ชุดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสี Shielding All In One


ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา: ชุดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสี Shielding All In One

คำสำคัญ: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสี ,shield

สรุปผลงานโดยย่อ: มีชุดอุปกรณ์การป้องกันอันตรายจากรังสี ลดความเจ็บปวดในการจัดท่าถ่ายภาพรังสีหลังการผ่าตัดแก่ผู้รับบริการ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ง่ายและสะดวก ในราคาประหยัดเพียง 170 บาท

ชื่อและที่อยู่ขององค์กร:กลุ่มงานรังสีวิทยาโรงพยาบาลเสนา 51 หมู่ 1 ต.เจ้าเจ็ด อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

โดย: นายอดิเรก เสมามอญ ประกาศนียบัตรรังสีการแพทย์ เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ ชำนาญงาน

เป้าหมาย:เพื่อป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ป่วยและหญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกรายที่เอกซเรย์ปอดโดยนำวัสดุที่ไม่ได้ใช้แล้วมาประดิษฐ์ ดัดแปลง ให้สามารถใช้งานได้ ลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออุปกรณ์ เพิ่มความสะดวก รวดเร็วในการปฏิบัติงาน

ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ: ในปัจจุบันกลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลเสนามีผู้ป่วยมารับบริการถ่ายภาพเอกซเรย์ เพื่อการวินิจฉัยโรคต่างๆ มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ในการปฏิบัติงานและช่วยป้องกันอันตรายจากรังสี จากการถ่ายภาพซ้ำ (จากเทคนิคการจัดท่า) ลด Primary Radiation โดยตรงกับผู้ป่วย และความเจ็บปวด ในการจัดท่าให้กับผู้ป่วยหลังผ่าตัด เพิ่มความปลอดภัยจากรังสีแก่เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง กลุ่มงานรังสีวิทยาจึงได้เก็บวัสดุเหลือใช้เช่นแผ่นตะกั่วที่มีความหนา0.5มิลลิเมตร จากเครื่องเอกซเรย์เก่าที่หมดอายุการใช้งานถูกจำหน่ายของจากรายการครุภัณฑ์แล้ว Overbed (ที่วางอาหารสำหรับผู้ป่วยใน) ที่ชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ แต่สามารถปรับระดับได้สูง-ต่ำได้ ด้ามที่ถูพื้นทำจากอลูมิเนียมที่หัก ไม่สามารถใช้งานได้ นำมาประดิษฐ์เป็นชุดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสี Shielding All In One สามารถนำมาเป็นที่วางแผ่นฟิล์ม สำหรับผู้ป่วยถ่ายเอกซเรย์ Hand, Wrist joint, Forearm และ Elbow ในผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยหลังผ่าตัด แยกอวัยวะดังกล่าวออกจากลำตัวผู้ป่วย ช่วยลดปริมาณ Primary Radiation ต่อผู้ป่วยได้ ลดความเจ็บปวดในการจัดท่าผู้ป่วย (สามารถปรับระดับความสูง-ต่ำให้ขนานกับอวัยวะที่ต้องการถ่ายภาพ) ป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับอวัยวะที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง ได้ในระดับหนึ่ง ในผู้ป่วยทั่วไป และหญิงวัยเจริญพันธุ์ เมื่อถ่ายเอกซเรย์ปอด (Chest PA Upright) ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าว ซึ่งจำเป็นต้องแยกชิ้นส่วน ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน และราคาค่อนข้างแพง

กิจกรรมการพัฒนา:

1.นำ Overbed (ชำรุดไม่ใช้แล้ว) ของโรงพยาบาลเสนา มาขัดล้างทำความสะอาด เชื่อมรอยต่อ ให้แข็งแรง

มากขึ้น เปลี่ยนล้อ 4 ล้อ และติดขาราวโดยใช้ด้ามไม้ถูพื้นที่ ชำรุด ตัด ขนาด 30 ซ.ม. (เพื่อแขวนแผ่น

ตะกั่วยาง)

2.ตัดแผ่นฉากตะกั่วเก่า สีขาวความหนา 2 ม.ม.สี่เหลี่ยม (ขนาดยาว 65 ซ.ม. x กว้าง 30 ซ.ม.)

3.ทาจาระบี ที่เฟือง ปรับระดับความสูง-ต่ำ Overbed เป็นการช่วยหล่อลื่น

4.ประกอบส่วนต่างๆเข้าด้วยกัน

การประเมินผลการเปลี่ยนแปลง:

1.เจ้าหน้าที่ใช้อุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นกับผู้ป่วย Chest Upright ทุกรายเนื่องจากใช้ง่าย สะดวก และ

ประหยัดเวลา ลดภาวะเสี่ยงของผู้ป่วยตั้งครรภ์ได้

2.ผู้ป่วยเจ็บปวดน้อยลงเนื่องจากมีอุปกรณ์เข้าถึงผู้ป่วยทำให้จัดท่าง่าย สามารถปรับระดับ สูง-ต่ำเหมาะสม

3.กรณีผู้ป่วยหลังผ่าตัดใส่เผือกหรือเครื่องจับยึดต้องถ่ายภาพรังสีต้องวางอุปกรณ์รับภาพบนร่างกายโดยใช้

อุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นจะป้องกันรังสีบางส่วนได้เนื่องจากมีแผ่นตะกั่วซึ่งมีความหนา 2 ม.ม.สามารถ

ป้องกันรังสีทะลุผ่านได้

4.เดิมการถ่ายภาพรังสี Upper Extremity ผู้ป่วยจะได้รังสีกระเจิงมากกว่าเนื่องถ่ายบนเตียงเอกซเรย์ รังสี

ทะลุผ่านได้หลังประดิษฐ์นวัตกรรมผู้รับบริการได้รับรังสีกระเจิงน้อยกว่าเนื่องจากมีแผ่นตะกั่วป้องกัน

2 ม.ม.รังสีเอกซเรย์ไม่สามารถทะลุผ่านได้

5.อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ในราคา 170 บาทและใช้ได้สะดวกป้องกัน

อันตรายจากรังสีได้

บทเรียนที่ได้รับ: มีชุดอุปกรณ์การป้องกันอันตรายจากรังสี และ ลดความเจ็บปวด ร้อยละ 92 (จากแบบสังเกต) ในการจัดท่าถ่ายภาพรังสีหลังการผ่าตัดแก่ผู้รับบริการ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ง่ายและสะดวก ในราคาประหยัดเพียง 170 บาทเท่านั้น ในขณะที่ชุดตรวจที่โรงพยาบาลจัดซื้อมามีราคาสูงถึง 8,000 - 20,000 บาท ซึ่งแตกต่างกันเกือบ 80 - 200 เท่า ความสะดวกในการใช้งานของรังสีแพทย์ นักรังสีการแพทย์ และเจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ ที่ใช้ชุดป้องกันอันตรายจากรังสี Shielding All In One เพิ่มขึ้น ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ร้อยละ 100 แต่วัสดุจะต้องหาจากวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงซึ่งอาจจะมีปริมาณน้อย รวมทั้งการดัดแปลงต้องใช้ทักษะในการประดิษฐ์ และจะประดิษฐ์ชุดอุปกรณ์เพื่อจับยึดเด็กแรกเกิดในการเอกซเรย์ เป็นการพัฒนาเรื่องต่อไป


การติดต่อกับทีมงาน: นายอดิเรก เสมามอญ กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลเสนา จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.035-217118 E-mail: [email protected]

หมายเลขบันทึก: 600823เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2016 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2016 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท