Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

การถอดบทเรียนการดำเนินงานหมู่บ้านศีล 5 ของจังหวัดนครปฐม


แพรภัทร ยอดแก้ว นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง " การถอดบทเรียนการดำเนินงานหมู่บ้านศีล 5 ของจังหวัดนครปฐม" ในการประชุมวิชาการระดับชาติสังคมความรู้และดิจิตอล จัดโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 25 – 26 ธันวาคม 2558 ณ โรงแรมแคนทารี่ฮิลส์ จังหวัดเชียงใหม่

การถอดบทเรียนการดำเนินงานหมู่บ้านศีล 5 ของจังหวัดนครปฐม

The Lesson Learned about Five Precepts Village at Nakhon Pathom Province

แพรภัทร ยอดแก้ว[1]

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อติดตามผลการดำเนินงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของจังหวัดนครปฐม และ 2)เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของจังหวัดนครปฐม ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการถอดบทเรียนการดำเนินงานได้แนวปฏิบัติที่ดี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำทั้งฝ่ายสงฆ์และผู้นำท้องถิ่น ด้านการประชาสัมพันธ์ที่ดี โดยใช้การประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ด้านการจัดกิจกรรมที่ดีซึ่งอาศัยทุนเดิมของชุมชนที่มีอยู่ และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในท้องถิ่นและ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนที่ดี จากวัดซึ่งนำโดยพระสงฆ์และจากหน่วยงานภาครัฐทั้งในส่วนสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครปฐมและสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม2) การดำเนินงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดนครปฐมมีรูปแบบการทำงานแบบเน้นการร่วมมือระหว่างคณะสงฆ์กับผู้นำท้องถิ่นตั้งแต่ระดับจังหวัดจนถึงระดับหมู่บ้านมีแผนการดำเนินงาน 3 ระยะตามแนวทางของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้แก่ ระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาว มีแนวทางการดำเนินงานในลักษณะคณะกรรมการทุกระดับและมีกิจกรรม 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมหลัก ได้แก่ การสวดมนต์ปฏิบัติธรรมและกิจกรรมเสริม ได้แก่ กิจกรรมอื่นๆที่ส่งเสริมการปฏิบัติศีล 5 และการรณรงค์การรักษาศีล 5 กิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น โดยมีหมู่บ้านที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นได้แก่ วัดวังตะกู อำเภอเมือง และวัดสำโรง อำเภอนครชัยศรี

คำสำคัญ: หมู่บ้านรักษาศีล 5,ถอดบทเรียน, จังหวัดนครปฐม

Abstract

This study was a qualitative research. The objectives of the research were 1) to monitor the implementation of Five Precepts Village at Nakhon Pathom Province and 2) to gain Lesson Learned about Operating Five Precepts Village at Nakhon Pathom Province. The results were found. 1) the lessons from operational has best practices in four aspects: the good leaders in both parties, clergy and local leaders, the good publicity by using all forms of publicity, the activities, which cost the lives of existing communities, and the participation of various sectors in the local communities and to promote better support the measure, which was led by monks and by government agencies in Nakhon Pathom province. 2) Operating Five Precepts Village of Nakhon Pathom Province have a working model which emphasizes the collaboration between buddhist clergy and local leaders from the provincial down to the village. There are plans for a 3-phase program of the Office of National Buddhism are urgently medium term and long term. The operation with the employees at all levels and has 2 types of activities, including activities such as prayer and dhamma retreat , and other activities that promote the 5 precepts and campaign 5 preceptsin cultural traditions. The village is the performance highlights include Wat Wang Taku in Muang District and Wat Samrong in Nakhon Chai Si District.

Keywords: Five Presepts Village,Lesson Learned, Nakhon Pathom Province


[1]อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาอาเซียนศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

สรุปผลการวิจัย

จากผลการวิจัยข้างต้น สามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้ดังนี้

1. ผลการถอดบทเรียนการดำเนินงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดนครปฐม สรุปได้ว่า มีแนวปฏิบัติที่ดีจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทั้ง 7 หมู่บ้านนำร่อง แบ่งออกเป็น 4ประเด็นได้แก่

(1) การเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำของทั้งฝ่ายสงฆ์และผู้นำท้องถิ่น ซึ่งมีการดำเนินงานประสานความร่วมมือกันเป็นอย่างดี

(2) การประชาสัมพันธ์ที่ดี โดยใช้ศักยภาพด้านการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบและมีความต่อเนื่อง

(3) การจัดกิจกรรมที่ดี ซึ่งอาศัยทุนเดิมของชุมชนที่มีอยู่ และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในท้องถิ่นและ

(4) การส่งเสริมสนับสนุนที่ดีทั้งโดยวัดซึ่งนำโดยพระสงฆ์และโดยหน่วยงานภาครัฐทั้งในส่วนสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครปฐมและสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม ที่มีการดำเนินงานสนับสนุนร่วมกันอย่างจริงจังต่อเนื่อง

2. ผลการดำเนินงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของจังหวัดนครปฐม พบว่า จังหวัดนครปฐมมีรูปแบบการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมทั้งในส่วนคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม นำโดยเจ้าคณะจังหวัดและจังหวัดนครปฐมนำโดยผู้ว่าราชการจังหวัด มีการจัดตั้งคณะทำงานทุกระดับตั้งแต่ระดับจังหวัดจนกระทั้งถึงระดับหมู่บ้าน มีการดำเนินงานตามแผน 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะเร่งด่วน (เดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2557)เน้นการประชาสัมพันธ์โครงการ ระยะที่ 2 ระยะปานกลาง (เดือนตุลาคม 2557 – กันยายน 2558) เน้นการรับสมัครเข้าร่วมโครงการและการสร้างแกนนำในการดำเนินงาน และระยะที่ 3 ระยะยาว (เดือนตุลาคม 2558 – กันยายน 2560) เน้นการขยายผลและสร้างความยั่งยืน โดยในระยะเร่งด่วน ได้มีการดำเนินงานในหมู่บ้านนำร่อง 7 แห่ง (อำเภอละ 1 แห่ง) แนวทางการดำเนินงานในระยะที่ 1 และ 2 ที่ผ่านมา มีการดำเนินงานโดยเน้นการประชุมหารือและจัดทำแนวปฏิบัติต่างๆ จากส่วนกลางเพื่อสร้างความเข้าใจสู่ท้องถิ่น รวมทั้งมีการจัดทำแผนการดำเนินงานในระดับอำเภอ เพื่อส่งเสริมให้อำเภอร่วมดำเนินการวางแผนการดำเนินงานในระยะยาวกับตำบลและหมู่บ้านต่อไป

ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ผลความสำเร็จและปัญหาการดำเนินงานที่ผ่านมา สรุปได้ว่า หมู่บ้านหรือชุมชนที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานที่ผ่านมา เพราะมีผู้นำที่เข้มแข็งทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายผู้นำท้องถิ่น ประกอบกับปัจจัยเชิงพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นสังคมบ้านมากกว่าสังคมเมืองทุนเดิมทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่เข้มแข็งอยู่แล้ว

ข้อเสนอแนะและการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

1) ข้อเสนอแนะมีดังนี้

1.1) ควรมีการพัฒนาหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบเพื่อสร้างแบบอย่างในการดำเนินงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 และนำไปสู่การขยายผลอย่างเป็นรูปธรรมในจังหวัดนครปฐมต่อไป โดยการคัดเลือกจากหมู่บ้านนำร่องที่มีผลการดำเนินงานระยะแรกที่มีความโดดเด่นและมีการสนับสนุน ส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น แล้วจัดทำเป็นคู่มือแนวทางการดำเนินหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต่อไป

1.2) ควรจัดทำการวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาพัฒนาหมู่บ้านรักษาศีล 5 ให้มีความยั่งยืนต่อไป

1.3) ควรนำเสนอภาครัฐโดยเฉพาะรัฐบาลให้มีการส่งเสริมหมู่บ้านรักษาศีล 5 อย่างจริงจัง โดยการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอต่อการดำเนินงาน

1.4) ควรจัดระเบียบทางสังคมให้มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิตตามหลักศีลธรรมอย่างจริงจัง โดยมีมาตรการทางกฎหมายกับแหล่งอบายมุขและการปฏิบัติที่ผิดศีลธรรมอย่างเข้มงวด

1.5) ควรเร่งดำเนินการในการสร้างอาสาสมัครพุทธศาสนาเพื่อทำงานในเชิงเครือข่ายในการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 และกิจการทางพระพุทธศาสนาในท้องถิ่นให้มีความแพร่หลายมากยิ่งขึ้น โดยการรับสมัครจากทุกหมู่บ้านและมีการจัดการอบรมและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง

2) การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ มีแนวทางดังนี้

2.1) การนำผลการวิจัยในครั้งนี้โดยเฉพาะผลการถอดบทเรียนไปเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนการพัฒนาหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในระยะยาวได้ เช่น จากผลการวิจัยที่พบว่า ผู้นำที่ดีมีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 นั้น สามารถนำผลการวิจัยนี้ไปเป็นแผนการพัฒนาผู้นำเพื่อขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ได้

2.2) สามารถนำข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ ไปต่อยอดการดำเนินงานที่ผ่านมาเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานได้

กิตติกรรมประกาศ

ผู้วิจัยขอขอบพระคุณและขอบคุณผู้มีส่วนสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้วิจัยสามารถดำเนินการวิจัยไปได้อย่างสำเร็จลุล่วงด้วยดี ประกอบด้วย พระเดชพระคุณพระศรีวิสุทธิวงศ์ เจ้าคณะอำเภอบางเลนและหัวหน้าพระวิปัสสนาจารย์จังหวัดนครปฐม นายวิโรจน์อุ่นทรัพย์ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครปฐม ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเดชนิลพันธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุษา น้อยทิม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมและกัลยาณมิตรทุกท่านที่มิได้กล่าวถึงในที่นี้ แต่มีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้วิจัยสามารถดำเนินการวิจัยจนบรรลุผลในครั้งนี้

เอกสารอ้างอิง

แพรภัทร ยอดแก้ว นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง " การถอดบทเรียนการดำเนินงานหมู่บ้านศีล 5 ของจังหวัดนครปฐม" ในการประชุมวิชาการระดับชาติสังคมความรู้และดิจิตอล จัดโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 25 – 26 ธันวาคม 2558 ณ โรงแรมแคนทารี่ฮิลส์ จังหวัดเชียงใหม่

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/user/praepat/profile


หมายเลขบันทึก: 604528เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2016 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2016 13:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

Abstract ควรปรับให้อ่านแล้วเข้าใจความหมายดีกว่าแปลตรงตัวคำต่อคำแบบนี้นะคะ น่าจะมีเจ้าของภาษาช่วยอ่านแล้วลองถามความเข้าใจดูนะคะ พี่อ่านแล้ว ค่อนข้างงง มีหลายประโยคที่เจ้าของภาษาจะไม่เขียนแบบนี้แน่นอนด้วยค่ะ ขออนุญาตทักด้วยความตั้งใจดีนะคะ


ขอบคุณค่ะ พอดีหาเจ้าของภาษาที่น่ารัก ใจดี สละเวลามาปรับแก้ abstract ให้ไม่ได้นะคะ

เลยออกมาแบบครึ่งๆกลางๆ ตามความสามารถของผู้วิจัยค่ะ

ไม่เก่งภาษาอังกฤษ แต่รักในการทำวิจัยค่ะ

นำมาเผยแพร่เพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนความรู้ในการทำวิจัยค่ะ

แพรไม่ได้นำเสนอในระดับนานาชาติค่ะ และไม่มีเงินจ้างแปล Abstract 55

ขอโทษด้วยนะคะ ที่แปลและเขียนภาษาอังกฤษออกมาอ่านไม่รู้เรื่องขนาดนี้

เฮ้อ!.....

ขอบคุณที่อาจารย์ยินดีรับคำติติงนะคะ ถ้าพี่มีเวลาจะลองหาทางช่วยให้อาจารย์สามารถทำได้ดีขึ้นในอนาคตนะคะ เสียดายงานดีๆแบบนี้น่าจะได้เผยแพร่ให้กว้างขวางนานาชาติได้นะคะ อาจารย์ขยันทำมากๆด้วย น่าส่งเสริมสนับสนุนออกค่ะ

อาจารยค่ะพอดีหนูจะทำวิจัยเรื่องนี้พอดีเลยอยากขอคำแนะนำหน่อยค่า

แนะนำวิจัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท