ฟูโกต์กับการปฏิรูปการศึกษา ตอนที่ 2


สถาบันการศึกษาในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของอำนาจในเชิงระเบียบวินัย (disciplinary power)

ทุกวันนี้ ผู้อ่านที่อ่านปรัชญาของฟูโกต์บ่อยครั้งที่เริ่มต้นในการสังเกตว่าฟูโกต์จะเกี่ยวพันเรื่องอำนาจเป็นส่วนใหญ่ กล่าวในอีกแง่หนึ่งก็คือ อำนาจถูกสร้างโดยสถาบันได้อย่างไร, อำนาจกระจายในสังคมอย่างไร (โดยมากแล้วจะเป็นการแทรกซึม ไม่ได้เห็นได้โดยตรง) และสุดท้ายจะต่อต้านอำนาจนั้นอย่างไร ถึงแม้จะมองว่าการมองฟูโกต์แต่ในเรื่องอำนาจนั้นเป็นเรื่องดี แต่ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจ (power relationship) คือสิ่งที่ฟูโกต์สนใจ ในความเป็นจริงแล้ว ครั้งหนึ่ง ฟูโกต์ได้ยืนยันว่า จุดมุ่งหมายของงานฉันตลอดเวลา 20 ปี ไม่ได้วิเคราะห์แค่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังสนใจในเรื่อง “ประวัติศาสตร์ที่มีวิถีที่แตกต่างกัน (ดำรงอยู่ในวัฒนธรรม) ทำให้มนุษย์เราดำรงชีพอยู่เป็นตัวตน (subjects)” (กล่าวให้ง่ายก็คือ ประวัติศาสตร์ที่มนุษย์เราถูกทำให้เป็นตัวตน)

ความแตกต่างดังกล่าวอาจดูทำให้เรารู้สึกสับสน แต่ในความเป็นจริงแล้วตัวตนคือสิ่งที่ฟูโกต์สนใจ ในการทำให้ประเด็นเรื่องตัวตนมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น จะขอยกตัวอย่างการถกเถียง (debate) ระหว่างฟูโกต์ กับนักทฤษฎีภาษาศาสตร์ที่ชื่อว่า โนม ชอมสกี (Noam Chomsky) การถกเถียงในเรื่องตัวตนของมนุษย์ สำหรับชอมสกีแล้ว การสำรวจพฤติกรรมของมนุษย์ต้องแสดงให้เห็นถึงธรรมชาติของสภาวะมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง (the essential nature of human beings) ถ้าธรรมชาติของมนุษย์ไม่คงที่ หรือ เห็นได้ชัดเจนแล้ว เราจะพูดถึงข้อค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อตัวมนุษย์ได้อย่างไร? (กล่าวคือต้องวัดได้) อย่างไรก็ตามฟูโกต์เปลี่ยนคำถามนี้ กล่าวคือ เขาให้ความสนใจอย่างน้อยๆกับธรรมชาติของมนุษย์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่เขากลับสนใจว่า สังกัป, มโนทัศน์, ความคิดรวบยอด ในเรื่องธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงมาตลอดอย่างไรมากกว่า มีบางคนอาจสังเกตว่าฟูโกต์สนใจในเรื่องหน้าที่ของมนุษย์ (the function of human being) มากกว่าที่จะตรวจสอบการดำรงอยู่ (existence) ของมนุษย์ สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าฟูโกต์จะคิดว่ามนุษย์แต่ละคนแตกต่างกัน หรือกระทำแตกต่างกัน แต่หากเราคิดว่าธรรมชาติของมนุษย์เหมือนกันแล้วหละก็ เราอาจพลาดสิ่งที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งก็คือ ความเข้าใจในเรื่องวิถีต่างๆที่เราถูกกระทำให้เหมือนกัน โดยธรรมชาติของปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันนั่นเอง

หนึ่งในบรรดาสถาบันที่สอนเราให้ใช้และโต้ตอบกับอำนาจในวิถีทางที่เป็นไปได้ก็คือโรงเรียน โรงเรียนเป็นสิ่งที่ฟูโกต์ (และคนอื่นๆ)ว่าเป็นสถาบันที่ทำให้ทุกอย่างเข้ารูปเข้ารอย หรือกระบวนทำให้ทุกสิ่งเป็นปกติ (normalizing institutions) ส่วนหนึ่งฟูโกต์ให้เหตุผลว่าโรงเรียนสามารถสั่งสอนผู้คนจำนวนมากๆได้ และฉากโรงเรียนมัธยมก็เป็นสถานบันและใช้อำนาจในลักษณะเผด็จการ นักเรียนต้องถูกแบ่งแยกไปตามชั้นที่มีเวลากำหนดไว้อย่างชัดเจน การจัดชั้นเรียนหลายชั้นก็แบ่งเป็นลำดับสูงต่ำ (hierarchical) (จากเก่งไปอ่อน): นักเรียนต้องหันหน้าไปข้างหน้า เรียงลำดับต่อหน้าบุคคลที่ทรงอาญาสิทธิ์ (authority figure) ซึ่งปกติแล้วจะยืนอยู่หน้าห้อง และต้องใช้ภาษาที่เป็ฯทางการกับเขา ครูส่วนใหญ่จะใช้กระบวนการทดสอบเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบท่องจำ และการคงไว้ซึ่งการจำ การสอบในลักษณะนี้ข้อเท็จจริงจะอยู่หน้า แต่สังกัป, ความคิดรวบยอด, มโนทัศน์จะอยู่ข้างหลัง โดยนัยยะนี้นักเรียนต้องเรียนเพื่อที่จะสอบการทดสอบระดับชาติ (standardize test) มากกว่าที่จะเรียนเพื่อความเจริญงอกงามทางปัญญา

บุคคลที่วิพากษ์โรงเรียนและรูปแบบการสอนในลักษณะนี้โดยมากจะไม่โทษพวกครู ครูที่ทำหน้าที่พิเศษภายใต้ความเครียดและการไม่สนับสนุนใดๆจากรัฐ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่าครูทำหน้าที่ตามคำสั่งของผู้บริหาร ครูที่สอนในโรงเรียนที่เลวร้ายที่สุด (มีนักเรียนน้อย?) มักที่จะหาแรงจูงใจในการสอน แทนที่จะทำเอกสารการสอนเพื่อผลักนักเรียนไปตามแผนการสอนแบบทื่อๆ

สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าการศึกษาไม่เกิดขึ้นในโรงเรียน ครูที่มีความสามารถและนักเรียนที่มีใจในการแสวงหาความรู้ย่อมต้องเจออุปสรรคกันอย่างมากหลายทั้งนั้น แต่ภายใต้สถานการณ์ที่ดีที่สุด นักวิพากษ์เช่นฟูโกต์ และคนอื่นๆที่อยู่ภายใต้นาม การสอนเชิงวิพากษ์ (critical pedagogy) ให้ความสนใจกับนักเรียนที่เรียนภายใต้ห้องเรียนแบบเผด็จการมากกว่า นักเรียนพวกนี้จะเชื่อฟังรัฐราชการ, มีความชอบในการแก้ไขปัญหาแบบเกิดขึ้นในทันทันใด มากกว่าที่จะชอบเรียนสื่อการสอนจริงๆ และจะเคารพต่อขอบเขตพฤติกรรมที่เหมาะสม

เพราะว่าปีนี้เป็นปีแห่งการแก้ไขปัญหา ดังนั้นจึงต้องการทีมเพื่อที่จะนำเสนอความก้าวหน้าในเชิงวิชาการ ซึ่งวัดโดยแบบทดสอบมาตรฐาน การที่จะใช้แนวคิดของฟูโกต์ที่วิพากษ์สถาบันต่างๆเป็นอันถูกยกเลิก การปฏิรูปหลักสูตรที่ดีที่สุดก็ยังเป็นการให้นักเรียนท่องจำในที่ทำงาน และไม่มีการตั้งคำถามในเรื่องหน้าที่พลเมือง (civic affair) ผู้ประเมินปฏิเสธการปฏิรูปที่แสนวิเศษ พูดง่ายๆก็คือ แทนที่จะปฏิรูประบบ แต่ผู้ประเมินกลับปฏิเสธการปฏิรูประบบนั้น ก็เป็นเช่นเดียวกับการวิพากษ์อื่นๆที่มีต่อฟูโกต์ พวกเขาเห็นว่า การศึกษาที่อยู่ในระบบการกดขี่ไม่มีทางที่จะหลุดรอดออกไปได้

แล้วทางเลือกอื่นๆหละคืออะไร? บุคคลผู้คิดตรงข้ามกับฟูโกต์ในเรื่องธรรมชาติของสถาบันที่เป็นตัวกำหนด หาทางออกหลายๆวิธี แต่ประเด็นที่โดนโจมตีอย่างหนักก็คือเรื่องวัฒนธรรมที่มีอำนาจในการควบคุมและตัดสินใจแทนมนุษย์ทำให้อิสรเสรีภาพของมนุษย์ไม่มีหลงเหลืออยู่เลย ในทางปรัชญา เราเรียกปัญหานี้ว่าปัญหาเรื่องตัวแทน (problem of agency) หากโรงเรียน, รัฐ, บริษัท, หรือแม้แต่ภาษาควบคุมเราด้วยวิธีอันหลากหลายเกินกว่าสิ่งที่เราเห็นหรือสร้างความคิดรวบยอด แล้วเราจะต่อต้านอย่างไร? และต่อต้านด้วยความสำเร็จได้อย่างไร? ปัญหาเรื่องตัวแทน ถูกโจมตีโดยนักสิทธิสตรี (feminists) เป็นอย่างมาก หนึ่งในบรรดานักสิทธิสตรีก็มี Christopher Norris เธอกล่าวว่า “เป็นเรื่องที่ยาก ที่ตัวตน (subject ในความหมายขอฟูโกต์) จะมีอิสรเสรีเหนือสิ่งใด (autonomy) อิสระนี้สุดท้ายจะถูกแปลงรูป หรือถูกจำกัดโดยโครงสร้างของการควบคุมเชิงออกระเบียบ (regulative control)

การที่จะหาคำตอบของฟูโกต์ (คำตอบนี้ไม่ชัดเจนในงานของเขา) เราจะต้องไปดูงานยุคหลังของเขา ซึ่งเขาเขียนเรื่องจริยธรรม (Ethics) ดังที่เขาแสดงในบทความเรื่อง On the Geology of Ethics เขานิยามจริยธรรมว่า “คือความสัมพันธ์ชนิดหนึ่งที่คุณจะมีเพื่อตัวคุณเอง” ซึ่งกำหนดให้ปัจเจกบุคคลต้องสร้างตนเองให้กลายเป็นตัวตนที่มีจริยธรรม (moral subject) ขึ้นมา โดยการกระทำของตนเอง เห็นได้ชัดเจนว่าฟูโกต์ยังไม่คิดเรื่องนี้โดยสมบูรณ์ กล่าวให้ง่ายก็คือ ฟูโกต์มีสมมติฐานแบบซ่อนๆถึงเรื่องปัจเจกบุคคลสามารถจะเปลี่ยนสถานการณ์ (หรือความสัมพันธ์กับสถานการณ์ต่างๆ) โดยการยืนยันถึงอิทธิพลของเขา (โดยการใช้อำนาจ) ฟูโกต์ไม่ได้สนใจจริยธรรมแบบความเป็นนามธรรมในเชิงปรัชญาแต่อย่างใด แต่สิ่งเขาสนใจก็คือ การปฏิบัติเชิงจริยธรรม (ethical practice) หรือในบางครั้งเขาก็เรียกจริยธรรมของเขาว่าสุนทรียศาสตร์ของจริยธรรม (aesthetics of ethics) (ซึ่งหมายถึงสไตล์ที่บุคคลจะมีต่อบุคคลรอบข้าง)

แปลและเรียบเรียงจาก

David M. Cheshier. Foucault & Educational Reform.

หมายเลขบันทึก: 604143เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2016 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2016 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท