​มองปัจจุบันของชาติ...ก็น่าจะเห็น "อนาคตของชาติ"


มองปัจจุบันของชาติ...ก็น่าจะเห็น "อนาคตของชาติ"

ในห้วงนับสิบปีที่ผ่านมา ระบบการศึกษาไทยเปลี่ยนไปมาก ค่านิยมของการศึกษาเปลี่ยนไป การแข่งขันในการศึกษาของเด็กไทยทวีความรุนแรงแรงมากขึ้น (แต่ผลการเปรียบเทียบกับนานาประเทศกลับต่ำลง) การแข่งขันเพื่อที่จะเรียนให้อยู่ในห้องต้นๆในระดับชั้น การแข่งขันเพื่อให้ได้ลำดับแรกๆในห้องเดียวกัน การแข่งขันเพื่อให้คะแนนรวมหรือผลสอบของโรงเรียนอยู่ในระดับที่ดีๆเพื่อแข่งขันกันระหว่างโรงเรียน จนลืมปัจจัยแวดล้อมทั้งของเด็กและของโรงเรียน ... สถิติหลายตัว เป็นเชิงปริมาณที่เอามาวัดค่า ของคุณภาพ จำนวนของนักเรียน ถูกวัดค่าของคุณภาพโรงเรียน นักเรียนและครู จนลืมพื้นฐานหรือฐานคิดว่า แท้จริงแล้วการศึกษาต้องการอะไร เมื่อเช้าตื่นขึ้น เห็นสถาบันกวดวิชาแห่งหนึ่ง (ต้องให้เครดิต อยู่ในภาพแล้ว) เสนอภาพสรุปจำนวนโรงเรียนที่มีนักเรียนสอบเข้ารับตรง(โควตา)ในภาคอีสานที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ... ก็น่าชื่นชมยินดีและดีใจกับนักเรียนเหล่านั้น ที่มีความพยายามและตั้งใจจนสำเร็จไปอีกขั้นในการศึกษา แต่ที่อยากให้ ค.ว.ย. ให้มาก คือ คิด บนพื้นฐานของความเป็นจริง วิเคราะห์ ข้อมูลให้น่านำไปใช้ แยะแยก ให้เห็นคุณค่า ว่าการสอบเข้าได้ อะไรคือความงดงาม

โรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่พิเศษ หรือใหญ่โคตรๆ ก็ถูกนำมาจัดอันดับรวมกัน คละกัน โรงเรียนบ้านโคกอีโด่ยหรือจะติดอันดับ บางโรงมีนักเรียนสมัครเข้า มข. 1 คน สอบได้ ได้ 100% บางโรง สมัคร 2 คน ได้ 1 คน = 50% หรือบางโรงสมัครสอบติดมาก ก็กลายเป็นที่ฮือฮา...สังคมให้ค่ากับตัวเลขมากไปหรือเปล่า???

กลับมาดูอีกเรื่องที่ผมสนใจ คือ วันหยุดสุดสัปดาห์ นักเรียนมากมายเปลี่ยนวิถีไปมาก (เป็นมาหลายปี) คือ การเรียนเสริม ติวเข้ม มีให้เห็นอยู่มากมายทั่วไป โดยเฉพาะพื้นที่ใน มข. และในตัวจังหวัด แท้ที่จริง (ผมไม่แน่ใจนะครับไม่รู้เชิงลึก คหสต.) ผมว่า เด็ก มีพัฒนาการ อยู่ในระดับหนึ่ง และเด็ก ควรได้รับการพักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์ ไม่ว่าในรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม รวมถึงผู้ปกครองด้วย วันหยุด จึงเป็นวันที่ควรหยุดเรื่องวิชาการ แล้วเปลี่ยนเป็นการเรียนรู้นอกตำรา มีห้องเรียนที่รับสอนเสริมวิชาชีวิตมากมาย เช่น สอนดนตรี ศิลปะ ฟ้อนรำ หรือการทำงานอดิเรกเพื่อพัฒนาสมองของเด็กอยู่หลากหลายรูปแบบ ในอดีตคนบ้านนอกอย่างผมคงเดินลัดทุ่งเข้าป่าเพื่อเรียนรู้โลกกว้างของจริง ในหน้าแล้งหลังฤดูเกี่ยวข้าว คงหาปลา และเล่นกับเพื่อนพี่น้องอยู่กลางทุ่ง เรียนรู้การใช้ชีวิตบนพื้นฐานของชีวิต (ลูกชาวนา) ช่วยเหลือภารกิจของครอบครัวตามโอกาส ทำงานบ้าน และหลายคราวก็ไปช่วยงานวัดหรือชุมชน การเรียนรู้เหล่านี้สำคัญมาก (คหสต.) แต่วันนี้ กลับเห็นเด็กจำนวนมาก เรียนเสริมเข้มข้นในวันหยุด จะด้วยเป้าหมายอะไรก็ตาม เห็นอย่างนี้ก็ไม่สบายใจนัก ไม่รู้จะเสียดายหรือดีใจที่ไม่เคยเรียนพิเศษเลย จนเรียนจบปริญญา

แต่ก็เถอะ ฐานคิดของมนุษย์เราต่างกัน อีกทั้งฐานเงินก็เช่นกัน

อาทิตย์ 7 กุมภา 59

หมายเลขบันทึก: 600546เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2016 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2016 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท