​แนวคิดจัดการโครงการด้วยวิธี PPP ให้โครงการเกิดผลสำเร็จ


อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

[email protected]

เมื่อโครงการมีแนวคิดที่จะหาความเป็นไปได้ที่จะใช้การบริหารจัดการด้วยวิธี PPP : Public Private Partnership จะต้องมั่นใจว่าดำเนินการได้อย่างถูกต้องตาม พรบ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พศ. 2556 ที่มีผลตั้งแต่ 3 เมษายน 2556

ในการนี้อาจจะพิจารณาจากคู่มือวิธีการเสนอโครงการร่วมทุนของ สคร. เดือนมีนาคม 2558 เพื่อใช้เป็นทิศทางการดำเนินการ ดังนี้

ประการที่ 1

แนวทางการจัดทำผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ (หมวด 4)

เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดเพราะหากมีรายละเอียดและแนวทางชัดเจน จะมีผลดีต่อขั้นตอนอื่นของโครงการ PPP ที่จะติดตามมา รวมถึงมีผลต่อการดำเนินโครงการในช่วงตลอดอายุของสัญญา

การจัดทำผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ

(1) ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ให้ข้อมูลครบถ้วน รอบด้าน ไม่ผิดพลาด

(2) สามารถให้กรอบแนวทางที่ครอบคลุมระยะเวลา PPP ที่มีกรอบเวลาโครงการในระยะยาว 10-20 ปีได้

รายละเอียดของผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการจะต้องประกอบด้วยประเด็นต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย

(1) เหตุผล ความจำเป็น และประโยชน์ของโครงการ รวมทั้งความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์

(2) ต้นทุนดำเนินการ ทั้งงบประมาณแผ่นดิน งบประมาณองค์กร เงินทุนนอกงบประมาณตลอดอายุโครงการ

(3) การเปรียบเทียบต้นทุนและความคุ้มค่าในการดำเนินการระหว่างการใช้งบประมาณแผ่นดิน หรืองบประมาณของหน่วยงาน กับการให้เอกชนร่วมลงทุน (ผลตอบแทนทางการเงินและทางเศรษฐศาสตร์)

(4) ทางเลือกในการให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งความสนใจและความพร้อมของเอกชนในแต่ละรูปแบบ

(5) ผลกระทบของโครงการจากการใช้แต่ละทางเลือก ทั้งทางตรงและทางอ้อม วิธีป้องกัน ลดแก้ไข

(6) ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องและแนวทางการบริหารความเสี่ยงของโครงการ ทั้งในส่วนของผู้รับผิดชอบโครงการ และภาคเอกชนที่เข้าร่วมลงทุน

(7) กรณีที่โครงการจะใช้งบประมาณของหน่วยงานในการดำเนินการ ให้แสดงสถานะทางการเงินของหน่วยงาน แหล่งที่มาของงบประมาณ ภาระงบประมาณโดยรวมที่ต้องใช้ในโครงการอื่น และความสามารถในการหางบประมาณเพื่อดำเนินโครงการ โดยไม่กระทบต่อสถานะทางการเงินโดยรวมของหน่วยงาน

(8) ผลการรับฟังความคิดเห็นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พศ. 2558

ประการที่ 2 ความเหมาะสมของที่แหล่งมาของเงินลงทุนโครงการ

ผู้รับผิดชอบโครงการมีหน้าที่ความรับผิดชอบเพิ่มเติม ในการให้ข้อมูลรายละเอียดในข้อเสนอโครงการที่ประมาณการแหล่งที่มาของเงินทุนโครงการ จากภายในองค์กรและภายนอกองค์กร โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงความพร้อมหรือความเป็นไปได้ในการจัดหาแหล่งเงินทุนที่เสนอ โดย

(1) กรณีใช้เงินนอกงบประมาณจากหน่วยงาน(รายได้ของหน่วยงาน) จะต้องแสดงให้เห็นถึงสภาพคล่องทางการเงิน ความเสี่ยงทางการเงินทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งความสามารถในการชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยของโครงการหรือของหน่วยงาน

(2) กรณีที่ใช้แหล่งเงินอื่น โดยเฉพาะเงินกู้ เงินงบประมาณแผ่นดิน จะต้องแสดงให้เห็นถึงความพร้อมหรือความเป็นไปได้ของการขอรับการสนับสนุนจากแหล่งเงิน และสมมุติฐานที่ใช้ในการประมาณการเงื่อนไขของแหล่งเงิน และผลกระทบต่อความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการ

(3) ความเหมาะสมทางการเงินและทางเศรษฐศาสตร์ และการเปรียบเทียบการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนทางการเงินและทางเศรษฐศาสตร์

ประการที่ 3 ความพร้อมของโครงการ จากการวิเคราะห์ผลกระทบต่อฐานะการเงิน

เป็นการวิเคราะห์ผลประกอบการขององค์กรในปีปัจจุบันและประมาณการในอนาคต ที่ครอบคลุมช่วงเวลาที่จะลงทุนและดำเนินโครงการจนแล้วเสร็จ เปรียบเทียบ (ก) กรณีที่มีการดำเนินโครงการ และ (ข) กรณีที่ไม่มีการดำเนินโครงการ เพื่อวิเคราะห์ว่า โครงการและองค์กรมีขีดความสามารถในการรับภาระการลงทุนของโครงการ และการดำเนินโครงการมีผลกระทบต่อฐานะทางการเงินขององค์กรใน 3 ส่วน

(1) ความสามารถในการชำระหนี้

(2) ความสามารถในการก่อหนี้ขององค์กร ความน่าเชื่อถือด้านเครดิต

(3) ความสามารถในการบริหารงานขององค์กรโดยรวม จากความสามารถในการทำกำไร ความสามารถในการหาประโยชน์จากสินทรัพย์และการลงทุนโดยรวมขององค์กร

ประการที่ 4

กรณีที่ฐานะการเงินองค์กรในขณะนั้น ไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนของโครงการที่เสนอ อาจจะต้องเสนอว่าจะทำให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทร่วมลงทุนและดำเนินโครงการได้

(1) การบริหารโครงการที่มีภาคเอกชนมีส่วนร่วมอยู่ในรูปแบบใด

(2) กลไกการกำกับดูแลการดำเนินงานของคู่สัญญาร่วมโครงการ และติดตามประเมินผล

(3) ประสบการณ์ ความมั่นใจ ความพร้อมในการจัดการโครงการลักษณะการร่วมทุนจากภาคเอกชนที่ผ่านมา ที่จะรับมือกับโครงการลักษณะนี้ได้

(4) เปรียบเทียบต้นทุนและความคุ้มค่าระหว่างทางเลือกการใช้งบประมาณแผ่นดิน งบประมาณขององค์กร กับการให้เอกชนร่วมลงทุน

(5) การจัดสรรความเสี่ยงโครงการให้แก่ฝ่ายที่มีความสามารถในการบริหารจัดการความเสี่ยงนั้นได้อย่างเกิดประสิทธิผลที่สุด

แนวทางการจัดหาแหล่งเงินโครงการ กรณีหน่วยงานรัฐ

ผลตอบแทน

ทางการเงินเศรษฐศาสตร์

ต่ำ ต่ำ ล้มเลิก หรือเอกชน Redesign /Remodel

ต่ำ สูง เป็นโครงการสำคัญ ใช้เงินองค์กรหรืองบประมาณแผ่นดิน

PPP ด้วยการหาแหล่งเงินถูกกว่ามาดำเนินการเพื่อเพิ่มผลตอบแทนการเงิน

PPP ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนดำเนินงาน

สูง ต่ำ ผลตอบแทนเชิงพาณิชย์ดี ดำเนินการเอง

PPP ด้วยการหาทางเพิ่มผลตอบแทนทาง

เศรษฐศาสตร์ ไม่เพิ่มราคา แต่ลดราคาแล้ว

ยังกำไรเท่าเดิม เพิ่มคุณภาพ ไม่เพิ่มต้นทุน

สูง สูง หน่วยงานทำโครงการเอง หรือ PPP ที่เป็นเงื่อนไข Profit sharing

และควบคุมราคาไม่ให้สูงเกินไป กำไรมากไป


หมายเลขบันทึก: 600153เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2016 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2016 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท