722. "กำลัง กาละ และปาฏิหาริย์"


เรียนรู้ศาสตร์ OD ผ่าน "สามก๊ก" (ตอนที่ 52)

วันก่อนผมดูหนังเรื่องศึกฉู่ฮั่น ซึ่งเป็นเรื่องราวของการชิงแผ่นดินระหว้างฌ้ออาอ๋องและหลิวปัง หลิงปังคนหลังต่อมาชนะกลายเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงค์ฮั่น ซึ่งยืนยงต่อมาอีก 400 ปี และมาล่มสลายในสมัยสามก๊ก ผมดูซีรี่ย์นี้แล้วประทับใจตอนหนึ่งมากๆ คือตอนที่หลิวปังเริ่มรบกับกับฌ้อปาอ๋อง แล้วต้องหาพันธมิตร ที่เล็งไว้คือฮ่องเต้ของเว่ย หลิวปังเลยส่งคนไปเจรจา ตอนแรกอ๋องเว่ยไม่เอาด้วย แต่พอกุนซือหลิวปังลองวิเคราะห์ด้วยคำพูดง่ายๆ ว่า “เมื่อพิจารณาจากกำลังและกาละเทศะท่านจะค้นพบว่าฌ้อปาอ๋องเป็นมหาอำนาจ มีกำลังทหารที่กล้าหาญมากๆ แต่หลายครั้งฌ้อปาอ๋องกลับทำอะไรผิดกาลเทศะ เช่นฆ่าเชลยที่เดียวสองแสนคน ทำให้คนทั้งแผ่นดินเสื่อมศรัทธา ส่วนหลิวปังแม้มีกำลังน้อย แต่ทำอะไรถูกกาลเทศะ ที่สุดจะได้ชัยชนะ ” ผมจำคำพูดทั้งหมดไม่ได้ แต่ก็แนวๆนี้

คำนี้เลย “กำลังและกาลเทศะ” ที่ผมเชื่อว่าเป็นจุดเปลี่ยนทำให้ศัตรูหันมาเป็นพันธมิตรกับหลิวปัง”

ผมว่าเป็นอะไรที่สร้างงสรรค์มากๆ การเลือกใช้คำๆนี้ของกุนซือหลิวปัง ทำให้ผมนึกถึงเล่าปี่และโจโฉในสามก๊ก เร็วๆนี้ผมกลับไปเริ่มศึกษาสามก๊กตั้งแต่ต้น ซึ่งก็แน่นอนผมตื่นตาตื่นใจอีกครั้ง เพราะคำว่ากำลังและกาลเทศะนี่เอง สามารถทำนายความสำเร็จและความล้มเหลวของคนได้เลย

ผมมากลับมาดูตอนหลังเล่าปี่เริ่มสาบานเป็นพี่น้องกับกวนอูและเตียวหุย ทั้งสามเดินทางมาขอร่วมรบกับอ้วนเสี้ยวที่สามารถประกาศรวมทัพสิบแปดหัวเมืองมาต่อต้านตั๋งโต๊ะได้ โจโฉก็พากองทัพมาเข้าร่วมด้วย เจ้าเมืองและขุนศึกส่วนใหญ่จะมีกองทัพติดตามมาด้วยเป็นหมื่นคน แต่ตอนเล่าปี่เดินทางไปหาอ้วนเสี้ยว นอกจากไม่มีประวัติอะไรแล้ว ยังมีคนติดตามเพียงสองคนคือกวนอูและเตียวหุย นั่นหมายถึงว่าทั้งกองทัพมีคนรวมกันเพียงสามคน... ทั้งหมดแน่นอนครับถูกหัวเราะเยอะแต่ต้น

แน่นอนกำลังก็น้อยกว่าคนอื่นเป็นพันเท่า แถมไม่มีกาลเทศะ เลย

แต่แล้วโอกาสก็มาถึงตั๋งโตะส่งขุนพลฮัวหยงยกทัพมาปราบอ้วนเสี้ยว โดยอ้วนเสี้ยวใช้กลยุทธ์ตั้งรับอยู่ในเมือง ขณะเดียวกันฮัวหยงก็ออกมาท้ารบ ขุนพลฝ่าย 18 หัวเมืองหลายคนร่วมทั้งกวนอาสาออกไปรบ รวมทั้งกวนอู แต่เล่าปี่ปรามกวนอูว่าอย่าเพิ่งออกไป ขุนพลคนอื่นเลยออกไปก่อน แต่ก็ถูกฆ่าหมด ภายหลังกวนอูเลยออกไป ใช้เวลาไม่นานก็สามารถฆ่าหัวหยงได้ (ว่ากันว่าประวัติศาสตร์เป็นอีกเรื่องฮัวหยงไม่ได้ตายงานนี้)

เล่าปี่มีกำลังน้อย แต่อาศัยกาลเทศะที่เหมาะ ลองจินตนาการดูครับ ถ้างานนั้นเล่าปี่จัดหนัก ด้วยการปล่อยกวนอูออกไปแต่แรก ตัดหัวหัวหยงได้นับตั้งแต่วินาทีแรกๆ คนน่าจะรู้สึกว่าธรรมดา เพราะตอนที่ไปแนะนำตัวต่อหน้าขุนพลมืออาชีพ เล่าปี่แนะนำตัวเองว่าเป็นคนทอเสื่อขาย กวนอูเป็นยาม เตียวหูเป็นพ่อค้าเขียงหมู แม้รบชนะมาพวกขุนพลจะรู้สึกดูแคลนว่าพวกคนชั้นต่ำนี่ทำได้ ก็แสดงว่าพวกเขาถ้าจะทำก็หมูมาก ถ้าเล่าปี่ไม่รู้กาลเทศะเช่นนี้กำลังที่ลงแรงไปจะไม่เกิดผลอะไร นอกจากความเจ็บช้ำ แต่การที่เล่าปี่เลือกจังหวะให้ขุนพลมืออาชีพตายไปก่อน แล้วส่งอดีตยามไปลุย แล้วเกิดชนะอย่างมหัศจรรย์ เมื่อกลับมา ชีวิตพลิกผันทันที กองทัพสามคนของเล่าปี่กลายเป็นกองทัพที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ในช่วงข้ามคืน เพียงพริบตาเดียวอ้วนเสี้ยวหันกลับมาแต่ตั้งกองทัพเล่าปี่เป็นกองทัพที่ 19 เล่าปี่และน้องกลายเป็นที่จับตามอง และเริ่มพลิกผันโชคชะตาตัวเอง นี่ครับการผสานพลังระหว่างกำลังและกาลเทศะ

เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องเล่าเสริมเติมแต่งขึ้นมาในสามก๊ก แต่ก็สะท้อนอะไรหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเล่าปี่ ซุนเกี๋ยน (พ่อซุนกวน) ตั๋งโตะ โจโฉ อ้วนเสี้ยว

โจโฉก็ประมาณเดียวกัน ตอนตั๋งโต๊ะยึดเมืองหลวงได้ แทนที่จะต่อต้านอย่างเอาเป็นเาตาย โจโฉยอมเข้าเป็นพวก ยอมเดินตามตั๋งโต๊ะ เนื่องจากไม่มีกำลัง กาลเทศะที่เหมะของโจโฉคือเดินตามไปก่อน ต่อเมื่อสบโอกาสคิดว่ากาลเทศะได้ และสนิทกับตั๋งโต๊ะเลยเข้าไปลอบฆ่า แต่เกิดไม่สำเร็จ แต่ก็ดังชั่วข้ามคืน กลายเป็นวีรบุรุษของคนทั่วแผ่นดิน แล้วโจโฉก็ฉวยกาลเทศะนี้ประกาศรวงรวบรวมผู้กล้ามาร่วมอุดมการณ์ ทำให้กำลังมีมาก โจโฉก็คล้ายๆ กับเล่าปี่ ซุนกวน ที่สามารถควบคุมโชคชะตาผ่านกำลังและกาลเทศะ

ในขณะผู้ล้มเหลวอย่างอ้วนเสี้ยว ตั๋งโต๊ะ นี่พลาดมากๆ หลายครั้งมีกำลังแต่ไม่ใช้กำลังให้เหมาะกับกาละเทศะ ตั๋งโต๊ะเอง มีกำลังแต่หยาบช้า ไม่ดูจังหวะ ไม่ดูประเพณี ทำร้ายคนในวงกว้าง เลยไม่ได้แรงหนุน อ้วนเสี้ยวมีกำลังมาก แต่ตอนจะมีโอกาสชนะโจโฉ ก็ก็ไม่อยากรบ เพราะลูกป่วย ... เมื่อมีกำลังแต่ใช้ไม่ถูกกาละเทศะ เท่านั้นเองทุกอย่างก็ล่มสลาย

คุณจะเห็นว่าวีรบุรุษสามก๊กสร้างตัวเองด้วยความคิดนอกกรอบมากๆ สามคนกลายเป็นกองทัพที่มีชื่อเสียงทั่วแผ่นดิน ไม่บอกว่านอกกรอบมันจะอธิบายด้วยอะไรครับ

ถ้าเชื่อมโยงมาถึงปัจจุบัน แดเนียล พิ๊งค์พูดถึงปรากฏการณ์ที่สำคัญมากๆ ในโลกอนาคน นักคิดคนนี้พิสูจ์มาครับ ว่าอะไรดังๆที่ครองโลกอยู่ทุกวันนี้และในอนาคต เกิดจากการใช้สมองซีกขวา คือสมองส่วนที่คิดสร้างสรรค์ครับ และเริ่มเห็นร่องรอยว่าคนใช้สมองซีกขวานี่เองที่ครองโลก การใช้สมองซีกขวาทำได้หกแนวทาง ที่แดเนียลเรียกว่า Six Senses มีดังต่อไปนี้

1. Design เน้นการออกแบบ (Design) ไม่ใช่เน้นแต่การใช้งาน (Function)

2. Story เป็นนักเล่าเรื่อง (Story) ไม่ใช่มุ่งตรรกะเท่านั้น (คุณแดเนียล บอกว่า Story นี่สำคัญที่สุด)

3. Symphony ผสมผสานสิ่งที่แตกต่างให้เข้ากันได้เป็นอย่างสอดคล้อง (Symphony) มองภาพใหญ่ ไม่ใช่เน้นบางส่วนเฉพาะจุด (Focus)

4. Empathy เข้าถึงจิตใจของผู้อื่น (Empathy) ไม่ใช่เน้นแค่ตรรกะ (Logic)

5. Play มีความสุขในการทำงาน (Play) ไม่จริงจังเกินไป (Seriousness)

6. Meaning มีคำนิยามให้กับชีวิตของตัวเอง (Meaning) ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน (Accumulation) ตรงนี้เน้นสร้างประโยชน์ ส่งมอบสิ่งดีๆให้โลก

คุณจะเห็นว่าเล่าปี่เปิดตัวด้วยข้อ 6 คือการสร้างความหมายให้สิ่งที่ทำ คือแสดงออกชัดเจนว่าไม่ได้ทำเพื่อนตนเอง แต่ทำเพื่อราชวงค์ฮั่น (Meaning) เล่าปี่ใช้แนวคิดนี้แสร้างแรงบันดาลใจมาตลอดตังแต่เริ่ม และใช้เป็นตรรกะการเริ่มต้นสงคราม หรือการรักษาความสัมพันธ์กับใครก็ตาม เล่าปี่ใช้เรื่องนี้ดึงดูกำลังและประเมินกาลเทศะหลายๆครั้ง

แต่ที่น่าทึ่งคือเล่าปี่รู้จักการ Design หรือการออกแบบครับ คือแทนที่จะทำตามชาวบ้าน ใครอยากรบ ก็ยกมือขึ้น ไม่ครับ รอจังหวะก่อน รอให้ผู้กล้าที่มีเกียรติสูงส่งออกไปตายก่อน แล้วก็จัดการส่งกวนอูอดีตรปภ. ไว้ศักดิ์ศรีไปรบ นี่คือการออกแบบ

เมื่อเล่าปี่ชนะด้วยกำลังน้อยแบบนี้ ก็เริ่มมีเรื่องเล่า Story ตรงนี้แดเนียลให้ความสำคัญมากๆ คุณจะเห็นว่าโจโฉก็มีเรื่องเล่าของตนเอง คุณลองดูปัจจุบันสิ ถ้าคุณดูผลิตภัณฑ์ที่ครองโลก เช่น Apple คุณจะเจอเรื่องเล่าของสตีฟ จ๊อป เพียบ ในขณะที่คุณจะไม่ค่อยได้ยินเรื่องราวของคู่แข่งเบอร์รองๆ ในฝั่งเอเชียที่ผมว่ามาแรงมากๆ มีเรื่องเล่าคำคมเยอะก็ได้แก่แจ๊ค หม่าจากอะลีบาบาของจีน เรื่องเล่าเจ๋งๆ นี่ทำนายอนาคตคนได้เลย

และผมว่าเล่าปี่ไม่มองอะไรเฉพาะจุด แต่มองภาพใหญ่แต่ต้น เช่นเดียวกับโจโฉ ซุนเกี๋ยน ที่มองภาพใหญ่ (Symphony) ทำให้สามารถออกแบบกาลเทศะได้เหมาะกับกำลังของตน

ผมจะวิเคราะห์เรื่องการใช้สมองซีกขวาของวีรบุรุษยุคสามก๊กอย่างละเอียดในโอกาสต่อๆไป

สรุปแล้วไม่ว่าจะเป็นยุคไซฮั่น ยุดสามก๊ก ยุคปัจจุบัน และอนาคต

กำลังและกาลเทศะ คือมนตราแห่งความสำเร็จ ซึ่งต้องอาศัยสมองซีกขวา ต้องคิดนอกกรอบ

แนวทางที่เหมาะแนวทางสำหรับผู้บริหารที่ผมอยากแนะนำคือแนวคิด Six Senses คือ Design, Story. Symphony, Emphaty, Play และ Meaning

กำลัง กาละเทศะ สร้างปาฎิหาริย์ จริงไหมครับ

คุณล่ะ คิดอย่างไร

Ref: แนะนำอ่านเพิ่มเติมเรื่อง Six Senses ได้ที่นี่ ผู้เขียนสรุปได้ดีมากๆ http://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/Whole...

หมายเลขบันทึก: 598796เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2015 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ธันวาคม 2015 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สุดยอดมากครับ อาจารย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท