​ชีวิตที่พอเพียง : ๒๕๒๗. ความฉลาดของเครื่อง



บทความเรื่อง Artificial Inteligence in Medicine : Now there’s an app for that ในนิตยสาร The Economist ฉบับวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๘ ให้ความรู้หลายอย่าง

อย่างแรก AI (Artificial Intelligence) เก่งขึ้นเรื่อยๆ มีการพัฒนา pattern recognition skills บางกรณี เก่งกว่าคนแล้ว เช่นการเล่นวิดีโอเกม

อย่างที่สอง ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เก่งคนละอย่าง เพื่อบรรลุความท้าทายที่สำเร็จได้ยาก เอาความเก่งมาเสริมกัน ดังกรณี CHCF (California HealthCare Foundation) กับ Kaggle

CHCF มีโจทย์ ต้องการใช้ computer AI ช่วยวินิจฉัยจอตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน เพราะโรคนี้มีมาก หมอตรวจไม่ไหว ต้องการตัวช่วย CHCF คิดให้ AI เป็นตัวช่วย แต่ยังไม่มีเทคนิค

จึงไปขอความร่วมมือจาก Kaggle ซึ่งเป็นเว็บไซต์ นักจัดการแข่งขัน ในหมู่นักสถิติและนักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูล โดย CHCF upload ภาพจอตาหลายพันภาพ ทั้งจอตาปกติ และผิดปกติ ให้แข่งกันใช้โปรแกรม AI ที่ตนพัฒนาขึ้นวินิจฉัย โดยเดิมพันรางวัล ๓.๕ ล้านบาท ($ 100,000)

ผู้ชนะสามารถวินิจฉัยได้ตรงกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในร้อยละ ๘๕ ของจำนวนภาพทั้งหมด

CHCF เป็นองค์กรการกุศล ปรารถนาที่จะมอบ open-source AI program ให้คลินิกต่างๆ ทั่งแคลิฟอร์เนีย เอาไปใช้ และร่วมกันพัฒนาให้แม่นยำยิ่งขึ้น แต่ต้องรอให้ FDA อนุมัติการใช้เสียก่อน โดยที่เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่เอี่ยม FDA ไม่มีประสบการณ์มาก่อนเลย

นี่คือวิวัฒนาการของ deep learning ใน computer AI เป้าหมายทางธุรกิจอย่างหนึ่งคือการอ่าน computer imaging ด้านการแพทย์ ทำให้ผมสงสัยว่า อาชีพรังสีแพทย์ด้านการอ่านภาพรังสีกำลังถูกท้าทายหรือไม่



วิจารณ์ พานิช

๒๔ ก.ย. ๕๘

บนเครื่องบินการบินไทยจากสุวรรณภูมิไปกรุงโซล


หมายเลขบันทึก: 596854เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2015 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ตุลาคม 2015 10:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท