพิ่ม Self-esteem ที่สำคัญ ร่วมกับการสร้างสัมพันธภาพที่มั่นคง (Stable social relationship) เช่น A theater company, A football team ฯลฯ

2) ระดับการดูแลที่เป็นระบบ เน้นการฝึกฝนบุคลากรที่เกี่ยวข้องแบบทางการและเน้นบริบทเฉพาะเจาะจง อย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี (มิใช่การอบรมทั่วไป) กับการฝึกปฏิบัติในกลุ่มเล็กๆ แบบไม่เป็นทางการ และการหาแนวทางเพื่อเพิ่มพูนความเป็นเลิศ (แบบจุดประกายความรู้) ทาง PSR ให้ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการสุขภาพดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเพียงแค่สถานพยาบาลอาจไม่สามารถทำได้เต็มศักยภาพ...ควรทำพร้อมกับระดับสังคมผ่าน Case Manager เชื่อมโยง Healthcare กับ Social/community care

3) ระดับสังคม เพิ่มการสื่อสารให้มีกฎหมายส่งเสริมความเท่าเทียมกันของมนุษย์และควบคุมได้ดีเป็นรูปธรรมทางการดูแลทางการแพทย์และสังคมที่จำเป็นต่อความต้องการจริง เกิดการวางแผน การแก้ปัญหาเชิงระบบ การสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษา-สถานพยาบาล-NGOs ตลอดจนสื่อสาธารณะในรูปแบบที่หลาหลาย เช่น Forum, Campaigns"Nothing about Us without Us" , การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีประสบการณ์สุขภาพจิตที่สื่อสารสาธารณะให้สะเทือน/สะกิดใจบุคคลทุกระดับ คลิกชม (Citation with Acknowledgement Youtube: Dorothea Buck)

4) ระดับวิจัย แนวโน้มที่ควรพัฒนางานวิจัยคือ Recovery & Human Rights (Qualitative) Perspective กับ Early Attention (เช่น บทบาททางสังคมที่ควรเพิ่มทักษะการศึกษามากกว่าการลดอาการทางจิตในวัยรุ่น คลิก WHO Gap Program ที่นี่) มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือ Unbalancing Pharmacology/Biology Issues

และสุดท้าย Dr. Ricado ได้แสดงถึงพลังชีวิตแห่งการฟื้นคืนสุขภาวะหรือ Recovery of Mental Health ซึ่งเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์สำคัญที่สามารถนำไปคิดต่อยอดเชิงกระบวนการ แนวทาง การเข้าถึง ฯลฯ เน้นเปลี่ยนแปลงจาก Healing of Illness to Everyday Living of Disability เกิดการเปลี่ยนแปลงบทบาทที่มีศักยภาพของความเป็นมนุษย์ (Expect in New Whole Life, Not Technique)

โดยหลักฐานเชิงประจักษ์มีทั้งการให้คำนิยามของ Recovery เชิงบริการสุขภาพ ได้แก่ การจัดระบบบริการที่เพียงพอต่อการควบคุมอาการทางจิตให้เหลือน้อยที่สุด การฝึกทักษะการทำงานจนประกอบอาชีพที่มีความหมายในชีวิต การให้โอกาสใช้ชีวิตทางสังคมได้อย่างพึ่งพาตนเองได้ กับการให้คำนิยามของ Recovery เชิงบริการสังคม เช่นAnthony 'A new of meaningful life beyond intervention'


หมายเลขบันทึก: 605265เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2016 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2016 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบพระคุณมากครับสำหรับกำลังใจจากอ.จันทวรรณ พี่โอ๋ คุณยายธี อ.เพ็ญศรี และอ.วินัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท