บทบาทของนักการเงินและการจัดการความเสี่ยงของสถาบันการเงิน


ความเสี่ยงทางการเงินเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา รู้เอาไว้ไม่เสียหาย

ความหมายสถาบันการเงิน

สถาบันการเงินคือ ผู้ที่ระดมเงินออมให้กู้ยืมสำหรับผู้ต้องการใช้เงินเพื่อบริโภคหรือลงทุนด้านต่างๆ โดยผู้ที่ใช้เงินต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ออมและผู้ออมจะคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืม เพราะฉะนั้นจึงเป็นตัวกลางระหว่างผู้ต้องการเก็บออมและผู้ต้องการใช้เงินซึ่งสถาบันการเงินสามารถแบ่งเป็น2กลุ่มคือ

1. ธนาคาร มีหน้าที่หลักคือ

  • บริการรับฝากเงิน ผู้ฝากจะได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย
  • การให้กู้หรือสินเชื่อเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ต้องการใช้เงินเพื่อไปลงทุน โดยผู้กู้จะต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนหรือตามสัญญาที่ตกลงกันไว้
  • การลงทุน
  • บริการอื่นๆ เช่น การเปิด Letter of creditเพื่อการส่งออกแชะนำเข้าของสินค้า
  • บริการโอนเงินระหว่างประเทศ เป็นตัวกลางชำระค่าสินค้าและบริการ การรับแลกเปลี่ยนเงินตรา และการให้บริการเช่าตู้นิรภัยเพื่อเก็บของมีค่า เป็นต้น

2. ไม่ใช่ธนาคาร

  • บริษัทเงินทุน ทำหน้าที่ระดมเงินทุนโดยการซื้อขายตั๋วแลกเงิน ตราสารที่เปลี่ยนมือได้ และปล่อยสินเชื่อ
  • บริษัทประกันภัยและประกันชีวิตทำหน้าที่เก็บค่าเบี้ยประกันและรับผิดชอบจ่ายเงินผลประโยชน์ตามข้อตกลงที่ระบุไว้กับผู้ที่จ่ายเบี้ยประกัน
  • โรงรับจำนำ เป็นธุรกิจขนาดเล็กที่ปล่อยเงินกู้ในวงเงินที่ต่ำมาก โดยส่วนใหญ่ผู้ที่มาใช้บริการจะมีฐานะที่ยากจน
  • สหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นสถาบันการเงินในรูปแบบหนึ่งที่มีสมาชิกเป็นบุคคลที่มีอาชีพ้ดียวกันหรืออาศัยในชุมชนเดียวกัน

ความเสี่ยงทางการเงิน

ความเสี่ยงทางการเงินแบ่งได้ดังนี้

1. ความเสี่ยงตลาด เป็นความเสี่ยงของการที่จะเสีย ราคาหรือการเปลี่ยนแปลงของราคา ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน การผันผวนของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคภายในและนอกประเทศ

2. ความเสี่ยงด้านเครดิต

เป็นความเสี่ยงที่จะสูญเสีย อันเนื่องมาจากการไม่กระทำตามสัญญาของคู่สัญญาอีกฝั่ง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งการเต็มใจและไม่เต็มใจที่จะไม่ทำ เช่น การผิดนัดชำระหนี้ การผิดนัดการแลกเปลี่ยนสินค้า

3. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา อันเนื่องมาจากการปฏิบัติการที่ผิดพลาดหรือไม่เหมาะสมที่มาจากคน ทั้งคนหรือองกรค์หรือจากเหตุการณ์ภายนอก เช่น การทำสัญญาทางการเงินที่ผิดพลาด การทำผิดกฎหมายโดยไม่ตั้งใจหรือตั้งใจของบริษัทที่เราซื้อหุ้น การไม่ทำตามนโยบายการลงทุน

4 ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงธนาคารพาณิชย์อาจไม่สามารถชำระหนี้สินและภาระผูกพันเมื่อถึงกำหนดหรือถูกทวงถาม เนื่องจากไม่สามารถหาเงินได้เพียงพอทันเวลา หรือหาเงินได้แต่ด้วยต้นทุนที่สูงเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ ซึ้งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ และเงินกองทุนธนาคารพาณิชย์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

5 ความเสี่ยงด้านอื่นๆ ความเสี่ยงด้านอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อรายได้และ/หรือเงินกองทุนรวมของธนาคารพาณิชย์ เช่น ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงจากการกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนดำเนินงาน และการนำเงินไปปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมกับปัจจัยภายใน

แนวทางการบริหารความเสี่ยง

1. การบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุม ความเสี่ยงที่สำคัญจากการให้บริการและการดำเนินงานของธนาคารทุกประเภทจะต้องได้รับการบริหารอย่างเป็นระบบและครอบคลุม ทั้งในระดับนโยบาย การปฏิบัติ และกระบวนการที่เกี่ยวข้อง

2. การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ ในการบริหารความเสี่ยงจะต้องมีการมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างชัดเจน ไม่เฉพาะแต่หน่วยงานบริหารความเสี่ยงที่ต้องรับผิดชอบเท่านั้น หน่วยงานธุรกิจที่เป็นจุดเริ่มต้นของความเสี่ยง เช่น การให้สินเชื่อ การบริหารเงิน และเทคโนโลยีสารสนเทศ

3.การประเมินการบริหารความเสี่ยง เนื่องจากความเสี่ยงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องมีการประเมินและปรับกระบวนการเพื่อรองรับกับความเสี่ยงในรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

4.ความรวดเร็วและทันกาล แนวทางบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพควรมีการระบุ การวัด และการประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและความเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยง ก่อนดำเนินการตัดสินใจ

5.การจัดสรรเงินกองทุน เนื่องจากเงินกองทุนเป็นสิ่งที่มีจำกัด จึงจำเป็นต้องจัดสรรเงินกองทุนให้แต่ละธุรกิจอย่างสอดคล้องกับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่จะได้รับ


หมายเลขบันทึก: 600406เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2016 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2016 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท