ประกันคุณภาพการศึกษา ไม่ใช่ประกันมาตรฐานอุตสาหกรรม


การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นหนึ่งในมาตรการของนานาชาติ ที่จะสร้างคุณภาพการศึกษาด้วยมาตรฐานและการประเมินผลงานวิจัยของ

Yin Cheong Cheng (Centre Director and Professor, at the Centre for Research and International Collaboration, Asia Pacific Centre for Education Leadership and School Quality, Hong Kong Institute of Education, Hong Kong.)

ในหนังสือ

"Quality assurance in education: internal, interface, and future”

ได้สรุปพัฒนาการของการประกันคุณภาพการศึกษาทั่วโลกไว้ เป็นคลื่นสามลูก

คลื่นลูกที่หนึ่ง คือการประกันคุณภาพการศึกษาในรูปแบบและแนวทางที่เราทำกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน

คือ มีการประกาศมาตรฐานการศึกษา และจัดตั้งองค์กรภายนอก (Agency) ไปประเมินผล

วิธีการแบบนี้ ใช้ในกลุ่มประเทศยุโรป ซึ่งโรงเรียนมีการพัฒนามานานแล้ว และมีมาตรฐานไม่ต่างกัน แต่วิธีประกันคุณภาพแบบนี้ไม่ได้ใช้ในประเทศใหญ่ๆ ที่มีความแตกต่างของบริบทสูง เช่น อเมริกา และออสเตรเลีย

อย่างไรก็ตาม การที่ เรานำแนวทางการประกันคุณภาพนี้มาใช้ ผลที่ได้รับ คือ

1 ไม่ได้ช่วยให้ โรงเรียนมีคุณภาพมากขึ้น (ดูรายงาน งานวิจัย ของ TDRI)

2 เป็นการใช้งบประมาณที่ไม่คุ้มค่า (ดูรายงาน งานวิจัย ของ TDRI)

3 สร้างความ ความเดือดร้อน ความไม่พอใจให้กับครู ผู้บริหาร นักเรียนและผู้ปกครอง (ดูความคิดเห็น จาก www.eduzones.com หรือ ถ้าต้องการความแม่นยำเพิ่มเติม อาจสำรวจผ่าน Change.orgได้)

สาเหตุที่ สมศ. นำแนวทางนี้ มาใช้แล้วเกิดปัญหาวิเคราะห์ว่ามาจาก

1 การประกันคุณภาพ ในยุโรปเขาจะให้ สถานศึกษา เป็นผู้กำหนด ตัวชี้วัดต่างๆ เอง

โรงเรียนต่างๆจะประกาศการประกันคุณภาพแบบ ที่เลือกเองซึ่งอาจแตกต่างกัน

แล้วแต่ละสถานศึกษาก็ทำการประเมินคุณภาพภายในเพื่อพัฒนาให้โรงเรียนมีมาตรฐานตามที่ตั้งใจไว้

สรุป คือเอาการประกันคุณภาพภายในเป็นตัวตั้ง โดยโรงเรียนประกาศมาตรฐานของตนเอง ให้รับรู้โดยทั่ว ส่วนสำนักประเมิน((Agency) เข้าไปประเมินว่าเขาทำตามแบบที่เขาตั้งใจและประกาศไว้ได้ผลดีเพียงใด แล้วก็ส่งผลนั้นให้สถานศึกษา เพื่อพัฒนาในด้านต่างๆต่อไป

แต่การการประกันคุณภาพเรา ใช้วิธีกำหนดตัวชี้วัด และมาตรฐานโดยส่วนกลาง

แล้วส่งไปทุกโรงเรียนทั่วประเทศ

2 การประกันคุณภาพการศึกษา ที่เราทำนี้ มีรูปแบบเหมือนการประกันคุณภาพอุตสาหกรรม ซึ่งไม่ใช่มาตรฐานการศึกษา คือสั่งการ แล้วออกตรวจสอบ ว่าเป็นไปตามสั่งหรือไม่

คุณภาพการศึกษาไม่ได้พัฒนาด้วยการสั่งแบบอุตสาหกรรมนี้

รูปแบบนี้จึงขัดต่อนโยบายการศึกษา ทุกยุคสมัย ขัดต่อ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ
และไม่เป็นไปตามนโยบายหลัก6 เรื่องของรัฐบาล คสช. ที่จะพัฒนาการกระจายอำนาจ

3 ประเทศต่างๆที่ใช้วิธีการประกันคุณภาพแบบนี้ จะไม่มีการประกาศ ว่า สถานศึกษานี้ผ่านการประเมิน คุณภาพมีมาตรฐาน หรือเอาผลการประเมิน ไปให้โทษ ให้คุณ อย่างที่เราทำกัน

การทำแบบนี้ ได้สร้างปัญหาใหญ่ ตามมาคือ

สำนักประเมิน กลายเป็นสำนักงานตรวจสอบ คำสั่งจากองค์กรกลาง คือ สมศ.

สิ่งที่ได้คือ รายงานผลต่างๆที่ต้องตรงตามคำสั่ง ซึ่งทำให้สถานศึกษา ต้องทำเอกสารปลอม เพื่อความอยู่รอด
ของ สถานศึกษานั้นๆ
ทำให้ข้อมูลที่ได้มา ใช้ในการพัฒนาได้ยาก
และเป็นการทำให้ครูใช้เวลาไปกับการจัดทำรายงาน เอกสารซึ่งไม่มีการปฏิบัติจริง

4 การใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษา แบบนี้ ถ้าจะใช้ให้ถูกหลักการ
สถานศึกษาจะต้องเป็นผู้กำหนดการประเมิน ด้วยตนเอง
สถานศึกษาจะเป็นผู้แจ้ง ให้เข้าประเมินเมื่อไร มีความถี่ในการประเมิน อย่างไร สถานศึกษาจะแจ้งไปให้หน่วยกลางเอง

5 หลักการสำคัญอย่างยิ่งของการประกันคุณภาพรูปแบบนี้คือ ต้องไม่ให้การประเมินจาก ภายนอกไปสร้างผลกระทบต่อหน้าที่หลักของครู ผู้บริหารสถานศึกษา (ดูการประกันคุณภาพการศึกษากลุ่มประเทศยุโรป)

สรุปได้ว่า การใช้การประกันคุณภาพการศึกษา ด้วยวิธีการที่ผ่านมา เป็นการใช้รูปแบบการประกันที่ต้องเน้น การประกันคุณภาพภายใน แต่เราใช้วิธี การประกันแบบอุตสาหกรรม จึงทำให้ขาดประสิทธิภาพ และไม่เกิดประสิทธิผล (ดูเอกสารรายงานคุณภาพการศึกษาไทย)

เพื่อให้การประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึงในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ อย่างมีประสิทธิผล จึงขอนำเสนอ การประกันคุณภาพ และบทบาทของ สมศ. ดังนี้

ทางที่หนึ่ง ควรเปลี่ยนไปใช้รูปแบบการประกันคุณภาพที่เหมาะสมในยุคนี้คือ

1 ประเทศไทย ควรใช้แนวทาง คลื่นลูกที่สอง(interface QA) แทนรูปแบบเดิมคือ ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นตัวหลักในการประกันคุณภาพ(ดูรายละเอียดจาก Quality assurance in education) เป็นแนวทางที่ประเทศต่างๆซึ่งเคยใช้วิธีการแบบเดิมได้เปลี่ยนมาใช้ แนวทางนี้และได้ผลดีกว่า การประกันรูปแบบเดิม ในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย ฟินแลนด์ (ดูเอกสาร การประกันคุณภาพการศึกษา ฟินแลนด์ และออสเตรเลีย)

ทางที่สอง ถ้าจะใช้แนวทางเดิม คือเน้น การประเมินคุณภาพภายใน
ถ้าจะใช้รูปแบบเดิม ก็ต้องใช้ให้ถูกวิธี คือต้อง เน้น Internal QA และ สมศ. เปลี่ยนบทบาท จากผู้กำหนด เป็นผู้อำนวยช่วยเหลือ

2.1สมศ. ทำหน้าที่ สร้างเครื่องมือเพื่อให้การประเมิน มีรูปแบบการประเมินที่หลากหลาย มีตัวชี้วัดที่เยอะแยะมากมาย แต่ไม่ใช่ไปสั่งให้ทุกโรงเรียนทำ

2.2ให้ความรู้กับสถานศึกษา ผ่านรูปแบบต่างๆเพิ่อให้โรงเรียน กรรมการสถานศึกษา สภาการศึกษาจังหวัด (ซึ่งน่าจะมีขึ้นในไม่ช้า) มาปรึกษาเพื่อกำหนดการ ประกันคุณภาพภายในของเขาเอง เขาก็จะได้มาเลือกตัวชี้วัดและมาตรฐานของเขา

2.3 สมศ. ส่งผู้ประเมิน เข้าไปประเมินได้ แต่ไปประเมินตาม สถานศึกษากำหนด คือเมื่อไร อย่างไร

2.4 สมศ. นำผลประเมินส่ง สถานศึกษา และส่วนกลาง เพื่อพัฒนาคุณภาพต่อไป


ในที่นี้ผมยังไม่ได้พูดถึง future Quality assurance ซึ่งตอนนี้ หลายประเทศที่ผ่านคลื่นลูกที่สองกำลังมองไปข้างหน้า

และพัฒนากันอยู่

แต่เรายังคงวนเวียนกับแนวคิดที่ นอกจากจะเก่ามากแล้ว ยังทำผิดวิธีอีกด้วยครับ

น้อมรับความคิดเห็นที่แตกต่างเสมอ ครับ

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603243เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2016 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2016 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท