beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เรื่องเล่าเกี่ยวกับแม่บีแมน <๗> แม่อายุครบ ๑๐๐ ปี วันเดือนปีต่อไปเป็นกำไรของแม่.


ในฐานะคนรับไม้สุดท้ายในการดูแลแม่ ก็โล่งอกที่สามารถดูแลแม่มาจนอายุถึง 100 ปี
แม่กับธนบัตรใหม่ที่เตรียมไปจัดงานวันเกิด (ที่ปิดตานั้น ป้องกันแม่เอามือไปซับน้ำตา)


วันที่ 1 มีนาคม 2559 เป็นวันเกิดของแม่ตามปฏิทินจีน.. คุณหมอวิชัย โชควิวัฒน์ เขียนไว้ในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานดินฝังศพ นางจู แซ่ตั๊ง (น้องสาวแม่) หน้า ๒ ไว้ว่า..."คนแรกชื่อ ขาเกียว หรือ อาตั่วอี๊ เกิดเมื่อวัน ๒๓ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะเส็งของจีน ตรงกับวันพุธที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๙ ซึ่งของไทยยังคงเป็นปีมะโรง"

ตรุษจีนปีนี้ ตรงกับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นวันชิวอิก (วันที่ 1 เดือน 1 ของจีน) เมื่อนับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ เป็นวันแรก วันที่ 23 ก็ตรงกับวันอังคารที่ 1 มีนาคม 2559 แม่จึงมีอายุครบ 100 ปีในวันนี้

ลูกๆ ของแม่ที่เคยมี 9 คน บัดนี้เหลือ 6 คน เป็นผู้หญิง 2 คน, ผู้ชาย 4 คน (รวมทั้งบีแมน)...ลูกทุกคนรวมสะใภ้ เป็น 7 คน เดินทางด้วยรถตู้จากกรุงเทพมหานคร ด้วยรถตู้พร้อมคนขับอีก ๑ คน รวมเป็น 8 คน ออกเดินทางประมาณ 8.30 น. มาถึงพิษณุโลกเวลาประมาณ 14.30 น. พักกันที่โรงแรมเลอ กร๊องด์ (Le Grand Hotel) สนนราคาอยู่ที่ 350 บาท เปิดพร้อมกัน 4 ห้อง ที่จอดรถสะดวก บริการเป็นกันเอง

พี่สาวคนโตอายุ 82 ปี, พี่ชายคนโตอายุ 77 ปี, พี่สาวคนเล็กอายุ 66 ปี, พี่ชายคนที่ 4 อายุ 61, พี่ชายคนที่ 5 อายุ 59 ปี..ส่วนบีแมนเป็นคนที่ 6 ในฝ่ายชาย และเป็นคนที่ 9 ของทั้งหมด

เวลา 18.00 น. นัดพบกันที่ MK สาขา Tesco lotus extra ท่าทอง..เนื่องจากเป็นวันเกิดของแม่และพี่สาวคนเล็ก ทาง MK SUKI จัดไอศกรีมวันเกิดให้ 2 ถาด และถ่ายรูปวันเกิดให้ ๒ บาน

ภาพงานเลี้ยงวันเกิด 100 ปี ของแม่ กับ ลูก และลูกสะใภ้



วันที่ 2 มีนาคม ตอนเช้า ไปทำบุญที่ศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย
ได้ภาพมาให้ชมกัน 2 ภาพ ที่มีแต่ผู้อาวุโสทั้งนั้น


ในฐานะคนรับไม้สุดท้ายในการดูแลแม่ ก็โล่งอกที่สามารถดูแลแม่มาจน
อายุ 100 ปี ต่อจากนี้ไป วันเดือนปี ที่ผ่านพ้น ก็เป็นกำไรของแม่แล้ว..


บีแมน
หอพักมน.นิเวศ3
วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2559

หมายเลขบันทึก: 602939เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2016 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2016 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

A centenarian in your own home is like having a rare treasure. Imagine a wealth of knowledge, a really experienced historian, a good assurance for longevity for those in the family, and an honour of society.

May she live well and in health longer as a profit for 'all of us'.

ขอขอบคุณ ท่าน sr กับความคิดเห็นในบางแง่บางมุม...ครับ

ขอชื่นชมครอบครัวอาจารย์ที่มีคุณแม่ที่ประเสริฐอยู่เป็นมิ่งขวัญให้ครอบครัวจนอายุ ๑๐๐ ปี ต่อไปนี้ มีแต่กำไรจริงๆค่ะ ขอชื่นชมลูกหลานที่ช่วยกันดูแลท่านด้วยค่ะ

อยากทราบว่าอายุมากอย่างนี้ โรคที่รักษาท่านมีโรคอะไรบ้างค่ะ

โรคที่เป็น

  1. ทั่วไปคือโรคคนแก่ เหนื่อยง่าย, จำอะไรไม่ค่อยได้ (ความจำระยะสั้น เช่น เข้าห้องน้ำแล้ว จะไปเข้าอีก)
  2. โรคตาเสื่อม ต่างๆ, หูตึงฟังอะไรไม่ค่อยชัด
  3. ผิวหนังเหี่ยวย่น ไม่ยืดหยุ่น ใบหน้าตกกระและมีสะเก็ดแข็งๆ (ขาด Collagen)
  4. กระดูกพรุน มวลกระดูกติดลบ 3 (หมอบอก)
  5. ค่าน้ำตาลในเลือดแกว่ง แต่ยังไม่เป็นเบาหวาน
  6. ความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นเร็ว (คิดว่า..หมออาจวินิจฉัยผิด เพราะค่าความดันโลหิตของคนจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และค่าความดันมาตรฐานมีถึงอายุ 80 ปี แต่คน 100 ปี นี่เกินมาตรฐานแล้ว แม้ว่าหมอเฉกจะบอกว่าอายุ 120 ปี นี่สบายเลย)

มากราบ Happy Birthday ขอพรคุณแม่ ๑๐๐ ปี ครับ

  1. ยุ่งๆ อยู่ไม่ได้เข้ามาในบล็อกครับท่านอาจารย์ JJ
  2. คุณแม่ความจำระยะสั้นใช้ไม่ค่อยได้แล้วครับ วันที่ 14 มีนาคม ที่ผ่านมา พี่หมอวิชัย มาเยี่ยม พอกลับไปแล้ว คุณแม่บอกว่าไม่มีใครมาหาวันนี้
  3. ขอให้ท่านอาจารย์ JJ มีอายุยืนยาว และมีความจำดี ไปนานๆ ครับ
  1. แม่เกิด 14 กุมภาพันธ์ 2459 ซึ่งตามปีปฏิทินแบบเก่านั้นนับเป็นปลายปีมะโรง เนื่องจากจะขึ้นปีใหม่ในวันที่ ๑ เมษายน ปี 2460 (ถ้านับตามปฏิทินใหม่ แม่จะเกิดปีมะเส็งของปี 2560 ดังนั้นในบัตรประชาชนแม่ จะเขียนว่าแม่เกิด ปี 2560 จึงนับครบรอบ 100 ปี แบบเป็นทางการในปี 2560)
  2. เหมือนวันสถาปนาครบ 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งถือกำเนิดเมื่อ 26 มีนาคม 2459 ซึ่งเป็นปลายปี นับถึงปี 2559 ตามปฏิทินเก่าก็เป็น 100 ปี แต่ถ้าเป็นปฏิทินแบบใหม่ก็จะครบรอบ 100 ปีในวันที่ 26 มีนาคม 2560
  3. (คัดลอก) สมัยก่อน ตั้งแต่ พ.ศ. 2432 สยามประเทศถือเอาวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่เรื่อยมา จนกระทั่งรัฐบาลไทยสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีได้ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ให้เป็นวันที่ 1 มกราคม เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 เป็นต้นมา ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติสากลของนานาอารยประเทศ
    การเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ จาก 1 เมษายน มาเป็น 1 มกราคม ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 ทำให้ พ.ศ. 2483 มีเพียง 9 เดือน คือ เมษายน ถึง ธันวาคม โดยเดือนที่ขาดหายไป 3 เดือน คือ เดือน มกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม (เป็นเดือนปลายปีของปฏิทินสมัยเก่า)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท