ฝึกสะท้อนรู้สะท้อนใจในเด็ก (Reflection)


ฝึกสะท้อนรู้สะท้อนใจในเด็ก (Reflection)

วันนี้เป็นทางการมากขึ้นสำหรับเด็กๆที่มาเตรียมตัวบวชเณรในโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเทิดพระเกียรติองค์สมเด็จพระเทพฯ ซึ่งเริ่มเข้ามานอนที่วัด 9 คน

กิจกรรมที่ข้าพเจ้าได้มีส่วนร่วมพาดำเนินนอกเหนือจากกิจกรรมที่พระอาจารย์พี่เลี้ยงท่านพาทำแล้ว ได้แก่

- การจับคู่ดูแลช่วยเหลือกัน

- การแบ่งพื้นที่ทำความสะอาดศาลาที่พัก

- การทานอาหารร่วมกันและแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ เช่น เตรียมอาหาร เก็บกวาดเช็ดถูบริเวณนั่งทานข้าว ล้างถ้ายชาม เป็นต้น

ส่วนกิจกรรมที่พระอาจารย์พาทำในวันนี้คือ

- เตรียมอัฐบริขาน

- การกางกลดและที่นอน

- ซ่อมแซมฝ้าเพดาน

- กางป้ายไวนิลโครงการฯ

- ซ้อมท่องขานนาค

ในส่วนภารกิจของแม่ครูที่นำมาซึ่งความประทับใจอย่างยิ่งคือ

การแบ่งพื้นที่และหน้าที่ทำความสะอาดศาลาที่พัก ข้าพเจ้าตกลงให้จับคู่และกำหนดพื้นที่ให้ทำ คือ

- ฮ่องเต้กับแฝดอ้าย --> เช็ดถูหน้าต่างและหยากไย่

- นนท์และมล --> เช็ดถูหน้าศาลา4

- ดิวและธี --> ถูพื้นที่ในศาลา4

- แฝดน้องและพีท --> เช็ดโต๊ะหมู่บูชาและถูพื้นศาลา4

- แอร์และพี่ทุ่ง--> ลูกมือช่วยพระอาจารย์

เกินความคาดหมายเด็กๆ ทำได้ดีมากถามว่าสะอาดมากไหม ไม่เลยแต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ได้เกิดการเรียนรู้ ที่สำคัญคือมีสมาธิ มีทักษะชีวิตเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่เขาทำภารกิจ

ปรากฎการณ์หนึ่งที่ข้าพเจ้าพบคือ การช่วยเหลือกัน แม้ว่าจะมีคนที่คอยอู้ไม่เต็มที่ในภารกิจของตนเองแต่พลังของกลุ่มส่วนใหญ่ค่อนข้างมีน้ำใจ พอพื้นที่ที่ตนเองได้รับผิดชอบเสร็จก็จะไปช่วยเพื่อนและอีกอย่างเขาอาจมีความรู้สึกสนุกคล้ายได้เล่นไปด้วยทำงานไปด้วย การได้เข้าไปช่วยเพื่อนจึงเหมือนได้อยู่ใกล้กันหยอกล้อกันไปด้วย

ช่วงบ่ายเด็กๆคลุกคลีอยู่กับพระอาจารย์และฝึกฝนสิ่งต่างๆ ตามที่พระอาจารย์พาทำ

ตอนเย็นหลังทานข้าวซึ่งเด็กๆ ยังรักษาศีล5 จนกว่าจะโกนผมเป็นนาคจึงเริ่มงดมื้อเย็น เราประชุมกลุ่มกันอีกครั้ง เวลาที่ใช้คำว่าประชุมกันเด็กๆ เขาจะชอบท่าทีขึงขังน่ารักน่าชังทีเดียว

ข้าพเจ้าทดลองใช้การสะท้อนการรู้คิดและความรู้สึก(Reflection)เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในเด็กๆ ที่มาบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนครั้งนี้

"จากกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้คิดว่าเกิดประโยชน์อะไรบ้างกับตนเอง"

ให้จับคู่กันและช่วยกันคิด สักพักเด็กๆ ก็บอกว่าพร้อม ดูท่าทางกระตือรือร้นและสนุกการตอบมีเป้าหมายมากขึ้น ข้าพเจ้าใช้การเขียนลงกระดาษฟลิบชาร์ทเพื่อสะท้อนให้เด็กๆ ได้เห็นไปด้วย

- ได้บุญ

- ได้ประโยชน์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน

- ได้ความอดทน

- สามารถทำงานเป็น

- ได้รับความรู้และวิธีการ

- จากการฝึกทำสามารถนำกลับไปช่วยพ่อแม่ได้

- ได้ความดี

- ได้เกิดความสามัคคี

เมื่อให้สะท้อนความรู้สึก เป็นการย้อนกลับมาสำรวจอารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นหรือมีต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ในวันนี้

- รู้สึกเสียสละ

- ประทับใจ

- สนุก

- ดีใจที่ได้ทำงานกับแม่ครู

- ให้ความสำคัญกับเพื่อน

- ภูมิใจ

- ประทับใจพระอาจารย์และแม่ครู

- สนุกสนาน

เพียงแค่เริ่มต้นได้เท่านี้ก็ถือว่าประทับใจอย่างยิ่งสำหรับข้าพเจ้า พลังของความเบิกบานและกระบวนการเรียนรู้ทางปัญญาที่เกิดขึ้นได้สะท้อนออกมาผ่านคำตอบที่เขาช่วยกันคิด

26 มีนาคม พ.ศ.2559

หมายเลขบันทึก: 604125เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2016 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2016 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กิจกรรมหลากหลายมากครับ ทางกาย ทะลุทางใจ
ในวัยเช่นนี้ เหมาะกับกิจกรรมเช่นนี้มากครับ
และชอบที่มีการสะท้อนความรู้สึกนึกคิดนี่แหละครับ
เสมอเหมือนการกลับมาทบทวนการเรียนรู้ตัวเอง และอยู่กับตัวเอง เป็นสำคัญ

เด็กๆ เขามีพลังเยอะมาเลยค่ะ ให้อยู่นิ่งๆ ไม่ได้ แต่พอให้เคลื่อนไหวผ่านการทำกิจกรรม

ที่สุดเด็กเข้าสู่ความนิ่งใจสงบไม่ว้าวุ่น...คล้ายการให้เขาได้ปลดปล่อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท