การ์ทเนอเผย 10 แนวโน้มกลยุทธ์เทคโนโลยีปี 2016 Trend 9


อ้างอิง : Gartner Identifies the Top 10 Strategic Technology Trends for 2016 http://www.gartner.com/newsroom/id/3143521


จากการจัดงานสัมมนา ITXpo เมื่อช่วงวันที่ 4 - 8 ต.ค. ณ ออลันโด

นักวิเคราะห์จากสำนักการ์ทเนอร์ได้วิเคราะห์และพยากรณ์ถึงแนวโน้ม 10 เทคโนโลยีที่โดดเด่นในปีหน้า 2016 นี้

การ์ทเนอร์นิยามว่าเทคโนโลยีที่มี "ความเป็นไปได้" ที่จะมี "ผลกระทบสำคัญ" ต่อองกรณ์ ยังรวมถึง

  • ความเป็นไปได้ต่อการ "ยุบรวมหรือแยกส่วนธุรกิจ" ,
  • ผลกระทบต่อผู้ใช้หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีโดยตรง
    เช่นฝ่ายไอที หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การลงทุนเพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ หรือความเสี่ยงจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ช้า

ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อองกรณ์จะเกิดขึ้นต่อแผนระยะยาว

David Cearley รองประธานและสมาชิกของการ์ทเนอร์กล่าวว่า

"แนวโน้มทั้ง 10 จะมีส่วนกำหนดรูปแบบธุรกิจดิจิตอลต่อไปในปี 2020 "

3 เทรนด์แรกคือการผสมผสานระหว่างโลกเสมือนกับสภาพความเป็นจริง

และการผสานการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีเป็นโครงข่ายข้อมูล

เทรนถัดมาสำหรับองกรณ์นั้นมุ่งเน้นที่ธุรกิจดิจิตอล

เกิดการสร้างและใช้อัลกอริทธึมทางธุรกิจ

ซึ่งเป็นเรื่องความสัมพันธ์ของบุคคลและการสื่อสารระหว่างบุคคล

สิ่งนี้จะกำหนดทิศทางของธุรกิจในอนาคต

อัลกอริทธึมทางธุรกิจ จะทำงานเป็นเบื้องหลังโดยมนุษย์ไม่จำเป็นต้องยุ่งเกี่ยว

กระบวนการคิดเวิเคราะห์เป็นหน้าที่ของคอมพิวเตอร์

ส่วนเทรนด์ที่เหลือนั้นคือ เทคโนโลยีความจริง(เสมือน)ตัวใหม่

การเกิดสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีพื้นฐานหรือแพลตฟอร์มใหม่

ที่มีอัลกอริธึมสนับสนุนต่อธุรกิจดิจิตอล

Trend 9

9. โครงข่ายสื่อสารของแอพและสถาปัตยกรรมบริการ

Mesh App and Service Architecture

เทคโนโลยีที่สนับสนุนคือ software-defined application services

ประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์บนเว็บเพิ่มสูงขึ้น ยืดหยุ่นและว่องไว

สถาปัตยกรรมการบริการขนาดเล็กก่อให้เกิดการสร้างแอพแบบกระจาย ช่วยให้การส่งมอบแอพรวดเร็วว่องไวและปรับขนาดการติดตั้งได้

สามารถติดตั้งได้แบบทั้งแม่ข่ายลูกข่ายและผ่านกลุ่มเมฆ

เกิดการพัฒนาแอพตามสถาปัตยกรรมขนาดเล็กที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งพัฒนาได้อย่างรวดเร็วคล่องตัว

การนำเทคโนโลยีแบบโมบายและไอโอทีมาใช้ร่วมกันกับสถาปัตกรรมบริการ

จะสร้างโมเดลที่มีขนาดใหญ่กว้างขวาง

โมเดลระบบที่ทำงานด้านหลังซึ่งทำงานผ่านเครือข่ายกลุ่มเมฆ Back-End

และใช้โครงข่ายอุปกรณ์เป็นโมเดลที่ทำงานส่วนหน้า Front-End

ทีมงานพัฒนาแอพควรสร้างสถาปัตยกรรมที่ส่งมอบได้อย่างรวดเร็วและทันทีผ่านเครือข่ายกลุ่มเมฆ

และต้องมีความยืดหยุ่นรองรับประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ผ่านโครงข่ายอุปกรณ์


คำสำคัญ (Tags): #ict#trend
หมายเลขบันทึก: 598593เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2015 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2015 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท