​การดำเนินนโยบายการเงินแบบพิเศษ QE


การดำเนินนโยบายการเงินแบบพิเศษมี ลักษณะสำคัญ คือ เป็นการใช้เครื่องมือด้านปริมาณ ที่ธนาคารกลางสามารถควบคุมได้เพื่อปรับภาวะ การเงินในประเทศ หรือเครื่องมือด้านจิตวิทยาซึ่งต้อง อาศัยความน่าเชื่อถือของธนาคารกลางในการยึด เหนี่ยวการคาดการณ์ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

1. การประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำในระยะยาว (forward guidance) ซึ่งอาจผูกโยงกับ เงื่อนไขด้านเวลาหรือสภาวะทางเศรษฐกิจบางประการ โดยมีเป้าหมาย คือ เพื่อยึดเหนี่ยวการคาดการณ์ อัตราดอกเบี้ยของตลาดให้เป็นไปตามที่ธนาคารกลาง ต้องการ หากนักลงทุนคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ย นโยบายจะอยู่ในระดับต่ำไปอีกนาน ก็จะส่งผลให้ อัตราดอกเบี้ยระยะยาวลดลงมาด้วย ทำให้ภาวะ การเงินโดยรวมผ่อนคลายมากขึ้น ต้นทุนทางการเงิน ที่ลดลงจะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและใช้จ่ายมากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ในคำแถลงของ Fed ปลายปี 2008 ที่กล่าวว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ ไปอีกระยะหนึ่งจนกว่าจะมั่นใจว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวดีขึ้น และในปี 2012 Fed ได้ระบุชัดเจนขึ้นว่า จะดำเนินมาตรการต่อไปจนกว่าอัตราการว่างงานจะ ต่ำกว่าระดับร้อยละ 6.5 ข้อดีของวิธีการนี้คือ มีความ ยืดหยุ่นในการดำเนินและยุติมาตรการ และต้นทุนต่ำ อย่างไรก็ดี ประสิทธิผลของวิธีการนี้ขึ้นอยู่กับความ น่าเชื่อถือของธนาคารกลางเป็นสำคัญ

2. การเพิ่มขนาดงบดุลของธนาคารกลาง (Quantitative Easing: QE) เป็นนโยบายการเงิน เชิงปริมาณผ่านการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์และหนี้สิน ในงบดุลของธนาคารกลางเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (ภาพที่ 1) โดยสามารถแบ่งเป็น 2 รูปแบบหลัก คือ (1) การซื้อ สินทรัพย์จากสถาบันการเงินและเปลี่ยนเป็นเงินสดที่ สถาบันการเงินฝากไว้กับธนาคารกลาง (bank reserve) เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยในตลาดและผ่อนคลายภาวะการเงิน โดยรวม และ (2) การซื้อสินทรัพย์แบบเจาะจงใน ตลาดที่มีปัญหา ตัวอย่างเช่น หลักทรัพย์ประเภท mortgage-backed securities เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง และลด risk premium ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

3. การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนสินทรัพย์ในงบ ดุลของธนาคารกลาง โดยขนาดของงบดุลไม่มีการ เปลี่ยนแปลง ธนาคารกลางถือสินทรัพย์หลายประเภท ในจำนวนมาก การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือครอง สินทรัพย์ของธนาคารกลางโดยไม่มีการเพิ่มขนาดของ งบดุลสามารถส่งผลต่อโครงสร้างผลตอบแทนของ สินทรัพย์ในตลาด เช่น การดำเนินมาตรการ maturity extension program หรือที่เรียกว่า “operation twist” ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในปี 2011 - 2012 โดยการเข้าซื้อตราสารหนี้ระยะกลาง และระยะยาว และขายสินทรัพย์ระยะสั้นออกไป เพื่อ ลดอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะกลางและ ระยะยาวในช่วงที่ term premium ของสินทรัพย์ได้ เพิ่มขึ้นสูงมากหลังจากวิกฤต


ที่มา : https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleA...

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603169เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2016 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2016 08:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท