ฉบับที่ ๐๔๒ " TRC e learning class 3 สานสัมพันธ์คนทำงานควบคุมยาสูบ"


หลังกลับจากการอบรมใน โครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาขีดความสามารถในการควบคุมยาสูบของประเทศไทย หลักสูตร ระบบการศึกษาทางไกล รุ่นที่ 3 จัดโดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ซึ่งจัด ไปเมื่อ วันที่ 28-30 มี.ค. 59 ณ ศูนย์การเรียนรู้วิถีพอเพียงในเครือ Betagro สถานที่นั้นคือ ป่าสักฮิลล์ไซต์รีสอร์ท แวดล้อมด้วยธรรมชาติและทะเลสาป ในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

วันแรกทีมศจย.ได้พาผู้เข้าร่วมอบรมไปนั่งรถรางชมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเข้าสู่ที่พักเพื่อพักผ่อนตามอัธยาศัย


การอบรมหลักสูตรการเรียนทางไกล รุ่นที่ 3 มีผู้เข้าร่วมการอบรม 50 คน เข้าสู่การอบรม ซึ่งเริ่มการบรรยาในหัวข้อต่างๆ “สถานการณ์การควบคุมยาสูบของประเทศไทย” โดยผู้เชี่ยวชาญวงการควบคุมยาสูบ นพ.หทัย ชิตานนท์ ผู้อำนวยการหลักสูตรทางไกล ศจย. ต่อด้วยหัวข้อการบรรยายอื่นๆที่คนทำงานควบคุมยาสูบจะได้รับความรู้ที่ถูกต้อง อย่างประเด็นแนวทางการประเมินการควบคุมยาสูบระดับพื้นที่ แผนปฏิบัติการควบคุมยาสูบและตัวชี้วัด ปี พ.ศ. 2559 โดยมีทีมอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรทางไกล ศจย. และวิทยากรเชี่ยวชาญ อาทิ ทพญ.ดร.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ และได้รับเกียรติจาก พญ.ปานทิพย์ โชติเบญจมาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ มาให้ความรู้ในการอบรมครั้งนี้ด้วย

หลังจากการอบรมเสร็จในวันแรก ทางทีมงาน ศจย. ได้จัดพาให้ผู้เข้าร่วมได้ร่วมกิจกรรมภายในรีสอร์ทคือ การเข้าชมศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียง “ศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียง เครือเบทาโกร” ในบริเวณป่าสัก ฮิลล์ไซด์ รีสอร์ท อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี เป็นอีกหนึ่งโครงการที่เป็นแหล่งให้ความรู้ทางทฤษฎีเกี่ยวกับแนวคิดเกษตรพอเพียง ที่มีการจัดสรรการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเปิดให้ประชาชนทุกคน ทุกวัย ได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ ภายในศูนย์การเรียนรู้ มีการจัดสร้างฐานการเรียนรู้ ทั้งหมดจำนวน 9 ฐาน

เริ่มตั้งแต่ฐานนาข้าว ฐานแปลงผัก ฐานปุ๋ยหมัก ฐานไก่ไข่ ฐานหมูหลุม ฐานเผาถ่าน ฐานไบโอดีเซล-ไบโอแก๊ส ฐานแปรรูปผลิตภัณฑ์ และฐานบำบัดน้ำเสีย แต่ละฐานจัดแสดงองค์ความรู้ในด้านนั้นๆ และเชื่อมโยงจากฐานหนึ่งไปสู่อีกฐานหนึ่ง อย่างผลผลิตข้าวเปลือก นำมาสีเป็นข้าวสารส่งเข้าสู่ครัวภายในรีสอร์ตและจำหน่ายออกสู่ตลาดภายนอก ผลผลิตที่ได้ไม่ได้มีเพียงข้าวสาร ยังมีรำข้าวเอาไปเลี้ยงหมูหลุมอีก 16 ตัวต่อ 4 หลุม ผลที่ได้ตามมาคือปุ๋ยคอกไปใช้กับพืชผัก ผู้เข้าร่วมก็ได้ร่วมรับความรู้กันอย่างทั่วถึง

เข้าสู่การอบรมในวันที่ 2 อาจารย์ในหลักสูตรทางไกล ศจย. ได้มอบหมายให้ผู้เข้าร่วมอบรม จัดทำและนำเสนองาน mini thesis แต่ละกลุ่ม ซึ่งแต่กลุ่มได้ใช้วิธีการนำเสนอที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้และมีการค้นคว้าอย่างตั้งใจมากค่ะ ฝากรูป ^0^

ในคืนวันสุดท้าย เราได้มี “กิจกรรมแคมป์ไฟดนตรี สานสัมพันธ์คนทำงานด้านควบคุมยาสูบ "

สิ่งที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้ คือ ได้องค์ความรู้ด้านวิชาการควบคุมยาสูบจากผู้เชียวชาญอย่างแท้จริง ได้เครือข่ายที่คนทำงานที่เข้มแข็งด้านควบคุมยาสูบเพื่อทำงานด้านบุหรี่ต่อไป เสริมและสานพลังคนทำงานด้านควบคุมยาสูบในหลายพื้นที่ในจังหวัดต่างๆของประเทศไทย จนสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการอบรมไปพัฒนาในวงการควบคุมยาสูบอย่างยั่งยืน

และที่ขาดไม่ได้เลยค่ะ ได้สร้างมิตรภาพจากเครือข่ายคนทำงานด้านงานควบคุมยาสูบจากรุ่นสู่รุ่น ขยายต่อไปเรื่อยๆ เพื่อความยั่งยืน เป็นกำลังใจให้คนทำงานด้านยาสูบต่อไปค่ะ

หมายเลขบันทึก: 604949เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2016 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2016 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท