การพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่น เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงของโลก (ภาคเหนือ) ของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ


วันนี้ (1 ธันวาคม 2558) ผมได้รับเกียรติจากกรมเจรจการค้าระหว่างประเทศมาบรรยยายพิเศษหัวข้อ "การพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่น เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงของโลก” ใน การสัมมนา “โอกาส ผลกระทบ และการปรับตัวสู่การเปิดเสรีทางการค้าในระดับท้องถิ่น" ที่โรงแรมเวียงอินทร์ จังหวัดเชียงราย ซึ่งผมได้พูดถึงประเด็นหลักในการเข้าสู่อาเซียนและยังได้ให้ทำ Workshop 3 เรื่องเกี่ยวกับโครงการที่จะทำและเสนอในท้องถิ่นและชุมชนที่จะทำและทำอยู่แล้วเพื่อให้โครงการสู่อาเซียนและจุดอ่อน จุดแข็งและวิธีที่จะพัฒนาทุนมนุษย์ในท้องถิ่นให้ประสบความสำเร็จจะทำได้อย่างไร แต่ละกลุ่มมีข้อเสนอแนะแนวคิดดีที่ควรที่จะนำไปทำต่อได้ครับ

หมายเลขบันทึก: 597997เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2015 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ธันวาคม 2015 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทีมงาน Chiraacademy

การสัมมนา “โอกาส ผลกระทบ และการปรับตัวสู่การเปิดเสรีทางการค้าในระดับท้องถิ่น” หัวข้อ การเสวนาเรื่อง “การพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่น เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงของโลก” กลุ่มภาคเหนือ

  • สวัสดีผู้นำกลุ่มภาคเหนือ ดูรายชื่อแล้วเป็นเทศบาล อบต.และผู้นำท้องถิ่นทั้งท่านนายกฯและปลัดทุกท่าน
  • วันนี้มีนักศึกษา ป.เอก เป็นลูกศิษย์สวนสุนันทา มาร่วมด้วยในวันนี้ ขอให้วันนี้ปรึกษานักศึกษาเหล่านี้ได้ เพื่อเป็นเครือข่ายร่วมกันต่อไป
  • สิ่งที่ทำในวันนี้เป็นสิ่งที่ผมสะสมวิธีการ การเปลี่ยนแปลงไม่เฉพาะอาเซียน ทำมัยที่ดินในภาคอีสานถึงขึ้นราคา
  • การศึกษายุคต่อไปอยู่ในมือพวกเรา ต้องทำเรื่องทุนมนุษย์ อาเซียนเปิดโอกาสให้เราได้คิดกว้าง
  • ต้องสนใจเรื่องคน ผมหวังดีเรื่องทุนมนุษย์
  • ในเรื่องภูมิศาสตร์ในภาคเหนือ
  • ผมอยากกระเด้งไปสู่การค้นหาตัวเอง และทำ Workshop โลกเปลี่ยนแปลงเราต้องเข้า ASEAN และจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาด้วย
  • ต้องรู้เรื่องความสัมพันธ์ ความมั่นคง เพราะอาเซียนเป็น 3 แพ่ง ในบ้านมีหลายบ้าน เช่น สิงคโปร์ มีอะไร มีปัญหาอะไรในบ้าง ประเทศไทย มีประชากร 70 ล้านคน ยังไม่พึ่งตัวเอง เราต้องทำทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นเลิศ ต้องทำให้ประเทศไทยมีคุณภาพเพิ่มขึ้นและเป็นระดับรากหญ้าให้ดีขึ้น อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี
  • ถ้าเราจะพัฒนาท้องถิ่น มีไอเดียอะไรบ้าง ที่จะสร้างในท้องถิ่น
  • ถ้าจะมีโครงการระดับท้องถิ่น ต้องทำอะไรที่จะทำให้ยั่งยืน

อ.พิชญ์ภูรี : อยากแลกเปลี่ยน ในวันนี้เป็นกระบวนการเพิ่มศักยภาพ การเข้าสู่ AEC ที่ท่านจะอยู่ร่วมกัน ขอแนะนำว่า อธิบาย คือขอให้มีแรงบันดาลใจ กรมเจรจาฯอยากให้มีกระบวนการคิดร่วมกัน เรื่องกระบวนการคิดเพื่อหาข้อมูลร่วมกัน สิ่งสำคัญคือทักษะ ประสบการณ์และความรู้ สิ่งที่ อ.จีระภาพรวมในแผนที่คือสิ่งที่ผู้นำต้องทำ อ.จีระเรียนทฤษฎีตัว T ทางกรมเจรจาฯต้องปรับตัวให้เหมือนตัวที กระบวนการคิดร่วมกัน

  • ต้องมีความรู้ ต้องเป็นทฤษฎีกระเด้งและกระโดดขึ้น และสามารถกลับไปใช้ต่อได้

อ.จีระ : ในตัวทุกคนมีความเป็นเลิศ ต้องรวมเป้าหมาย กระเด้ง อย่ากระจัดกระจาย เอาความเป็นเลิศมารวมกัน ทั้ง 15 จังหวัด ต้องมีเครือข่ายร่วมกัน ต้องเอาความรู้ที่ได้ไปทำต่อ

ผมยังไม่หยุดการเรียนรู้ ต้องมีระบบความคิด คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีเหตุและผล กระเด้งไปที่ความคิดสร้างสรรค์ กระเด้งไปสู่ความเป็นเลิศ

  • ถ้าจะพัฒนาคน ถ้าทำแค่เหมือนปลูกแตงกวา เพราะปลูกแค่ 3 เดือน เพราะการปลูกเรื่องคน ต้องปลูกทั้งชีวิต ทำตลอดชีวิต
  • ค้นหาตัวเอง รู้จักยกย่องตัวเอง และให้เกียรติคนอื่น เราต้องขึ้นบันได ฝึกคิด และใฝ่รู้
  • คิดให้เป็นและมีบรรยากาศที่ดี คิดให้เป็น ผมพูด 1 2 3 คุณต้องทำ 4 5 6
  • และจบไปแล้ว คุณต้องได้อะไรกลับไปบ้าง
  • การปรับตัวเข้าอาเซียน ว่าฉันขาดอะไร และต้องแก้มันให้ได้ ในเวลา 2 ชั่วโมงนี้ขอให้ใช้ ทฤษฏี 2R คือ ตรงประเด็นและมองความจริง
  • การพัฒนาคนเพื่อรองรับอาเซียน ต้องไปใน 3V ได้วิธีการและวิธีการคิด และคิดให้มันไกลและหลุดโลก คิดสร้างสรรค์ คิดออกนอกกล่อง
  • เกิดขึ้นแล้วในห้องแล้วคือความหลากหลาย เอาทุกอย่างมาเป็นความสามัคคีและคิดร่วมมือกัน ต้องพึ่งตัวเอง มีวัฒนธรรม มีวิถีชีวิต ไม่ต้องรอให้ใครมาช่วยเหลือ

ผู้เข้าอบรม : เมืองน่าน ปลูกข้าวโพดกันหมดเลย เลยคิดว่าคิดกันไปว่า คนน่านกินป่า แต่คนน่านมีวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย

อ.จีระ : วัฒนธรรมเป็นทุนอันยิ่งใหญ่ของคนทางภาคเหนือ เวลาเราสอนต้องสอนให้เป็นผู้ประกอบการ จะได้ทำเป็นอาชีพอิสระ

อ.พิชญ์ภูรี : คุณภาพคนในท้องถิ่น สุขภาพ กายภาพ ส่วนที่เป็นข้างใน ปัญญา รู้คิด สิ่งที่มองไม่เห็น ถ้ายังขาดคุณภาพจะทำอย่างไร ให้นำไปคิด เช่น ความพอเพียง และจะนำมาซึ่งความมั่นคง มีทรัพยากรมากมาย สังคมวัฒนธรรม

อ.จีระ : ดูจาก 3 V 's คือความหลากหลาย ทำให้เรามีพลังร่วมมือกัน ไปสู่ความคิดที่มันแตกต่าง สร้างสรรค์ คนในภาคเหนือมีมีความคิดสร้างสรรค์สูง แต่จะเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นมูลค่าได้อย่างไร ต้องมีจากปัญญาและสมอง ซึ่งคนไทยมีมาก แต่ยังไม่มีคนมากระตุ้นให้เกิดความเป็นเลิศ ค้นหาจุดแข็งในภาคเหนือให้ได้

อ.จีระ :ในโลกมีทรัพยากรอยู่ คนคือทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร ชุมชนและประเทศชาติ ผมอยากกระตุ้นให้คุณเป็นเลิศ

ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ไม่ใช่เงิน สิ่งของหรือเครื่องจักร แต่เป็นคน เช่น สิงคโปร์ หรืออิสราเอล

  • วันนี้ชุมชนต้องคิดกว้าง อย่าคิดเฉพาะชุมชนหรือตำบลของเราเท่านั้น ดูว่าอาเซียนทำอะไรบ้าง อย่าหยุดการเรียนรู้
  • เรากำลังอยู่ในโลกการเปลี่ยนแปลง ต้องคิดกว้าง สามารถ หาข้อมูลได้ทางอินเตอร์เน็ทได้ ใน www.chiraacademy.com
  • ถ้าเราจะพัฒนาคนเราจะทำให้ได้อย่างไร เราต้องร่วมกันมีเครือข่ายที่ดี

อ.จีระ : สร้างแนวร่วม ร่วมกัน และแบ่ง เป็นคัสเตอร์ ในภาคทุกภาค และรวมตัวกันเพื่อเป็นคัสเตอร์ อยากให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อยากทราบว่าคุณคิดอย่างไร เกี่ยวกับโครงการ ที่จะทำ Workshop ในวันนี้ และนำไปพัฒนาในธุรกิจและกรมอื่นๆ และจะทำให้ทุกท่านได้แก่น

การพัฒนาคน ก็พัฒนาเรื่องการเกษตรด้วย ต้องลงทุนในการพัฒนาคนให้ต่อเนื่อง เป็นโอกาสที่จะสามารถรวมพลังกัน นี่เป็นพลังอันหนึ่งในวันนี้

การพัฒนาทุนมนุษย์ อยากให้ปรับทัศนคติ มองความร่วมมือ การยกย่องเพื่อนบ้าน มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

อ.จีระ : วิธีการเรียนรู้ในวันนี้ คือ เริ่มจาก 4L's โดยการกระตุ้นให้คุณคิด สิ่งที่เราได้ฟัง เราสามารถค้นหาในตัวเอง บรรยากาศการเรียน ไม่น่าเบื่อ , การปะทะกันทางปัญญา คือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความหลากหลายของคนในกลุ่มต้องมาเป็นพลังและความหลากหลาย และเปลี่ยนมาเป็นมูลค่าให้ได้ ภูมิปัญญาจะสร้างมูลค่าได้อย่างไร มีการบริหารจัดการ มี Teamwork มีภาษาที่ดี และค้นหาตัวเอง นั่นคือ ความใฝ่รู้

  • Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี
  • Learning Environment มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี
  • Learning Opportunities สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ร่วมกัน
  • Learning Communities เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้
  • อีกประเด็นคือ 2 R's คือ เราต้องรู้ความจริง ในอาเซียนคืออะไร อย่าเวอร์ รู้ความจริงในชุมชนของเรา ต้องรองรับการเปลี่ยนแปลงและการมีคุณค่าที่สูงขึ้น ลำดับความคิดให้เป็น Reality มองความจริง ,Relevance ตรงประเด็น
  • ประเด็นที่ 3 คือ มีความคิดใหม่ๆ ใน 3V's : Value Addedสร้างคุณค่า/มูลค่าเพิ่ม ,Value Creation สร้างคุณค่า/มูลค่าใหม่ ,Value Diversity สร้างคุณค่า/มูลค่าจากการ
  • ทำอย่างต่อเนื่อง เช่น ที่ผมทำที่ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬามาต่อเนื่อง 4 ปี อย่าทำและขึ้นหิ้ง ต้องนำไปทำต่อ
  • สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยใช้ C – U - V คือ Copy ทำตามอย่าง Understanding

บริหารความหลากหลาย

ใช้ความเข้าใจ ,Value Creation/Value added

สร้างมูลค่า/คุณค่าเพิ่ม

อ.พิชญ์ภูรี ความหลากหลาย คือมูลค่า และ ทฤษฎี ตัว T มีความลึก ในท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่น แต่ในทางแนวกว้างเรื่อง AEC เปิด ASEAN ซึ่งกว้างและเยอะมาก เลือกสิ่งที่มีประโยชน์และต่อเนื่องไปในอนาคต เสริมในสิ่งที่กรมฯทำ แล้วสรรหาความรู้ ไปในแนวนอน

อ.จีระ : บ้าน สิงคโปร์ อินโดฯ เป็นต้น คือตลาดของเรา ซึ่งเมื่อก่อน ตลาดปิด แต่ตอนนี้สามารถทำได้ สิ่งดีๆ อยู่ที่ชุมชน และขึ้นบันไดไปสู่ความเป็นเลิศ อย่ามีแค่มาตรฐานชุมชนอย่างเดียว แต่ต้องมีมาตรฐานโลกด้วย เชื่อมโยงในคัสเตอร์ และเชื่อมนักวิชาการ นักธุรกิจ ผู้ว่า นายอำเภอ มาร่วมกัน เพื่อทำงานร่วมกัน หากต้องการความช่วยเหลือสามารถ สร้างเครือข่ายร่วมกันกัน และต้องมีความไว้ใจซึ่งกันและกัน ต้องมีศักดิ์ศรีเท่ากัน

อ.พิชญ์ภูรี : Learning how to learn : 8k's 5k's คือทุนพื้นฐานของคน ต้องมีในหลายเรื่องมาร่วมด้วย เช่น ต้องมี 4L's , 2r's เป็นต้น ซึ่งรวมอยู่ในตารางนี้ เกิดความคิดในการ turn idea into Action และการทำงานและในการคิดโครงการ อาจจะเกิดนวัตกรรมขึ้นมาได้ จะมีกรอบและมีความต่อเนื่องไปถึงความยั่งยืน เป็นการสร้างและเกิดแรงบันดาลใจ และจะมีองค์ความรู้ใหม่ในเรื่องนี้

อ.จีระ: ความคิดแตกต่างกัน คือให้เกียรติกัน บางทีคนที่พูดน้อยอาจจะเก่งก็ได้

เราอยู่ยุคการเปลี่ยนแปลง เราต้องมีมาตรฐานที่เป็นเลิศ เราต้องปรับตัวเอง ลำดับแรกในการปรับตัวเรื่องคนในชุมชนคืออะไร ต้องตอบให้ได้จุดอ่อน คืออะไร จะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร ต้องมีการร่วมมือและแก้ไขในตนเอง ถามตัวเองว่าใน 4 วัน ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน สร้างศักยภาพของเรา เป้าหมายคืออะไร ค้นหาตัวเอง ศักดิ์ศรีในตัวเอง

  • เคยจัดมาหลายครั้ง อยากให้ไปติดตามดูในลิงก์ได้
  • 10 ประเด็นที่ต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี ข้อตกลงร่วมมือกัน เศรษฐกิจ และการค้า การลงทุน สังคมและวัฒนธรรม

ความมั่นคงทางการเมือง และสำคัญที่สุดจะเชื่อมโยงทั้ง 3 เรื่องเข้าด้วยกัน เรียกว่า “ASEAN

  • เสรี แปลว่า สินค้าและบริการที่ตกลงกันแล้ว จะไม่มีการกีดกัน ประเทศใดเก่งก็สามารถไปขายสินค้าหรือบริการในประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียนได้โดยไม่มีภาษีศุลกากร
  • แต่ขณะเดียวกัน.. ถ้าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนเก่งกว่าประเทศไทย เขาก็เข้ามาแข่งกับประเทศเราได้ ถ้าท้องถิ่นอ่อนแอ.. ธุรกิจบางอย่างก็จะหายไป
  • นอกจากนั้น.. ยังเปิดเสรีเรื่องการลงทุน เช่น ประเทศใดมีความสามารถในการระดมทุนการเงินมากกว่าประเทศอื่น ก็เข้าไปลงทุนในประเทศเหล่านั้นได้ เช่น ถ้าสิงคโปร์มีทุนมากกว่าก็สามารถนำเงินมาลงทุนในประเทศไทยได้ เมื่อเห็นภาพดังกล่าวแล้ว..
    สิ่งที่สำคัญที่สุดในวันนี้ ก็คือ ค้นหาตัวท่าน ยิ่งไปกว่านั้นยังเปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศอาเซียนด้วย เช่น ถ้าคนไทยเก่งก็สามารถไปทำงานในอาเซียนได้ และคนมาเลเซียก็อาจจะมาทำงานแข่งกับคนไทยได้ คนไทยก็อาจจะตกงานได้ หากไม่พัฒนาทุนมนุษย์
  • ต้องคิด วิเคราะห์ว่าอะไรเกิดขึ้น เตรียมพร้อม และสำคัญที่สุดจะฉกฉวยโอกาส และหลีกเลี่ยงการคุกคามอย่างไร?
  • มีความมั่นใจว่าท้องถิ่นปรับตัวได้
  • มีทั้งโอกาสและความเสี่ยง สร้างโอกาสและสร้างปรับตัวกับความเสี่ยงให้ได้
  • ก่อนที่จะมีอาเซียนเสรี ก็มีการเปิดประเทศที่กำหนดโดยองค์การการค้าระหว่างประเทศ (WTO) หรือการเซ็นสัญญาเปิดเขตการค้าเสรีเฉพาะ (FTA) เช่น ไทย – อินเดีย, ไทย – จีน มาแล้ว ซึ่งในอดีตจุดอ่อน ก็คือ รัฐบาลยังไม่ได้ให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ ทำให้ประชาชนชาวไทยโดยเฉพาะผู้นำท้องถิ่นบางกลุ่มได้ แต่บางกลุ่มเสีย เช่น ผู้ส่งออกได้ แรงงานมีคุณภาพได้เพราะมีทักษะ และภาษาดีกว่า มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ธุรกิจเล็ก เช่น โชห่วย ต้องปิดตัวไป.. วันนี้จึงเป็นจุดที่สำคัญที่ได้มาแบ่งปันความรู้กัน
  • ในการปรับตัวของผู้นำท้องถิ่นในวันนี้ สิ่งแรกก็คือ เข้าใจ ศึกษาให้ถ่องแท้ โอกาสที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง อยู่ที่ว่าผู้นำจะฉกฉวยอย่างไร?
  • การปรับตัวที่สำคัญที่สุด ก็คือ เรื่องทัศนคติ คือ ประเทศไทยจะไม่เหมือนเดิม จะเป็นประเทศที่ต้องอยู่ร่วมกับประเทศอื่น ๆ อีก รวม 10 ประเทศ - ผู้นำท้องถิ่นไม่ใช่แค่ผู้นำของอำเภอหรือตำบล ในประเทศไทยอีกต่อไป จะต้องเป็นผู้นำในชุมชนเดียว (One Community) คือ ชุมชนอาเซียน
  • การปรับตัวครั้งนี้ต้องกระจายความรู้ไปยังชุมชนในแนวกว้าง
  • การปรับทัศนคติต้องเน้นการยกย่องให้เกียรติ ซึ่งกันและกัน ไม่ใช่มองบางประเทศยากจน เช่น มองพม่าว่าจนกว่าเรา เขามีมิตรภาพที่ดีต้องยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน (Respect and dignity ) นับถือเพื่อนบ้านด้วยความจริงใจ นี่คือ ทฤษฎี ตัว R และ ตัว D
  • รักษาภูมิปัญญาและรากเหง้าหรือความเป็นตัวตนของท้องถิ่นไทย แต่ที่สำคัญที่สุด ถึงเราจะเป็นชุมชนอาเซียน แต่เราก็ต้องคงไว้ที่ภูมิปัญญาและรากเหง้าความเป็นตัวตนของท้องถิ่นไทย ของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งในอนาคตก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น หากมีบริหารจัดการที่ดี
  • ถึงเราจะเข้าอาเซียนเราต้องเก็บของดีเอาไว้ เช่น เรื่องวัฒนธรรม เรามีด้านนี้มากที่สุด ในภาคอีสาน เปลี่ยนสิ่งเหล่านี้มาเป็นเงินให้ได้ ขอเน้นวิถีชีวิตเป็นหลัก ต้องเสนอในนามท้องถิ่นให้ได้
  • ถ่ายทอดออกมาเป็น Story ดูชุมชนและภูมิปัญญาของแต่ละพื้นที่
  • ต้องพัฒนา “คนไทย” ให้ “สื่อสาร” ภาษาอังกฤษ+ภาษาอาเซียนได้ ถึงเวลาแล้วที่ท้องถิ่นต้องพร้อมมากขึ้นในเรื่องภาษา ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน และยิ่งไปกว่านั้นภาษาคอมพิวเตอร์ ที่จะคุยแลกเปลี่ยนกับชาวอาเซียนด้วยกัน
  • ต้องสนับสนุนให้โรงเรียนภายใต้การดูแลของ อบจ. / เทศบาล และอบต. สนใจการพัฒนาภาษาต่างประเทศ ทั้งอังกฤษ + ภาษาอื่น ๆ เพื่อสร้างทุนมนุษย์ของประเทศไทยให้มีความสามารถเรื่องภาษาให้ได้โดยเร็วที่สุด
  • การปรับตัวที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ ความใฝ่รู้ คือสร้างให้ท้องถิ่นเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ เปิดเวทีให้ชาวบ้านได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกันไม่ใช่ผู้นำสั่งการให้ทำตามสั่งอย่างเดียว – ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นก็ต้องมีความใฝ่รู้ด้วยและต้องมีเจ้าหน้าที่ดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวกับ“อาเซียน”เป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องกระตุ้นให้ชุมชนสนใจและเข้าใจเพื่อสร้างโอกาส
  • การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ ในการอยู่รอดและแข่งขันได้ในวันนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ ของข้าราชการท้องถิ่น รวมทั้งประชาชน เกษตรกร และธุรกิจในระดับชุมชน หรือ หลายๆ คนอาจเรียกว่า รากหญ้า ผมขอเสนอแนวคิดการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์
  • 8K’s : Human Capital ทุนมนุษย์, Intellectual Capital ทุนทางปัญญา Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม, Happiness Capital ทุนแห่งความสุข, Social Capital ทุนทางสังคม, Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน, Digital Capital ทุนทาง ITalented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ
  • ให้เยาวชนจากหลายๆที่มาลิงก์กัน ระดับท้องถิ่น ในเอเซียน คุยเรื่องสิ่งแวดล้อม ผักปลอดสารพิษ หรือจะเป็นเรื่องยางก็ยังได้ ต้องเป็นคนคิดไกล ความรู้ที่ได้จากวันนี้จะนำไปใช้อย่างไรบ้าง นำไปใช้กับลูกบ้านอย่างไรบ้าง
  • จะกระเด้งได้ต้องมี 5K's
  • 5K's : Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ,Knowledge Capital ทุนทางความรู้ ,Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม,Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ ,Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม
  • วัฒนธรรมเกิดมาก่อน มีภูมิปัญญาต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมให้เป็นประโยชน์ ต้องนำภูมิปัญญาของเราใส่ลงไป
  • ซึ่งประเด็นทั้ง 8k’s , 5K’s ก็คือ จะทำอย่างไรจึงจะพัฒนาศักยภาพของทุนเหล่านี้ในท้องถิ่นได้
  • สรุป..ผมหวังว่าแนวคิดทั้ง10 ประเด็นที่นำเสนอในวันนี้..จะเป็นบันไดขั้นแรกที่เราจะสามารถเดินไปข้างหน้าด้วยกัน
  • ถ้าผู้นำสนใจถึงจะเป็นหนทางที่ขรุขระ มีอุปสรรคมาก แต่ผมรู้ว่า ผู้นำในห้องนี้ มีสติปัญญา และหวังดี ถ้ามีแรงบันดาลใจ ร่วมมือกันทำงาน ใกล้ชิดกับประชาชนแล้วคงจะช่วยกันพัฒนาท้องถิ่นของเราให้ก้าวไปสู่การเสรีอาเซียนได้อย่างเข้มแข็ง..โดยจะมีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ+ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และผมจะช่วยกันเป็นแนวร่วมครับ

โอกาสแรก คือ เรื่องการขยายของตลาด เฉพาะอาเซียน อย่างเดียวก็เพิ่มประชากร/ผู้บริโภคเพิ่มจาก 64 ล้านคน เป็น 500 ล้านคน.. ถ้านับอาเซียน+6 ก็มีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นหลายพันล้านคน

การปรับทัศนคติ ต้องรู้ภาษา ต้องรู้และปรับทัศนคติในโลกการเปลี่ยนแปลง คนไทยปรับยากมาก

8K’s และ 5 K’s ของผม ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้ผู้นำท้องถิ่นอยู่รอด และก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน

อ.พิชญ์ภูรี : อ.จีระ พูดไว้สรุป เอาประเด็นมาแล้ว 10 ประเด็น อยู่ในทฤษฎี 2 R's รู้จริง วิธีการที่ทำตามความคาดหวังให้ได้รับผล ทำแล้วทำอีก ทำไปเรื่อยๆ ทำแล้วคิด กระเด้ง พื้นฐานแน่นจะกระเด้งได้ คือปัญญา และวิธีการของอ.จีระ ความจริงที่สำคัญคือเรื่องคน อย่ามองข้ามความหลากหลาย อย่าดูถูกคน มีวิธีการและทรัพยากรธรรมชาติ และเทคโนโลยี ให้ทั่วถึงกัน และมีวัฒนธรรมที่นำมาใช้ได้

workshop

  • จุดอ่อนทางด้านคุณคุณภาพของทุนมนุษย์ของท้องถิ่นที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงในระดับ ASEAN และระดับโลก 3 ข้อใหญ่ๆคืออะไร (อธิบาย)
  • เสนอแนะวิธีการที่จะพัฒนาทุนมนุษย์ในท้องถิ่นมีศักยภาพสูงขึ้น ต้องทำอย่างไร และให้ประสบความสำเร็จ
  • เสนอโครงการระดับในกลุ่มของท่าน เกี่ยวกับ ASEAN ที่คิดจะทำและทำอยู่แล้วที่เป็นไปได้ และทำใหม่ 2 โครงการ

1.จุดอ่อนทางด้านคุณคุณภาพของทุนมนุษย์ของท้องถิ่นที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงในระดับ ASEAN และระดับโลก 3 ข้อใหญ่ๆคืออะไร

กลุ่ม 1. นำเสนอ

การพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง เช่น เรื่องการดำรงชีวิต การเรียนรู้จริงๆค่อนข้างน้อย ความรู้เรื่องภาษา เมืองไทยไม่ได้เป็นเมืองขึ้นใคร ปัจจุบันเชื่อว่า 90 % ไม่ได้เป็นเมืองขึ้นใคร แต่ภาษาต้องสามารถเรียนรู้ได้ อย่าเอามาเป็นข้อบกพร่อง

ต้องกล้าแสดงออก : ต้องมีความคิดเห็นร่วมกัน การขาดการมีส่วนร่วมและแสดงออก

อ.จีระ : ต้องมีตัวแทนจากข้างนอกมาร่วมมือกัน อย่าไปประชุมอย่างเดียวต้องออกความคิดเห็นด้วย คนตัวน้อยๆ ออกความคิดเห็นมากๆ ให้ มันเป็นประเด็นสุดยอด แต่ต้องเป็นกลาง มีคนมาประสานงาน

กลุ่ม 2 วิจารณ์ : การขาดความต่อเนื่อง จำกัดความมีปากท้อง และเศรษฐกิจ ส่วนกลางต้องพยายามมีเวลามีส่วนร่วมในท้องถิ่น

ภาษา กศน.ไม่ในทิศทางไม่ถูก กศน.ไม่มีเป้าหมายที่แท้จริง ค่านิยม ระบบอุปถัมถ์ต้องเป็นเจ้าของและหวงแหนทุกสิ่งทุกอย่าง

2 เสนอแนะวิธีการที่จะพัฒนาทุนมนุษย์ในท้องถิ่นมีศักยภาพสูงขึ้น ต้องทำอย่างไร และให้ประสบความสำเร็จ

กลุ่ม 2. นำเสนอ : ต้องสมรรถนะในการแข่งขัน และการเข้าถึงแหลงเงินทุน ในตัวแทนกลุ่มได้มี อบต.ได้มีการเข้าถึงเงินทุน ในการรวมกลุ่มของ ประชาชน เสียดอกเบี้ยน้อย มีการส่งเสริมการตลาดที่ชัดเจน การใฝ่รู้ของชุมชน ขาดการใฝ่รู้ ให้มากขึ้นโดยเสาะกลุ่มที่สามารถเป็นต้นแบบและโมเดลในชุมชนได้เรียนรู้

เรื่องภาษา: ซึ่งเราอ่อนมาก

อ.จีระ : อบต.หรือเทศบาล มีการทำเดือนละ ครั้ง หรือ 2 สัปดาห์ครั้งมาพบกัน อาจเชิญปราชญ์ชาวบ้านมาร่วม กันคิด ทำต่อเนื่องสัก 4-5 ต้องมีคนมากำกับดูแลให้เกิดต่อเนื่อง มีกิจกรรมต่อเนื่อง ให้พูดถึงเหตุการณ์ที่และ อบต.ชายแดนมาร่วมด้วย มีประเด็นต่อไป ทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง

ต้องอ่านและอย่าลอกกัน ถ้าทำ 1,2,3 คุณต้องทำต่อ 4,5,6 ต้องมีการปะทะกันทางปัญญา หาเครื่องมือที่จะให้สำเร็จ เราต้องรวมตัวกัน จะหาอาสาสมัครเพื่อมาทำงานร่วมกัน

กลุ่ม 3 วิจารณ์ : เพิ่มเติม การพัฒนาทุนมนุษย์ คือสร้างทัศนคติทางบวก และแรงบันดาลใจเป็นสิ่งสำคัญ วิจารณ์ว่าการศึกษาที่จะพัฒนาคนที่เป็นทุนมนุษย์ถือว่าแย่ ใช้ทุนการศึกษาเยอะ แต่ไม่สามารถช่วยได้เหลือ การศึกษาชองประเทศไทย มุ่งเน้นที่วัยทำงานและธุรกิจมากเกินไปประเทศไทยมุ่งการศึกษาแบบนี้เลยไม่ดี

อ.จีระ : น่าจะสร้างองค์กรอิสระ ต้องดูแลตั้งเกิด โภชนา ต้องเรียนไปเรื่อยๆ เรียนรู้ตลอดชีวิต

3. เสนอโครงการระดับในกลุ่มของท่าน เกี่ยวกับ ASEAN ที่คิดจะทำและทำอยู่แล้วที่เป็นไปได้ และทำใหม่ 2 โครงการ

กลุ่ม 3. นำเสนอ : เรื่องความอ่อนด้านภาษา วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่อาเซียน เราอยู่ท้ายๆ แต่เราต้องเตรียมความพร้อมเตรียมรับมือกับธุรกิจ กลุ่มเป้าหมาย ผู้นำท้องถิ่น และพื้นที่คนในท้องถิ่น

โครงการการศึกษาและวัฒนธรรมการท่องเที่ยวสู่อาเซียน

อ.จีระ : มีคนในอบต.อบจ. เริ่มจากระดับบนแล้วนำไปขยายสู่ประชาชน แต่ต้องมีระบบต่อเนื่อง ต้องเป็นเทนเนอร์ และสอนต่อให้กับระดับล่าง ต้องทำงานต่อเนื่อง นี่คือความล้มเหลวระบบราชการ ล้มเหลว เราจึงต้องมาหาวิธีร่วมกันต่อไป สร้างหลักสูตรให้คนอื่นได้เรียนรู้

การท่องเที่ยวเน้นวัฒนธรรมชุมชน ปัญหา ไม่มีมาตรฐาน ต้องวิ่งจากมาตรฐานชุมชนสู่มาตรฐานโลก ช่วยกันพัฒนาร่วมกัน

กลุ่ม 4 วิจารณ์ : ได้เข้ารับการอบรมมาเยอะ ผู้เข้าอบรมก็เข้าร่วมมาเยอะแล้ว แต่การแก้ไขพฤติกรรมมันยาก ต้องค่อยๆขยับ รุ่นอายุเยอะคงปรับยากแล้ว แต่ต้องเริ่มใหม่ที่เด็กๆ ต้องปรับและหาทางและแนวคิดให้ดำเนินการต่อไป ทั้งในกลุ่ม โรงเรียนและชุมชน

เสนอโครงการระดับในกลุ่มของท่าน เกี่ยวกับ ASEAN ที่คิดจะทำและทำอยู่แล้วที่เป็นไปได้ และทำใหม่ 2 โครงการ

กลุ่ม 4 เสนอ : โครงการท่องเที่ยวสู่อาเซียน จะเตรียมความพร้อมโดยมีทุนมากมาย เริ่มจากท่องเที่ยว การสร้างเศรษฐกิจและสังคมในการเรียนรู้ การท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจพอเพียง เป็นทั้งนโยบายระดับชาติ ที่ท้องถิ่นนำไปปฏิบัติและทำให้เกิดผล สร้างความตระหนักและการทำ เกษตรอินทรี และนำการท่องเที่ยวเข้ามา และนำความรู้สู่ชุมชนอื่นๆ สร้างความเข้มแข็ง การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เช่นในอำเภอขุนตาล ที่จะทำให้ใครรู้จักให้ได้ และสร้างคนและชุมชนให้ก้าวไปพร้อมๆกัน

ถ้าผู้นำท้องถิ่นมีความรู้ต้องได้รับความรู้กันทั้งหมด เปลี่ยนและคิดตาม ความต้องคิดต่าง ไม่งั้นความคิดก็ไม่เกิด จะทำให้เกิดความล้มเหลวได้

ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำไปขอให้ยั่งยืนสู่ลูกหลานของเรา

อ.จีระ : สร้างนวัตกรรมสู่ภูมิปัญญา โดยใช้ทุน ทาง 8K's เป็นพื้นฐาน ซึ่งคนต้องมาก่อน ต้องหวังดีต่อส่วนรวม และนำไปใช้ให้เกิดความแพร่หลายต่อไป

  • มองเป้าหมายเรื่องซื่อสัตย์สุจริต เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของภาคเหนือ อย่ารู้แค่รัฐศาสตร์ รู้เรื่องคน วิศวะ สิ่งแวดล้อม นั่นคือความสำเร็จ
  • ได้ความรู้มาก ควรมีสภาอิสระ มากำกับดูแลเพิ่มขึ้น

อ.พิชญ์ภูรี : การตั้งโจทย์ สอดคล้องกันทุกกลุ่ม กลุ่ม 1 การขาดการพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ขาดวิธีการและการแบ่งปันความรู้ ได้วิธีการแล้ว ก็นำไปใช้ต่อ

กลุ่ม 2 มองคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ ไม่ปากกัดตีนถีบ นำเสนอวิธีการคุณภาพ เศรษฐกิจ ความใฝ่รู้และทัศนคติ เราได้เรียนรู้ไปด้วยกัน

  • ภาษา คืออยากหาอาสาสมัครมาร่วมในชุมชน มาสอนภาษาเพิ่มเติม
  • กลุ่ม 3 นำเสนอโครงการได้ดี กลุ่มที่ 4 พูดน่าสนใจคือมองคนในท้องถิ่น มองตัวท่านเองว่าขาดอะไรบ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ยาก โดยเฉพาะเรื่องความเป็นผุ้นำ คือขั้นตอน ในการทำงานวันนี้ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้ข้อเสนอใหม่ๆ ได้เครื่องมือและอุปกรณ์ร่วมกัน มาปรับร่วมกันได้
  • ขอให้กำลังใจทุกท่าน และตัวแทนจากทุกกลุ่ม การเรียนรู้และต่อเนื่องต่อไป อาเซียนไม่ใช่แค่เศรษฐกิจที่ดี แต่เป็นแบบอย่างที่ดีที่จะนำไปเสริมสร้าง สร้างเสริมใน AEC ต่อไป

นักศึกษา ป.เอก สวนสุนันทา : ดร.นาที : เราได้กระบวนการเรียนรู้ และมีบรรยากาศที่ดี สิ่งที่ได้มากๆและอยู่ในทุกภาค คือการกล้าแสดงออก สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จะไปสู่กับอาเซียนได้ อ.มาจุดไฟ และอยากให้ท่านนำไปปฏิบัติ อย่าให้ไฟดังลง ท่านต้องทำให้ไฟสูงอย่างต่อเนื่อง เราต้องมีจริยธรรม อย่าทำให้คนอื่นเดือดร้อน ดังทฤษฎี 8K's ของ อ.จีระ

ดร.สร้อยสุคนธ์ : สิ่งที่ปะทะทางปัญญา สิ่งที่ท่านได้คือ Talent Capital ที่ชื่อว่า Chiraway เอาความเป็นเลิศออกมา อยากแลกเปลี่ยนความรู้ให้แก่กัน ต้องพยายามลองเอาไปนำความรู้ไปใช้ต่อ และกระเด้งต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท