ฟูโกต์ กับ การปฏิรูปการศึกษา ตอนที่ 3


การบ่งชี้ครั้งสุดท้าย

บทความขนาดสั้นนี้คงไม่สามารถจะครอบคลุมความคิดของฟูโกต์ได้ แต่ภายใน 2-3 บรรพ จะแสดงให้เห็นถึงการคิดที่ผิดในเรื่องแนวคิดของฟูโกต์กัน

ประเด็นที่ 1 ฟูโกต์ไม่ได้ต่อต้านอำนาจทุกชนิด เขาไม่เคยกล่าวว่าโรงเรียนเป็นสถาบันที่ใช้อำนาจ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เลวสุดๆ ฟูโกต์ไม่เคยปฏิเสธแนวคิดเรื่องการศึกษา ที่ทำหน้าที่ควบคุม หรือกำหนดเส้นทางชีวิต ดังจะเห็นได้จากการประเมินระบบการศึกษาแบบคลาสสิค (classical educational systems) ดังที่ Mark Olssen ชี้ให้เห็นถึงฟูโกต์กับการศึกษาว่า “จงให้การศึกษาแก่ตนเอง และดูแลตนเองไปพร้อมๆกัน (ดูแลตนเองก็คือจริยธรรมในความคิดของฟูโกต์) ในการสัมภาษณ์เรื่องเมืองกรีกและรัฐ (Greek city-state) ดูเหมือนฟูโกต์จะให้ความสำคัญกับบทบาทของครู ฟูโกต์กล่าวว่า “เป็นหลักการที่ยอมรับกันมานานแล้วว่า มนุษย์เราไม่สามารถอยู่ได้คนเดียว หากแต่ต้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่น” ทั้งหมดที่กล่าวมานี้สอดคล้องต้องกันกับแนวคิดของฟูโกต์ ที่เขามองว่าสถาบันต้องใช้อำนาจในลักษณะใดลักษณะหนึ่งอยู่ดี เพราะอำนาจเกิดขึ้นในปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ประเด็นสำหรับข้อที่ 1 นี้ก็คือ ปัจเจกบุคคล (โดยเฉพาะนักเรียน) จะใช้อำนาจอย่างไร? และต่อต้านอำนาจอื่นๆอย่างไร?

ประเด็นที่ 2 ก็คือฟูโกต์ไม่เคยปฏิเสธระบบทุกชนิดของการสอนที่จัดโดยรัฐบาลหรือเอกชน หากปัจเจกบุคคลเริ่มสร้างพื้นที่แห่งการต่อต้าน พวกเขาสมควรได้อาวุธและเกียรติยศที่ทำให้พวกเขาต่อสู้เพื่อชีวิตของเขาเอง สุดท้ายก็คือความยุ่งยากที่ระบบนั้นจะมีการคอรัปชั่นหรือไม่

ประเด็นที่ 3 ก็คือการเกิดขึ้นมาอย่างรวดเร็วของการใช้แนวคิดของฟูโกต์ในเรื่องการศึกษาเกี่ยวกับการศึกษา (educational studies) การใช้ผลงานของฟูโกต์ในเรื่องการศึกษาเพิ่งเกิดมาเมื่อไม่นานมานี้ แต่นักทฤษฎีจำนวนมากต่างแย่งชิงกันใช้แนวคิดดังกล่าวราวกับมีระเบิด งานเขียนของฟูโกต์เกี่ยวกับการศึกษาเริ่มทำจากยุค 1980 จนถึงยุคต้น 1990 สิ่งนี้ต่างแสดงให้เห็นถึงแนวคิดของเขาเกี่ยวกับการศึกษา ฉันจะขอนำเสนองานของ James Marshall ซึ่งผลิตงานเรื่องนี้ไว้จำนวนมาก งานของ Marshall ที่เกี่ยวกับฟูโกต์ก็คือ การเน้นในเรื่องการก่อร่างทางการศึกษา (educational establishment) ที่ส่งผลต่อมนุษยนิยมคลาสสิค (classical humanism), เสรีนิยมเชิงการรู้แจ้ง (Enlightenment liberalism), และต่อต้านในแนวคิดเรื่องการศึกษาจะสนับสนุนหรือรับรองความก้าวหน้าของสังคมและความมีอิสรเสรีของมนุษย์ (autonomy) หนึ่งในการอ้างหลักที่ Marshall ได้มาจากฟูโกต์ก็คือความเข้าใจที่เรามีต่อสถาบันสมัยใหม่ เช่น รัฐบาลใช้อำนาจจนสามารถสร้างปัจเจกบุคคลที่เชื่อฟังและทำตามคำสั่งของรัฐ เพราะพวกเขาถูกสร้างให้คิดว่าพวกเขามีอิสรเสรีเหนือสิ่งอื่นใด

การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นถึงมุมมองของฟูโกต์ที่มีต่อจิตวิทยาการศึกษาด้วย (educational psychology) นักวิชาการที่ยึดแนวคิดของฟูโกต์มาใช้ในจิตวิทยาการศึกษาจะกล่าวว่าการสอนก็เป็นรูปแบบของการควบคุมเชิงบริหาร แต่ซ่อนอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งผลที่จะเกิดขึ้นก็คือความสูญเปล่า

แปลและเรียบเรียงจาก

David M. Cheshier. Foucault & Educational Reform.

หมายเลขบันทึก: 604419เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2016 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2016 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท