ประวัติหลวงพ่อวิริยังค์ ตอน พระวิริยังค์เขียนมุตโตทัย


หลวงพ่อวิริยังค์บันทึกในตอนนี้ว่าหลังปวารณาออกพรรษาแล้ว(๒๔๘๔) ท่านพระอาจารย์มั่นก็ได้ไปพักที่บ้านนามนซึ่งไม่ไกลจากบ้านโคกเท่าไรนัก หลวงพ่อไมได้ถูกให้ตามไปแม้เรียนว่าขอตามไปท่านก็ไม่ให้ไป ทั้งๆที่เป็นพระอุปัฏฐากท่านทุกอย่างในขณะนั้น

มารู้อีกทีก้เมื่อได้ตามไปหาท่านที่วัดบ้านนามน ไปเป็นอาคันตุกะปฏิบัติท่านเหมือนเดิม เสร็จแล้วก็ลากลับบ้านโคก ท่านอาจารย์มั่นฯถามว่าได้ลาอาจารย์กงมาหรือยัง ทำให้นึกว่าที่ไม่ได้ให้ตามไปเพราะยังไม่ขออนุญาตนั่นเอง และพออนุญาตอาจารย์กงมาก็ให้มาด้วยความเต็มใจ

หลวงพ่อได้ประสงค์จะบันทึกธรรมของพระอาจารย์มั่นแม้จะไม่ยอมให้ใครบันทึกก็ตาม ก็แอบันทึกธรรมเทศนาตลอดไตรมาสด้วยชื่อ "หนังสือมุตโตทัย"และพยายามเก็บไว้เป็นความลับตลอดหลังถวายนวดเสร็จจะรีบกลับที่พักแล้วรีบจับปากกาเขียนธรรมที่ได้ฟังมาในแต่ละวัน ด้วยกลัวว่าความจำจะเลือนลางไป

ตอนนั้นอยู่ในช่วงสงครามปากกาก็ไม่มีเมื่อหมดหมึกหลวงพ่อก็นำผลสมอไทย ผลเหลื่อม ผลมะขามป้อม มาตำแช่น้ำแล้วเอาเหล็กแช่ลงไป ๒-๓วัน เมื่อได้ที่ก็เอาเขม่าติดก้นหม้อใส่เข้าไปคนจนเข้ากันดี เอามาใช้ก็ได้ผลจนเขียนได้เป็นเล่ม

และในที่สุดหลวงพ่อวิริยังค์ก็ได้บอกแก่พระอาจารย์ว่าได้บันทึกธรรมไว้ ก็ไม่ได้ว่าอะไร ทำให้โล่งอกโล่งใจ หนังสือมุตโตทัยนั้นแม้จะมีเนื้อหาไม่มากนักแต่ก็บรรจุถ้อยคำเป็นคำสอนที่ดีมากๆ จน ณ บัดนี้ได้พิมพ์ไปแล้วหลายหมื่นเล่ม และจะต้องมีการพิมพ์อีกต่อๆไป

ในตอนท้ายของบันทึกหลวงพ่อได้เขียนไว้ถึงการปฏิบัติถวายอาจารย์มั่นที่ท่านจะคอยสอนทุกๆอย่าง เป็นต้นว่าวันหนึ่งขณะที่หั่นผักถวายท่านที่ต้องฉันทุกวัน เพราะฟันของท่านไม่ดีต้องใช้ฟันเทียม จึงต้องหั่นผักให้ละเอียด วันนั้นหลวงพ่อหั่นพิเศษแบบหยาบๆ ท่านเหลือบมองเห็นจึงถามว่า

"วิริยังค์ทำไมวันนี้จึงหั่นหยาบนัก"

"มันอร่อยดีครับ หั่นละเอียดแล้วมันไม่อร่อย"

"นี่แหล่ะหนาเขาว่า อวดเขี้ยวก็คือหมา อวดงาก็คือช้าง"ท่านอาจารยืมั่นว่าขณะพระเณรอยู่กันเต็มศาลาโดยไม่ทันตั้งตัว

คำสอนนี้สอนนี้หมายความว่า การไปเที่ยวอวดตัวต่อใครๆว่าว่าเก่ง ต้องการชื่อเสียง เป็นเหตุให้เกิดความเชื่อผิดๆต่อปวงชนเป็นอันมาก ก็เพื่อต้องการหาชื่อเสียงความโด่งดังให้แก่ตัวเอง

ท่านดุด่าเปรียบเปรยเหมือนสัตว์เดรัจฉาน ท่ามกลางพระเณรมากมายโดยไม่สนว่าหลวงพ่อวิริยังค์มีเจตนาดีที่จะให้ฉันอร่อยสักวันหนึ่งเท่านั้น หลวงพ่อบันทึกไว้ว่าจะจดจำจนวันตายกับคำสั่งสอนนี้

พระเถระที่พอจำได้ในวันนั้นมี พระอาจารย์หลุย พระอาจารย์มหาบัว พระอาจารย์เนตร์ พระอาจารย์เนียม เป็นต้น

..................

หมายเลขบันทึก: 604586เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2016 13:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2016 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตอนต่อไป ตอน พักวัดร้างพระอาจารย์มั่นฯเสี่ยงบารมีให้กับพระวิริยังค์...

โปรดติดตามเร็วๆนี้...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท