Re ฐานข้อมูลสุขภาพกะหรอ


ความสำเร็จที่ว่า คือการได้มาซึ่งแผนชุมชนด้านสุขภาพ เป็น “แผนพัฒนาสุขภาพชุมชน” ที่ทุกคนในชุมชนร่วมรับรู้ ร่วมคิด และจะร่วมทำ ทุกเรื่องใช้คำว่าร่วมหมดครับ

     “ที่กะหรอมีเป้าหมายพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านระดับตำบลโดยการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ในการป้องกันแทนการรักษา โดยได้เชื่อมโยงกับอนามัย ทำให้รู้ว่ามีเป้าหมายร่วมกัน แต่ยังคิดรายละเอียดไม่ออก คุณชายขอบพอจะมีข้อเสนอแนะบ้างมั้ยครับทั้งยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการทำงาน”

     ผมมองอย่างนี้ครับ มองว่าเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายสูงสุดสู่ “ความสุขของชีวิต” ของ “ชีวิตคนจริง ๆ” ครับ ที่พัทลุงตามแนวทางการดำเนินงานแบบ “ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน” ซึ่งไตรภาคี คือ
          ภาคีแรก เป็นราชการส่วนภูมิภาค เช่น สอ./สสอ./รพ./สสจ. รวมถึงส่วนราชการอื่น ๆ ในภูมิภาคที่กระจายอยู่แล้วในชุมชน รอบ ๆ ชุมชน เช่น โรงเรียน ปกครอง พัฒนาชุมชน แล้วแต่โอกาสครับ ที่เดินเรื่องหลักคือ สาธารณสุข
          ภาคีที่สอง เป็นราชการส่วนท้องถิ่น เช่น อบต./เทศบาล/อบจ. อันนี้ก็เชื่อมต่อกับ อบจ.โดยผู้บริหาร (นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง) ซึ่งก็เป็นหัวหน้าทีมวิจัยอยู่แล้ว ส่วน อบต./เทศบาล นั้น ก็พื้นที่เป็นคนเชื่อมประสานเองได้อยู่แล้วครับ
          ภาคีที่สาม เป็นภาคประชาชน/ภาคเอกชน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็จะมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายอยู่แล้ว แต่ทิศทางอาจจะไม่ชัดเจน และมีจุดมุ่งหมายเป็นเพียงเพื่อการปัญหา ป้องกันปัญหา หรือการพัฒนาเป็นเรื่อง ๆ ไป หรืออาจจะเป็นกลุ่มที่ราชการเคยมาสร้างไว้ มาพัฒนาไว้ และทอดทิ้งเขาไปครับ (ผู้รับผิดชอบย้าย หรือเหตุผลอื่น ๆ) เช่นกลุ่ม อสม. กลุ่มเยาวชน กลุ่มแม่บ้านฯ กลุ่มครูศูนย์เด็กเล็ก กลุ่มแกนนำชุมชน สารพัดกลุ่มครับ  อีกวิธีหนึ่งที่ใช้เหมือนกันคือการเข้าไปทำให้ผู้นำชุมชนเช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน หรือ ปราชญ์ชาวบ้านที่ชาวบ้านเขาเคารพอยู่ก่อนเชื่อถือเรา ตอนหลัง ๆ เราก็จะได้ใจของคนในชุมชนให้ออกมาร่วมมือกับเรามากขึ้น อย่างนี้จะเร็ว เช่นการเดินเรื่องด้วยโครงการ "เอื้ออาทรคนพิการเข้าถึงสิทธฺฯ" อย่างที่ทำอยู่

     หลักการของเราคือ หาทางจับมือกับภาคีที่สองให้ได้ไม่ว่าจะเป็นใครเพื่อเริ่มการเคลื่นไหว (ดุกดิก) โดยเราเชื่อว่าเมื่อจับกันได้ 2 ภาคแล้ว (ทวิภาคี) ภาคีที่สามก็จะเข้ามาร่วมด้วยโดยการกระโดดเข้ามา (เน้นว่าใช้ “กระโดด”) ครับ ถึงตอนนั้นก็จะเป็นไตรภาคี และเกิดความสมดุลในการเริ่มต้นการพัฒนา

     สำหรับการแสวงหาพันธมิตรที่เป็นภาคีที่สอง อันนี้เรา (ทีมนักวิจัยหลัก) จะเป็นคนสอดส่ายสายตาหา การปล่อยข่าวออกไป เมื่อมีกลุ่มใดสนใจ ก็เริ่มจากการพูดคุยขายแนวคิดกัน มีการบอกต่อกันไป จากกลุ่มเล็ก ๆ หลาย ๆ ครั้งก็กลุ่มใหญ่ขึ้น การเริ่มต้นในแต่ละที่ที่ไม่พร้อมกันจะเกิดการเรียนรู้ การปรับเปลี่ยนกระบวนการ จนนำไปสู่ความสำเร็จครับ

     ความสำเร็จที่ว่า คือการได้มาซึ่งแผนชุมชนด้านสุขภาพ เป็น “แผนพัฒนาสุขภาพชุมชน” ที่ทุกคนในชุมชนร่วมรับรู้ ร่วมคิด และจะร่วมทำ ทุกเรื่องใช้คำว่า"ร่วม"หมดครับ และต้องร่วมจริง ๆ

     ผมว่าน่าจะมีอีก แต่ขอแค่นี้ก่อนนะครับ แล้วปุจฉามาอีกก็ได้ วันหลังผมจะปุจฉากลับไปบ้างนะครับ

หมายเลขบันทึก: 5970เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2005 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท